การแก้ไขปัญหาด้วยความคิดสร้างสรรค์เป็นการพัฒนาความรู้และทักษะการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ซึ่งเป็นทักษะที่ได้รับการประเมิน ว่าเป็นหนึ่งในทักษะที่สำคัญที่สุดของทรัพยากรมนุษย์ในศตวรรษนี้ ไม่ว่าจะเป็นการดำรงชีวิตในสังคม การประกอบอาชีพหรือการทำงานในหน่วยงาน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชนหรือภาคสังคม ความหมายของคำว่า “ความคิดสร้างสรรค์” Creative Thinking Concept             ความคิดสร้างสรรค์มักนำไปสู่การสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ ออกมาอยู่เสมอ โดยความคิดสร้างสรรค์เกิดจากกระบวนการคิดสิ่งใหม่ที่ดีกว่าหรือแก้ปัญหาได้ดีกว่าเดิมนำไปสู่กระบวนการผลิตเป็นผลิตภัณฑ์หรือการบริการเป็นบริการใหม่ ความแตกต่างระหว่างความคิดสร้างสรรค์และการคิดวิเคราะห์ ความคิดสร้างสรรค์ เกิดจากกระบวนการคิดแบบแยกส่วนหรือแตกความคิดให้ได้ความคิดใหม่มากในที่สุด ส่วนการคิดวิเคราะห์แบบรวมส่วนเพื่อวิเคราะห์และตัดสินใจเลือกตัวเลือกที่ดีที่สุดมักใช้ในกระบวนการแก้ปัญหา แหล่งที่มาของความคิดสร้างสรรค์ Sources of Creativity             ความคิดสร้างสรรค์มักมีบ่อเกิดหรือแหล่งที่มาอยู่ 5 ประการด้วยกัน ได้แก่ 1. ปัญหา 2. ความท้าทาย 3. ความฝัน 4. ฉันทะ และ 5. สถานการณ์ เทคนิคในการกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์ ทฤษฎีหรือเทคนิคที่สำคัญเทคนิคหนึ่งที่นำมาศึกษา ประยุกต์ใช้ให้คนเราได้มีความคิดสร้างสรรค์ได้แก่เทคนิคที่เรียกว่า “SCAMPER Technique” ซึ่งคิดค้นโดยอเล็กซ์ ออสบอร์น โดยเทคนิค SCAMPER เป็นชื่อย่อมาจากความหมายแต่ละตัวอักษรตามลำดับRead More →

           ในกระบวนการเสนอประมวลรายวิชาและโครงสร้างรายวิชาออนไลน์บนระบบ Thai MOOC ต่อกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เพื่อขอใช้พื้นที่เปิดรายวิชาออนไลน์ผ่านระบบ Thai MOOC นั้น พบว่าอาจารย์ผู้ประสานงานรายวิชาหรืออาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชาที่ไม่เคยมีประสบการณ์การผลิตรายวิชาออนไลน์บนระบบ Thai MOOC หรือไม่เคยมีประสบการณ์ในการจัดทำเอกสารประมวลรายวิชาและโครงสร้างรายวิชา ผู้ประสานงานซึ่งทำหน้าที่ตรวจสอบเอกสารก่อนที่จะนำส่งให้กับกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จะพบกับปัญหาการจัดทำเอกสารประมวลรายวิชา การ Design โครงสร้างรายวิชา และการคำนวณจำนวนชั่วโมงการสอน จำนวนชั่วโมงของสื่อวีดิทัศน์ในเอกสารประมวลรายวิชาให้ตรงตามข้อกำหนดและเกณฑ์การพิจารณาเอกสาร ส่งผลให้การจัดทำเอกสารดังกล่าวมีความล่าช้า อีกทั้งส่งผลให้กระบวนการตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารจะต้องใช้เวลาในการตรวจสอบและแก้ไขข้อมูลภายในเอกสารให้ถูกต้อง            ดังนั้นเพื่อให้อาจารย์ผู้ประสานงานรายวิชาหรืออาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชาสามารถจัดทำเอกสารดังกล่าวได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว รวมถึงลดระยะเวลาและจำนวนครั้งในการตรวจสอบ แก้ไข ความถูกต้องของเอกสารประมวลรายวิชาและโครงสร้างรายวิชา ทางผู้พัฒนาจึงได้ทำการรวบรวมข้อมูลความผิดพลาดที่เกิดขึ้นในขั้นตอนของการตรวจสอบคุณภาพเอกสารประมวลรายวิชาและโครงสร้างรายวิชา จนได้ข้อสรุปถึงข้อผิดพลาดที่พบบ่อยครั้ง จึงได้ออกแบบและจัดทำ Template สำหรับคำนวณจำนวนชั่วโมงการเรียนรู้ และจำนวนชั่วโมงสื่อวีดิทัศน์ขึ้นเพื่อใช้ในเขียนข้อมูลเอกสารที่ 2 โครงสร้างรายวิชา ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในเอกสารประมวลรายวิชา สำหรับการผลิตบทเรียนออนไลน์บนระบบ Thai MOOC วัตถุประสงค์           1. เพื่อลดความผิดพลาดในการจัดทำข้อมูลจำนวนชั่วโมงการเรียนรู้และจำนวนชั่วโมงสื่อวีดิทัศน์ในเอกสารที่ 2 โครงสร้างรายวิชา (เอกสารประมวลรายวิชา) สำหรับการผลิตบทเรียนออนไลน์บนระบบ ThaiRead More →

บทนำ ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา การรับต้นฉบับข้อสอบกลางภาคและปลายภาคของมหาวิทยาลัยวลัยลัษณ์ โดยผู้รับต้นฉบับข้อสอบกลางภาคและปลายภาคจากผู้ส่งข้อสอบแต่ละสำนักวิชาต่าง ๆ ที่มาส่งในแต่ละวันตามตารางกำหนดวันผลิตและส่งข้อสอบ และข้อสอบนอกตารางที่อาจารย์จัดสอบเอง ผู้รับต้นฉบับข้อสอบจะดำเนินการจัดทำตารางรับข้อสอบในแต่ละภาคการศึกษาที่มีการสอบในตารางและสอบนอกตาราง เพื่อควบคุมการส่งข้อสอบในแต่ละวันซึ่งมีผลต่อการผลิตสำเนาให้เสร็จตามกำหนด โดยในขั้นตอนการรับต้นฉบับข้อสอบกลางภาคและปลายของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ แต่ละรายวิชาที่มีการสอบทั้งในตารางและนอกตารางนั้น ผู้รับต้นฉบับข้อสอบจะจัดทำตารางรับข้อสอบในตารางและตารางรับข้อสอบนอกตารางในแต่ละภาคการศึกษา โดยใช้โปรแกรม Microsoft Excel ดังนั้นผู้รับต้นฉบับข้อสอบ จึงต้องหาแนวปฏิบัติในการรับต้นฉบับข้อสอบกลางภาคและปลายภาคของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เพื่อสามารถตรวจสอบรายวิชาได้อย่างรวดเร็วขึ้น โดยค้นหาในระบบผลิตเอกสารและข้อสอบ อาจารย์เจ้าของรายวิชาสามารถตรวจสอบรายวิชาของตนเองได้ว่าอยู่ในขั้นตอนไหน ทำให้การทำงานในขั้นตอนการรับต้นฉบับข้อสอบกลางภาคและปลายภาคมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นและใช้เวลาน้อยลง วัตถุประสงค์ 1. เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรับต้นฉบับข้อสอบกลางภาคและปลายภาค โดยเจ้าของรายวิชาสามารถตรวจสอบรายวิชาของตนเองได้ในระบบผลิตเอกสารและข้อสอบ 2. เพื่อลดเวลาในการค้นหารายวิชาที่มีการส่งต้นฉบับมายังงานออกแบบและผลิตสื่อสิ่งพิมพ์ในแต่ละวัน 3. เพิ่มความสะดวกในการเข้าถึงข้อมูลรายวิชาที่มีการสอบ ผลลัพธ์ที่คาดหวัง 1. อาจารย์ผู้สอนสามารถตรวจสอบรายวิชาของตนเองได้ในระบบผลิตเอกสารและข้อสอบ 2. เพิ่มความสะดวกในการค้นหาต้นฉบับข้อสอบในกรณีมีปัญหาในรายวิชานั้น ๆ 3. ผู้รับต้นฉบับข้อสอบสะดวกในการลงรับต้นฉบับข้อสอบมากขึ้น ขอบเขตของผลงาน การรับต้นฉบับข้อสอบกลางภาคและปลายภาคในระบบผลิตเอกสารและข้อสอบในแต่ละภาคการศึกษาของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ คำนิยาม 1. ระบบผลิตเอกสารและข้อสอบ 2. ต้นฉบับข้อสอบกลางภาคและปลายภาค 3. ตารางรับต้นฉบับข้อสอบกลางภาคและปลายภาค การวางแผนและทบทวนสภาพปัจจุบัน (Plan – P)Read More →

1. บทนำ 1.1  ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา เนื่องจากกระบวนการควบคุมการใช้ห้องเรียนที่ผ่านมา ใช้คอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์ในการเชื่อมต่อสื่อการเรียนการสอน ทำให้เกิดความล่าช้า ผู้ใช้งานไม่สะดวก ล้าสมัย จึงได้มีการรณรงค์และส่งเสริมการใช้ Apple TV ในห้องเรียน Smart Classroom ประจำห้องเรียน ให้สะดวกรวดเร็ว ทันสมัย ต่อผู้ใช้ห้องเรียนทั้งอาจารย์ และนักศึกษา สามารถใช้อุปกรณ์ MAC มาเชื่อมต่อกับระบบ Smart Classroom ผ่าน Apple TV ได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น 1.2 วัตถุประสงค์ 1.2.1 เพื่อความสะดวก รวดเร็ว ในการเรียนการสอน 1.2.2 สามารถแก้ไขปัญหาการใช้ห้องเรียนได้ทันท่วงที 1.3 ผลลัพธ์ที่คาดหวัง ผู้ใช้สามารถใช้ห้องเรียน ในการเรียนการสอน ได้ด้วยอุปกรณ์ของผู้ใช้เอง เช่น MAC IPAD IPHONE 1.4 ขอบเขตของผลงาน การรณรงค์และส่งเสริมการใช้ AppleRead More →

การจัดทำตารางกำหนดวันผลิตข้อสอบและส่งข้อสอบของมหาวิทยาลัยวลัยลัษณ์ จะดำเนินการจัดทำตารางกำหนดวันผลิตและส่งข้อสอบในแต่ละภาคการศึกษา เพื่อควบคุมการผลิตข้อสอบในแต่ละวันของรายวิชาที่มีการสอบในตารางสอบ โดยในขั้นตอนการจัดทำตารางกำหนดผลิตข้อสอบและส่งข้อสอบแต่ละรายวิชาที่มีการสอบในตารางสอบที่ศูนย์บริการศึกษากำหนดไว้ ตารางสอบที่ได้มาไม่ได้เป็นไฟล์ ซึ่งทำให้ผู้จัดทำเสียเวลาในการพิมพ์ทุกรายวิชา วันเวลาที่สอบ อาจารย์ผู้ประสานงานรายวิชา ลงในโปรแกรม Microsoft Excel ผู้จัดทำได้นำข้อมูลมาจากบนเว็บไซต์ของศูนย์บริการการศึกษา ซึ่งผู้จัดทำต้องประสานติดต่อขอข้อมูลตารางสอบในแต่ละภาคการศึกษาที่เป็นปัจจุบัน ดังนั้นผู้จัดทำจึงต้องหาแนวปฏิบัติในการจัดทำตารางกำหนดผลิตข้อสอบและส่งข้อสอบ เพื่อให้ทันกับการผลิตข้อสอบและเสร็จทันตามกำหนดทุกรายวิชาที่มีการสอบในตารางแต่ละภาคการศึกษา ทำให้การทำงานในขั้นตอนการจัดทำตารางกำหนดวันผลิตข้อสอบและส่งข้อสอบมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นและใช้เวลาน้อยลง วัตถุประสงค์ 1. เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดทำตารางกำหนดวันผลิตข้อสอบและส่งข้อสอบแต่ละภาคการศึกษา 2. เพื่อลดเวลาในการพิมพ์รายละเอียดต่าง ๆ ที่มีในตารางสอบ 3. เพื่อให้ผู้ส่งข้อสอบ/อาจารย์ผู้สอน ส่งข้อสอบมาผลิตตรวจสอบรายวิชาของตนเองได้อย่างถูกต้องและรวดเร็วได้ด้วยตนเอง 4. เพิ่มความสะดวกในการเข้าถึงข้อมูลรายวิชาที่มีการเรียนรวมกัน ผลลัพธ์ที่คาดหวัง 1. ผู้ส่งข้อสอบ/อาจารย์ผู้สอนสามารถตรวจสอบวันที่ส่งรายวิชาของตนเองมาผลิตได้ 2. ลดเวลาในการพิมพ์รายละเอียดแต่ละรายวิชาต่าง ๆ ในทุกภาคการศึกษา 3. ผู้ส่งข้สอบสามารถส่งข้อสอบทันตามวันเวลาที่กำหนดในตาราง ขอบเขตของผลงาน การจัดทำตารางกำหนดวันผลิตข้อสอบและส่งข้อสอบบนเว็บไซต์ของศูนย์บริการการศึกษาในแต่ละภาคการศึกษาของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ คำนิยาม 1. ข้อมูลรายวิชาและรายละเอียดต่าง ๆ 2. วันที่กำหนดวันผลิตข้อสอบและส่งข้อสอบ 3. ตารางการจัดทำตารางวันผลิตข้อสอบและส่งข้อสอบ การวางแผนและทบทวนสภาพปัจจุบัน (Plan –Read More →

เนื่องด้วยงานติดตามและประเมินผลงานบริหาร ส่วนแผนงานและยุทธศาสตร์ ได้แจ้งให้หน่วยงานในมหาวิทยาลัย รวมทั้งศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา เข้าไปบันทึกผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการเชิงยุทธศาสตร์ ประจำไตรมาสผ่านระบบติดตามผลการปฏิบัติงาน WU E-Report โดยใน 1 ปีงบประมาณจะต้องรายงานผลการดำเนินงานจำนวน 4 ครั้ง หรือ 4 ไตรมาส จากการเข้าไปรายงานผลการดำเนินงานผ่านระบบติดตามผลการปฏิบัติงาน WU E-Report ทำให้ผู้รับผิดชอบที่จะบันทึกข้อมูลไม่สามารถจดจำขั้นตอนการเข้าใช้ระบบติดตามผลการปฏิบัติงาน WU E-Report ได้เนื่องจากมีความซับซ้อนและไม่ได้ใช้งานบ่อย ทำให้เสียเวลา และต้องตอบคำถามทุกครั้ง ดังนั้น ผู้ปฏิบัติงานจึงได้นำสื่อ Infographic มาเป็นเครื่องมือในการอธิบายขั้นตอนการเข้าใช้งานระบบ WU E-Report ทำให้สามารถเข้าใช้ระบบได้ง่ายและรวดเร็วยิ่งขึ้น ลดเวลาในการตอบคำถามหรือต้องอธิบายขั้นตอนซ้ำๆ ทั้งนี้ การที่ได้จัดทำขั้นตอนการใช้สื่อ Infographic เพื่อส่งเสริมการเข้าใช้งานในระบบติดตามผลการปฏิบัติงาน WU E-Report เพื่อช่วยเพิ่มความพึงพอใจ อำนวยความสะดวก ลดเวลาในการตอบคำถามแก่ผู้เข้าใช้บริการ (Customer) วัตถุประสงค์ เพื่อช่วยแก้ปัญหาการเข้าใช้งานและลดขั้นตอนการตอบคำถาม หรือแนะนำการเข้าใช้งานระบบติดตามผลการปฏิบัติงาน WU E-Reportเพื่อให้ผู้ใช้สามารถเข้าใช้งานระบบได้อย่างถูกต้องและรวดเร็วได้ด้วยตนเองเพื่อเพิ่มความพึงพอใจแก่ผู้ใช้งานระบบให้สามารถกรอกข้อมูลรายงานผลการดำเนินการได้ง่ายขึ้น ผลลัพธ์ที่คาดหวัง ผู้ใช้งานสามารถเข้าระบบติดตามผลการปฏิบัติงานRead More →

ปัจจุบัน การออกแบบมีบทบาท และมีความจําเป็นอย่างมากในการฝึกอบรม หรือการสัมมนาโดยเฉพาะการปิดอบรม ดังนั้นการออกแบบจึงมาส่วนรวมในงานนั้นๆอย่างยิ่ง โดยทั่วไปจะมีการมอบเกียรติบัตร ต้องใช้งานออกแบบในการจัดวาง(ตามองค์ประกอบศิลป์ ) ให้กับผู้เข้าการอบรม เพื่อตัดทอนและความรวดเร็ว จึงได้จัดทํา เทมเพลต เพื่อให้ผู้จัดอบรมเข้ามาชอปปิ้งแบบและภาพตามความชอบ ได้หลากหลายแบบทั้งนี้จึงได้จัดออกแบบ Template ในรูปแบบนําเสนอผลงาน”เพื่อให้ผู้จัดฝึกอบรมสามารถนําเป็นแบบแม่แบบของตัวเองให้เหมาะสมกับหัวข้อการอบรม สัมมนา และสามรถนําไปใช้ในงานด้านอื่นๆในชีวิตประจําวัน การประชาสัมพันธ์เทมเพลต (Template) ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ (Line OA) เพื่อเป็นทางเลือกให้ผู้ใช้บริการของศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ได้เข้าถึงเทมเพลต (Template) อีกช่องทางหนึ่ง ซึ่งผู้รับผิดชอบในการประชาสัมพันธ์ในเพจได้รวบรวมข้อมูลประกอบด้วยรายละเอียดดังนี้ 1. ภาพประกอบ 2. ภาพปก 3. URL เพื่อเชื่อมโยงในการเข้าถึงข้อมูล ในส่วนของการออกแบบเทมเพลต นั้น ประกอบด้วย ข้อมูล ภาพประกอบ ตลอดทั้งตราสัญลักษณ์ต่าง ๆ ที่จะนำมาใช้ ในการออกแบบ จำเป็นต้องมีขนาดพอเหมาะและชัดเจน รวมทั้งโปรแกรมที่ใช้ในการออกแบบ และรูปแบบ ตัวอักษร การออกแบบกราฟิกในยุคปัจจุบันRead More →

เนื่องด้วยในปัจจุบันการประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารต่างๆ ต้องมีความรวดเร็วฉับไว เพื่อให้ข้อมูลข่าวสารกิจกรรมต่างๆได้ถึงผู้รับอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับเทคโนโลยีและแพลทฟอร์มต่างๆบนอินเตอร์เน็ต การนำเอาเครื่องมือ Action Scrip ในโปรแกรม Adobe Photoshop มาใช้ในการจัดการตกแต่งภาพ โดยเฉพาะภาพกิจกรรมข่าวสารต่างๆในจำนวนมาก จะช่วยลดขั้นตอนและระยะเวลาในทำการงานลงมาได้อย่างน้อย 50%                แต่คำสั่ง Action Scrip ในโปรแกรม Photoshop นั้นเป็นเพียงเครื่องมือที่ออกแบบมาให้ใช้ในการบันทึกขั้นตอนการทำงานเพื่อนำไปใช้กับงานในชิ้นอื่นๆได้ ฉะนั้นผู้สร้าง Action Scrip จึงต้องมีทักษะความรู้ในการตกแต่งภาพที่เชี่ยวชาญในระดับหนึ่ง เพื่อที่สามารถออกแบบและจัดการกับสั่งตกแต่งภาพได้อย่างมีประสิทธิภาพและเหมาะสมตามการใช้งานต่างๆ ตัวอย่างการทำงาน สำหรับผู้ปฏิบัติงานที่ต้องการลดขั้นตอนและเวลาในการตกแต่งภาพเป็นจำนวนมาก การใช้คำสั่ง Action Scrip บนโปรแกรม Adobe Photoshop จึงเป็นอีกทางเลือกที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง    Hits: 11นาวิน เนาวพงศ์Read More →

การจัดการอบรมให้มีประสิทธิภาพ     การอบรมคือการจัดการให้ดีขึ้นไม่ว่ากระบวนการทำงานหรือกระบวนการคิดและเป็นการเพิ่มความสามารถในการทำงาน การฝึกอบรมเป็นเครื่องหนึ่งในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์    การอบรมย่อมมีกระบวนการต่างๆในการอบรมนั้นมีการเชื่อมโยงกันเพื่อให้ดำเนินการไปได้อย่างถูกต้อง เพื่อให้เกิดความสมบูรณ์มากที่สุด    ในการอบรมนั้น มีกระบวนการดังกล่าวคือ1 วัตถุประสงค์ที่จะอบรม คือจำเป็นของเรื่องนั้นๆ2 ออกแบบหลักสูตรที่จะอบรม จะอบรมเกี่ยวกับเรื่องไหนอย่างไร อบรมแบบไหน3 อบรมตามหลักสูตรที่ได้ออกแบบไว้ ตามขั้นตอนหรือเทคนิคต่างๆ4 ประเมินผลการอบรม จะได้ทราบว่า ที่ได้ดำเนินไปนั้นมีผลอย่างไร จะได้ปรับปรุงครั้งต่อไปจะเห็นได้ว่าการอบรมมีเพื่อประสิทธิผลของการทำงาน หรือเพิ่มพูนความรู้ในด้านต่างๆนั้นเอง  Hits: 8Pichaiyut SuwittayarattanaRead More →

          หอจดหมายเหตุมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ มีบทบาทหน้าที่ในการรวบรวมจดหมายเหตุหรือเอกสารที่สร้างขึ้นเพื่อการปฏิบัติงานหรือดำเนินกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ซึ่งเป็นเอกสารสำคัญที่ผ่านการประเมินแล้วว่ามีคุณค่าควรแก่การอนุรักษ์ไว้ เพื่อเป็นหลักฐานปกป้องคุ้มครองสิทธิ เป็นหลักฐานซึ่งจะสะท้อนถึงประวัติพัฒนาการ เหตุการณ์ กิจกรรม ของหน่วยงาน อันมีคุณค่าต่อการศึกษาและการวิจัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งคุณค่าในทางการดำเนินงานและบริหารงานของมหาวิทยาลัย คำกล่าว คำบอกเล่า คำสัมภาษณ์ คำปราศรัย ปาฐกถาหรือถ้อยแถลงของอธิการบดีมหาวิทยาลัย จัดเป็นจดหมายเหตุมหาวิทยาลัยประเภทเอกสารโสตทัศนจดหมายเหตุ (Audio-Visual Archives) ซึ่งเป็นการบันทึกถ้อยคำของบุคคลสำคัญของมหาวิทยาลัย ทำให้เกิดเป็นแหล่งข้อมูลมิติใหม่ในเชิงจดหมายเหตุที่มาจากการบันทึกเสียงของบุคคล การบันทึกถ้อยคำในงานจดหมายเหตุมหาวิทยาลัย เป็นวิธีการที่นำมาใช้ในการจัดเก็บข้อมูลจากเหตุการณ์สำคัญที่จะได้รับการบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์ของมหาวิทยาลัย และเพื่อให้บริการสำหรับการศึกษาอ้างอิงในอนาคต อีกทั้งยังเป็นการจัดเก็บข้อมูลประวัติของบุคคลสำคัญหรือบุคคลที่มีผลงานโดดเด่น หรือเป็นผู้ก่อให้เกิดเหตุการณ์ที่ได้รับการบันทึกเป็นประวัติศาสตร์ หรือเป็นผู้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของมหาวิทยาลัย งานหอจดหมายเหตุมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ได้รับนโยบายจากผู้บริหารให้ดำเนินการรวบรวมคำกล่าว คำสัมภาษณ์ คำปราศรัย ปาฐกถา หรือถ้อยแถลงของอธิการบดีมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ด้วยวิธีการบันทึกเสียง เพื่อรวบรวมจัดทำเป็น Speech Recording ของอธิการบดี งานจดหมายเหตุฯ จึงได้ออกแบบและพัฒนากระบวนการรวบรวม Speech Recording ของอธิการดีมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ขึ้น เพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการได้รับทราบและเข้าใจเกี่ยวกับขั้นตอนในการปฏิบัติงานอย่างชัดเจนและเป็นระบบ โดยกระบวนการรวบรวม Speech Recording ของอธิการบดีนั้น งานจดหมายเหตุฯ ได้ปฏิบัติงานร่วมกับงานบริการโสตทัศนูปกรณ์ฯRead More →

สืบเนื่องด้วยคณะทำงานของศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา ได้จัดตั้งเพจ “ชวนอ่าน”เพื่อเป็นการส่งเสริมการเรียนรู้ทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเป็นอีกช่องทางหนึ่งในการเผยแพร่สารนิเทศทางวิชาการ โดยการคัดเลือกบทความ หนังสือ และวารสารที่น่าสนใจ ในหมวดต่างๆ ให้กับผู้ที่สนใจได้เรียนรู้ผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์การประชาสัมพันธ์วารสารอิเล็กทรอนิกส์ (E-Journal) และหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-Book) ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ ด้วยการใช้เฟสบุ๊ก (Facebook) ชื่อเพจชวนอ่าน เพื่อเป็นทางเลือกให้ผู้ใช้บริการของศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ได้เข้าถึง E-Journal และ E-Book อีกช่องทางหนึ่ง ซึ่งผู้รับผิดชอบในการประชาสัมพันธ์ในเพจชวนอ่านได้รวบรวมข้อมูลประกอบด้วยรายละเอียดดังนี้1. ประเภทข้อมูล E-Journal / E-Book 2. ภาพปก3. รายชื่อ4. URL เพื่อเชื่อมโยงในการเข้าถึงข้อมูล ในส่วนของการออกแบบเทมเพลตแบนเนอร์นั้น ประกอบด้วย ข้อมูลภาพปกบทความ หนังสือ วารสาร และภาพประกอบ ตลอดทั้งตราสัญลักษณ์ต่าง ๆ ที่จะนำมาใช้ในการออกแบบ จำเป็นต้องมีขนาดพอเหมาะและชัดเจน รวมทั้งโปรแกรมที่ใช้ในการออกแบบ และรูปแบบตัวอักษร ตลอดจนแนวโน้มของการออกแบบกราฟิกในยุคปัจจุบัน เพื่อให้มีความทันสมัยและเหมาะสมมากยิ่งขึ้นกระบวนการออกแบบเทมเพลตแบนเนอร์นั้น สิ่งที่สำคัญเป็นอย่างยิ่งคือ ระยะเวลาของกระบวนการการออกแบบและปริมาณ ซึ่งจำเป็นต้องพัฒนารูปแบบและขั้นตอนให้มีความเหมาะสมRead More →

ปัจจุบันระบบเครื่องปรับอากาศนับเป็นเครื่องอำนวยความสะดวกที่ขาดไม่ได้สำหรับสำนักงานต่าง ๆ ส่วนมากจะนิยมใช้เพื่อให้ความเย็นสบายภายในอาคารที่ปฏิบัติงานหรือห้องอำนวยความสะดวกให้บริการแก่ลูกค้า เพราะจะทำให้วันที่อากาศร้อนอบอ้าวกลายเป็นวันที่เย็นได้อย่างสบายๆ นอกจากนี้ยังสามารถลดความเครียดไม่รู้สึกหงุดหงิดเพราะอากาศที่ร้อนได้อีกด้วย ซึ่งทำให้ผู้ปฏิบัติงานและผู้ใช้บริการทำกิจกรรมต่างๆ ได้อย่างมีความสุข ศูนย์บรรณสารฯ เป็นหน่วยงานหนึ่งที่มีบุคลากรปฏิบัติงานในวิชาชีพเพื่อสนับสนุนภารกิจของมหาวิทยาลัยและให้บริการแก่ผู้ใช้ห้องสมุด เช่น นักศึกษา อาจารย์และบุคคลทั่วไป ภายในอาคารมีระบบเครื่องปรับอากาศและซิลเลอร์ทำความเย็นแบบรวม กระจายความเย็นทั่วอาคารทั้ง 3 ชั้น ทำให้สถิติการไฟฟ้าของอาคารสูงเป็นอันดับต้น ๆ เฉลี่ยประมาณเดือนละ 100,000-300,000 บาท โดยเฉพาะในส่วนของระบบเครื่องปรับอากาศที่ใช้พลังงานไฟฟ้าประมาณ 60-70% ของค่าไฟฟ้าทั้งหมดภายในอาคาร จากการศึกษาระบบเครื่องควบคุมระบบปรับอากาศแบบรวม พบว่าใช้โปรแกรมซอฟแวร์ควบคุม ชื่อว่า IX Chiller plant System เป็นโปรแกรมควบคุมการทำงานระบบอัตโนมัติและแสดงหน้าจอการทำงานแบบ Real Time สามารถป้อนค่าหรือคำสั่งต่าง ๆ ให้ระบบทำงาน เช่น การตั้งเวลา เปิด – ปิด หรือการปรับตั้งค่าอุณภูมิ ตลอดจนควบคุมอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องเช่น ระบบปั๊มน้ำเย็น ปั๊ม Condenser และตู้ Cooling เดิมทีการตรวจสอบและป้อนคำสั่งข้อมูลต่างRead More →

อาคารเรียนรวม6(ST) ของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เปิดให้บริการห้องเรียนแบบ Smart Classroom เพื่อสนับสนุนงานการเรียนการสอน จำนวน 72 ห้องเรียน เปิดให้บริการตั้งแต่เวลา 07.30 – 19.30 น. โดยมีนายช่างเทคนิคของศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา เป็นผู้ควบคุมดูแลระบบสื่อโสตทัศนูปกรณ์ ซึ่งในแต่ละชั้นเรียนจะมีนายช่างเทคนิครับผิดชอบ 1 อัตรา มีภาระหน้าที่รับผิดชอบดูแลควบคุมการเปิด – ปิด อุปกรณ์โสตทัศนูปกรณ์และทดสอบระบบของห้องเรียน ที่มีผู้ขอใช้บริการผ่านระบบจองห้องบรรยายอาคารเรียนรวมของศูนย์บริการการศึกษาให้เสร็จเรียบร้อยพร้อมใช้งาน ก่อนเริ่มเรียนคาบแรกเวลา 08.00 น. และให้ความช่วยเหลือแก้ไขปัญหาแก่อาจารย์ผู้สอน/นักศึกษา ปัจจุบันการขอใช้บริการห้องเรียนในช่วงเวลาดังกล่าวเต็มทุกวันทำการ ทำให้ประสบปัญหาไม่สามารถเปิดอุปกรณ์โสตทัศนูปกรณ์ และทดสอบระบบให้เสร็จเรียบร้อยได้ทันตามเวลาที่กำหนด     จึงเป็นที่มาของการพัฒนาระบบควบคุมการเปิด-ปิดโสตทัศนูปกรณ์ ของอาคารเรียนรวม6 ด้วยระบบอัตโนมัติ เพื่อพัฒนา/ปรับปรุงกระบวนการทำงานให้มีประสิทธิภาพ คล่องตัว และรวดเร็วมากยิ่งขึ้น โดยการนำเอา โปรแกรมควบคุมอัจฉริยะ/อุปกรณ์ Sensors ที่สามารถสั่งการควบคุมแบบไร้สาย เพื่อสั่งการเปิด – ปิด อุปกรณ์โสตทัศนูปกรณ์ผ่านทางแอพ eWeLink ใน iOS, Android ตามช่วงเวลาที่ต้องการRead More →

การให้บริการโสตทัศนูปกรณ์การเรียนการสอนในห้องเรียน ห้องประชุม และงานบริการโสตทัศนูปกรณ์อื่นฯช่างเทคนิคงานบริการโสตฯได้รับมอบหมายให้บริการควบคุมโสตทัศนูปกรณ์ ตามทีมีการจองใช้เพื่อการเรียนการสอน ตั้งแต่เวลา 07.30-19.30 น.ทุกวัน โดยไม่มีวันหยุดราชการ การให้บริการที่ผ่านมามักมีปัญหาในเรื่องการให้บริการทีไม่สามารถให้บริการได้ครอบคลุม ตามเวลาการจองห้องที่ผู้ขอใช้บริการต้องการได้ เนื่องจากเวลาปฎิบัติงานของพนักงาน มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ปฎิบัติงานวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 08.30-16.30 น.ทำให้มีช่วงเวลาก่อน 08.30 น และหลังจาก 16.30 น. เป็นช่วงเวลาทีไม่มีช่างเทคนิคค่อยให้บริการห้องเรียนทีมีการจองของผู้ใช้บริการทำให้เกิดช่องว่างเป็นปัญหาในการเรียนการสอน ส่งผลกระทบต่อนโยบายการจัดการเรียนการสอน ผู้รับผิดชอบจึงจำเป็นต้องจัดหาช่างเทคนิคควบคุมสื่อโสตทัศนูปกรณ์ประจำอาคาร เนื่องจากอาคารที่ใช้ในการเรียนการสอน มีหลายอาคารและอาคารแต่ละหลังอยูห่างไกลกัน จึงต้องมีช่างเทคนิคประจำอาคารสำหรับให้บริการในแต่ละกลุ่มอาคารในช่วงเวลาวันทำการปกติจะมีช่างเทคนิคค่อยให้บริการตลอดเวลา ผู้ใช้บริการสามารถเรียกช่างเทคนิคได้ในกรณีอุปกรณ์สื่อโสตฯในห้องเรียนมีปัญหา แต่หากมีการเรียนการสอนนอกเวลาทำการเช่น ช่วงเวลา 07.30-08.30 น.และเวลา 16.30-19.30 น. ต้องมีช่างเทคนิคทำงานนอกเวลาประจำอาคารสถาปัตยกรรมศาสตร์และอาคารเรียนรวม ค่อยให้บริการแก้ไขปัญหาสื่อโสตทัศนูปกรณ์ในอาคารเรียนให้กับผู้ใช้บริการ แต่ก็มีปัญหาในเรื่องของงบประมาณค่าทำงานล่วงเวลาของช่างควบคุมสื่อโสตทัศนูปกรณ์ ซึ่งต้องใช้งบประมาณในการทำงานล่วงเวลาของนายช่างเทคนิคซึ่งผู้บริหารมองว่าเป็นค่าใช้จ่ายที่ยังสูงอยู่ ต้องหาวิธีการปรับลดค่าใช่จ่ายในส่วนนี้ และต้องไม่กระทบต่อการให้บริการควบคุมสื่อโสตทัศนูปกรณ์การเรียนการสอนจากปัญหาดั่งกล่าวข้างต้นผู้รับผิดชอบจึงได้หาแนวทางการปรับปรับปรุงกระบวนการปฏิบัติงานนอกเวลาทำการเป็นแบบเหลื่อมเวลาเพื่อลดค่าทำงานล่วงเวลา ลดจำนวนคนทำงาน และลดเวลาการทำงานที่ต่อเนื่องกันในแต่ละวันของช่างเทคนิค จึงได้บทสรุปในการทำงานแบบเหลื่อมเวลาของงานบริการโสตทัศนูปกรณ์ การปฎิบัติงานควบคุมสื่อโสตฯสำหรับการเรียนการสอน ในอาคารเรียนรวมแบบเดิมก่อนทีจะมีการปรับปรุงใหม่ แบบเหลื่อมเวลา ตามตารางที่ปรากฎจะเห็นว่าช่างเทคนิคจำนวน 6 ท่าน เข้าทำงานเวลา 07.30Read More →

Google คงไม่มีใครไม่รู้จัก คำว่า Google เพราะการหาข้อมูลปัจจุบันนี้ มีอยู่ใน Google มากที่สุด เป็นแหล่งความรู้ที่ทุกคนหาอ่านได้ง่ายที่สุด และด้วยที่เป็นแหล่งข้อมูลที่ใหญ่โตมาก ทำให้มีข้อมูลที่ค้นหามีมากเช่นกัน การหาข้อมูลบน Google ถ้าไม่มีเทคนิค ตัวกรอง ตัวดำเนินการแล้ว ผลการสืบค้นจะเป็นขยะเสียเยอะ ผลการสืบค้นจะไม่ตรงกับความต้องการ หรือข้อมูลที่ตรงความต้องการหาได้ยาก ใช้เวลานานกว่าจะได้คำตอบ เทคนิคการค้น Google ในเนื้อหาบทนี้ จะแนะนำเทคนิค ตัวดำเนินการ ให้นักสืบค้นข้อมูลได้คำตอบที่ตรงใจมากที่สุด ผู้เขียนขอเลือกเฉพาะตัวดำเนินการที่จำง่ายและใช้งานบ่อยมาแนะนำ ตัวดำเนินการ เครื่องหมาย “……” การใช้เครื่องหมายคำพูด คือค้นหากลุ่มคำในเครื่องหมายคำพูดเท่านั้น ไม่แยกคำค้นหา เช่น “สหกรณ์นอกภาคการเกษตร” + vs and & or คือ รวมคำค้นหา ทั้งคำหน้าและคำหลัง เช่น ไอแพด+แท็บเล็ต – คือการยกเว้น หรือไม่ต้องการ เครื่องหมาย –Read More →

WULecturebuilding

ปริศนาอาคารเรียนรวมตึกเรียนในมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์จะมีชื่อเรียกเฉพาะว่า “อาคารเรียนรวม” เป็นห้องบรรยาย และห้องสอบตามตารางเรียนของนักศึกษามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ซึ่งตั้งอยู่ในกลุ่มอาคารเรียนรวม  ถ้าสังเกตุให้ดี อาคารเรียนรวมจะตั้งอยู่เรียงขนานไปกับอาคารไทยบุรี หรือมีชื่อเรียกว่า “ตึกเรือ” ตามรูปร่างตึก มีอาคารที่ 1,3,5,7 เป็นเลขคี่ ส่วนอาคารเรียนที่ 6 เพิ่งสร้างใหม่ทีหลัง มีชื่อเฉพาะว่า อาคาร ST และ “โกโกวาวา” ตามสีทาอาคารตามตัวละครเกาหลี ใส่ชุดเอี๊ยมสีส้ม ล้อเลียนมาจากชุดของตุ๊กตาในซีรีส์ Squid Game.มาจากเพลงในยูทูบ YouTube ที่ ออกฉาย ปี พ.ศ. 2565 ช่วงเปิดใช้อาคาร แต่…แต่ ….เคยสงสัยกันบ้างไหม? แทนที่จะมีอาคารเรียงไปตามลำดับ หนึ่ง สอง สาม สี่ ห้า หก เจ็ด มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์กลับมีอาคารเรียนรวม หนึ่ง สาม สี่ ห้า หก เจ็ด รวมเป็น 6Read More →