การสร้าง Template สำหรับคำนวณจำนวนชั่วโมงการเรียนรู้และจำนวนชั่วโมงสื่อวีดิทัศน์ เพื่อใช้เขียนข้อมูลในเอกสารที่ 2 โครงสร้างรายวิชา (เอกสารประมวลรายวิชา) สำหรับการผลิตบทเรียนออนไลน์บนระบบ Thai MOOC

           ในกระบวนการเสนอประมวลรายวิชาและโครงสร้างรายวิชาออนไลน์บนระบบ Thai MOOC ต่อกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เพื่อขอใช้พื้นที่เปิดรายวิชาออนไลน์ผ่านระบบ Thai MOOC นั้น พบว่าอาจารย์ผู้ประสานงานรายวิชาหรืออาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชาที่ไม่เคยมีประสบการณ์การผลิตรายวิชาออนไลน์บนระบบ Thai MOOC หรือไม่เคยมีประสบการณ์ในการจัดทำเอกสารประมวลรายวิชาและโครงสร้างรายวิชา ผู้ประสานงานซึ่งทำหน้าที่ตรวจสอบเอกสารก่อนที่จะนำส่งให้กับกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จะพบกับปัญหาการจัดทำเอกสารประมวลรายวิชา การ Design โครงสร้างรายวิชา และการคำนวณจำนวนชั่วโมงการสอน จำนวนชั่วโมงของสื่อวีดิทัศน์ในเอกสารประมวลรายวิชาให้ตรงตามข้อกำหนดและเกณฑ์การพิจารณาเอกสาร ส่งผลให้การจัดทำเอกสารดังกล่าวมีความล่าช้า อีกทั้งส่งผลให้กระบวนการตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารจะต้องใช้เวลาในการตรวจสอบและแก้ไขข้อมูลภายในเอกสารให้ถูกต้อง 
           ดังนั้นเพื่อให้อาจารย์ผู้ประสานงานรายวิชาหรืออาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชาสามารถจัดทำเอกสารดังกล่าวได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว รวมถึงลดระยะเวลาและจำนวนครั้งในการตรวจสอบ แก้ไข ความถูกต้องของเอกสารประมวลรายวิชาและโครงสร้างรายวิชา ทางผู้พัฒนาจึงได้ทำการรวบรวมข้อมูลความผิดพลาดที่เกิดขึ้นในขั้นตอนของการตรวจสอบคุณภาพเอกสารประมวลรายวิชาและโครงสร้างรายวิชา จนได้ข้อสรุปถึงข้อผิดพลาดที่พบบ่อยครั้ง จึงได้ออกแบบและจัดทำ Template สำหรับคำนวณจำนวนชั่วโมงการเรียนรู้ และจำนวนชั่วโมงสื่อวีดิทัศน์ขึ้นเพื่อใช้ในเขียนข้อมูลเอกสารที่ 2 โครงสร้างรายวิชา ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในเอกสารประมวลรายวิชา สำหรับการผลิตบทเรียนออนไลน์บนระบบ Thai MOOC

วัตถุประสงค์
           1. เพื่อลดความผิดพลาดในการจัดทำข้อมูลจำนวนชั่วโมงการเรียนรู้และจำนวนชั่วโมงสื่อวีดิทัศน์ในเอกสารที่ 2 โครงสร้างรายวิชา (เอกสารประมวลรายวิชา) สำหรับการผลิตบทเรียนออนไลน์
บนระบบ Thai MOOC
           2. เพื่อให้อาจารย์ผู้ประสานงานรายวิชาสามารถจัดทำเอกสารประมวลรายวิชาและโครงสร้างรายวิชาออนไลน์บนระบบ Thai MOOC ได้อย่างถูกต้อง และรวดเร็วมากขึ้น
           3. เพื่อลดจำนวนครั้งในการแก้ไขเอกสารประมวลรายวิชา สำหรับการผลิตบทเรียนออนไลน์บนระบบ Thai MOOC
           4. เพื่อลดจำนวนครั้งในการตรวจสอบเอกสารประมวลรายวิชา สำหรับการผลิตบทเรียนออนไลน์บนระบบ Thai MOOC
           5. เพื่อลดระยะเวลาการตรวจสอบ แก้ไข ความถูกต้องของเอกสารประมวลรายวิชาและโครงสร้างรายวิชาออนไลน์บนระบบ Thai MOOC

การวางแผนและทบทวนสภาพปัจจุบัน (Plan – P)

การคัดเลือกกระบวนการเพื่อปรับปรุง
           เนื่องจากกระบวนการปฏิบัติในส่วนของการประสานงานให้ข้อมูลแก่อาจารย์ประจำรายวิชาหรืออาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชา และกระบวนการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลในเอกสารประมวลรายวิชา ก่อนที่จะดำเนินการจัดส่งเอกสารดังกล่าวไปยังกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จะพบปัญหาและข้อผิดพลาดในการคำนวณจำนวนชั่วโมงการเรียนรู้ และจำนวนชั่วโมงสื่อวีดิทัศน์ในเอกสารที่ 2 โครงสร้างรายวิชา ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเอกสารประมวลรายวิชาอยู่เป็นประจำ และจะต้องจัดส่งเอกสารดังกล่าวกลับไปให้อาจารย์ประจำรายวิชาหรืออาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชา แก้ไขและส่งกลับมาตรวจสอบใหม่ หรือจะต้องอธิบายรายละเอียดดังกล่าวให้อาจารย์ซ้ำ ๆ จึงทำให้ผู้พัฒนาดำเนินการสร้าง Template สำหรับคำนวณจำนวนชั่วโมงการเรียนรู้ และจำนวนชั่วโมงสื่อวีดิทัศน์ เพื่อใช้เขียนข้อมูลในเอกสารที่ 2 โครงสร้างรายวิชา (เอกสารประมวลรายวิชา) สำหรับการผลิตบทเรียนออนไลน์บนระบบ Thai MOOC ขึ้น โดยมีรายละเอียดดังนี้

การวิเคราะห์กระบวนการ ด้วย SIPOC Model
           กระบวนการสร้าง Template สำหรับคำนวณจำนวนชั่วโมงการเรียนรู้ และจำนวนชั่วโมงสื่อวีดิทัศน์ เพื่อใช้เขียนข้อมูลในเอกสารที่ 2 โครงสร้างรายวิชา (เอกสารประมวลรายวิชา) สำหรับการผลิตบทเรียนออนไลน์บนระบบ Thai MOOC นำมาเป็นตารางการวิเคราะห์ SIPOC ดังนี้

การวิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรค
           กระบวนการสร้าง Template สำหรับคำนวณจำนวนชั่วโมงการเรียนรู้ และจำนวนชั่วโมงสื่อวีดิทัศน์ เพื่อใช้เขียนข้อมูลในเอกสารที่ 2 โครงสร้างรายวิชา (เอกสารประมวลรายวิชา) สำหรับการผลิตบทเรียนออนไลน์บนระบบ Thai MOOC นั้น เลือกใช้เครื่องมือในการวิเคราะห์ปัญหาแบบแผนผังก้างปลา (Fish Bone Diagram) ร่วมกับการใช้ 5 Whys ในการวิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรคที่เกิดจากความผิดพลาดในการคำนวณจำนวนชั่วโมงการเรียนรู้และจำนวนชั่วโมงสื่อวีดิทัศน์ในเอกสารที่ 2 โครงสร้างรายวิชา (เอกสารประมวลรายวิชา) ซึ่งเป็นกระบวนการเริ่มต้นในการผลิตรายวิชาออนไลน์บนระบบ Thai MOOC โดยมีรายละเอียดดังนี้

แนวทางแก้ไขปัญหาและอุปสรรค

การจัดทำแผนปฏิบัติการ (Action Plan)    

This image has an empty alt attribute; its file name is Pic04-1.jpg

การออกแบบ/ปรับปรุงกระบวนการและลงมือปฏิบัติ (Do – D)

เครื่องมือในวิเคราะห์ พัฒนาหรือปรับปรุงกระบวนการ

          การสร้าง Template สำหรับคำนวณจำนวนชั่วโมงการเรียนรู้ และจำนวนชั่วโมงสื่อวีดิทัศน์ เพื่อใช้เขียนข้อมูลในเอกสารที่ 2 โครงสร้างรายวิชา (เอกสารประมวลรายวิชา) สำหรับการผลิตบทเรียนออนไลน์บนระบบ Thai MOOC นั้นผู้พัฒนาได้เลือกใช้เครื่องมือดังต่อไปนี้

                    3.3.1.1 โปรแกรม Microsoft Excel เป็นโปรแกรมทำงานด้านตารางคำนวณ (Spreadsheet) สามารถสร้างแบบฟอร์ม สร้างการคำนวณ ทำงานร่วมกับข้อมูล เตรียมข้อมูล สรุปผลข้อมูล และมีฟังก์ชันต่าง ๆ มากมายให้เลือกใช้งานตามความต้องการของชิ้นงาน อีกทั้งยังมีระบบการรักษา
ความปลอดภัย และที่สำคัญโปรแกรม Microsoft Excel สามารถทำงานได้ทั้งบน Desktop และทำงานร่วมกันบน Cloud ได้อีกด้วย

                    3.3.1.2 เอกสารประมวลรายวิชา เป็นแบบฟอร์มเอกสารที่โครงการมหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้จัดทำขึ้นมาเพื่อใช้ในการกรอกแบบฟอร์มรายละเอียดสำหรับการขอใช้พื้นที่รายวิชาออนไลน์บนระบบ Thai MOOC   

กระบวนการที่ออกแบบ/ปรับปรุงใหม่

ในการดำเนินงานจัดทำเอกสารประมวลรายวิชาและการตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารประมวลรายวิชาสำหรับการผลิตบทเรียนออนไลน์บนระบบ Thai MOOC นั้น ผู้จัดทำได้ดำเนินการสร้าง Template สำหรับคำนวณจำนวนชั่วโมงการเรียนรู้ และจำนวนชั่วโมงสื่อวีดิทัศน์ เพื่อใช้เขียนข้อมูลในเอกสารที่ 2 โครงสร้างรายวิชา (เอกสารประมวลรายวิชา) โดยมีขั้นตอนในการดำเนินงานแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ดังนี้

           ระยะที่ 1 ระยะการเก็บรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูล ในระยะนี้จะเป็นการนำข้อมูลที่ได้จากการตรวจสอบคุณภาพเอกสารประมวลรายวิชาเพื่อขอใช้พื้นที่รายวิชาออนไลน์บนระบบ Thai MOOC ของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2564 ถึง พ.ศ. 2566 มาทำการวิเคราะห์รายการแก้ไขที่พบได้บ่อยใน
การจัดทำเอกสารประมวลรายวิชา เพื่อหาวิธีการปรับปรุงแก้ไขข้อผิดพลาดนั้นให้ลดลง ซึ่งในระยะนี้ผู้พัฒนาได้พบว่า รายการแก้ไขเอกสารประมวลรายวิชาที่พบ ร้อยละ 80 ของรายวิชาที่ส่งเอกสารขอใช้พื้นที่นั้นจะเป็นในส่วนของการกรอกจำนวนชั่วโมงการเรียนรู้ และจำนวนชั่วโมงของสื่อวีดิทัศน์ในเอกสารที่ 2 โครงสร้างรายวิชา ที่ไม่ตรงตามข้อกำหนดหรือเกณฑ์การพิจารณาเอกสารของ อว.

           ระยะที่ 2 ระยะการออกแบบและสร้าง Template สำหรับคำนวณจำนวนชั่วโมงการเรียนรู้ และจำนวนชั่วโมงสื่อวีดิทัศน์ ในระยะนี้จะแบ่งการดำเนินงานออกเป็นขั้นตอน ดังนี้

           – ขั้นตอนการเลือกโปรแกรม สำหรับใช้ในการสร้าง Template สำหรับคำนวณจำนวนชั่วโมงการเรียนรู้ และจำนวนชั่วโมงสื่อวีดิทัศน์ ซึ่งในที่นี้ผู้พัฒนาได้เลือกใช้โปรแกรม Microsoft Excel ในการสร้าง Template ดังกล่าว ด้วยฟังก์ชันการทำงานในโปรแกรมที่ตอบโจทย์ และยังเป็นโปรแกรมที่ทุกคนสามารถใช้งานได้ไม่ว่าจะใช้บนอุปกรณ์ใดก็ตาม

           – ขั้นตอนการออกแบบ Template ในขั้นตอนนี้จะเริ่มจากการจัดทำโครงร่าง Template ขึ้นมา โดยการใช้รูปแบบและรายละเอียดของแบบฟอร์มจากเอกสารที่ 2 โครงสร้างรายวิชา และแบบฟอร์มโครงสร้างเนื้อหาที่โครงการมหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จัดทำไว้ มาสังเคราะห์ใหม่ เพื่อให้ได้โครงร่าง Template ที่ง่ายต่อการกรอกรายละเอียดเนื้อหา มีรายละเอียดที่
ควรทราบระบุไว้อย่างชัดเจน เช่น หากอาจารย์ผลิตรายวิชาจำนวน 3 ชั่วโมงการเรียนรู้ อาจารย์จะมีชั่วโมง
การเรียนรู้ 180 นาที และจะต้องผลิตสื่อวีดิทัศน์ให้ได้ 117 นาที เป็นต้น และ Template ที่ได้นั้นจะต้องคำนวณแวลาให้ได้ตามเกณฑ์การพิจารณาที่ อว. กำหนดไว้ในขั้นตอนกของการตรวจสอบเอกสารขอใช้พื้นที่บนระบบ Thai MOOC      
           เกณฑ์การพิจารณาเอกสารประมวลรายวิชาในการขอใช้พื้นที่บนระบบ Thai MOOC ของ อว. มีดังนี้

           1. ชื่อรายวิชาจะต้องไม่ซ้ำกับรายวิชาอื่น ๆ บนระบบ Thai MOOC (อว. จะเป็นผู้พิจารณา)

           2. วัตถุประสงค์จะต้องเขียนแบบ Behavioral objectives ตาม Bloom’s taxonomy ไม่เกิน 5 ข้อ

           3. จำนวนชั่วโมงการเรียนรู้ออนไลน์ (ชั่วโมงการเรียนรู้ออนไลน์ หมายถึง จำนวนระยะเวลาที่ผู้เรียนใช้ในการเรียนจนจบรายวิชา) โดยกำหนดให้ 1 รายวิชามีเนื้อหารวมได้ตั้งแต่ 3 ชั่วโมงการเรียนรู้ แต่ไม่เกิน 15 ชั่วโมงการเรียนรู้ โดยมีจำนวนชั่วโมงสื่อวีดิทัศน์ร้อยละ 65 ของจำนวนชั่วโมงการเรียนรู้ หรือคิดเป็น 39 นาทีสื่อวีดิทัศน์ ต่อ 1 ชั่วโมงการเรียนรู้

           โดยในแบบฟอร์มที่ 2 โครงสร้างรายวิชา จำนวนนาทีรวมของทุกหัวข้อหลัก Section/หัวข้อย่อย Subsection จะต้องได้เท่ากับจำนวนนาทีรวมของชั่วโมงการเรียนรู้ที่รายวิชาระบุไว้ และ จำนวนนาทีของสื่อวีดิทัศน์ของทุกหัวข้อหลัก Section/หัวข้อย่อย Subsection จะต้องได้เท่ากับจำนวนเวลา 39 นาที x จำนวนชั่วโมงการเรียนรู้

           – ขั้นตอนการสร้าง Template ในขั้นตอนนี้จะเป็นการนำโครงร่าง Template ที่จัดทำไว้ มาสร้างในโปรแกรม Microsoft Excel โดยจัดทำเป็น Sheet : ขั้นตอนการใช้งาน, Sheet : Template การกรอกข้อมูล 3 ชั่วโมงการเรียนรู้, Sheet : Template การกรอกข้อมูล 4 ชั่วโมงการเรียนรู้, Sheet : Template การกรอกข้อมูล 5 ชั่วโมงการเรียนรู้ ดังภาพ

           ระยะที่ 3 ระยะการประเมินผลการใช้งาน Template สำหรับคำนวณจำนวนชั่วโมงการเรียนรู้ และจำนวนชั่วโมงสื่อวีดิทัศน์ฯ ในระยะนี้จะแบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอนดังนี้

                   ขั้นตอนที่ 1 การส่ง Template สำหรับคำนวณจำนวนชั่วโมงการเรียนรู้ และจำนวนชั่วโมงสื่อวีดิทัศน์ เพื่อใช้เขียนข้อมูลในเอกสารที่ 2 โครงสร้างรายวิชา (เอกสารประมวลรายวิชา) สำหรับการผลิตบทเรียนออนไลน์บนระบบ Thai MOOC ให้ผู้เชี่ยวชาญทดลองใช้และประเมินผลการใช้งาน

                   ขั้นตอนที่ 2 การส่ง Template สำหรับคำนวณจำนวนชั่วโมงการเรียนรู้ และจำนวนชั่วโมงสื่อวีดิทัศน์ เพื่อใช้เขียนข้อมูลในเอกสารที่ 2 โครงสร้างรายวิชา (เอกสารประมวลรายวิชา) สำหรับการผลิตบทเรียนออนไลน์บนระบบ Thai MOOC ให้อาจารย์ผู้ประสานงานรายวิชาหรืออาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชา และผู้ประสานงานรายวิชาทดลองใช้และประเมินผลการใช้งาน

เปรียบเทียบกระบวนการเดิมกับกระบวนงานใหม่

           จากกระบวนการสร้าง Template สำหรับคำนวณจำนวนชั่วโมงการเรียนรู้ และจำนวนชั่วโมงสื่อวีดิทัศน์ เพื่อใช้เขียนข้อมูลในเอกสารที่ 2 โครงสร้างรายวิชา (เอกสารประมวลรายวิชา) สำหรับการผลิตบทเรียนออนไลน์บนระบบ Thai MOOC สามารถเปรียบเทียบกระบวนการ และผลการดำเนินงานเมื่อนำ Template ไปใช้งานได้ดังนี้

การตรวจสอบผลการปรับปรุง (Check – C)

           ในขั้นตอนการตรวจสอบผลการปรับปรุง เพื่อประเมินผลว่าการปฏิบัติงานกระบวนการที่ปรับปรุงใหม่ (To be) มีปัญหา อุปสรรคต่อประสิทธิภาพและคุณภาพของการทำงาน และข้อมูลที่ได้จะเป็นประโยชน์ในการปรับปรุงคุณภาพของการดำเนินงานดังกล่าวนั้น ผู้จัดทำได้ดำเนินการตรวจสอบผลการปรับปรุง ดังนี้
                      (1) นำ Template สำหรับคำนวณจำนวนชั่วโมงการเรียนรู้ และจำนวนชั่วโมงสื่อวีดิทัศน์ เพื่อใช้เขียนข้อมูลในเอกสารที่ 2 โครงสร้างรายวิชา (เอกสารประมวลรายวิชา) ให้ผู้เชี่ยวชาญทดลองใช้และให้ข้อเสนอแนะ เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนา Template ให้สามารถใช้งานได้มีประสิทธิภาพมากที่สุด
โดยผลการประเมินและข้อเสนอแนะจากผู้เชี่ยวชาญ มีรายละเอียดดังนี้
                                 ชื่อ-สกุลผู้เชี่ยวชาญ : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศิวนาถ นันทพิชัย
                                 ตำแหน่ง : อาจารย์สาขาวิชาการจัดการสารสนเทศ สำนักวิชาสารสนเทศศาสตร์                                                       มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
                                 Email : ndecha@wu.ac.th
                                 ผลการประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญ มีดังนี้

ข้อเสนอแนะอื่น ๆ มีดังนี้
           – template ไม่มีลำดับให้เริ่มต้น ควรนำหมายเลข หรือระบุว่า Step 1 เร่ิมตรงใหนก่อน จะช่วยนำทางให้ได้ จะได้ไม่ต้องย้อนไปดูค่มือการใช้งาน
           – รายละเอียดส่วนอื่น ๆ ดีแล้ว แต่ยังเรียงลำดับว่าให้ทำอะไรก่อน หลัง และผลลัพธ์สุดท้าย อาจต้องมีตัวอย่างส่วนที่ถูกต้องให้ด้วย

           (2) นำ Template สำหรับคำนวณจำนวนชั่วโมงการเรียนรู้ และจำนวนชั่วโมงสื่อวีดิทัศน์ เพื่อใช้เขียนข้อมูลในเอกสารที่ 2 โครงสร้างรายวิชา (เอกสารประมวลรายวิชา) มาทดลองใช้กับการจัดทำเอกสารประมวลรายวิชา “เตรียมความพร้อมคณิตศาสตร์ขั้นพื้นฐาน” ของสำนักวิชาวิทยาศาสตร์ 

           จากการทดลองใช้ Template สำหรับคำนวณจำนวนชั่วโมงการเรียนรู้ และจำนวนชั่วโมงสื่อวีดิทัศน์ เพื่อใช้เขียนข้อมูลในเอกสารที่ 2 โครงสร้างรายวิชา ในเอกสารประมวลรายวิชาของรายวิชา “เตรียม
ความพร้อมคณิตศาสตร์ขั้นพื้นฐาน” ทำให้เห็นได้ชัดเจนว่า Template สามารถช่วยให้การคำนวณจำนวนชั่วโมงการเรียนรู้ และจำนวนชั่วโมงสื่อวีดิทัศน์ทำได้อย่างสะดวก รวดเร็ว รวมไปถึงผลลัพธ์ที่ได้นั้นถูกต้องตรงตามข้อกำหนดการพิจารณาเอกสารจากโครงการมหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และรายวิชาไม่มีการแก้ไขรายละเอียดในเอกสารที่ 2 โครงสร้างรายวิชา

           (3) จัดทำแบบประเมินการใช้งาน Template สำหรับคำนวณจำนวนชั่วโมงการเรียนรู้ และจำนวนชั่วโมงสื่อวีดิทัศน์ เพื่อใช้เขียนข้อมูลในเอกสารที่ 2 โครงสร้างรายวิชา (เอกสารประมวลรายวิชา) สำหรับ
การผลิตบทเรียนออนไลน์บนระบบ Thai MOOC เพื่อวัดผลความพึงพอใจต่อการใช้งาน โดยส่งไปยังผู้ใช้งานจำนวน 2 กลุ่มด้วยกัน คือ กลุ่มของอาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชา/อาจารย์ผู้ประสานงานรายวิชา และ กลุ่มของผู้ประสานงานรายวิชา จำนวน 7 ท่าน มีผู้ตอบแบบประเมินกลับมาจำนวน 5 ท่าน โดยมีผลการประเมินดังนี้

           จากผลประเมินการใช้งาน Template สำหรับคำนวณจำนวนชั่วโมงการเรียนรู้ และจำนวนชั่วโมง
สื่อวีดิทัศน์ เพื่อใช้เขียนข้อมูลในเอกสารที่ 2 โครงสร้างรายวิชา (เอกสารประมวลรายวิชา) สำหรับการผลิตบทเรียนออนไลน์บนระบบ Thai MOOC อยู่ในระดับความพึงพอใจมากที่สุด

การปรับปรุงแก้ไขและจัดทำมาตรฐาน (Action – A)

จากการดำเนินการจัดทำ Template สำหรับคำนวณจำนวนชั่วโมงการเรียนรู้ และจำนวนชั่วโมง
สื่อวีดิทัศน์ เพื่อใช้เขียนข้อมูลในเอกสารที่ 2 โครงสร้างรายวิชา (เอกสารประมวลรายวิชา) สำหรับการผลิตบทเรียนออนไลน์บนระบบ Thai MOOC พบว่ายังมีข้อที่ต้องปรับปรุงแก้ไข ดังนี้
            1. นอกจากการจัดทำ Sheet แนะนำการกรอกข้อมูลและการนำข้อมูลจาก Template ไปใช้งานแล้วนั้น ควรเพิ่ม Sheet ตัวอย่างการกรอกข้อมูลใน Template ด้วย เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถดูตัวอย่างเพื่อเป็นแนวทางในการใช้งานได้อย่างชัดเจน
           แนวทางการปรับปรุงแก้ไข : จัดทำ Sheet ตัวอย่างการกรอกข้อมูลคำนวณเวลาใน Template เพิ่มเติมให้เรียบร้อยแล้ว
            2. Template ไม่มีลำดับให้เริ่มต้น ควรนำหมายเลข หรือระบุว่า Step 1 เริ่มจากส่วนใดก่อน
จะช่วยนำทางให้ได้
           แนวทางการปรับปรุงแก้ไข : พิจารณาการ Design ลำดับกำกับหมายเลขการใช้งาน และ/หรือ จัดทำคลิปแนะนำการใช้งาน เพื่อเพิ่มความสะดวกและเพิ่มความเข้าใจในการใช้งาน Template มากยิ่งขึ้น

สรุปผลการดำเนินงาน

            จากการดำเนินงานจัดทำกระบวนการสร้าง Template สำหรับคำนวณจำนวนชั่วโมงการเรียนรู้ และจำนวนชั่วโมงสื่อวีดิทัศน์ เพื่อใช้เขียนข้อมูลในเอกสารที่ 2 โครงสร้างรายวิชา (เอกสารประมวลรายวิชา) สำหรับการผลิตบทเรียนออนไลน์บนระบบ Thai MOOC สามารถสรุปผลการดำเนินงานได้ดังนี้

            1) การใช้ Template สำหรับคำนวณจำนวนชั่วโมงการเรียนรู้ และจำนวนชั่วโมงสื่อวีดิทัศน์สามารถช่วยลดความผิดพลาดในการจัดทำข้อมูลจำนวนชั่วโมงการเรียนรู้และจำนวนชั่วโมงสื่อวีดิทัศน์ในเอกสารที่ 2 โครงสร้างรายวิชา (เอกสารประมวลรายวิชา) ได้
            2) อาจารย์ผู้ประสานงานรายวิชาที่นำ Template ไปใช้สำหรับคำนวณจำนวนชั่วโมงการเรียนรู้ และจำนวนชั่วโมงสื่อวีดิทัศน์ สามารถจัดทำเอกสารประมวลรายวิชาและโครงสร้างรายวิชาออนไลน์บนระบบ Thai MOOC ได้อย่างถูกต้อง และรวดเร็วมากขึ้นเมื่อเทียบจากการจัดทำเอกสารประมวลรายวิชาของรายวิชา “เตรียมความพร้อมคณิตศาสตร์ขั้นพื้นฐาน”
            3) เอกสารประมวลรายวิชาที่อาจารย์นำ Template ไปใช้สำหรับคำนวณจำนวนชั่วโมงการเรียนรู้ และจำนวนชั่วโมงสื่อวีดิทัศน์ สามารถลดจำนวนครั้งในการแก้ไขเอกสารประมวลรายวิชา สำหรับการผลิตบทเรียนออนไลน์บนระบบ Thai MOOC จาก 2-3 ครั้ง เป็นไม่แก้ไขเอกสารได้
            4) เอกสารประมวลรายวิชาที่อาจารย์นำ Template ไปใช้สำหรับคำนวณจำนวนชั่วโมงการเรียนรู้ และจำนวนชั่วโมงสื่อวีดิทัศน์ สามารถลดจำนวนครั้งในการตรวจสอบเอกสารประมวลรายวิชา สำหรับการผลิตบทเรียนออนไลน์บนระบบ Thai MOOC เหลือเพียง 1 ครั้งได้
            5) การนำ Template มาใช้ในคำนวณจำนวนชั่วโมงการเรียนรู้ และจำนวนชั่วโมงสื่อวีดิทัศน์ในเอกสารที่ 2 โครงสร้างรายวิชา ช่วยเพิ่มความสะดวกในการตรวจสอบข้อมูล และสามารถช่วยลดระยะเวลาการตรวจสอบ แก้ไข ความถูกต้องของเอกสารประมวลรายวิชาและโครงสร้างรายวิชาออนไลน์บนระบบ Thai MOOC ได้

ข้อเสนอแนะ

            ควรมีการประชุมผู้ประสานงานรายวิชาและอาจารย์ผู้ประสานงานรายวิชากับทีมอาจารย์ผู้สอน เพื่อชี้แจงแนวทางการจัดทำเอกสารประมวลรายวิชา และการนำ Template สำหรับคำนวณจำนวนชั่วโมงการเรียนรู้ และจำนวนชั่วโมงสื่อวีดิทัศน์ไปใช้งาน

Visits: 34

Comments

comments

Back To Top