Foundation stone

ตามหาพิกัดแผ่นศิลาฤกษ์มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ พิธีวางศิลาฤกษ์ คือ พิธีวางแผ่นศิลาจารึกเวลา วัน เดือน ปี อันเป็นมงคลที่เรียกว่า ดวงฤกษ์ แห่งการก่อสร้างไว้ ณ บริเวณสถานที่ก่อสร้างอาคารถาวรต่าง ๆ วัตถุประสงค์เพื่อเป็นสิริมงคลต่อการอยู่อาศัย มีความเจริญรุ่งเรือง มั่งคั่ง มั่นคง และอยู่เย็นเป็นสุขตลอดไปตามประเพณีโบราณ เพื่อให้เจ้าภาพและผู้รับจ้างก่อสร้างได้ร่วมประกอบพิธีศาสนาที่ตนเคารพนับถืออันจะเป็นการส่งเสริมความสามัคคีและเพิ่มพูนบุญกุศลต่อไป มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จัดพิธีวางศิลาฤกษ์การก่อสร้างมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เมื่อวันศุกร์ที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2539 เวลา 15.29-15.49 น. โดยสมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี เสด็จพระดำเนินเป็นองค์ประธานในพิธีวางศิลาฤกษ์ อาคารมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ณ พื้นที่ก่อสร้างอาคารบรรณสารและสื่อการศึกษา เป็นมณฑลพิธี (เนื่องจากห้องสมุดเป็นหัวใจ ของการศึกษา อาคารบรรณสารฯ อยู่ใจกลางมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์) และมีการฝังแผ่นศิลาฤกษ์ในบริเวณดังกล่าว ซึ่งปัจจุบันคือเสามุขระเบียงข้างร้านกาแฟเทอเรซ บริษัท สำนักงาน องค์กรใหญ่บางแห่งจะมีการฝังผนึกแผ่นศิลาฤกษ์ไว้ในผนังอาคาร หรือ ติดตั้งแท่นประดิษฐานไว้ในจุดที่ผู้คนเดินผ่านสัญจรRead More →

ในช่วงเวลา ณ ปัจจุบัน การแข่งขันทางการเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยต่าง ๆ มีมากขึ้น ด้วยเหตุปัจจัย  หลาย ๆ อย่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งตัวเลือกจำนวนของมหาวิทยาลัยที่มีมากขึ้นกว่าในอดีต จึงทำให้โอกาสที่จะเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงของนักเรียนมีมากขึ้น ซึ่งปัจจัยที่จะชักจูงใจให้นักเรียนมีความสนใจที่จะเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยนั้น อาจมีหลายปัจจัยด้วยกัน เช่น ความมีชื่อเสียงตั้งแต่เดิมของมหาวิทยาลัย  คณะหรือหลักสูตรที่สนใจ หรือแม้แต่ทัศนียภาพที่สวยงามของมหาวิทยาลัยแห่งนั้น นั่นเอง ด้วยเหตุดังกล่าว มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ได้มองเห็นถึงประเด็นสำคัญอย่างหนึ่งของการที่จะดึงดูดใจนักเรียนให้มีความสนใจเข้ามาศึกษาในมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ให้เพิ่มมากขึ้น ด้วยการปรับปรุงทัศนียภาพให้มีความงดงาม มีพื้นที่ให้เป็นจุด Check In ถ่ายรูปสวย จึงได้มีการปรับปรุงอาคารต่าง ๆ ในมหาวิทยาลัยให้มีความสวยงามมากยิ่งขึ้น ซึ่งตนเองในฐานะที่มีความชอบในสีสันสดใสอยู่เป็นพื้นฐาน และในโอกาสที่มหาวิทยาลัยมีอายุครบ 30 ปี ในวันที่ 29 มีนาคม 2565 ที่ผ่านมานั้น จึงขออนุญาตนำท่านไปชมอาคารที่มีสีสันสดใส COLORFUL ในมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ไปติดตามด้วยกันเลยค่ะ อาคารเรียนรวม 6 – พิกัดของอาคารจะอยู่ติดกับอาคารโรงอาหาร 4 เป็นอาคารที่สร้างขึ้นมาใหม่และเปิดใช้เมื่อปลายปี 2564Read More →

ถ้าจะกล่าวถึงความเชื่อ หลายท่านก็คงจะนึกถึงความเชื่อในเรื่องต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นความเชื่อในเรื่องของกฎแห่งกรรม, สิ่งศักดิ์สิทธิ์, โหราศาสตร์ เป็นต้น ซึ่งในส่วนของข้าพเจ้านั้นมีความเชื่อในเรื่องของกฎแห่งกรรม และมีความศรัทธาในเรื่องสิ่งศักดิ์สิทธิ์ โดยตลอดระยะเวลา 23 ปี ที่ได้เข้ามาทำงานในดินแดน 9,000 ไร่แห่งนี้ที่มีนามว่า “มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์” นั้นมีเรื่องราวมากมายให้พบเจอ บางช่วงเวลาก็ต้องเจอกับปัญหาให้เกิดความท้อแท้ใจบ้างก็ต้องมองหาสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจที่จะช่วยสร้างแรงบันดาลใจให้มีเพิ่มมากขึ้น กล่าวคือ พื้นที่ของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ นั้นตั้งอยู่บริเวณตำบลไทยบุรี อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช มีตำนานกล่าวขานกันมานานถึงความเชื่อความศรัทธาของชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในบริเวณนี้มานานว่า “พื้นที่แห่งนี้เคยมีประวัติศาสตร์อันยาวนานกับความเชื่อเรื่องสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ที่มีชื่อเรียกขานนามว่า “โบราณสถานตุมปัง” ซึ่งตำนานของที่นี่ ได้กล่าวไว้ในบางส่วนของหนังสือ “โบราณสถานตุมปัง  โบราณสถานและโบราณวัตถุ ในจังหวัดนครศรีธรรมราช” เขียนโดย อาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ หน้า 69-70 ดังข้อความที่กล่าวว่า “ตำนานและความเชื่อเกี่ยวกับทวดที่คนในภาคใต้ได้ยึดถือสืบทอดต่อ ๆ กันมามีเป็นจำนวนมากและกระจายอยู่ในหลายจังหวัด ซึ่งในอำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นพื้นที่ที่มีตำนานและความเชื่อเกี่ยวกับทวดอย่างแพร่หลาย เช่น ทวดกลาย ทวดเกียบ ทวดทอง และอีกหนึ่งในความเชื่อเรื่องทวดเหล่านั้นมี “ทวดตุมปัง”Read More →