Tag: มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

โปรแกรมควบคุมหน้าจอ AnyDesk

AnyDesk : เป็นโปรแกรมที่ใช้สำหรับการควบคุมหน้าจอ หรือบางท่านเรียกว่า “Remote Desktop” มีให้เราเลือกใช้หลาย แพลตฟอร์ม ตั้งแต่ Windows / Mac OS หรือแม้แต่ Linux นอกจากนี้แล้ว ยังสามารถ  ใช้งานร่วมกับ โทรศัพท์มือถือ ระบบ Android และ IOS ได้ อีกด้วย โดยให้ติดตั้งแอพหรือโปรแกรม เพื่อ  ควบคุมคอมพิวเตอร์ระยะไกลผ่าน AnyDesk ในทุกอุปกรณ์ ปัจจุบันโปรแกรมที่ใช้สำหรับ ควบคุมคอมพิวเตอร์ระยะไกล (Remote Desktop) เริ่มมีบทบาทสำคัญอย่างมากกับทุกคน และกลายเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้คอมพิวเตอร์ สมาร์ทโฟน อุปกรณ์ IT สามารถเชื่อมถึงกันได้โดยที่ไม่ว่าคุณจะอยู่ที่ใดเพียงมีอินเทอร์เน็ต คุณก็จัดการปัญหาการใช้งานที่ยุ่งยาก และประหยัดเวลาได้มากมาย ภาพจาก https://anydesk.com/en ผลการใช้งานโปรแกรม AnyDesk โปรแกรม AnyDesk ถือเป็นโปรแกรม Remote Desktop ที่ใช้ทำงานได้ลื่นไหล รวดเร็ว ไม่มีกระตุกระหว่างการเชื่อมต่อ เพราะโปรแกรมมีขนาดเล็กมาก […]

23 ปีที่ผ่านมา บัตรนักศึกษา เปลี่ยนไปกี่แบบ?

23 ปีที่ผ่านมา บัตรนักศึกษา เปลี่ยนไปกี่แบบ?  นับตั้งแต่เริ่มเข้ามหาวิทยาลัย นักศึกษาใหม่ทุกคน ได้กรอกข้อมูลพร้อมแนบเอกสารต่างๆ เพื่อทำบัตรประจำตัวนักศึกษา ใช้แสดงสถานะนักศึกษา ไว้เข้าสอบ และยืมหนังสือในห้องสมุดตั้งแต่นักศึกษามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์รุ่นแรก ศูนย์บริการการศึกษาร่วมกับธนาคารกรุงไทยสาขาท่าศาลา ในการออกแบบบัตรนักศึกษาตามยุคสมัยเพื่อให้รองรับการใช้สิทธิ์กับหน่วยงานต่างๆ ภายในมหาวิทยาลัย ให้เข้ากับระบบเทคโนโลยีทันสมัยที่ปรับเปลี่ยนไปตลอด มาดูบัตรนักศึกษารุ่นต่างๆ กัน อายุการใช้บัตรก็จะขึ้นอยู่กับหลักสูตรของนักศึกษาเจ้าของบัตร  🧑‍ บัตรนักศึกษารุ่นแรกสีขาว ไม่สามารถใช้กับเครื่อง ATM ได้ การยืม-คืนผ่านระบบห้องสมุดอัตโนมัติ คือเจ้าหน้าที่นำรหัสนักศึกษาจากหน้าบัตร พิมพ์เรียกค้นข้อมูลสมาชิกในระบบ สังเกตุให้ดีโดเมน E-mail นักศึกษาจะเป็น @praduu บัตรรุ่นต่อมาเป็น @wu.ac.th  บัตรนักศึกษารุ่นสีม่วงเป็นบัตร ATM VISA จะมีสัญลักษณ์ของธนาคาร ผูกกับบัญชีออมทรัพย์ของธนาคารกรุงไทย สามารถนำไปกดเงินสดที่ตู้ ATM และใช้แถบ Barcode สแกนผ่านประตูศูนย์บรรณสารฯ ยืม-คืนหนังสือศูนย์บรรณสารฯ ได้  บัตรนักศึกษารุ่นเทา-ส้มจะมีสัญญาณ RFID ฝังอยู่ในบัตร เป็นบัตรอัจฉริยะ สแกนผ่านประตูศูนย์บรรณสารฯ และสามารถยืม-คืน หนังสือด้วยตนเอง บัตรนักศึกษา Student card หรือ Smart […]

โครงการขนมล่อมด

ในช่วงก่อนสอบและระหว่างสอบปลายภาค ศูนย์บรรณสารฯ จะจัดกิจกรรมพิเศษกิจกรรมหนึ่งเรียกว่า “โครงการขนมล่อมด” ซึ่งเริ่มต้นจัดเมื่อปี พ.ศ. 2561 มีแนวคิดจากนักศึกษาต้องอ่านหนังสือเตรียมสอบต่อเนื่องเป็นเวลานาน และบรรยากาศการอ่านหนังสือที่หอพักไม่เอื้อต่อการใช้สมาธิ เช่น มีเสียงรบกวน และกลางคืนหาอาหารทานยาก ต้องใช้เวลาในการเดินทางออกจากห้องสมุดไปศูนย์อาหาร (ขณะนั้นยังไม่มีบริการส่งอาหาร และยังไม่มีร้านอาหารว่างเปิดบริการที่อาคารบรรณสารและสื่อการศึกษา) ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา ได้จัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านหนังสือช่วงสอบปลายภาค โดยได้รับงบประมาณสนับสนุนจากผู้บริหาร คณาจารย์ และหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัยร่วมสมทบทุนให้ศูนย์บรรณสารฯ จัดหาอาหารว่างและเครื่องดื่มร้อน-เย็น ให้นักศึกษาที่มาใช้บริการศูนย์บรรณสารฯ ช่วงขยายเวลา 17.00-24.00 น. มาเป็นเวลาหลายปี และนักศึกษาพึงพอใจในกิจกรรมนี้มาก และสถิติการเข้าใช้ห้องสมุดในช่วงเวลาดังกล่าวได้เพิ่มมากขึ้นด้วย ซึ่งต่อมาได้งดกิจกรรมพิเศษนี้ไปเนื่องจากมาตรการโควิด-19 ในภาคการศึกษาที่ 1/2565 เมื่อเปิดการเรียนการสอน Onsite 100 เปอร์เซ็นต์ ศูนย์บรรณสารฯ ได้กลับมาขยายเวลาเปิดบริการถึงเที่ยงคืนอีกครั้ง เพื่อให้นักศึกษาได้มีสถานที่เหมาะสมแก่การศึกษาค้นคว้า บรรยากาศเหมาะสมต่อการอ่านหนังสือเตรียมสอบ ซึ่งการให้บริการอาหารว่างและเครื่องดื่มก็จะปรับเปลี่ยนไปตามงบประมาณที่เปลี่ยนไป แต่ได้เพิ่มจุดบริการตู้น้ำดื่มร้อน-เย็น ขึ้นมาแทนทั้ง 2 ชั้น เพื่อให้นักศึกษาสะดวกต่อการชงเครื่องดื่มร้อน หรือต้มบะหมี่สำเร็จรูปด้วยตัวเองแทน และได้กลับมาจัดโครงการขนมล่อมดอีกครั้ง ล่อให้นักรบเตรียมพร้อมสู้ศึกสนามสอบกันตั้งแต่วันจันทร์ที่ 5 – 11 กันยายน 2565 Visits: 16Santat […]

ปริศนาอาคารเรียนรวม

ปริศนาอาคารเรียนรวมตึกเรียนในมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์จะมีชื่อเรียกเฉพาะว่า “อาคารเรียนรวม” เป็นห้องบรรยาย และห้องสอบตามตารางเรียนของนักศึกษามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ซึ่งตั้งอยู่ในกลุ่มอาคารเรียนรวม  ถ้าสังเกตุให้ดี อาคารเรียนรวมจะตั้งอยู่เรียงขนานไปกับอาคารไทยบุรี หรือมีชื่อเรียกว่า “ตึกเรือ” ตามรูปร่างตึก มีอาคารที่ 1,3,5,7 เป็นเลขคี่ ส่วนอาคารเรียนที่ 6 เพิ่งสร้างใหม่ทีหลัง มีชื่อเฉพาะว่า อาคาร ST และ “โกโกวาวา” ตามสีทาอาคารตามตัวละครเกาหลี ใส่ชุดเอี๊ยมสีส้ม ล้อเลียนมาจากชุดของตุ๊กตาในซีรีส์ Squid Game.มาจากเพลงในยูทูบ YouTube ที่ ออกฉาย ปี พ.ศ. 2565 ช่วงเปิดใช้อาคาร แต่…แต่ ….เคยสงสัยกันบ้างไหม? แทนที่จะมีอาคารเรียงไปตามลำดับ หนึ่ง สอง สาม สี่ ห้า หก เจ็ด มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์กลับมีอาคารเรียนรวม หนึ่ง สาม สี่ ห้า หก เจ็ด รวมเป็น 6 อาคารในปัจจุบัน ปล่อยให้เป็นปริศนาค้างคาใจว่าแล้วอาคารเรียน 2 อยู่ที่ใด? ในอนาคตอาจจะสร้างตามอาคารเรียนที่ […]

30 ปี…เคาน์เตอร์บริการกับการเปลี่ยนแปลง รวมไปถึงพื้นที่ต่างๆ ภายในศูนย์บรรณสารฯ

👉 👉 กว่าทศวรรษเคาน์เตอร์บริการศูนย์บรรณสารฯ ที่ได้ปรับเปลี่ยนตลอด 🎯 เพื่อร่วมโอกาสครบรอบ 30 ปีสถาปนามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์มาดูกันสิว่า ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา ซึ่งเป็นหัวใจของมหาวิทยาลัยมีพัฒนาการเคียงคู่กับการเติบโตของมหาวิทยาลัยแห่งนี้อย่างไรบ้าง?อันดับแรกแอดมินนำเรื่องการเปลี่ยนแปลงของเคาน์เตอร์บริการหลักของศูนย์บรรณสารฯ เสนอเป็นเรื่องแรก เพราะเป็นสถานีแรกที่ทุกคนได้สัมผัสตั้งแต่ปีแรกที่เข้าเรียน ลูกเพจทันใช้บริการเคาน์เตอร์ยุคไหนกันบ้าง?🎯 Visits: 15Santat Sarakบรรณารักษ์

แผนที่ฉบับแรกมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

แผนที่เป็นสิ่งแรกที่เราถามหาเมื่อมาเยือนถิ่นวลัยลักษณ์แลนด์แดน 9,000 ไร่ ในครั้งแรก และสตั๊นท์กับความกว้างใหญ่ของพื้นที่มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เพื่อให้ไปให้ถึงจุดหมาย ถึงแม้ตามผังแม่บทการสร้างเมืองมหาวิทยาลัยจะแบ่งพื้นที่เป็นกลุ่มอาคารการเรียน กลุ่มอาคารวิชาการ กลุ่มที่พักอาศัยนักศึกษา บุคลากร ก็ตาม เพราะว่ารูปร่างลักษณะอาคารจะเหมือนกันหมด ถ้ามาครั้งแรกโดยไม่มีเจ้าถิ่นแนะนำ ก็จะต้องใช้แผนที่ในการเดินทาง ว่าอาคารใดอยู่ตรงไหน  ในช่วงเปิดการเรียนการสอน พ.ศ. 2541 การใช้แผนที่ Google map ยังเข้าถึงยาก เพื่อให้คู่มือในการเดินทางภายในมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จึงได้มีการมอบหมายให้บุคลากรที่ชำนาญในงาน Artwork สร้างแผนที่ฉบับภาพวาดขึ้นมา ซึ่งคุณธีรวัฒน์ ศรีบุญเอียด นักเทคโนโลยีการศึกษาประจำศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา ได้สรรค์สร้างขึ้นเป็นภาพวาดแผนที่มุม Bird eye view โดยการเดินสำรวจพื้นที่ทุกตารางเมตรด้วยตนเอง จนออกมาเป็นแผนที่ฉบับแรกที่ทุกคนได้ใช้ประโยชน์ก่อนจะพัฒนาขึ้นเป็นแผนที่ฉบับกราฟิกคอมพิวเตอร์อย่างทุกวันนี้ ปัจจุบันผู้สร้างแผนที่มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ฉบับแรกได้ครบอายุการทำงานในเดือนตุลาคม 2565 จึงได้ผลงานฉบับ Master piece เป็นสตอรี่หนึ่งแห่ง 30 ปี มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ Visits: 11Santat Sarakบรรณารักษ์

กว่าจะมาเป็นระบบ Virtual ID

กว่าจะมาเป็นระบบ Virtual ID การยืมคืนทรัพยากรสารสนเทศศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา สมาชิกทุกประเภทจะต้องยื่นบัตรแสดงตัวตนแก่เจ้าหน้าที่เพื่อยืนยันการเป็นสมาชิกสถานภาพปัจจุบัน จึงจะสามารถยืมหนังสือ ตำราเรียนต่างๆ ได้นักศึกษาทราบไหมว่า ก่อนจะมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์จะพัฒนามาใช้ระบบ Smart Library ระบบห้องสมุดอัตโนมัติของรุ่นพี่เป็นอย่างไร?เมื่อพ้นยุคการแสดงตัวตนด้วยบัตรนักศึกษาเมื่อยืมคืนหนังสือกับเจ้าหน้าที่ประจำเคาน์เตอร์ยืมคืนแล้ว ได้ปรับเปลี่ยนเป็นการแสดงตัวตนด้วยการสแกนลายนิ้วมือ เมื่อเปิดเทอมปีการศึกษาใหม่ นักศึกษาใหม่ต้องมาลงทะเบียนบันทึกลายนิ้วมือและถ่ายภาพลงในฐานข้อมูลเพื่อเชื่อมโยงกับระบบห้องสมุดอัตโนมัติ บันทึกการเข้า ออกศูนย์บรรณสารฯ ด้วยการ Scan ลายนิ้วมือ ดังในภาพเก่าที่นำมาแสดงให้เห็น ซึ่งใช้เวลาในการบันทึกข้อมูลสมาชิกใหม่ เป็นอันมาก ดังนั้นมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์จึงได้พัฒนาระบบ Smart card จากระบบอ่านข้อมูลจากแถบ Barcode มาเป็นระบบฝังชิพข้อมูล และเป็นระบบ RFID (Radio Frequency Identify) ในปัจจุบัน ทำให้สมาชิกห้องสมุดไม่ต้องต่อคิวรอใช้บริการยาวเหมือนในอดีต และมีภาพโปรไฟล์สวยหล่อปรากฎระบบคุณภาพดีกว่าระบบเก่า Visits: 6Santat Sarakบรรณารักษ์

มหาลัยไร้รั้ว..แต่ล้อมรอบไปด้วยวัด

มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช อาจจะเป็นสถาบันการศึกษาแห่งเดียวที่ไม่มีรั้วกั้นเขตแดนดังเช่นมหาวิทยาลัยอื่นๆ ในประเทศไทย เนื่องจากกระทรวงมหาดไทยได้อนุมัติพื้นที่สำหรับจัดตั้งมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ครอบคลุมพื้นที่หลายตำบล คือ ตำบลหัวตะพาน ตำบลไทยบุรี ตำบลท่าศาลา ตำบลโพธิ์ทอง จึงมีเส้นทางออกจากพื้นที่ 9,000 ไร่ของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ได้หลายเส้นทาง แต่พื้นที่จะมีรอยเชื่อมต่อกับวัดหลายวัดประจำตำบล มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ด้านข้างจะติดกับลำคลอง คือ คลองเกียบ กับคลองท่าสูง จึงใช้ลำคลองเป็นรั้วกั้นพื้นที่จากชุมชนมหาวิทยาลัย เรามานับเส้นทางออกจากพื้นที่มหาวิทยาลัย ซึ่งพื้นที่หมู่บ้านเหล่านั้นกลายเป็นรั้วให้มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์โดยปริยาย มาเริ่มนับจากทิศตะวันออก คือ ด้านหน้ามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ซึ่งหันหน้าบ้านสู่อ่าวไทย จะตัดออกไปสู่ถนนทางหลวง 401 ซึ่งเป็นพื้นที่ตำบลท่าศาลา ถนนมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์จะมีเส้นทางออกไปยังวัดนางตรา และหากเป็นด้านข้างมหาวิทยาลัย จะเป็นเส้นทางออกวัดแส็งแรง วัดบนถนน วัดคลองดิน นับเป็นอีก 2 เส้นทาง ทางออกตรงสามแยกสนามกีฬาตุมปัง คือ เส้นทางไปสู่วัดโคกเหล็ก ทางออกประตูหลังมหาวิทยาลัยคือชุมชนสาธิตวลัยลักษณ์พัฒนา ในพื้นที่ตำบลไทยบุรี และด้านหลังกลุ่มบ้านพักบุคลากรวลัยนิวาสจะมีทางออกผ่านคลองเกียบไปสู่วัดเก่าแก่คือวัดสโมสร นอกจากนี้ยังมีเส้นทางเล็กๆ ข้างศูนย์กีฬาผ่านพื้นที่เกษตรชาวบ้านออกสู่วัดพระอาสน์ได้อีกด้วย นับว่าเป็นพื้นที่ Unseen ก็ว่าได้ เพราะล้อมรอบด้วยวัด ซึ่งนี่ยังไม่ได้นับวัดตุมปังร้างซึ่งขึ้นทะเบียนโบราณสถานตุมปังไปแล้ว อีกทั้งยังมีวัดจันทร์ร้างที่โบราณเคยอยู่มุมหนึ่งของพื้นที่เป็นสระน้ำสวนมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ในปัจจุบัน บันทึกเรื่องราวน่าทึ่งนี้ไว้ให้เข้ากับบรรยากาศมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ร่วมเป็นเจ้าภาพทอดผ้าป่าสามัคคีวัดแส็งแร็ง ตำบลโพธิ์ทอง ประจำปี 2566 วันนี้ […]

ใครไม่หลงสิแปลก

มีใครมาอยู่มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์แรกๆ ไม่หลงบ้าง คุณเก่งมาก! เนื่องจากอาณาจักรวลัยลักษณ์แลนด์แดน 9,000 ไร่ มีพื้นที่กว้างไกล และมีการแบ่งโซนอาคารตาม Function การปฏิบัติงานและการเรียนการสอน ในระยะที่ห่างกันออกไป จึงไม่แปลกที่คนมาเรียนหรือปฏิบัติงานจะงงมึน ต่อให้มีป้ายบอกทางชัดเจนแล้วก็ตาม หากยังไม่ทำความคุ้นเคยกับลักษณะทางกายภาพแต่พออยู่ๆ ไป จำผังการแบ่งโซนต่างๆ ของกลุ่มอาคารได้ก็ไม่ยากเลยที่จะเข้าถึงจุดหมาย เช่น กลุ่มอาคารเรียนรวม จะอยู่หลังอาคารไทยบุรี ถนนจะเป็นวงกลม 2 วงกลม โพสต์นี้จะเล่าเรื่องการหลงห้องสอบของนักศึกษาใหม่ซึ่งได้เกิดขึ้นประจำทุกปี ก่อนเปิดเทอม จะมีการสอบวัดระดับนักศึกษาเพื่อแยกกลุ่มจัดตารางสอน ทีนี้อาคารเรียนรวม 1,3,5,7 จะมีลักษณะพิเศษ คือชั้น 3 จะเป็นห้องรวมอยู่แยกกัน 2 ปีกของตึก มีบันไดขึ้นลงแยกกันต่างหาก มองลงมาจะเห็นโถงชั้น 2 ตัวอย่าง มักจะมีนักศึกษาเป็นจำนวนมากที่สับสนระหว่างห้องสอบที่ 5310 กับ 5301 ทั้งขึ้นบันไดผิดฝั่ง จำเลขห้องสลับกัน เลยไปเข้าห้องสอบผิด ถ้ามีเวลาเหลือมากก็ไม่เป็นไร แต่พอเวลาจวนเจียนก็ต้องวิ่งลงมาชั้น 2 ก่อน แล้วไปขึ้นชั้น 3 อย่างกระหืดกระหอบ เพราะฉะนั้นต้องตรวจสอบห้องสอบกันให้ดีๆ เพราะบันไดทางขึ้นก็อยู่ต่างปีก ไม่มีทางลัดที่ชั้น […]

WU Library ไม่ใช่ WU Book Center

ทุกปีจะพบว่านักศึกษาใหม่จะหลงไป WU Book Center เมื่อต้องการจะไปห้องสมุดมหาวิทยาลัย เพราะชื่อหน่วยงานมีคำว่า “Book” อยู่ ซึ่ง WU Book Center เป็นชื่อร้านหนังสือ จำหน่ายเครื่องแบบนักศึกษา หนังสือตำราเรียน เครื่องเขียน และหนังสือทั่วไป รวมทั้งของใช้จำเป็นในการเรียนมหาวิทยาลัย นับเป็นเรื่องไม่น่าแปลกใจ เพราะชื่อห้องสมุดมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ไม่ได้มีชื่อขึ้นต้นว่าห้องสมุดเหมือนห้องสมุดโรงเรียน ห้องสมุดมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์มีชื่อเป็นทางการว่า “ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา” หรือ The Center for Library resources and Education Media มีชื่อย่อหน่วยงานภาษาไทยว่า ศบส. ชื่อย่อภาษาอังกฤษว่า CLM มีอาคารแยกออกมาจากอาคารอื่นๆ เนื่องจากเป็นแหล่งบริการทรัพยากรสารสนเทศ ยังให้บริการผลิตสื่อการเรียนการสอนทุกรูปแบบ และให้บริการโสตทัศนูปกรณ์สนับสนุนการเรียนการสอน ตามที่อาจารย์นักศึกษาได้รับบริการตามห้องเรียนทุกอาคาร อีกไม่นานจะมีการปรับปรุงอาคาร นักศึกษาใหม่รหัสใหม่ปีหน้าอาจจะต้องไปใช้บริการ ณ อาคารอื่น คอยติดตามข่าวการย้ายหน่วยงานเร็วๆ นี้ Visits: 7Santat Sarakบรรณารักษ์

วัฒนธรรม วิถีชีวิต ประเพณีและความเชื่อในภาคใต้

จากการที่ได้เรียนรู้ในรายวิชาดังกล่าวนี้ จึงขอแนะนำความรู้ในบางส่วนที่คิดว่าจะมีประโยชน์กับผู้ที่กำลังศึกษาวัฒนธรรมท้องถิ่นภาคใต้ของเราว่ามีความเป็นมาเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับเรื่องใดบ้างก่อนจะมีวัฒนธรรมให้เราได้ยึดถือปฏิบัติกันมาจนถึงวันนี้ คำว่า “วัฒนธรรมท้องถิ่น” กล่าวคือ วัฒนธรรมท้องถิ่นในที่นี้ก็จะเชื่อมโยงไปให้เห็นคำว่าวัฒนธรรมท้องถิ่นภาคใต้ ฉะนั้นคำว่าวัฒนธรรมท้องถิ่นภาคใต้แน่นอนจะบอกเฉพาะเจาะจงไปที่ความเป็นท้องถิ่นภาคใต้ ฉะนั้นพอเป็นความท้องถิ่นภาคใต้ ก็จำเป็นจะต้องทำความเข้าใจ ความมีลักษณะเฉพาะของวัฒนธรรมท้องถิ่นภาคใต้ในอีกรูปแบบหนึ่ง พอเฉพาะเจาะจงไปเรื่องวัฒนธรรมท้องถิ่นภาคใต้เราก็ต้องมีพื้นฐานให้เข้าใจไปโดยอัตโนมัติว่าประเทศไทยถูกแบ่งภูมิภาคออกเป็นอย่างน้อย 5 ภูมิภาค ซึ่งขนาดภาคใต้เองก็เป็นภาคใต้ตอนล่าง-ภาคใต้ตอนบน ภาคกลางเองก็มีภาคตะวันตก ภาคตะวันออก ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือภาคตะวันตก ที่แบ่งให้เห็นความเหลื่อมหรือความต่างของวัฒนธรรม ทั้งนี้วัฒนธรรมท้องถิ่นภาคใต้มี 2 โซน ก็คือ วัฒนธรรมท้องถิ่นภาคใต้ตอนล่าง กับวัฒนธรรมท้องถิ่นภาคใต้ตอนบน ก็ได้แบ่งโดยพื้นที่ของจังหวัดสงขลานับลงไปถึงโซนข้างล่างสุด และนับไปจากนครศรีธรรมราชขึ้นไปก็เป็น 6 จังหวัดภาคใต้ตอนบน และ 6 จังหวัดภาคใต้ตอนล่าง ฉะนั้นขนาดโซนภาคใต้เองที่เราเรียกว่าวัฒนธรรมท้องถิ่นภาคใต้ ก็จะมีจุดเน้นทางวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน วัฒนธรรมท้องถิ่นภาคใต้ตอนล่างเราจะเห็นว่าแตกต่างกัน เราจะเห็นว่าบทบาทศาสตราวุธ โดยเฉพาะ 6 ภาคใต้ตอนล่างศาสตราวุธที่มีความเด่นมาก ในท้องถิ่นภาคใต้ก็คือกริชใน 6 ภาคใต้ตอนล่าง กริชหรือออกเสียงเป็นภาษาอินโดนีเซียบาฮาซาออกเสียงว่าเกอริช 2 พยางค์แต่คนไทยเอาคำนี้มาใช้เรียกรวมกันว่ากริชใน อินโดนีเซียบาฮาซา แปลว่าแทงในระยะประชิดตัว แต่ว่าพอเป็นคำกริยา เวลามาอยู่ในประเทศไทยออกเสียงเป็นพยางค์เดียวว่ากริช แต่คนในอินโดนิเซียออกเสียงว่าเกอริช แล้วก็เป็น อาวุธสำคัญที่สะท้อนให้เห็นทั้งโลกทัศน์ความเชื่อและพัฒนาการทางศาสนา ในพื้นที่คาบสมุทรมลายูทั้งหมด ส่วนภาคใต้ตอนบนกริชหรือเกอริชจะลดทอนบทบาทลงไป เยอะมาก […]

เทคนิคการถ่ายภาพแบบสื่อสาธารณะ

ซึ่งจากการที่ได้เรียนรู้ในรายวิชาดังกล่าวนี้ จึงขอแนะนำความรู้ในบางส่วนที่คิดว่าจะมีประโยชน์กับผู้ที่กำลังเริ่มต้นการถ่ายภาพเพื่อนำไปใช้เผยแพร่ในช่องทางต่าง ๆ  และ เพื่อให้ได้ภาพถ่ายที่มีความสวยงามสื่อความหมายถูกต้องตามหลักของสื่อสาธารณะ อันดับแรกเรามาเรียนรู้และทำความรู้จักกับการตั้งค่าพื้นฐานของกล้องเพื่อให้ได้ถ่ายภาพที่สวยงามมากขึ้น อันได้แก่ 1. การปรับค่าควบคุมแสง 3 ค่า คือ ค่า F-stop, ISO และสปีดชัตเตอร์ 2. การบันทึกภาพต่อวินาที หรือ Framerate 3. การปรับความสมดุลแสงสีขาว หรือ White Balance การปรับค่าควบคุมแสง ค่าแรก คือ ค่ารูรับแสง โดยทั่วไปเรามักจะเรียกค่ารูรับแสงสั้น ๆ ว่าค่า F เป็นการปรับขนาดรูรับแสงที่ยอมให้แสงผ่านเข้าไปตกกระทบบนเซนเซอร์ การปรับค่า F แปรผกผันกับการรับแสง กล่าวคือ ค่ารูรับแสงน้อยเซนเซอร์จะรับแสงได้มาก ภาพที่ถ่ายออกมาจะสว่าง ในขณะที่ค่ารูรับแสงมากเซนเซอร์จะรับแสงได้น้อยภาพที่ถ่ายออกมาจะมืด  จึงควรปรับค่า F-stop ให้ต่ำมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ค่าที่ 2 คือ สปีดชัตเตอร์ หรือค่าความไวของชัตเตอร์ หรือม่านที่ทำหน้าที่เปิด-ปิดการรับแสงที่ผ่านมาจากเลนส์ชัตเตอร์ หรือแผ่นทึบแสงเป็นส่วนประกอบชิ้นหนึ่งของกล้อง ซึ่งวางอยู่ด้านหน้าเซนเซอร์ภาพ ทำหน้าที่หลักในการควบคุมปริมาณแสงที่ผ่านจากเลนส์ไปยังเซนเซอร์ เพื่อให้ภาพอยู่ในระดับที่พอดี เพื่อให้ภาพได้รับแสงที่ถูกต้อง  […]

เทคนิคการนำเสนอผลงานวิชาการ

ซึ่งจากการเรียนรู้ในรายวิชาดังกล่าวนี้ จึงขอแนะนำความรู้ในบางส่วนที่คิดว่าจะมีประโยชน์กับผู้ที่กำลังจะก้าวเข้าสู่การนำเสนอผลงานวิชาการ จึงเป็นสิ่งที่สาคัญที่นักวิจัยและนักวิชาการทุกคนควรต้องทำ เมื่อเสร็จสิ้นการวิจัย และจัดทำรายงานวิจัยเสร็จเรียบร้อยแล้ว นักวิจัยและนักวิชาการควรถือว่าเป็นหน้าที่ ซึ่งอาจนำเสนอผลงานวิจัยได้หลายแบบ สามารถเลือกวิธีการนำเสนอใด้หลายวิธี คือ การพูดทางวิชาการ การนำเสนอด้วยโปสเตอร์ หรือด้วยการตีพิมพ์ เป็นต้น การฝึกซ้อมกันนำเสนอ  เนื่องจากการนำเสนอการวิจัยจะเป็นเรื่องใหม่เสมอ ผู้วิจัยจึงต้องฝึกซ้อมก่อนนำเสนอทุกครั้งเพื่อให้การนำเสนอเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ  ซึ่งการนำเสนอผลงานวิจัยอย่างมีประสิทธิภาพจะต้องดำเนินการดังนี้คือ การเตรียมการนำเสนอ และการนำเสนอ การประเมินเพื่อพัฒนาการนำเสนออย่างมีประสิทธิภาพ อาจประเมินด้วยการสังเกต ในปฏิกิริยาของผู้ฟัง ควรออกแบบการประเมินที่จะได้สารสนเทศสนองต่อนักวิจัยที่จะนำไปพิจารณาปรับปรุงการนาเสนอครั้งต่อไป ข้อพึงปฏิบัติการนำเสนอที่มีประสิทธิภาพ ควรมีการวางแผนตามลำดับขั้นตอนที่สอดคล้องกับเนื้อหา, มีการนำเสนอในแต่ละหัวข้อประมาณ 1-2 นาที, มีการฝึกฝนการพูดให้กระชับและตรงประเด็น, มีการวางแผนการใช้สื่อให้เหมาะกับสาระ, ปรับเนื้อหาให้ตรงประเด็น, ออกเสียงชัดเจน, พูดถึงเหตุผลการวิจัยที่ชัดเจน และควรเน้นนำเสนอให้ผู้ฟังเข้าใจ ข้อไม่พึงปฏิบัติที่การนำเสนอที่ไม่มีประสิทธิภาพ การนำเสนอโดยการพูดทางวิชาการ การเสนอผลงานวิจัยและงานวิชาการด้วยวาจา มีเวลาจากัดมาก นักวิจัยมีเวลาประมาณ 15-20 นาที ในการนำเสนอสาระสรุปของผลงานวิจัย สาระด้านการนำเสนอผลงานวิจัยด้วยวาจา แบ่งเป็น 2 หัวข้อ คือ รูปแบบเอกสาร/ผลงานวิจัยสาหรับการนำเสนอด้วยวาจา และแนวทางการเตรียมเอกสาร/ผลงานใช้ประกอบการเสนอผลงาน นงลักษณ์ วิรัชชัย (2559) ดังนี้ รูปแบบของผลงานวิจัยสาหรับการเสนอด้วยวาจา สิ่งที่นักวิจัยต้องเตรียมในการนาเสนอผลงานวิจัยด้วยวาจา […]

“ทัศนียภาพอันงดงาม/อาคารสีสันสดใส COLORFUL” ในมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

ในช่วงเวลา ณ ปัจจุบัน การแข่งขันทางการเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยต่าง ๆ มีมากขึ้น ด้วยเหตุปัจจัย  หลาย ๆ อย่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งตัวเลือกจำนวนของมหาวิทยาลัยที่มีมากขึ้นกว่าในอดีต จึงทำให้โอกาสที่จะเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงของนักเรียนมีมากขึ้น ซึ่งปัจจัยที่จะชักจูงใจให้นักเรียนมีความสนใจที่จะเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยนั้น อาจมีหลายปัจจัยด้วยกัน เช่น ความมีชื่อเสียงตั้งแต่เดิมของมหาวิทยาลัย  คณะหรือหลักสูตรที่สนใจ หรือแม้แต่ทัศนียภาพที่สวยงามของมหาวิทยาลัยแห่งนั้น นั่นเอง ด้วยเหตุดังกล่าว มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ได้มองเห็นถึงประเด็นสำคัญอย่างหนึ่งของการที่จะดึงดูดใจนักเรียนให้มีความสนใจเข้ามาศึกษาในมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ให้เพิ่มมากขึ้น ด้วยการปรับปรุงทัศนียภาพให้มีความงดงาม มีพื้นที่ให้เป็นจุด Check In ถ่ายรูปสวย จึงได้มีการปรับปรุงอาคารต่าง ๆ ในมหาวิทยาลัยให้มีความสวยงามมากยิ่งขึ้น ซึ่งตนเองในฐานะที่มีความชอบในสีสันสดใสอยู่เป็นพื้นฐาน และในโอกาสที่มหาวิทยาลัยมีอายุครบ 30 ปี ในวันที่ 29 มีนาคม 2565 ที่ผ่านมานั้น จึงขออนุญาตนำท่านไปชมอาคารที่มีสีสันสดใส COLORFUL ในมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ไปติดตามด้วยกันเลยค่ะ อาคารเรียนรวม 6 – พิกัดของอาคารจะอยู่ติดกับอาคารโรงอาหาร 4 เป็นอาคารที่สร้างขึ้นมาใหม่และเปิดใช้เมื่อปลายปี 2564 ที่ผ่านมา มีลักษณะพิเศษที่เด่นชัดของสีที่ไล่สีอ่อน-แก่ตามลำดับของชั้น อีกทั้งโทนสีครีม-ออกเหลือง ทำให้อาคารนี้ดูโดดเด่นมาก โซนอาคารวิชาการ […]

“โบราณสถานตุมปัง” สิ่งศักดิ์สิทธิ์ในมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

ถ้าจะกล่าวถึงความเชื่อ หลายท่านก็คงจะนึกถึงความเชื่อในเรื่องต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นความเชื่อในเรื่องของกฎแห่งกรรม, สิ่งศักดิ์สิทธิ์, โหราศาสตร์ เป็นต้น ซึ่งในส่วนของข้าพเจ้านั้นมีความเชื่อในเรื่องของกฎแห่งกรรม และมีความศรัทธาในเรื่องสิ่งศักดิ์สิทธิ์ โดยตลอดระยะเวลา 23 ปี ที่ได้เข้ามาทำงานในดินแดน 9,000 ไร่แห่งนี้ที่มีนามว่า “มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์” นั้นมีเรื่องราวมากมายให้พบเจอ บางช่วงเวลาก็ต้องเจอกับปัญหาให้เกิดความท้อแท้ใจบ้างก็ต้องมองหาสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจที่จะช่วยสร้างแรงบันดาลใจให้มีเพิ่มมากขึ้น กล่าวคือ พื้นที่ของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ นั้นตั้งอยู่บริเวณตำบลไทยบุรี อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช มีตำนานกล่าวขานกันมานานถึงความเชื่อความศรัทธาของชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในบริเวณนี้มานานว่า “พื้นที่แห่งนี้เคยมีประวัติศาสตร์อันยาวนานกับความเชื่อเรื่องสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ที่มีชื่อเรียกขานนามว่า “โบราณสถานตุมปัง” ซึ่งตำนานของที่นี่ ได้กล่าวไว้ในบางส่วนของหนังสือ “โบราณสถานตุมปัง  โบราณสถานและโบราณวัตถุ ในจังหวัดนครศรีธรรมราช” เขียนโดย อาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ หน้า 69-70 ดังข้อความที่กล่าวว่า “ตำนานและความเชื่อเกี่ยวกับทวดที่คนในภาคใต้ได้ยึดถือสืบทอดต่อ ๆ กันมามีเป็นจำนวนมากและกระจายอยู่ในหลายจังหวัด ซึ่งในอำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นพื้นที่ที่มีตำนานและความเชื่อเกี่ยวกับทวดอย่างแพร่หลาย เช่น ทวดกลาย ทวดเกียบ ทวดทอง และอีกหนึ่งในความเชื่อเรื่องทวดเหล่านั้นมี “ทวดตุมปัง” ซึ่งชาวบ้านเชื่อว่าเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่คอยปกปักรักษาโบราณสถานตุมปังมาจนถึงปัจจุบันรวมอยู่ด้วย ทวดตุมปังเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวบ้านในแถบอำเภอท่าศาลาเชื่อว่าเป็นงูบองหลา หรืองูจงอางเผือก (สีขาว) ที่คอยปกปักรักษาไม่ให้ใครเข้าไปทำลายแหล่งโบราณสถานที่ชาวบ้านเรียกว่า […]

30th WU : be my love

“ฉันรักวลัยลักษณ์ เพราะวลัยลักษณ์พาฉันกลับมาสู่อ้อมกอดของความรัก รักษ์วลัยลักษณ์”

Back To Top