Tag: ห้องสมุดมหาวิทยาลัย

มุมลึกลับในศูนย์บรรณฯ

อาคารบรรณสารและสื่อการศึกษา ที่ใครๆ เรียกติดปากว่า “ศูนย์บรรณฯ”เริ่มเปิดใช้เป็นทางการเมื่อปี พ.ศ. 2541 โดยย้ายมาจากอาคารวิจัย มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ (คนรุ่นเก่าเรียกว่า D4) เป็นหนึ่งในอาคารที่มีพื้นที่การใช้สอยมากอาคารหนึ่งในมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ศูนย์บรรณสารฯ เป็นตึก 3 ชั้น ซึ่งแน่นอนว่าจะมีการจัดสรรพื้นที่ แบ่งซอยห้องเล็กห้องน้อยออกไปทุกชั้น ผู้ใช้บริการบางท่านก็ไม่เคยใช้งาน ไม่เคยใช้พื้นที่ จนนักศึกษาบางคนเรียกว่ามุมลึกลับ เรามาดูกันว่าคำว่ามุมลึกลับในที่นี้ จริงๆ แล้วลึกลับเพราะมีเรื่องสยองขวัญซ่อนอยู่? หรือลึกลับเพราะผู้ใช้บริการเข้าไม่ถึง ไม่รู้จักกันแน่… งั้นเรามาทำความรู้จักมุมลึกลับ เริ่มไปจากชั้น 1 ห้องถัดไปจากเคาน์เตอร์บริการ ชั้น 1 จัดเป็นห้องมินิสตูดิโอบันทึกการเรียนการสอน Online ฝั่งตรงข้ามเป็นศูนย์จัดเก็บเอกสารกลางมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ งานหอจดหมายเหตุมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์รับผิดชอบดูแลพื้นที่ส่วนนี้ ส่วนลึกเข้าไปในชั้น 1 โซนห้องประชุมประเภทต่างๆ มี โรงหนัง 72 ที่นั่ง ซึ่งจะเปิดให้บริการเป็นหมู่คณะตามระเบียบการใช้งาน ข้างห้องน้ำหลังห้องประชุมระเบียงบรรณ 1 มีทางออกสู่เทอเรซ Terrace ที่นั่งอ่านชิคๆ ชมวิวหลักล้าน รองรับการใช้พื้นที่ส่งเสริมการเรียนรู้ 24 ชม. และสามารถขอใช้เป็นมุมจัดเลี้ยงอาหารและเครื่องดื่มได้ เมื่อมีการจัดประชุมที่ห้องประชุมระเบียงบรรณ 1-3 […]

30 ปี…เคาน์เตอร์บริการกับการเปลี่ยนแปลง รวมไปถึงพื้นที่ต่างๆ ภายในศูนย์บรรณสารฯ

👉 👉 กว่าทศวรรษเคาน์เตอร์บริการศูนย์บรรณสารฯ ที่ได้ปรับเปลี่ยนตลอด 🎯 เพื่อร่วมโอกาสครบรอบ 30 ปีสถาปนามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์มาดูกันสิว่า ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา ซึ่งเป็นหัวใจของมหาวิทยาลัยมีพัฒนาการเคียงคู่กับการเติบโตของมหาวิทยาลัยแห่งนี้อย่างไรบ้าง?อันดับแรกแอดมินนำเรื่องการเปลี่ยนแปลงของเคาน์เตอร์บริการหลักของศูนย์บรรณสารฯ เสนอเป็นเรื่องแรก เพราะเป็นสถานีแรกที่ทุกคนได้สัมผัสตั้งแต่ปีแรกที่เข้าเรียน ลูกเพจทันใช้บริการเคาน์เตอร์ยุคไหนกันบ้าง?🎯 Visits: 15Santat Sarakบรรณารักษ์

กว่าจะมาเป็นระบบ Virtual ID

กว่าจะมาเป็นระบบ Virtual ID การยืมคืนทรัพยากรสารสนเทศศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา สมาชิกทุกประเภทจะต้องยื่นบัตรแสดงตัวตนแก่เจ้าหน้าที่เพื่อยืนยันการเป็นสมาชิกสถานภาพปัจจุบัน จึงจะสามารถยืมหนังสือ ตำราเรียนต่างๆ ได้นักศึกษาทราบไหมว่า ก่อนจะมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์จะพัฒนามาใช้ระบบ Smart Library ระบบห้องสมุดอัตโนมัติของรุ่นพี่เป็นอย่างไร?เมื่อพ้นยุคการแสดงตัวตนด้วยบัตรนักศึกษาเมื่อยืมคืนหนังสือกับเจ้าหน้าที่ประจำเคาน์เตอร์ยืมคืนแล้ว ได้ปรับเปลี่ยนเป็นการแสดงตัวตนด้วยการสแกนลายนิ้วมือ เมื่อเปิดเทอมปีการศึกษาใหม่ นักศึกษาใหม่ต้องมาลงทะเบียนบันทึกลายนิ้วมือและถ่ายภาพลงในฐานข้อมูลเพื่อเชื่อมโยงกับระบบห้องสมุดอัตโนมัติ บันทึกการเข้า ออกศูนย์บรรณสารฯ ด้วยการ Scan ลายนิ้วมือ ดังในภาพเก่าที่นำมาแสดงให้เห็น ซึ่งใช้เวลาในการบันทึกข้อมูลสมาชิกใหม่ เป็นอันมาก ดังนั้นมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์จึงได้พัฒนาระบบ Smart card จากระบบอ่านข้อมูลจากแถบ Barcode มาเป็นระบบฝังชิพข้อมูล และเป็นระบบ RFID (Radio Frequency Identify) ในปัจจุบัน ทำให้สมาชิกห้องสมุดไม่ต้องต่อคิวรอใช้บริการยาวเหมือนในอดีต และมีภาพโปรไฟล์สวยหล่อปรากฎระบบคุณภาพดีกว่าระบบเก่า Visits: 6Santat Sarakบรรณารักษ์

WU Library ไม่ใช่ WU Book Center

ทุกปีจะพบว่านักศึกษาใหม่จะหลงไป WU Book Center เมื่อต้องการจะไปห้องสมุดมหาวิทยาลัย เพราะชื่อหน่วยงานมีคำว่า “Book” อยู่ ซึ่ง WU Book Center เป็นชื่อร้านหนังสือ จำหน่ายเครื่องแบบนักศึกษา หนังสือตำราเรียน เครื่องเขียน และหนังสือทั่วไป รวมทั้งของใช้จำเป็นในการเรียนมหาวิทยาลัย นับเป็นเรื่องไม่น่าแปลกใจ เพราะชื่อห้องสมุดมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ไม่ได้มีชื่อขึ้นต้นว่าห้องสมุดเหมือนห้องสมุดโรงเรียน ห้องสมุดมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์มีชื่อเป็นทางการว่า “ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา” หรือ The Center for Library resources and Education Media มีชื่อย่อหน่วยงานภาษาไทยว่า ศบส. ชื่อย่อภาษาอังกฤษว่า CLM มีอาคารแยกออกมาจากอาคารอื่นๆ เนื่องจากเป็นแหล่งบริการทรัพยากรสารสนเทศ ยังให้บริการผลิตสื่อการเรียนการสอนทุกรูปแบบ และให้บริการโสตทัศนูปกรณ์สนับสนุนการเรียนการสอน ตามที่อาจารย์นักศึกษาได้รับบริการตามห้องเรียนทุกอาคาร อีกไม่นานจะมีการปรับปรุงอาคาร นักศึกษาใหม่รหัสใหม่ปีหน้าอาจจะต้องไปใช้บริการ ณ อาคารอื่น คอยติดตามข่าวการย้ายหน่วยงานเร็วๆ นี้ Visits: 7Santat Sarakบรรณารักษ์

Back To Top