Tag: บริการโสตทัศนูปกรณฺ์

จะเลือกอย่างไรระหว่างมิกเซอร์อนาล๊อกหรือมิกดิจิทัล

มิกเซอร์เป็นอุปกรณ์ที่สำคัญมากในการทำระบบเสียงไม่ว่าจะงาน Live sound งาน studio งาน brocast หรืองานประชุมสัมนาห้องประชุมต่างๆจำเป็นต้องใช้มิกเซอร์หรือว่าเครื่องผสมเสียงใช้ในการมิกเสียงให้ออกมาสมบูรณ์แบบในปัจจุบันมิกเซอร์ได้พัฒนาไปมากซึ่งใช้คอมพิวเตอร์มาช่วยประมวลผลได้อย่างรวดเร็วจะมิกเซอร์อนาล๊อกที่มีขนาดใหญ่ๆหลายแชลแนลแต่ตอนนี้พอพัฒนาไปเป็นระบบดิจิทัลขนาดมิกเซอร์ที่มีหลายแชลแนลมีขนาดเล็กลงและสะดวกมากในการนำไปใช้งานในด้านต่างๆมาดูกันว่ามิกเซอร์ที่เราใช้ในปัจจุบันมีอะไรบ้าง 1 มิกเซอร์อนาล๊อก Analog Mixer เป็นเครื่องผสมเสียงมาตั้งแต่ยุคแรกใช้ในการรวมสัญญาณเสียงมีทั้งขนาดเล็กขนาดใหญ่ตามขนาดงานที่ใช้สามารถใช้ในงานได้หลายหลายเช่นห้องประชุมสัมนาห้องเรียนงานคอนเสริตย์งานสตูดิโองานหรืองานเครื่องเสียงกลางแจ้งซึ่งถ้างานขนาดเล็กมิกเซอร์จะปรับอีคิวได้น้อยแค่มีปรับเสียงทุ้มกับเสียงแหลมและมี aux ไม่มากส่วนถ้าใช้มิกเซอร์อนาล๊อกกับงานขนาดใหญ่จะใช้มิกตัวที่มีหลายแชลแนลเพื่อรองรับกับไมค์หลายๆตัวหรือเครื่องดนตรีหลายๆชิ้นและนอกจากนี้มิกเซอร์จะมีอีคิวที่จะจัดการความเสียงได้เยอะกว่าเช่นมี ปรับเสียงทุ้ม มิดโล มิดไฮ และ ไฮ เพื่อจัดการความถี่เเสียงได้ละเอียดขึ้นทำให้เสียงออกมาดีเพิ่มขึ้น ข้อดีของมิกเซอร์อนาล๊อก 1 ใช้งานง่ายเพราะมีปุ่มหมุดใช้งานที่เยอะไม่งงกับการใช้งานมองแล้วเห็นหมดทุกแชลแนล 2 ใช้งานนานๆไม่มีการแฮ้งจะของเครื่องแม้อากาศจะร้องหรือฝนจะตก 3 มีความทนทานสูงเพราะไม่มีโปรแกรมซับซ้อนไม่ต้องมีการอัพเดทซอฟแวร์ 4 ใช้งานมีความเสถียรแม้ว่าไฟจะตกหรือไฟดับเปิดถึงเครื่องสามารถใช้งานได้ทันที ข้อเสียของมิกเซอร์อนาล๊อก 1 ต้องใช้อุปกรณ์ภายนอกมาใช้เสริมในการใช้งานเช่น เกท คอมเพลสเซอร์ กราฟฟิกอีคิว 2 มีขนาดใหญ่หากใช้งานหลายแชลแนลมีน้ำหนักเยอะต้องยกหลายคน 3 ไม่สามารถควบคุมระยะไกลผ่านไอแพด มือถือ และคอมพิวเตอร์ได้ 4 ไม่สามารถเซฟการปรับแต่งเสียงไว้ได้เนื่องจากไม่มีระบบคอมพิวเตอร์ภายในเครื่อง รูปมิกเซอร์แบบอนาล๊อก ดิจิทัลมิกเซอร์ Digital mixer เป็นมิกเซอร์ที่มีระบบคอมพิวเตอร์ข้างในเครื่องสามารถประมวลเสียงหรือว่า Dsp ( Digital signal processor ) […]

ปัญหาไมโครโฟนหอนและการแก้ปัญหาให้อยู่หมัด

ปัญหาไมค์หอนเป็นปัญหาปวดใจของงานสัมนาต่างๆงานคอนเสริตย์เพราะมันสร้างความรบกวนแก่ผู้มาร่วมงานทำให้เกิดเสียบรรยากาศในการอบรมหรืองานคอนเสริตย์จะทำไห้เสียอัตรสในการฟังเพลงเป็นอย่างมากเพราะถ้าหากผู้ควบคุมระบบเสียงไม่รู้สาเหตุที่เกิดขึ้นจะทำไห้ไมค์เกิดการหอนทุกเวลาทำงานที่อุตส่าเตรียมตัวมาอย่างดีอุตส่าจัดไฟจนสวยหรือจัดเวทีจนสวยต้องมาล่มเพราะไมค์หอนเราลองมาดูกันว่าสาเหตุของไมค์หอนนี้เกิดจากอะไรกันบ้าง สาเหตุปัญหาที่เกิดไมค์หอนมีดังต่อไปนี้คือ 1 ใช้ไมค์คุณภาพต่ำหรือไมค์ปลอมไมค์ก๊อปยี่ห้อดังทำให้การตอบสนองความถี่ได้ไม่ครบทุกย่านและมีความถี่เสียงในย่าน mid hight ออกมาเยอะเกินไปเช่นย่านความถี่ 4 khz 6 khz 8 khz ซึ้งย่านความถี่เหล่านี้จะเกิดปัญหาไมค์หอนได้ง่ายมากดังนั้นวิธีแก้ปัญหาที่ถุกต้องคืออย่าเห็นแต่ของถูกควรใช้ไมค์ที่มีมาตรฐานจะทำงานได้ง่ายเนื่องจากวัสดุที่ใช้ในการทำไมค์โครโฟนมีคุณภาพที่ดี 2 การพุดไมค์หน้าตู้ลำโพงเกิดจากวิทยาการเดินผ่านหน้าตู้ลำโพงทำให้เสียงที่ลำโพงมาเข้าไมค์อีกครั้งทำให้เครื่องขยายเสียงขยายความถี่เสี่ยงซ้ำๆเกิดขึ้นจึงเกิดเสียงหอนออกมาให้เหลายความถี่เเสียงเช่นถ้าไมค์ไมค์ไปไกล้ๆลำโพงเสียงทุ้มไมค์ก็จะหอนในย่านเสียงต่ำ หรือว่าหากวิทยากรเดินผ่านหน้าลำโพงเสียงแหลมก็จะเกิดเสียงหอนทางด้านความถี่เสียงแหลมขึ้นโดยง่ายวิธีแก้ควรเลือกวางลำโพงให้วิทยากรอยู่ด้านหลังลำโพงทำให้วิทยากรเดินผ่านลำโพงได้ยากขึ้น 3 สภาพอะคูสติกภายในห้อง หากห้องประชุมสัมนาที่ออกแบบมาใช้งานด้านเสียงสภาพห้องมีแต่ของแข็งเช่น ปูน กระจก โดยที่ไม่มีวัสดุซับเสียงเลยนอกจากเกิดปัญหาเสียงก้องแล้วยังทำให้เกิดไมค์หอนได้ด้วยเนื่องจากเสียงนั้นจะสะท้อนกับวัสดุที่แข็งๆสะท้อนไปมาทำให้เกิดหักล้างทางเฟสที่ที่เรียกว่า Phase shift ทำให้เสียงออกมาไม่ดีและเสียงจะสะท้อนเข้าไปยังไมค์โครโฟนทำไห้เกิดเสียงหอนในย่านความถี่ต่างๆขึ้นได้วิธีแก้ปัญหาให้ปรับปรุงห้องให้มีสภาพอะคูสติกที่ดีขึ้นโดยต้องติดวัสดุซับเสียงเพื่อลดเสียงสะห้องภายในห้องที่เราจะใช้งานด้านเสียง 4 การถือไมค์โครโฟน เนื่องจากไมค์โครโฟนมีหลายชนิดเช่น condensor ไมค์โครโฟนเป็นไมค์ที่รับเสียงได้ดีทุกย่านความถี่ซึ่งเป็นที่นิยมในงาน Live sound และงาน Studio มีความไวในการรับสูงมากทำให้สามารถนำไปใช้กับงานพิธีการได้เช่นคนที่พูดเสียงเบาๆไมค์ก็ยังเสียงดังชัดเจนอยู่ถึงแม้จะพูดไมค์ห่างปากก็ยังใช้ได้โดยที่ sound engineers ไม่จำเป็นต้องเพิ่ม Gain ของปรีไมค์ขึ้นมากทำให้ไมค์จะไม่หอนไมค์โครโฟนแบบ dynamic เป็นไมค์โครโฟนอีกชนิดหนึ่งที่นิยมใช้การมากในปัจจุบันเนื่องจากมีความทนทานมีคุณภาพเสียงที่ดีเหมาะแก่การใช้ประชุมสัมนาหรืองานคอนเสริตย์ทั้งไหญ่และเล็กแต่มันจะต่างกับไมค์คอนเดนเซอร์ตรงที่มีความไวในการรับเสียงที่น้อยกว่าดังนั้นในการนำไปใช้งานหากให้วิทยากรที่พูดเสียงเบาๆหรือถือไมค์ห่างจากปากมากๆทำไห้เสียงเบาคนฟังไม่ได้ยินทำไห้ sound engineers ต้องเริ่งปรีไมค์ช่วยเพื่อให้ความไวในการรับเสียงเพิ่มขึ้นเสียงจากลำโพงอาจดังมาเข้าไมค์ทำให้ไมค์ตัวนั้นเกิดการหอนได้วิธีแก้คือต้องบอกวิทยากรว่าเราใช้ไมค์ชนิดอะไรควรพูดไมค์ได้ห่างแค่ไหน 5 การวางลำโพงมอนิเตอร์ การจัดวางลำโพงมอนิเตอร์เป็นเรื่องที่สำคัญเป็นอย่างมากทำให้วิทยากร พิธีกรหรือนักดนตรีใด้ฟังเสียงตัวเองที่ชัดเจนขึ้นดังนัั้นในการวางต้องวางไห้เหมาะสมกับกับองศาการรับเสียงไมค์โครโฟนด้วยว่ารับเสียงทางด้านไหนเช่น ไมค์มีรัสมีการรับเสียงแบบ คาดิออยด์จะทีทิศทางรับเสียงเป็นรูปหัวใจส่วนรับเสียงที่ดีที่สุดคือด้านหน้าไมค์โครโฟนส่วนด้านหลังไมค์จะไม่รับเสียงเข้ามาเลยดังนั้นสามารถวางลำโพงมอนิเตอร์หันมาทางด้านหลังไมค์โครโฟนได้เลยทำให้เปิดเสียงได้มากและไม่เกิดปัญหาไมค์หอนด้วยวิธีแก้ปัญหาต้องวางลำโพงมอนิเตอร์ให้เหมาะสมกับทิศทางรับเสียงของไมค์โครโฟนที่ใช้งาน 6 เปิดไมค์ใช้พร้อมกันหลายตัวในการใช้งานไมค์ไม่ว่าจะไมค์ชุดประชุมหรือว่าไมค์ที่ใช้ในงานสัมนาตัวไหนที่ไม่ได้ใช้ควรปิดไว้โดยหน้าที่นี้มันเกี่ยวข้องกับ sound […]

Back To Top