Category: มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

ลาน ฮ.มวล.

ตั้งแต่วันรับปริญญามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ปี พ.ศ. 2563 สนามหญ้าเขียวขจีหน้าศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษาไม่มีเฮลิคอปเตอร์มาลงให้ตื่นเต้นกับเสียงดังของเครื่องยนต์ขนาดใหญ่กันอีกแล้ว เนื่องจากได้มีการสร้าง ลานเฮลิคอปเตอร์ใหม่ตั้งอยู่ริมถนนวงใน ก่อนถึงสะพานยกระดับหน้าอาคารบริหาร แต่สนามกว้างเขียวขจีหน้าศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษาจะปรากฎซุ้มสวยๆ จากความร่วมมือของนักศึกษาสำนักวิชาต่างๆ มาแทนที่ให้บัณฑิตถ่ายรูปกับหมู่ญาติ เพื่อนฝูง ศิษย์พี่ศิษย์น้อง ท่ามกลางท้องฟ้าสดใส ตั้งแต่วันซ้อมย่อย จนถึงวันรับพระราชทานปริญญาจริง คณาจารย์ บุคลากร บัณฑิต และผู้ปกครองจะมาหลบร้อนที่ร้านกาแฟหน้าศูนย์บรรณสารฯ และศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษาก็เป็นจุด Check in ที่ฮ็อตอีกที่หนึ่ง โดยใช้จุดเช็คอินว่า Walailak University Library เป็นบรรยากาศที่สดชื่นอบอวลไปด้วยความสุข ภาพเครื่องเฮลิคอปเตอร์จึงเป็นการย้อนระลึกบรรยากาศช่วงพิธีรับปริญญาในอดีต เริ่มตั้งแต่มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์รับเสด็จสมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี กรมพระศรีสวางควัฒนฯ เสด็จแทนพระองค์มาในการพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษา มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ปี พ.ศ. 2545 ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา ก็จะเป็นพื้นที่สำคัญอีกจุดหนึ่ง ที่ได้รับการประสานจากตำรวจฝ่ายรักษาความปลอดภัยเข้าตรวจสอบพื้นที่บริเวณศูนย์บรรณสารฯ เพื่อเคลียร์พื้นที่เส้นทางเสด็จมายังลานจอดเฮลิคอปเตอร์ หน้าอาคารบรรณสารฯ และมีภารกิจพิเศษเพิ่มคือการรับรองดูแลนักบินที่นำเครื่องเฮลิคอปเตอร์มาจอดเตรียมพร้อมที่สนามหญ้าหน้าอาคารบรรณสารฯ หลายๆ ท่านที่ได้บันทึกภาพช่วงเวลาพิเศษนี้ ก็จะกลายเป็นภาพหายากบันทึกความทรงจำในอดีตของอาคารบรรณสารและสื่อการศึกษาอีกเหตุการณ์หนึ่ง Visits: 50Santat Sarakบรรณารักษ์

ตามหาพิกัดจุดวางแผ่นศิลาฤกษ์

ตามหาพิกัดแผ่นศิลาฤกษ์มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ พิธีวางศิลาฤกษ์ คือ พิธีวางแผ่นศิลาจารึกเวลา วัน เดือน ปี อันเป็นมงคลที่เรียกว่า ดวงฤกษ์ แห่งการก่อสร้างไว้ ณ บริเวณสถานที่ก่อสร้างอาคารถาวรต่าง ๆ วัตถุประสงค์เพื่อเป็นสิริมงคลต่อการอยู่อาศัย มีความเจริญรุ่งเรือง มั่งคั่ง มั่นคง และอยู่เย็นเป็นสุขตลอดไปตามประเพณีโบราณ เพื่อให้เจ้าภาพและผู้รับจ้างก่อสร้างได้ร่วมประกอบพิธีศาสนาที่ตนเคารพนับถืออันจะเป็นการส่งเสริมความสามัคคีและเพิ่มพูนบุญกุศลต่อไป มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จัดพิธีวางศิลาฤกษ์การก่อสร้างมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เมื่อวันศุกร์ที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2539 เวลา 15.29-15.49 น. โดยสมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี เสด็จพระดำเนินเป็นองค์ประธานในพิธีวางศิลาฤกษ์ อาคารมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ณ พื้นที่ก่อสร้างอาคารบรรณสารและสื่อการศึกษา เป็นมณฑลพิธี (เนื่องจากห้องสมุดเป็นหัวใจ ของการศึกษา อาคารบรรณสารฯ อยู่ใจกลางมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์) และมีการฝังแผ่นศิลาฤกษ์ในบริเวณดังกล่าว ซึ่งปัจจุบันคือเสามุขระเบียงข้างร้านกาแฟเทอเรซ บริษัท สำนักงาน องค์กรใหญ่บางแห่งจะมีการฝังผนึกแผ่นศิลาฤกษ์ไว้ในผนังอาคาร หรือ ติดตั้งแท่นประดิษฐานไว้ในจุดที่ผู้คนเดินผ่านสัญจร เพื่อเป็น Landmark สำหรับมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ได้มีจัดเก็บแผ่นศิลาฤกษ์จำลอง ไว้ในหอจดหมายเหตุมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ […]

23 ปีที่ผ่านมา บัตรนักศึกษา เปลี่ยนไปกี่แบบ?

23 ปีที่ผ่านมา บัตรนักศึกษา เปลี่ยนไปกี่แบบ?  นับตั้งแต่เริ่มเข้ามหาวิทยาลัย นักศึกษาใหม่ทุกคน ได้กรอกข้อมูลพร้อมแนบเอกสารต่างๆ เพื่อทำบัตรประจำตัวนักศึกษา ใช้แสดงสถานะนักศึกษา ไว้เข้าสอบ และยืมหนังสือในห้องสมุดตั้งแต่นักศึกษามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์รุ่นแรก ศูนย์บริการการศึกษาร่วมกับธนาคารกรุงไทยสาขาท่าศาลา ในการออกแบบบัตรนักศึกษาตามยุคสมัยเพื่อให้รองรับการใช้สิทธิ์กับหน่วยงานต่างๆ ภายในมหาวิทยาลัย ให้เข้ากับระบบเทคโนโลยีทันสมัยที่ปรับเปลี่ยนไปตลอด มาดูบัตรนักศึกษารุ่นต่างๆ กัน อายุการใช้บัตรก็จะขึ้นอยู่กับหลักสูตรของนักศึกษาเจ้าของบัตร  🧑‍ บัตรนักศึกษารุ่นแรกสีขาว ไม่สามารถใช้กับเครื่อง ATM ได้ การยืม-คืนผ่านระบบห้องสมุดอัตโนมัติ คือเจ้าหน้าที่นำรหัสนักศึกษาจากหน้าบัตร พิมพ์เรียกค้นข้อมูลสมาชิกในระบบ สังเกตุให้ดีโดเมน E-mail นักศึกษาจะเป็น @praduu บัตรรุ่นต่อมาเป็น @wu.ac.th  บัตรนักศึกษารุ่นสีม่วงเป็นบัตร ATM VISA จะมีสัญลักษณ์ของธนาคาร ผูกกับบัญชีออมทรัพย์ของธนาคารกรุงไทย สามารถนำไปกดเงินสดที่ตู้ ATM และใช้แถบ Barcode สแกนผ่านประตูศูนย์บรรณสารฯ ยืม-คืนหนังสือศูนย์บรรณสารฯ ได้  บัตรนักศึกษารุ่นเทา-ส้มจะมีสัญญาณ RFID ฝังอยู่ในบัตร เป็นบัตรอัจฉริยะ สแกนผ่านประตูศูนย์บรรณสารฯ และสามารถยืม-คืน หนังสือด้วยตนเอง บัตรนักศึกษา Student card หรือ Smart […]

โครงการขนมล่อมด

ในช่วงก่อนสอบและระหว่างสอบปลายภาค ศูนย์บรรณสารฯ จะจัดกิจกรรมพิเศษกิจกรรมหนึ่งเรียกว่า “โครงการขนมล่อมด” ซึ่งเริ่มต้นจัดเมื่อปี พ.ศ. 2561 มีแนวคิดจากนักศึกษาต้องอ่านหนังสือเตรียมสอบต่อเนื่องเป็นเวลานาน และบรรยากาศการอ่านหนังสือที่หอพักไม่เอื้อต่อการใช้สมาธิ เช่น มีเสียงรบกวน และกลางคืนหาอาหารทานยาก ต้องใช้เวลาในการเดินทางออกจากห้องสมุดไปศูนย์อาหาร (ขณะนั้นยังไม่มีบริการส่งอาหาร และยังไม่มีร้านอาหารว่างเปิดบริการที่อาคารบรรณสารและสื่อการศึกษา) ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา ได้จัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านหนังสือช่วงสอบปลายภาค โดยได้รับงบประมาณสนับสนุนจากผู้บริหาร คณาจารย์ และหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัยร่วมสมทบทุนให้ศูนย์บรรณสารฯ จัดหาอาหารว่างและเครื่องดื่มร้อน-เย็น ให้นักศึกษาที่มาใช้บริการศูนย์บรรณสารฯ ช่วงขยายเวลา 17.00-24.00 น. มาเป็นเวลาหลายปี และนักศึกษาพึงพอใจในกิจกรรมนี้มาก และสถิติการเข้าใช้ห้องสมุดในช่วงเวลาดังกล่าวได้เพิ่มมากขึ้นด้วย ซึ่งต่อมาได้งดกิจกรรมพิเศษนี้ไปเนื่องจากมาตรการโควิด-19 ในภาคการศึกษาที่ 1/2565 เมื่อเปิดการเรียนการสอน Onsite 100 เปอร์เซ็นต์ ศูนย์บรรณสารฯ ได้กลับมาขยายเวลาเปิดบริการถึงเที่ยงคืนอีกครั้ง เพื่อให้นักศึกษาได้มีสถานที่เหมาะสมแก่การศึกษาค้นคว้า บรรยากาศเหมาะสมต่อการอ่านหนังสือเตรียมสอบ ซึ่งการให้บริการอาหารว่างและเครื่องดื่มก็จะปรับเปลี่ยนไปตามงบประมาณที่เปลี่ยนไป แต่ได้เพิ่มจุดบริการตู้น้ำดื่มร้อน-เย็น ขึ้นมาแทนทั้ง 2 ชั้น เพื่อให้นักศึกษาสะดวกต่อการชงเครื่องดื่มร้อน หรือต้มบะหมี่สำเร็จรูปด้วยตัวเองแทน และได้กลับมาจัดโครงการขนมล่อมดอีกครั้ง ล่อให้นักรบเตรียมพร้อมสู้ศึกสนามสอบกันตั้งแต่วันจันทร์ที่ 5 – 11 กันยายน 2565 Visits: 16Santat […]

ปริศนาอาคารเรียนรวม

ปริศนาอาคารเรียนรวมตึกเรียนในมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์จะมีชื่อเรียกเฉพาะว่า “อาคารเรียนรวม” เป็นห้องบรรยาย และห้องสอบตามตารางเรียนของนักศึกษามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ซึ่งตั้งอยู่ในกลุ่มอาคารเรียนรวม  ถ้าสังเกตุให้ดี อาคารเรียนรวมจะตั้งอยู่เรียงขนานไปกับอาคารไทยบุรี หรือมีชื่อเรียกว่า “ตึกเรือ” ตามรูปร่างตึก มีอาคารที่ 1,3,5,7 เป็นเลขคี่ ส่วนอาคารเรียนที่ 6 เพิ่งสร้างใหม่ทีหลัง มีชื่อเฉพาะว่า อาคาร ST และ “โกโกวาวา” ตามสีทาอาคารตามตัวละครเกาหลี ใส่ชุดเอี๊ยมสีส้ม ล้อเลียนมาจากชุดของตุ๊กตาในซีรีส์ Squid Game.มาจากเพลงในยูทูบ YouTube ที่ ออกฉาย ปี พ.ศ. 2565 ช่วงเปิดใช้อาคาร แต่…แต่ ….เคยสงสัยกันบ้างไหม? แทนที่จะมีอาคารเรียงไปตามลำดับ หนึ่ง สอง สาม สี่ ห้า หก เจ็ด มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์กลับมีอาคารเรียนรวม หนึ่ง สาม สี่ ห้า หก เจ็ด รวมเป็น 6 อาคารในปัจจุบัน ปล่อยให้เป็นปริศนาค้างคาใจว่าแล้วอาคารเรียน 2 อยู่ที่ใด? ในอนาคตอาจจะสร้างตามอาคารเรียนที่ […]

30 ปี…เคาน์เตอร์บริการกับการเปลี่ยนแปลง รวมไปถึงพื้นที่ต่างๆ ภายในศูนย์บรรณสารฯ

👉 👉 กว่าทศวรรษเคาน์เตอร์บริการศูนย์บรรณสารฯ ที่ได้ปรับเปลี่ยนตลอด 🎯 เพื่อร่วมโอกาสครบรอบ 30 ปีสถาปนามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์มาดูกันสิว่า ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา ซึ่งเป็นหัวใจของมหาวิทยาลัยมีพัฒนาการเคียงคู่กับการเติบโตของมหาวิทยาลัยแห่งนี้อย่างไรบ้าง?อันดับแรกแอดมินนำเรื่องการเปลี่ยนแปลงของเคาน์เตอร์บริการหลักของศูนย์บรรณสารฯ เสนอเป็นเรื่องแรก เพราะเป็นสถานีแรกที่ทุกคนได้สัมผัสตั้งแต่ปีแรกที่เข้าเรียน ลูกเพจทันใช้บริการเคาน์เตอร์ยุคไหนกันบ้าง?🎯 Visits: 15Santat Sarakบรรณารักษ์

แผนที่ฉบับแรกมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

แผนที่เป็นสิ่งแรกที่เราถามหาเมื่อมาเยือนถิ่นวลัยลักษณ์แลนด์แดน 9,000 ไร่ ในครั้งแรก และสตั๊นท์กับความกว้างใหญ่ของพื้นที่มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เพื่อให้ไปให้ถึงจุดหมาย ถึงแม้ตามผังแม่บทการสร้างเมืองมหาวิทยาลัยจะแบ่งพื้นที่เป็นกลุ่มอาคารการเรียน กลุ่มอาคารวิชาการ กลุ่มที่พักอาศัยนักศึกษา บุคลากร ก็ตาม เพราะว่ารูปร่างลักษณะอาคารจะเหมือนกันหมด ถ้ามาครั้งแรกโดยไม่มีเจ้าถิ่นแนะนำ ก็จะต้องใช้แผนที่ในการเดินทาง ว่าอาคารใดอยู่ตรงไหน  ในช่วงเปิดการเรียนการสอน พ.ศ. 2541 การใช้แผนที่ Google map ยังเข้าถึงยาก เพื่อให้คู่มือในการเดินทางภายในมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จึงได้มีการมอบหมายให้บุคลากรที่ชำนาญในงาน Artwork สร้างแผนที่ฉบับภาพวาดขึ้นมา ซึ่งคุณธีรวัฒน์ ศรีบุญเอียด นักเทคโนโลยีการศึกษาประจำศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา ได้สรรค์สร้างขึ้นเป็นภาพวาดแผนที่มุม Bird eye view โดยการเดินสำรวจพื้นที่ทุกตารางเมตรด้วยตนเอง จนออกมาเป็นแผนที่ฉบับแรกที่ทุกคนได้ใช้ประโยชน์ก่อนจะพัฒนาขึ้นเป็นแผนที่ฉบับกราฟิกคอมพิวเตอร์อย่างทุกวันนี้ ปัจจุบันผู้สร้างแผนที่มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ฉบับแรกได้ครบอายุการทำงานในเดือนตุลาคม 2565 จึงได้ผลงานฉบับ Master piece เป็นสตอรี่หนึ่งแห่ง 30 ปี มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ Visits: 11Santat Sarakบรรณารักษ์

รับน้องเฟรชชี่รุ่นแรก’41

รับน้องเฟรชชี่รุ่นแรก’41 เฟรชชี่ Freshy หรือ นักศึกษาใหม่รุ่นแรกของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ คือ นักศึกษารหัสที่ขึ้นต้นด้วย เลขพ.ศ. ตัว คือ ปีการศึกษา 2541 หรือเรียกกันว่า ประดู่ช่อแรก แล้วมีรุ่นพี่ที่ไหนมารับน้องใหม่กัน? ช่วงปีนั้นอดีตรองอธิการบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา คือ นายแพทย์บัญชา พงษ์พานิช ผู้บุกเบิกและร่วมก่อตั้ง มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ และคุณนิรันดร์ จินดานาค เป็นหัวหน้าส่วนกิจการนักศึกษา เป็นทีมผู้บริหารดูแลรับผิดชอบนักศึกษาใหม่ ได้ร่วมกำหนดลักษณะกิจกรรมรับน้องที่แตกต่างกับมหาวิทยาลัยอื่นๆ ในประเทศ โดยกำหนดให้เป็นลักษณะ “กลุ่มสัมพันธ์” เป็นการรับน้องมิติใหม่ เพื่อให้นักศึกษาใหม่ได้ปรับตัวกับชีวิตที่เติบโตขึ้นในเมืองมหาวิทยาลัย โดยกลุ่มพนักงานมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์เป็นรุ่นพี่ (เฟรชชี่เรียกว่าพี่บุค ย่อมาจากพี่บุคลากร) ดำเนินการต้อนรับเฟรชชี่ รหัส 41 ด้วยความอบอุ่นเหมือนเป็นพี่น้อง เพราะฉะนั้นนักศึกษารุ่นแรกกับพนักงานมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์จะรู้จักสนิทสนมใกล้ชิดกันมาก มีอะไรก็ปรึกษาสอบถามหารือตักเตือนสั่งสอนกันอย่างสะดวกใจ ไม่มีบรรยากาศรับน้องแบบ SOTUS จนมีความรู้สึกไม่เป็นตัวของตัวเอง หรืออึดอัด ซึ่งนับว่าเป็นรูปแบบการรับน้องที่สร้างสรรค์ นักศึกษาใหม่มีความสบายใจ และถ่ายทอดกิจกรรมรับน้องประดู่ช่อใหม่  ด้วยความอบอุ่นสืบต่อกันมา จนปัจจุบัน ครบรอบสถาปนามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ วันที่ 29 มีนาคม 2566 ย่างก้าวปีที่ 31 มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ได้มีการรับน้องในลักษณะกลุ่มสัมพันธ์มาจนถึงช่อประดู่ที่ 25 (ขอบคุณภาพประกอบจากคุณอุดรรัตน์ […]

วังผีเสื้อ@โรงอาหารสี่

วังผีเสื้อ@โรงอาหารสี่ วังผีเสื้อ อ่านแล้วไม่ใช่สถานที่ในยุทธภพนิยายจีนกำลังภายใน ที่มาชื่อนี้เป็นทั้งชื่อกลุ่มนักศึกษาชายรุ่นแรกๆ ของมวล. ที่กล้าแสดงออก ร่าเริง และยังมีที่มาคือเป็นกลุ่มนักศึกษาที่เคยบำเพ็ญประโยชน์ขุดลอกคลองระบายน้ำด้านหลังอาคารบรรณสารและสื่อการศึกษา เพื่อให้น้ำไหลได้ดีขึ้น เพราะมักจะมีวัชพืชผักตบลอยแพกีดขวางเส้นทางน้ำ คลองระบายน้ำที่ไหลผ่านหลังศูนย์บรรณสารฯ และโรงอาหารสี่จึงมีชื่อเรียกเล่นๆ ว่าวังผีเสื้อไปด้วย โรงอาหารสี่เป็นโรงอาหารที่อยู่ใกล้ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา ทำให้ผู้ใช้บริการห้องสมุดเดินทางมาใช้บริการเป็นจำนวนมาก เพราะเป็นเส้นทางที่เชื่อมต่อกันด้วย Covered way  ต่อไปนักศึกษาใหม่ก็คงไม่เห็นชื่อโรงอาหารสี่ในตำนานของนักศึกษาและบุคลากรรุ่นแรกๆ อีกต่อไป เพราะกำลังปรับปรุงอาคารเป็นสตูดิโอของหลักสูตรนิเทศศาสตร์รองรับจำนวนนักศึกษาที่ต้องใช้งานเพิ่มขึ้น เลยบันทึกข้อมูลและภาพในอดีตของโรงอาหารสี่ที่มีคลองระบายน้ำไหลผ่านในเส้นทางที่แปรเปลี่ยนไป ไว้เป็นที่ระลึก เนื่องจากโรงอาหารสี่อยู่ในพื้นที่กลุ่มอาคารปฏิบัติงานของบุคลากร เลยเป็นแหล่งพักรับประทานอาหารเช้าและกลางวัน รวมกับนักศึกษาที่เรียนอาคารวิชาการใกล้ๆ ด้วย เลยเป็นโรงอาหารในความทรงจำของนักศึกษาและบุคลากรรุ่นแรกจวบจนถึงปี 2566 ที่จะกลายเป็นอาคารปฏิบัติการตรงข้ามตึกสหกิจศึกษาและใกล้ตึกเรียนรวม 6 (ST) นอกจากเป็นแหล่งพักทานข้าวแล้ว โรงอาหารสี่ในอดีตยังเป็นสถานที่จัดเลี้ยงอาหารสำหรับการประชุมสัมมนาต่างๆ และสถานที่จัดงานเลี้ยงสังสรรค์รื่นเริง ซึ่งต่อไปก็คงไม่มีอีกแล้ว บางครั้งเมื่อเข้าไปอ่านการ Check in สถานที่ก็จะปรากฎชื่อจุด Check in ฮาๆ เช่น ที่ทานข้าวของนักศึกษาวิศวะ นักศึกษาแพทย์สุดหล่อ อีกด้วย   ความคิดเห็น เขียนความคิดเห็น… Visits: 13Santat Sarakบรรณารักษ์

มหาลัยไร้รั้ว..แต่ล้อมรอบไปด้วยวัด

มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช อาจจะเป็นสถาบันการศึกษาแห่งเดียวที่ไม่มีรั้วกั้นเขตแดนดังเช่นมหาวิทยาลัยอื่นๆ ในประเทศไทย เนื่องจากกระทรวงมหาดไทยได้อนุมัติพื้นที่สำหรับจัดตั้งมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ครอบคลุมพื้นที่หลายตำบล คือ ตำบลหัวตะพาน ตำบลไทยบุรี ตำบลท่าศาลา ตำบลโพธิ์ทอง จึงมีเส้นทางออกจากพื้นที่ 9,000 ไร่ของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ได้หลายเส้นทาง แต่พื้นที่จะมีรอยเชื่อมต่อกับวัดหลายวัดประจำตำบล มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ด้านข้างจะติดกับลำคลอง คือ คลองเกียบ กับคลองท่าสูง จึงใช้ลำคลองเป็นรั้วกั้นพื้นที่จากชุมชนมหาวิทยาลัย เรามานับเส้นทางออกจากพื้นที่มหาวิทยาลัย ซึ่งพื้นที่หมู่บ้านเหล่านั้นกลายเป็นรั้วให้มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์โดยปริยาย มาเริ่มนับจากทิศตะวันออก คือ ด้านหน้ามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ซึ่งหันหน้าบ้านสู่อ่าวไทย จะตัดออกไปสู่ถนนทางหลวง 401 ซึ่งเป็นพื้นที่ตำบลท่าศาลา ถนนมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์จะมีเส้นทางออกไปยังวัดนางตรา และหากเป็นด้านข้างมหาวิทยาลัย จะเป็นเส้นทางออกวัดแส็งแรง วัดบนถนน วัดคลองดิน นับเป็นอีก 2 เส้นทาง ทางออกตรงสามแยกสนามกีฬาตุมปัง คือ เส้นทางไปสู่วัดโคกเหล็ก ทางออกประตูหลังมหาวิทยาลัยคือชุมชนสาธิตวลัยลักษณ์พัฒนา ในพื้นที่ตำบลไทยบุรี และด้านหลังกลุ่มบ้านพักบุคลากรวลัยนิวาสจะมีทางออกผ่านคลองเกียบไปสู่วัดเก่าแก่คือวัดสโมสร นอกจากนี้ยังมีเส้นทางเล็กๆ ข้างศูนย์กีฬาผ่านพื้นที่เกษตรชาวบ้านออกสู่วัดพระอาสน์ได้อีกด้วย นับว่าเป็นพื้นที่ Unseen ก็ว่าได้ เพราะล้อมรอบด้วยวัด ซึ่งนี่ยังไม่ได้นับวัดตุมปังร้างซึ่งขึ้นทะเบียนโบราณสถานตุมปังไปแล้ว อีกทั้งยังมีวัดจันทร์ร้างที่โบราณเคยอยู่มุมหนึ่งของพื้นที่เป็นสระน้ำสวนมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ในปัจจุบัน บันทึกเรื่องราวน่าทึ่งนี้ไว้ให้เข้ากับบรรยากาศมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ร่วมเป็นเจ้าภาพทอดผ้าป่าสามัคคีวัดแส็งแร็ง ตำบลโพธิ์ทอง ประจำปี 2566 วันนี้ […]

ใครไม่หลงสิแปลก

มีใครมาอยู่มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์แรกๆ ไม่หลงบ้าง คุณเก่งมาก! เนื่องจากอาณาจักรวลัยลักษณ์แลนด์แดน 9,000 ไร่ มีพื้นที่กว้างไกล และมีการแบ่งโซนอาคารตาม Function การปฏิบัติงานและการเรียนการสอน ในระยะที่ห่างกันออกไป จึงไม่แปลกที่คนมาเรียนหรือปฏิบัติงานจะงงมึน ต่อให้มีป้ายบอกทางชัดเจนแล้วก็ตาม หากยังไม่ทำความคุ้นเคยกับลักษณะทางกายภาพแต่พออยู่ๆ ไป จำผังการแบ่งโซนต่างๆ ของกลุ่มอาคารได้ก็ไม่ยากเลยที่จะเข้าถึงจุดหมาย เช่น กลุ่มอาคารเรียนรวม จะอยู่หลังอาคารไทยบุรี ถนนจะเป็นวงกลม 2 วงกลม โพสต์นี้จะเล่าเรื่องการหลงห้องสอบของนักศึกษาใหม่ซึ่งได้เกิดขึ้นประจำทุกปี ก่อนเปิดเทอม จะมีการสอบวัดระดับนักศึกษาเพื่อแยกกลุ่มจัดตารางสอน ทีนี้อาคารเรียนรวม 1,3,5,7 จะมีลักษณะพิเศษ คือชั้น 3 จะเป็นห้องรวมอยู่แยกกัน 2 ปีกของตึก มีบันไดขึ้นลงแยกกันต่างหาก มองลงมาจะเห็นโถงชั้น 2 ตัวอย่าง มักจะมีนักศึกษาเป็นจำนวนมากที่สับสนระหว่างห้องสอบที่ 5310 กับ 5301 ทั้งขึ้นบันไดผิดฝั่ง จำเลขห้องสลับกัน เลยไปเข้าห้องสอบผิด ถ้ามีเวลาเหลือมากก็ไม่เป็นไร แต่พอเวลาจวนเจียนก็ต้องวิ่งลงมาชั้น 2 ก่อน แล้วไปขึ้นชั้น 3 อย่างกระหืดกระหอบ เพราะฉะนั้นต้องตรวจสอบห้องสอบกันให้ดีๆ เพราะบันไดทางขึ้นก็อยู่ต่างปีก ไม่มีทางลัดที่ชั้น […]

บันทึกรากแห่งปณิธาน “ศึกษิต” มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

มีหลายครั้งที่ได้รับคำถามในฐานศิษย์เก่า (หรือที่วลัยลักษณ์เรียกว่า ศึกษิต) คนหนึ่งที่จบจากมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ว่า “ศึกษิต” คืออะไร หมายถึงใคร … ตามความเข้าใจของตัวเองมาโดยตลอด ได้อธิบายว่าเป็นคำเรียกศิษย์เก่าที่จบจากมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ทุกคนว่าเป็นศึกษิต ส่วนจะสำเร็จวิชาจาก “สำนัก” ไหนนั้นก็แล้วแต่ว่าเลือกเรียนอะไรกันมา… และในแต่ละปีจะมีการคัดเลือกศึกษิตให้เป็น “ศึกษิตแห่งปีที่วลัยลักษณ์” เข้ารับพระราชทานรางวัลจากสมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตร และทางมหาวิทยาลัยได้เชิญให้เป็นแขกคนสำคัญในงานแสดงความยินดีก่ผู้ได้รับพระราชทานปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ เข็มและโล่กิตติการ เข็มรางวัลจภ.ทองคำ เข็มประกาศเกียรติคุณอาจารย์ดีเด่น และโล่รางวัลศึกษิตแห่งปีที่วลัยลักษณ์ โดยเชิญครอบครัวของศึกษิตแห่งปีฯ เข้าร่วมงานดังกล่าวด้วย ศึกษิตในความเข้าใจของเราเอง ..อย่างพื้นฐานเลยคือ จะต้องเป็นบุคคลที่เป็นทั้ง “คนดี” และ “คนเก่ง” ตามปณิธานของมหาวิทยาลัย …ปณิธานให้การเป็น “คนดี” นำหน้า “คนเก่ง” เห็นจะเป็นด้วยความตั้งใจ มิใช่แค่ความคล้องจอง หากจะถามว่าดีและเก่งแค่นี้เหรอ ? ก็คงไม่ใช่ …“ทั้งหมด” ของปณิธาน ปณิธานมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์มีอะไร ขอคัดลอกจากหน้าเว็บไซต์มาให้อ่านกัน ณ ตรงนี้ “มหาวิทยาลัย มีจุดมุ่งหมายหลักในการบุกเบิก แสวงหา บำรุงรักษา และถ่ายทอดความรู้ เพื่อสร้างสรรค์จรรโลงความก้าวหน้า […]

“ทัศนียภาพอันงดงาม/อาคารสีสันสดใส COLORFUL” ในมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

ในช่วงเวลา ณ ปัจจุบัน การแข่งขันทางการเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยต่าง ๆ มีมากขึ้น ด้วยเหตุปัจจัย  หลาย ๆ อย่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งตัวเลือกจำนวนของมหาวิทยาลัยที่มีมากขึ้นกว่าในอดีต จึงทำให้โอกาสที่จะเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงของนักเรียนมีมากขึ้น ซึ่งปัจจัยที่จะชักจูงใจให้นักเรียนมีความสนใจที่จะเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยนั้น อาจมีหลายปัจจัยด้วยกัน เช่น ความมีชื่อเสียงตั้งแต่เดิมของมหาวิทยาลัย  คณะหรือหลักสูตรที่สนใจ หรือแม้แต่ทัศนียภาพที่สวยงามของมหาวิทยาลัยแห่งนั้น นั่นเอง ด้วยเหตุดังกล่าว มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ได้มองเห็นถึงประเด็นสำคัญอย่างหนึ่งของการที่จะดึงดูดใจนักเรียนให้มีความสนใจเข้ามาศึกษาในมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ให้เพิ่มมากขึ้น ด้วยการปรับปรุงทัศนียภาพให้มีความงดงาม มีพื้นที่ให้เป็นจุด Check In ถ่ายรูปสวย จึงได้มีการปรับปรุงอาคารต่าง ๆ ในมหาวิทยาลัยให้มีความสวยงามมากยิ่งขึ้น ซึ่งตนเองในฐานะที่มีความชอบในสีสันสดใสอยู่เป็นพื้นฐาน และในโอกาสที่มหาวิทยาลัยมีอายุครบ 30 ปี ในวันที่ 29 มีนาคม 2565 ที่ผ่านมานั้น จึงขออนุญาตนำท่านไปชมอาคารที่มีสีสันสดใส COLORFUL ในมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ไปติดตามด้วยกันเลยค่ะ อาคารเรียนรวม 6 – พิกัดของอาคารจะอยู่ติดกับอาคารโรงอาหาร 4 เป็นอาคารที่สร้างขึ้นมาใหม่และเปิดใช้เมื่อปลายปี 2564 ที่ผ่านมา มีลักษณะพิเศษที่เด่นชัดของสีที่ไล่สีอ่อน-แก่ตามลำดับของชั้น อีกทั้งโทนสีครีม-ออกเหลือง ทำให้อาคารนี้ดูโดดเด่นมาก โซนอาคารวิชาการ […]

30th WU : be my love

“ฉันรักวลัยลักษณ์ เพราะวลัยลักษณ์พาฉันกลับมาสู่อ้อมกอดของความรัก รักษ์วลัยลักษณ์”

Back To Top