Author: Nantaporn Khanthasupahiran

PDCA: การปรับปรุงกระบวนการการเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการถ่ายรูปบุคคลเพื่อทำบัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

“เพื่อแสวงหาการให้บริการที่ดีขึ้นสร้างความเข้าใจร่วมกันระหว่างผู้ขอรับบริการและผู้ให้บริการ ตลอดจนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อเป็นข้อมูลให้กับผู้ขอรับบริการถ่ายรูปบุคคลเพื่อทำบัตรประจำตัวฯลดจำนวนผู้ขอรับบริการที่มาถ่ายรูปทำบัตรโดยไม่ได้นัดหมายล่วงหน้าและสร้างมาตรฐานการทำงาน จึงเกิด PDCA กระบวนการปรับปรุงการเพิ่มประสิทธิภาพฯ นี้ขึ้น“ บัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ถือเป็นหลักฐานทางราชการที่มีรูปแบบที่กำหนดไว้ชัดเจนในพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐ พ.ศ. 2542 และมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์มีข้อบังคับว่าด้วยเครื่องแบบของพนักงานมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ พ.ศ. 2558 ซึ่งรวมถึงรายละเอียดการแต่งกายเครื่องแบบชุดปกติขาวสำหรับถ่ายรูปทำบัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ด้วย ซึ่งรายละเอียดการแต่งกายเครื่องแบบชุดปกติขาวสำหรับถ่ายรูปทำบัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐนี้เป็นประเด็นที่ต้องการจะปรับปรุงประสิทธิภาพ เนื่องจากความต่างทางเพศ ศาสนา และเครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่ได้รับล้วนเป็นส่งผลต่อการแต่งกาย เช่น เครื่องแบบพนักงานหญิง และชายจะต่างกัน พนักงานหญิงจะสวมเสื้อเชิ้ตสีขาวผูกเนคไทดำ หากเป็นหญิงมุสลิมต้องคลุมฮิหญาบสีดำสุภาพ เป็นต้น กอปรกับข้อจำกัดที่งานผลิตสื่อการศึกษามีชุดปกติขาวไม่ครอบคลุมทุกความต้องการ และด้วยภารกิจการให้บริการของงานผลิตสื่อการศึกษาเพื่อการเรียนการสอนที่มีหลายด้าน ทำให้ไม่สามารถให้บริการถ่ายภาพได้ในทุกเวลาตามที่ผู้ขอรับบริการต้องการ เมื่อผู้ที่ต้องการถ่ายภาพมาขอรับบริการโดยไม่ได้นัดหมายล่วงหน้าจึงส่งผลกระทบด้านคุณภาพการให้บริการและความพึงพอใจ ดังนั้น จึงต้องการที่วิเคราะห์และพัฒนา ปรับปรุงกระบวนการการให้บริการถ่ายภาพบุคคลเพื่อทำบัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐ โดยเฉพาะการเตรียมตัวก่อนให้บริการถ่ายภาพ ซึ่งเป็นขั้นตอนที่ส่งผลกระทบต่อผู้ใช้โดยตรง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริการ ลดปัญหาการเสียเวลามาติดต่อถ่ายภาพ ผู้ขอรับบริการมีความเข้าใจและรับทราบถึงขั้นตอนการให้บริการจะช่วยให้การขอรับบริการและการให้บริการมีประสิทธิภาพและเกิดความพึงพอใจมากขึ้น ด้วย SIPOC Model ผ่านกระบวนการ PDCA การวางแผนและทบทวนสภาพปัจจุบัน (Plan-P) วิเคราะห์กระบวนการด้วย SIPOC Model การวิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรคใช้เทคนิคการตั้งคำถามมาใช้ เริ่มจากตั้งประเด็นปัญหา และวิเคราะห์หาคำตอบใน 2 โจทย์ปัญหา คือ จากนั้นนำมาสู่การหาแนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค การจัดทำแผนปฏิบัติการ (Action Plan-A) […]

คุณภาพชีวิตดี…เริ่มต้นที่ “การนอน”

“คุณภาพชีวิตดี…เริ่มที่การนอน” “งานคือเงิน… เงินคืองานบันดาลสุข” “การทำงาน คือ การปฏิบัติธรรม” “งานได้ผลคนเป็นสุข” หลากหลายสโกแกน แนวคิดที่ช่วยกระตุ้นให้คน มีใจ มีแรง มีไฟในการทำงานมีหลายคนที่มุ่งทำงาน ตั้งใจทำงาน ให้เวลากับการทำงาน เพื่อหวังความสำเร็จ เพื่อให้ไปถึงเป้าหมายที่วางไว้ ..โดยลืมไปว่าทุกสรรพสิ่งล้วนเกี่ยวพันกัน …โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “หนึ่งชีวิตของเรา” ? เคยเบลอจนเผลอลบไฟล์ผิด หรือส่งงานพลาดบ้างหรือไม่ ? เคยฟังประชุมไม่รู้เรื่องหรือเปล่า ? เคยอยู่ ๆ แล้วนึกอะไรต่อไม่ออก จำอะไรไม่ได้ หรือมันติดอยู่ที่ริมฝีปากบ้างไหม ? เคยวูบตอนกลางวัน หรือขณะขับรถ/เดินทางกี่ครั้งแล้ว ? เคยน็อตหลุด ควบคุมอารมณ์ตัวเองไม่ได้บ่อยแค่ไหน ? เคยเป็นคนแก้ปัญหาได้ดี จัดการปัญหาได้ แต่เมื่อต้องรีบสรุปงาน ปิดงานให้ทันกำหนดจู่ ๆ ทักษะเหล่านั้นก็หายไปบ้างไหม ? เคยรู้สึกว่า นอนเท่าไหร่ก็ไม่เคยพอ นอนมากแล้วยังง่วงอีกไหม และทราบหรือไม่ ? อาการทั้งหมดนี้ ..สาเหตุหนึ่งมากจาก “การนอนที่ไม่มีคุณภาพ” ในรายวิชาการนอนหลับกับสุขภาพดี WU024 บทระบบ […]

อินโฟกราฟิกนี้…ดีไฉนนนน (2)

สวัสดีค่ะ .. ก่อนหน้านี้เคยเล่าให้ฟังแล้วว่า อินโฟกราฟิก คือ การนำเสนอข้อมูลที่เข้าใจยากให้เป็นเรื่องที่เข้าใจได้ง่ายขึ้น และ องค์ประกอบของอินโฟกราฟิกที่ดี คือ Simplicity ความเรียบง่าย – ดูสบายตา ไม่ซับซ้อน ไม่ควรมีจุดเน้น ใช้สีหรือมีรายละเอียดของภาพและตัวหนังสือมากเกินไป Interestedness ความน่าสนใจ – นำเสนอเรื่องที่น่าสนใจ อยู่ในกระแส หรือถ้าไม่น่าสนใจก็เอามาแต่งตัวใหม่ให้น่าสนใจ Beauty ความสวยงาม – เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ เพราะความสวยงามของภาพจะดึงดูดคนให้มาอ่าน มาดูเนื้อหาในภาพ และเป็นตัวช่วยเพิ่มการจดจำได้ด้วย  …เรามาดูกันต่อว่า ถ้าอยากจะต้องออกแบบสื่ออินโฟกราฟิกสักชิ้นนั้น มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง ขั้นตอนการวิเคราะห์ วิคราะห์และกำหนดวัตถุประสงค์ในการออกแบบ วิเคราะห์บริบทของการนำไปใช้ – จะนำไปใช้บนสื่อใด แต่ละสื่อจะมีลักษณะการออกแบบที่ต่างกัน ทั้งความละเอียด ความคมชัด ขนาด และสีสัน และที่สำคัญคือ “ผู้รับสารเป็นใคร” มีลักษณะความชอบ ความสนใจฯ อย่างไร ขั้นตอนการเรียบเรียง การศึกษาข้อมูลและเนื้อหาทั้งหมด แล้วนำมารวบรวม จากนั้นทำการคัดกรอง ย่อยเนื้อหา และจัดระเบียบเนื้อหาให้กระชับ เข้าใจง่าย ศึกษา รวบรวม และจัดระเบียบเนื้อหา – […]

Infographic นี้…ดีไฉนนนน

สวัสดีค่ะ ผู้เขียนเรียนจบจากสำนักวิชาสารสนเทศ … วันนี้เลยมีสาระมาเล่าให้ฟังค่ะ เนื่องจากไปลงเรียนวิชา การผลิตสื่อกราฟิกอย่างมืออาชีพ | Graphic Design Crash Course CMU012 ในระบบ ThaiMOOC มา เลยมาแบ่งปันเธอและฉันว่า “Infographic ที่กำลังเป็นที่นิยมนี้…ดีไฉน” ก็ขอตอบตรงนี้ว่า Infographic ดีจริง ๆ เพราะเป็นการสื่อที่มีประสิทธิภาพมากชนิดหนึ่ง เนื่องจากเป็นการนำเสนอข้อมูลด้วยภาพกราฟิกที่ทำให้ผู้ดูภาพสามารถเข้าใจข้อมูล ข่าวสาร สารสนเทศ ตัวเลข สถิติปริมาณมาก ๆ ยากต่อความเข้าใจ ให้เป็นข้อมูลที่กระชับ มีความถูกต้อง ง่ายต่อความเข้าใจ ผ่านรูปภาพเพียงภาพเดียว!! ซึ่งตรงใจวัยเทคโนโลยีก้าวล้ำนำสมัยอย่างพวกเรามาก ๆ … สวยงาม ตัวอักษรน้อย เข้าใจง่าย ใช้เวลาแป๊บเดียว !! แต่กว่าจะใช้เวลาสร้างสรรค์ออกมาได้ ผู้ผลิตก็ต้องใช้ความรู้ความสามารถกันสักนิด … ซึ่งรายวิชาการผลิตสื่อกราฟิกอย่างมืออาชีพเค้าได้สอนไว้ให้เยอะพอดูเลยจ๊ะ อาจารย์วชิระ นิจบุญ และอ.เด่นธนำ เดชะประทุมวัน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ บอกไว้ว่า Infographic (อินโฟกราฟิก)ที่ดีไม่ได้หมายถึงการมีข้อมูลปริมาณมากอยู่บนภาพ หรือมีการใช้ภาพประกอบที่มีรายละเอียดเยอะ […]

Infographic ไม่ใช่เข็มฉีดยา แต่มีที่มาจากนางพยาบาล

นางพยาบาลมาเกี่ยวข้องอะไรกับ infographic กันน้า .. มาค่ะมา.. จะเหลา เอ้ย! เล่าให้ฟัง จริงอยู่ ถ้าดูตามบริบท นางพยาบาลอาจจะห่างจาก infographic ไปสักนิด แต่ถ้าบอกว่า เกี่ยวโยงด้วยการนำเสนอ ..อันนี้พอจะเข้าเค้า แต่ก็ยังไม่ Wowww เท่ากับว่า …จุดเริ่มต้นของการนำเสนอแบบ Infographic นั้น เกิดจาก “นางพยาบาล” ใช่ค่ะ …เมื่อได้ลงทะเบียนเรียนวิชา การผลิตสื่อกราฟิกอย่างมืออาชีพ | Graphic Design Crash Course บน ThaiMOOC ก็เป็นการเปิดโลกทัศน์ให้กว้างขึ้น และกว้างขึ้น เพราะนอกจากในรายวิชาจะอธิบายความหมายของคำว่า Infographic ว่ามาจากคำ 2 คำ คือ Info ที่มาจาก information+graphic “Infographic = Informaiton (ข้อมูลสารสนเทศ) + Graphic (ภาพกราฟิก) หมายถึง การนำเสนอสารสนเทศที่มีการใช้กราฟิก มาแทนที่ข้อมูลตัวอักษร […]

เรื่องเล่า…จากหลักสูตรการสร้างวีดิทัศน์สำหรับรายวิชา MOOC บน ThaiMOOC

ThaiMOOC “เคยเรียนแล้ว และเมื่อมาเรียนอีก ก็ยิ่งรู้…ยิ่งเข้าใจ และยิ่งตระหนักในความสำคัญของการเตรียมการ“ “รายวิชานี้จะเป็นเรื่องของการจัดการเรียนการสอน ในเรื่องของการผลิตสื่อวีดิทัศน์เพื่อใช้เป็นสื่อการสอนออนไลน์บนระบบเปิด ซึ่งเมื่อเรียนแล้วจะช่วยให้เข้าใจกระบวนการ ขั้นตอนการผลิตรายวิชาบนระบบ MOOC ได้ดียิ่งขึ้นเหมาะสำหรับอาจารย์ ผู้เกี่ยวข้อง รวมถึงผู้ที่สนใจการสร้างวีดิทัศน์บนสื่อออนไลน์ทุกคน ที่จะรู้และเข้าใจในกระบวนการและหน้าที่ของตัวเอง” ต้องออกตัวก่อนว่า ผู้เขียนเคยเรียนรายวิชานี้เมื่อนานมาแล้ว เนื่องจากต้องมาเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างวีดิทัศน์สำหรับรายวิชาที่จะเปิดสอนบน ThaiMOOC ตอนนั้นยังเรียนเพราะความจำเป็น เรียนโดยไม่มีความรู้อะไรเกี่ยวกับ ThaiMOOC เลย แต่วันนี้เมื่อเวลาผ่านมาหลายปี ได้มีโอกาสกลับมาทบทวนใหม่ก็พบว่า “ยิ่งเรียนยิ่งรู้ – ยิ่งอ่านยิ่งใช่” เอาเนื้อหามาจับกับประสบการณ์ที่เราต้องทำ ทำให้ตระหนักและเข้าใจการทำงานมากขึ้น ทั้งยังช่วยตอกย้ำว่า การเตรียม หรือการวางแผนก่อนที่จะผลิตวีดีทัศน์สักหนึ่งชิ้นนั้น…มีความสำคัญอย่างยิ่ง หลักสูตรการสร้างวีดิทัศน์สำหรับรายวิชา MOOC (VidoeX-Thai) สอนโดยรศ.ดร. สุรพล บุญลือ อาจารย์ประจำภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา ม.เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เนื้อหาจะไล่ลำดับตามขั้นตอนการผลิต ซึ่งแบ่งเป็น 4 ขั้นตอน อันเป็นขั้นตอนพื้นฐานของการผลิตวีดิทัศน์โดยทั่วไป แต่ในส่วนของรายละเอียดนั้นจะจำเพาะเจาะลงไปในส่วนที่ผู้ผลิตรายวิชาบท MOOC ต้องรู้ ควรรู้ หรือทำตาม พร้อมแทรกเกร็ดความรู้ เทคนิคต่าง ๆ ที่มีประโยชน์สำหรับผู้ที่เกี่ยวข้องอย่างมาก ซึ่งจะนำส่วนที่คิดว่ามีประโยชน์มาฝาก […]

บันทึกรากแห่งปณิธาน “ศึกษิต” มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

มีหลายครั้งที่ได้รับคำถามในฐานศิษย์เก่า (หรือที่วลัยลักษณ์เรียกว่า ศึกษิต) คนหนึ่งที่จบจากมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ว่า “ศึกษิต” คืออะไร หมายถึงใคร … ตามความเข้าใจของตัวเองมาโดยตลอด ได้อธิบายว่าเป็นคำเรียกศิษย์เก่าที่จบจากมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ทุกคนว่าเป็นศึกษิต ส่วนจะสำเร็จวิชาจาก “สำนัก” ไหนนั้นก็แล้วแต่ว่าเลือกเรียนอะไรกันมา… และในแต่ละปีจะมีการคัดเลือกศึกษิตให้เป็น “ศึกษิตแห่งปีที่วลัยลักษณ์” เข้ารับพระราชทานรางวัลจากสมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตร และทางมหาวิทยาลัยได้เชิญให้เป็นแขกคนสำคัญในงานแสดงความยินดีก่ผู้ได้รับพระราชทานปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ เข็มและโล่กิตติการ เข็มรางวัลจภ.ทองคำ เข็มประกาศเกียรติคุณอาจารย์ดีเด่น และโล่รางวัลศึกษิตแห่งปีที่วลัยลักษณ์ โดยเชิญครอบครัวของศึกษิตแห่งปีฯ เข้าร่วมงานดังกล่าวด้วย ศึกษิตในความเข้าใจของเราเอง ..อย่างพื้นฐานเลยคือ จะต้องเป็นบุคคลที่เป็นทั้ง “คนดี” และ “คนเก่ง” ตามปณิธานของมหาวิทยาลัย …ปณิธานให้การเป็น “คนดี” นำหน้า “คนเก่ง” เห็นจะเป็นด้วยความตั้งใจ มิใช่แค่ความคล้องจอง หากจะถามว่าดีและเก่งแค่นี้เหรอ ? ก็คงไม่ใช่ …“ทั้งหมด” ของปณิธาน ปณิธานมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์มีอะไร ขอคัดลอกจากหน้าเว็บไซต์มาให้อ่านกัน ณ ตรงนี้ “มหาวิทยาลัย มีจุดมุ่งหมายหลักในการบุกเบิก แสวงหา บำรุงรักษา และถ่ายทอดความรู้ เพื่อสร้างสรรค์จรรโลงความก้าวหน้า […]

จากวิชาการสู่การรักษาจริง: กายภาพบำบัด มวล. ดูแลผู้ป่วยโควิดผ่าน VDO Call

“หอบ เหนื่อยง่าย หายใจไม่เต็มปอด หรือหายใจได้ไม่เต็มที่” คือ อาการหนึ่งที่ขึ้นกับผู้ที่ได้รับเชื้อโควิด-19 ทั้งขณะมีเชื้อ หรือเป็นผลข้างเคียงที่ตามมา ท่ามกลางการเฝ้าระวังการแพร่ระบาด ต้องระมัดระวัง หรืองดเดินทางโดยไม่จำเป็น ขณะที่การรักษาก็ยังคงต้องดำเนินต่อไปอย่างต่อเนื่องทั้งรักษาผู้มีอาการ และรักษาผู้ที่มีอาการข้างเคียงจากการได้รับเชื้อ หรือลองโควิด อาจารย์หลักสูตรกายภาพบำบัด สำนักวิชาสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาวลัยลักษณ์นำเทคโนโลยีมาปรับวิกฤตให้เป็นโอกาสผสานเข้ากับองค์ความรู้ทางกายภาพบำบัดให้บริการ ดูแลรักษาบรรเทาอาการแก่ผู้ป่วยโควิด-19 ด้วยการรักษาทางไกลแบบ Tele Habitacion ด้วยการ vdo call  ในรายการโทรทัศน์วลัยลักษณ์สู่สังคม ตอน “กายภาพบำบัดกับงานบริการวิชาการในการดูแลผู้ป่วยโควิด-19” ที่ผลิตโดยมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เชิญอาจารย์ ดร.คมกริบ หลงละเลิง และอาจารย์ ดร.สลิลา เศรษฐไกรกุล อาจารย์ประจำหลักสูตรกายภาพบำบัดสำนักวิชาสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์มาพูดคุยเกี่ยวกับการนำวิชาความรู้ด้านกายภาพบำบัดมาดูแลผู้ป่วยที่ได้รับเชื้อโควิด-19 โดยมีนางสาวชลธิชา ปานแก้ว ส่วนสื่อสารองค์กร มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์เป็นผู้ดำเนินรายการ อาจารย์ ดร.สลิลา กล่าวถึงที่มาที่ไปของการบริการวิชาการด้านกายภาพบำบัดแก่ผู้ป่วยโควิด-19 ว่าเริ่มต้นมาจากโครงการกายภาพบำบัดอาสาพาลมหายใจของสมาคมกายภาพบำบัด ซึ่งตนร่วมเป็นคณะกรรมการอยู่ และได้เข้าไปให้ความช่วยเหลือผู้ป่วยโควิด-19 ที่รักษาตัวอยู่ที่บ้านเนื่องจากโรงพยาบาลมีเตียงไม่พอ ทำให้ผู้ป่วยขาดโอกาสที่จะได้รับการดูแลฟื้นฟูด้านจากนักกายภาพบำบัดเหมือนที่อยู่ในโรงพยาบาล หลักสูตรกายภาพบำบัดจึงได้นำแนวคิด รูปแบบกิจกรรมจากโครงการนี้มาต่อยอดดูแลผู้ป่วยในจังหวัดนครศรีธรรมราช โดยประสานงานกับโรงพยาบาลสนามมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เพื่อให้บริการแก่ผู้ป่วยโควิด-19 ที่ต้องการการกายภาพบำบัด สำหรับรูปแบบการรักษา อาจารย์ […]

Back To Top