Category: Design Thinking

PDCA การจองห้องฉายหนัง Mini theater

(P=Plan วางแผน) ด้วยศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษาไม่ได้รวมห้องจัดฉายภาพยนตร์ Mini theater 72 ที่นั่ง ในพื้นที่บริการศูนย์บรรรณสารและสื่อการศึกษา ชั้น 1 ให้จองห้องประชุมและการใช้งานผ่านระบบ Online Ebooking ของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ดังเช่น ห้องประชุมทางไกลระเบียงบรรณ 1 ห้องประชุมระเบียงบรรณ 2-3 ในพื้นที่เดียวกัน เนื่องจากจำเป็นต้องกลั่นกรองการใช้งานตามนโยบายของศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา บริหารจัดการใช้งานเฉพาะหน่วยงาน ดังเช่น ห้องประชุมระเบียงบรรณ 4 สงวนสิทธิ์รองรับภารกิจของหน่วยงาน จัดกิจกรรม ประชุม สัมนา ต้อนรับคณะเยี่ยมชม ใช้ห้องเพื่อสนับสนุนการเรียนการสอน ก่อนเป็นอันดับแรก การให้บริการห้องจึงยังเป็นระบบบริหารจัดการเฉพาะภายในหน่วยงาน และต้องมีเจ้าหน้าที่ควบคุมดูแลเมื่อมีการใช้ห้องทุกครั้ง เจ้าหน้าที่จะเป็นผู้รับคำขอใช้ห้อง โดยใช้เครื่องมือปฏิทิน Google calendar ที่สร้างขึ้นมาเพื่อใช้กันในเฉพาะฝ่ายส่งเสริมการเรียนรู้และให้บริการการศึกษา ตรวจสอบห้องว่างตามวันเวลาที่กำหนดเงื่อนไขในการให้บริการ และได้สร้าง Google form เพื่อบันทึกรับจอง รายงานสถิติการใช้งาน ให้เกิดการใช้ประโยชน์สูงสุด ต่อมาเมื่อมีการเปิดให้บริการกลุ่มนักศึกษาตั้งแต่ 10 คนขึ้นไปจองใช้บริการ เพื่อเพิ่มทักษะภาษาต่างประเทศ และเรียนรู้วัฒนธรรมนานาชาติจากการชมภาพยนตร์ จึงมีการขอใช้บริการห้องจัดฉายภาพยนตร์ Mini theater เพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก […]

เทคนิคการพัฒนาการคิดสร้างสรรค์

การคิดสิ่งใหม่ๆ หมายถึงการผสมผสานสิ่งต่าง ๆ ที่ยังไม่เคยถูกผสมผสานมาก่อน ซึ่งการคิดสร้างสรรค์ เป็นการผสมผสานหรือเชื่อมโยงความคิดที่มีอยู่ จนเกิดการเปรียบเทียบที่ทำให้มองเห็นความสัมพันธ์ระหว่าง ความคิดเหล่านั้น การคิดสร้างสรรค์เป็นการค้นหา คัดเลือก ปรับแต่ง ผสมผสานและสังเคราห์ไม่ว่าจะเป็น ข้อเท็จจริง ความคิด สติปัญญาและทักษะความสามารถที่มี สิ่งส าคัญคือการปรับความคิดและจิตใจของเราให้ พร้อมสำหรับการคิดใหม่ๆ Harvard Business Review (Kelly, 2013) ได้กล่าวถึงเทคนิคการพัฒนาการคิดสร้างสรรค์ไว้ดังนี้ 1. ฝึกการคิดที่หลากหลาย เริ่มจากการกำหนดหัวข้อที่ต้องการแล้วฝึกการคิดใหม่ ๆ จากหัวข้อนั้น พยายามคิดหลาย ๆ ทางเลือก จากการสืบเสาะ ค้นหาและการสื่อสารให้ความคิดนั้นออกมาให้ผู้อื่นได้รับรู้แล้วก็ บันทึกความคิดเหล่านั้นเชื่อมโยงสิ่งที่คล้ายและสิ่งที่แตกต่าง การฝึกคิดเหล่านี้จะทำให้ความคิดขยายเป็นการฝึก การคิดเบื้องต้นหลังจากที่ได้ความคิดมากพอแล้ว ก็ให้คิดขยายต่อไปอีกว่าเราจะพัฒนาความคิดเหล่านี้ไปข้างหน้า ได้อย่างไร  2. การจัดหมวดหมู่ของความคิด จากการฝึกการคิดที่หลากหลาย ขั้นต่อมาให้หาจุดสมดุลระหว่างความ รวดเร็วในการคิด ก็คือความคิดอย่างคล่องแคล่วและหาความแตกต่างและหลากหลายในการคิดก็คือความคิดที่ ยืดหยุ่น เปรียบเทียบผลการคิดเหล่านั้นแล้วก็รวบรวมความคิดที่ใหม่และก็นำไปใช้ได้จริง 3. สังเกตพฤติกรรมมนุษย์จากการค้นหาความรู้การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้คน สังเกตและฟัง โดยพยายามคิดและรู้สึกถึงความต้องการของผู้คนจากปฏิกิริยา ความชอบ ไม่ชอบของบุคคลแล้วสรุปผลออกมา และคัดเลือกว่าความคิดไหนเป็นความคิดที่ใหม่และน่าแปลกใจที่เราค้นพบ จากการสังเกตและค้นพบแล้วก็ถาม […]

Infographic นี้…ดีไฉนนนน

สวัสดีค่ะ ผู้เขียนเรียนจบจากสำนักวิชาสารสนเทศ … วันนี้เลยมีสาระมาเล่าให้ฟังค่ะ เนื่องจากไปลงเรียนวิชา การผลิตสื่อกราฟิกอย่างมืออาชีพ | Graphic Design Crash Course CMU012 ในระบบ ThaiMOOC มา เลยมาแบ่งปันเธอและฉันว่า “Infographic ที่กำลังเป็นที่นิยมนี้…ดีไฉน” ก็ขอตอบตรงนี้ว่า Infographic ดีจริง ๆ เพราะเป็นการสื่อที่มีประสิทธิภาพมากชนิดหนึ่ง เนื่องจากเป็นการนำเสนอข้อมูลด้วยภาพกราฟิกที่ทำให้ผู้ดูภาพสามารถเข้าใจข้อมูล ข่าวสาร สารสนเทศ ตัวเลข สถิติปริมาณมาก ๆ ยากต่อความเข้าใจ ให้เป็นข้อมูลที่กระชับ มีความถูกต้อง ง่ายต่อความเข้าใจ ผ่านรูปภาพเพียงภาพเดียว!! ซึ่งตรงใจวัยเทคโนโลยีก้าวล้ำนำสมัยอย่างพวกเรามาก ๆ … สวยงาม ตัวอักษรน้อย เข้าใจง่าย ใช้เวลาแป๊บเดียว !! แต่กว่าจะใช้เวลาสร้างสรรค์ออกมาได้ ผู้ผลิตก็ต้องใช้ความรู้ความสามารถกันสักนิด … ซึ่งรายวิชาการผลิตสื่อกราฟิกอย่างมืออาชีพเค้าได้สอนไว้ให้เยอะพอดูเลยจ๊ะ อาจารย์วชิระ นิจบุญ และอ.เด่นธนำ เดชะประทุมวัน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ บอกไว้ว่า Infographic (อินโฟกราฟิก)ที่ดีไม่ได้หมายถึงการมีข้อมูลปริมาณมากอยู่บนภาพ หรือมีการใช้ภาพประกอบที่มีรายละเอียดเยอะ […]

เรื่องเล่า…จากหลักสูตรการสร้างวีดิทัศน์สำหรับรายวิชา MOOC บน ThaiMOOC

ThaiMOOC “เคยเรียนแล้ว และเมื่อมาเรียนอีก ก็ยิ่งรู้…ยิ่งเข้าใจ และยิ่งตระหนักในความสำคัญของการเตรียมการ“ “รายวิชานี้จะเป็นเรื่องของการจัดการเรียนการสอน ในเรื่องของการผลิตสื่อวีดิทัศน์เพื่อใช้เป็นสื่อการสอนออนไลน์บนระบบเปิด ซึ่งเมื่อเรียนแล้วจะช่วยให้เข้าใจกระบวนการ ขั้นตอนการผลิตรายวิชาบนระบบ MOOC ได้ดียิ่งขึ้นเหมาะสำหรับอาจารย์ ผู้เกี่ยวข้อง รวมถึงผู้ที่สนใจการสร้างวีดิทัศน์บนสื่อออนไลน์ทุกคน ที่จะรู้และเข้าใจในกระบวนการและหน้าที่ของตัวเอง” ต้องออกตัวก่อนว่า ผู้เขียนเคยเรียนรายวิชานี้เมื่อนานมาแล้ว เนื่องจากต้องมาเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างวีดิทัศน์สำหรับรายวิชาที่จะเปิดสอนบน ThaiMOOC ตอนนั้นยังเรียนเพราะความจำเป็น เรียนโดยไม่มีความรู้อะไรเกี่ยวกับ ThaiMOOC เลย แต่วันนี้เมื่อเวลาผ่านมาหลายปี ได้มีโอกาสกลับมาทบทวนใหม่ก็พบว่า “ยิ่งเรียนยิ่งรู้ – ยิ่งอ่านยิ่งใช่” เอาเนื้อหามาจับกับประสบการณ์ที่เราต้องทำ ทำให้ตระหนักและเข้าใจการทำงานมากขึ้น ทั้งยังช่วยตอกย้ำว่า การเตรียม หรือการวางแผนก่อนที่จะผลิตวีดีทัศน์สักหนึ่งชิ้นนั้น…มีความสำคัญอย่างยิ่ง หลักสูตรการสร้างวีดิทัศน์สำหรับรายวิชา MOOC (VidoeX-Thai) สอนโดยรศ.ดร. สุรพล บุญลือ อาจารย์ประจำภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา ม.เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เนื้อหาจะไล่ลำดับตามขั้นตอนการผลิต ซึ่งแบ่งเป็น 4 ขั้นตอน อันเป็นขั้นตอนพื้นฐานของการผลิตวีดิทัศน์โดยทั่วไป แต่ในส่วนของรายละเอียดนั้นจะจำเพาะเจาะลงไปในส่วนที่ผู้ผลิตรายวิชาบท MOOC ต้องรู้ ควรรู้ หรือทำตาม พร้อมแทรกเกร็ดความรู้ เทคนิคต่าง ๆ ที่มีประโยชน์สำหรับผู้ที่เกี่ยวข้องอย่างมาก ซึ่งจะนำส่วนที่คิดว่ามีประโยชน์มาฝาก […]

พื้นฐานการออกแบบระบบแสงในงานเวที

งานต่างๆที่มีการแสดงนอกจากมีระบบเสียงที่ดีแล้วระบบแสงก็สำคัญไม่น้อยกันเลยเพราะแสงจะสร้างให้เวทีมีความสวยงามมีความอลังการณ์มากขี้นดังนั้นการเลือกชนิดไฟที่ใช้บนเวทีจึงมีความสำคัญมากเพราะไฟจะสร้างบรรยากาศบนเวทีให้เข้ากับงานการแสดงต่างๆได้มีอัศรถในการรับชมมากยิ่งขึ้นทำให้การแสดงต่างๆบนเวทีมีความน่าสนใจและมีความสุขในการชมและชนิดไฟที่เรานิยมใช้กันก็มีดังต่อไปนี้ 1 ไฟพาร์ Par เป็นไฟที่นิยมใช้กันมานานเนื่องจากใช้งานง่ายมีความทนทานสูงเวลาเปลี่ยนสีแค่ใช้เจลสีติดด้านหน้าไฟพาร์ก็เปลี่ยนสีได้แล้วใช่ใช้เจลสีอะไรก็ตามและผู้ใช้งานเลือกใช้งานและการออกแบบได้อิสระ ข้อดีของไฟพาร์คือ 1.1 เป็นโคมไฟที่นิมยมใช้กันมากที่สุดในงานคอนเสริตย์และงานแสดงทั่วไป 1.2 ปรับขนาดแสงด้วยการเปลี่ยนชนิดของหลอด 1.3 ทนทาน ดูแลรักษาง่าย ราคาถูก 1.4 ความสว่างสูง ส่องได้ไกล 1.5 ลักษณะของแสง ขอบวงแสง SOFT EDGE อุณหภูมิสี TUNGSTEN ตัวอย่างรูปไฟพาร์ 2 ไฟฟรีสเนล FRESNEL ไฟฟรีสเนลเป็นไฟที่ใช้กันมานานมากทั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันเป็นไฟที่สามารถซูมแสงให้เป็นวงเล็กหรือวงไหญ่ได้และขอบแสงจะมีความฟุ้งเบลอข้อดีคือ 2.1 โคมไฟที่นิยมใช้กันมากที่สุดในปัจจุบันใช้ในงานละครเวทีและสตูดิโอรายการทีวี 2.2 ปรับขนาดดวงแสงให้เล็กและไหญ่ได้ 2.3 ปรับลักษณะของแสงให้เป็น SOFT EDGE ได้ 2.4 ปรับอุณหภูมิสีให้เป็น TUNGSTEEN ได้ ตัวอย่างโคมไฟแบบ ฟรีสเนล 3 ไฟไซโคลรามา CYCLORRAMA ไฟไซโคลรามา CYCLORRAMA เป็นไฟที่นิยมมากในงานคอนเสริตย์ต่างๆเพราะเป็นไฟที่ให้แสงหลายสีที่มีความสวยงามทำให้เวทีมีความอลังการตื่นเต้นกับไฟชนิดนี้ ข้อดีของไฟชนิดนี้ 3.1 นิยมใช้กับเวทีที่มีขนาดไหญ่และส่องในระยะไกล้ๆ 3.2 โคมไฟมีราคาไม่แพงสามารถจับต้องได้ […]

การถ่ายภาพด้วยเทคนิคสร้างสรรค์ | Creative Photography

ทักษะการถ่ายภาพพื้นฐานเป็นคุณสมบัติที่มีในช่างภาพทุกคน แต่สิ่งที่สามารถสร้างความแตกต่างและน่าสนใจให้กับผลงานภาพถ่ายของตนเองได้ก็คือการถ่ายภาพด้วยเทคนิคสร้างสรรค์ซึ่งอาจมาจากมุมมองหรือแนวคิดที่ไม่เหมือนใคร หรือการใช้เทคนิคพิเศษในการปรับตั้งค่ากล้องถ่ายภาพและอุปกรณ์เสริม ดังนั้น การถ่ายภาพด้วยเทคนิคสร้างสรรค์จึงเป็นทักษะการถ่ายภาพสำคัญที่สามารถยกระดับให้กับช่างภาพที่ต้องการสร้างผลงานที่แตกต่าง และยังช่วยสร้างความสนุกสนานเพลิดเพลินให้กับบุคคลทั่วปที่สนใจการถ่ายภาพเป็นงานอดิเรกก่อนที่จะก้าวสู่การเป็นช่างภาพอาชีพในอนาคต การถ่ายภาพเคลื่อนไหวแบบหยุดนิ่ง (Stop Action/Stop Motion) ภาพที่หยุดการเคลื่อนไหวของวัตถุที่กำลังเคลื่อนไหวหรือเคลื่อนที่ เช่น การเล่นกีฬา วัตถุหรือสัตว์ที่กำลังเคลื่อนไหว หรือที่นิยมถ่ายกันในปัจจุบันก็คือการกระโดดลอยตัว ซึ่งอาจจะสื่อถึงความสนุกสนานหรือจะทำท่าแปลก ๆ เสมือนลอยอยู่กลางอากาศ หรือที่เรียกว่า ภาพแนว Levitation เทคนิคการถ่ายภาพที่ต้องการบันทึกภาพวัตถุให้หยุดนิ่งเช่นนี้ก็ คือการเลือกใช้ความไวชัตเตอร์สูง (High  Speed Shutter) โดยอาจใช้โหมด M หากมีความชำนาญ  สำหรับการถ่ายภาพ stop motion สามารถเลือกใช้ได้ 2  โหมด คือ M กับ TV (Canon) หรือ S (Nikon) เพื่อความสะดวกในการปรับตั้งค่าความไวชัตเตอร์เพียงอย่างเดียวแล้วให้กล้องปรับค่าที่เกี่ยวข้องโดยอัตโนมัติ ความไวชัตเตอร์ที่สามารถหยุดความเคลื่อนไหว ควรเริ่มตั้งแต่ 1/250 วินาที แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับความเร็วของวัตถุ เช่น นกบินหรือผีเสื้อบินก็ราว 1/1000 แต่หากถ่ายกระสุนปืนต้องใช้ถึง 1/8000 ขึ้นไป นอกจากนี้ […]

ทักษะการสื่อสารระหว่างบุคคลในการทำงาน Interpersonal Communication Skills in Workplace

รายวิชาทักษะการสื่อสารระหว่างบุคคลในการทำงาน (Interpersonal Communication Skills in Workplace) รายวิชานี้จะนำเสนอเนื้อหาเกี่ยวกับแนวคิดสำคัญของทักษะการสื่อสารระหว่างบุคคลในการทำงาน การตระหนักรู้ในตนเอง การรับฟังผู้อื่น การจูงใจผู้อื่น การให้ข้อมูลย้อนกลับ การเสริมพลังใจ การจัดการปัญหาอารมณ์และความเครียด และการกล้าแสดงออกอย่างเหมาะสม แนวคิดเกี่ยวกับทักษะการสื่อสารระหว่างบุคคลในการทำงาน การสื่อสารระหว่างบุคคลในการทำงานคือ ความสามารถในการมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน โดยใช้คำพูดและไม่ใช้คำพูด เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกัน เนื่องจากทุกคน ไม่ได้ มีเวลาพูด และเวลาฟังเท่ากัน โดยเฉพาะในการทำงานที่จะต้องมีการประชุม อภิปราย หาข้อสรุปในเรื่องต่างๆ นอกจากนี้แต่ละคนก็มีความคิด มุมมอง ประสบการณ์ บทบาทหน้าที่ที่ต่างกัน การพูดคุยกันแต่ละครั้งจำเป็นจะต้องมีความเข้าใจกันอย่างมาก โดยหากองค์การใดมีบุคลากรที่มีความสามารถในการสื่อสาร คือ สื่อสารได้ตรงกับสิ่งที่ตนเองต้องการสื่อ ควบคุม อารมณ์ได้ดี มีความสามารถในการสื่อสาร ก็จะทำให้การประชุม การอภิปรายนั้น โดยสามารถหาข้อสรุปได้ และทักษะการสื่อสารระหว่างบุคคลในการทำงาน (Interpersonal Communication Skills in Workplace) ทำให้เกิดสัมพันธภาพที่ดีระหว่างเพื่อนร่วมงาน ตรงข้ามกันหากองค์การใด มีการสื่อสารที่ไม่เหมาะสม หรือการสื่อสารที่ไม่มีประสิทธิภาพ ก็อาจนำมาซึ่งความไม่เข้าใจ ความขัดแย้ง จนกระทบถึงความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทำงาน แนวคิดที่เกี่ยวข้องกับการตระหนักรู้ในตนเอง […]

การแก้ไขปัญหาด้วยการใช้ความคิดสร้างสรรค์ | Creative Problem-solving

รายวิชานี้พัฒนาผู้เรียนให้มีความสามารถในการแก้ไขปัญหาด้วยการนำความคิดสร้างสรรค์มาประยุกต์ใช้อย่างมีประสิทธิผลและประสิทธิภาพ โดยเรียนรู้แนวคิดสำคัญของความคิดสร้างสรรค์ แหล่งที่มาของความสร้างสรรค์ เทคนิคการกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์โดยศึกษากรณีที่เกิดขึ้นจริง การพัฒนาปัจจัยส่งเสริมหรือสนับสนุน ซึ่งกระตุ้นให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ในการแก้ปัญหา ป้องกันปัญหาหรือพัฒนาผลงานและองค์การ Visits: 193Anurak Khongkitฝ่ายสนับสนุนการเรียนการสอนและสื่อการศึกษา

การคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม

การคิดสร้างสรรค์เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับทุกคน เพราะการคิดสร้างสรรค์ช่วยให้เราแก้ปัญหาเดิมด้วยวิธีการใหม่ ช่วยให้มองเห็นโอกาสใหม่ ๆ ความเป็นไปได้ใหม่ ๆ ทำให้ได้สิ่งที่ดีกว่า

Agile : ทีม สื่อสาร กระบวนการ เป้าหมาย

Agile ถ้าทำให้เข้าใจง่ายทีสุดก็คือ “ทีม+สามัคคี” ทุกคนเห็นภาพเดียวกันว่าจะทำอะไรและใครทำอะไร มีการสื่อสารและทำงานเป็นทีมด้วยความเข้าใจ ทำงานสำเร็จ บรรลุเป้าหมาย

การคิดสร้างสรรค์

การคิดสร้างสรรค์ | Creative Thinking ความคิดสร้างสรรค์ คือการคิดอย่างรอบด้าน คิดสิ่งใหม่ๆ ที่ช่วยแก้ไขปัญหา ทำให้มีสิ่งที่ดีๆ เกิดขึ้น และมีประโยชน์ต่อตนเอง หรือผู้อื่น หรือต่อสังคม เป็นการคิดเชิงบวก สร้างประโยชน์และสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ การคิดสร้างสรรค์สามารถส่งเสริมหรือพัฒนาได้ ความคิดสร้างสรรค์จะก่อเกิดได้ ต้องมีต้นแบบ เป็นแนวทางให้เห็น มีการแลกเปลี่ยนความคิดกันช่วยก่อให้เกิดการจุดประเด็นความคิดใหม่ๆ มองเห็นมุมมองใหม่ๆ อ้างอิงจากประสบการณ์เดิมที่เคยมี พัฒนาต่อยอดไปสู่สิ่งใหม่ที่ดีกว่า ผู้ที่มีความคิดสร้างสรรค์มีลักษณะที่ เป็นตัวของตัวเอง มีความอิสระในตัวเอง มีความมุ่งมั่นทุ่มเท ทำงานที่ตัวเองสนใจอย่างหนัก มีความกระตือรือร้น ชอบเรียน ชอบค้นหาความรู้ สามารถแก้ปัญหาต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว มีความคิดที่ครอบคลุม หลากหลาย มีความยืดหยุ่นในการแก้ปัญหา มีสมาธิ ชอบคิดและทำสิ่งใหม่ๆ มีความอดทน ยอมรับการเปลี่ยนแปลงได้ เป็นคนคิดนอกกรอบ ไม่ชอบกฎ ระเบียบ เป็นคนคิดบวกและอารมณ์ดี มีจินตนาการ สภาพแวดล้อมที่ก่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ต้องประกอบไปด้วย บรรยากาศที่เอื้อในการเรียนรู้ เปิดกว้างทางความคิด ยอมรับความแตกต่างและความหลากหลายในวิธีการ ไม่มีการตัดสินถูกผิดในเรื่องความคิด เปิดโอกาสให้มีการเสนอความคิด มีการเอาใจใส่และตอบคำถาม เพื่อกระตุ้นให้เกิดการคิดต่อเนื่อง ทำให้เห็นประโยชน์ในความคิด ชี้แนะแนวทางที่หลากหลาย […]

Design Thinking Community : พื้นที่ชุมชนสร้างสรรค์

พื้นที่ชุมชนสร้างสรรค์ / พื้นที่สร้างสรรค์ชุมชน มีมานานแล้ว แต่เราจะรู้จักในนาม วิถีชีวิต วิถีชุมชน การแก้ปัญหา ภูมิปัญญา นวัตกรรม ฯลฯ ขึ้นอยู่กับเราที่จะเรียก

Back To Top