การถ่ายภาพด้วยเทคนิคสร้างสรรค์ | Creative Photography

ทักษะการถ่ายภาพพื้นฐานเป็นคุณสมบัติที่มีในช่างภาพทุกคน แต่สิ่งที่สามารถสร้างความแตกต่างและน่าสนใจให้กับผลงานภาพถ่ายของตนเองได้ก็คือการถ่ายภาพด้วยเทคนิคสร้างสรรค์ซึ่งอาจมาจากมุมมองหรือแนวคิดที่ไม่เหมือนใคร หรือการใช้เทคนิคพิเศษในการปรับตั้งค่ากล้องถ่ายภาพและอุปกรณ์เสริม ดังนั้น การถ่ายภาพด้วยเทคนิคสร้างสรรค์จึงเป็นทักษะการถ่ายภาพสำคัญที่สามารถยกระดับให้กับช่างภาพที่ต้องการสร้างผลงานที่แตกต่าง และยังช่วยสร้างความสนุกสนานเพลิดเพลินให้กับบุคคลทั่วปที่สนใจการถ่ายภาพเป็นงานอดิเรกก่อนที่จะก้าวสู่การเป็นช่างภาพอาชีพในอนาคต

การถ่ายภาพเคลื่อนไหวแบบหยุดนิ่ง (Stop Action/Stop Motion)


ภาพที่หยุดการเคลื่อนไหวของวัตถุที่กำลังเคลื่อนไหวหรือเคลื่อนที่ เช่น การเล่นกีฬา วัตถุหรือสัตว์ที่กำลังเคลื่อนไหว หรือที่นิยมถ่ายกันในปัจจุบันก็คือการกระโดดลอยตัว ซึ่งอาจจะสื่อถึงความสนุกสนานหรือจะทำท่าแปลก ๆ เสมือนลอยอยู่กลางอากาศ หรือที่เรียกว่า ภาพแนว Levitation เทคนิคการถ่ายภาพที่ต้องการบันทึกภาพวัตถุให้หยุดนิ่งเช่นนี้ก็ คือการเลือกใช้ความไวชัตเตอร์สูง (High  Speed Shutter) โดยอาจใช้โหมด M หากมีความชำนาญ  สำหรับการถ่ายภาพ stop motion สามารถเลือกใช้ได้ 2  โหมด คือ M กับ TV (Canon) หรือ S (Nikon) เพื่อความสะดวกในการปรับตั้งค่าความไวชัตเตอร์เพียงอย่างเดียวแล้วให้กล้องปรับค่าที่เกี่ยวข้องโดยอัตโนมัติ

ความไวชัตเตอร์ที่สามารถหยุดความเคลื่อนไหว ควรเริ่มตั้งแต่ 1/250 วินาที แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับความเร็วของวัตถุ เช่น นกบินหรือผีเสื้อบินก็ราว 1/1000 แต่หากถ่ายกระสุนปืนต้องใช้ถึง 1/8000 ขึ้นไป นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยอื่นที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สภาพแสงที่ต้องสว่างพอ หากถ่ายช่วงเช้า เย็น หรือกลางคืน จะไม่สามารถใช้ความไวชัตเตอร์สูงได้ ยกเว้นใช้ไฟแฟลชมาช่วยแต่กล้องถ่ายภาพต้องมีโหมดถ่ายภาพสัมพันธ์ความเร็วสูง (High Speed Sync) ด้วย มิฉะนั้นม่านชัตเตอร์จะปิดก่อนที่แสงจะผ่านเข้าไปทำให้ได้ภาพที่มีแถบดำเกิดขึ้นในภาพ   

นอกจากนี้ การถ่ายภาพเคลื่อนไหวแบบหยุดนิ่ง ยังมีปัจจัยอื่น ๆ เข้ามาเกี่ยวข้อง เช่น สภาพแสงที่ต้องสว่างมากเพียงพอ หากเราถ่ายในช่วง เช้า ตอนเย็น หรือตอนกลางคืนจะไม่สามารถใช้ความเร็วชัตเตอร์ที่สูงได้อาจจะต้องใช้ Flash เข้ามาช่วยและกล้องจะต้องมีโหมด Flash High Speed Sync เข้ามาช่วย

การถ่ายภาพเคลื่อนไหวแบบพลิ้วไหว (Motion)

การถ่ายภาพเคลื่อนไหวอีกรูปแบบที่นิยมใช้ก็คือ การถ่ายภาพสิ่งที่กำลังเคลื่อนไหวให้มีลักษณะพลิ้วไหวไปตามทิศทางการเคลื่อนไหว ซึ่งแม้จะดูเบลอไปบ้างแต่ก็สื่อถึงการเคลื่อนไหวของวัตถุได้ดีจึงทำให้ภาพดูแปลกตาและน่าสนใจมากขึ้น เช่น ภาพแนวสตรีทที่ผู้คนเดินพลุกพล่านกลางใจเมือง หรือบุคคลยืนนิ่งท่ามกลางสิ่งต่าง ๆ ทีเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็ว หรือการถ่ายภาพน้ำตกซึ่งจะช่วยให้สายน้ำเกิดความนุ่มนวลพลิ้วไหว

การตั้งค่ากล้อง ใช้โหมด M หรือ TV/S เช่นเดียวกับการถ่ายภาพ Stop Action แต่ค่าความไวชัตเตอร์จะตรงกันข้ามกัน คือ ต้องใช้ความไวชัตเตอร์ต่ำ (1/30, 1/15, 1/8) เพื่อให้วัตถุเบลอตามทิศทางการเคลื่อนไหว และสามารใช้ iso ได้ที่ 100 การถ่ายภาพแบบนี้นิยมให้ฉากหลังหรือพื้นที่รอบ ๆ มีความคมชัดจะดีมาก เพราะจะสื่อถึงการเคลื่อนไหวของวัตถุที่เป็นตัวแบบได้ดี ดังนั้น จึงควรใช้ขาตั้งกล้อง เพราะการใช้ความไวชัตเตอร์ที่ต่ำ จะมีผลต่อความเบลอของภาพ มิฉะนั้นฉากหลังหรือพื้นที่รอบ ๆ จะเบลอไปด้วย กลายเป็นภาพถ่ายแบบกล้องสั่น
นอกจากนี้ ในการกดลั่นชัตเตอร์อาจใช้รีโมทคอนโทรลหรือสายลั่นชัตเตอร์เพื่อป้องกันการสั่นของกล้องจากนิ้วมือที่สัมผัส หรือใช้ฟังก์ชั่นการตั้งเวลาถ่ายภาพแทนก็ได้ เช่น ให้กล้องถ่ายภาพใน 2 นาทีหลังจากกดปุ่มชัตเตอร์

การถ่ายแบบภาพ Matrix

การถ่ายภาพ Matrix
การถ่ายภาพแบบ Matrix ได้แนวคิดมาจากภาพยนตร์เรื่อง Matrix ในฉากหลบกระสุนที่กล้องมีการจับภาพนักแสดงในมุม 360 องศา ซึ่งเราสามารถนำมาประยุกต์กับการถ่ายภาพนิ่งได้ เพียงแต่ขั้นตอนสุดท้ายต้องอาศัยการตัดต่อด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วย ในการถ่ายภาพ Matrix ต้องใช้ตากล้องหลาย ๆ คนมาช่วยในการถ่าย สิ่งสำคัญอีกสิ่งหนึ่ง คือ เราควรให้ตากล้องรู้ลำดับของตนเอง เพราะเมื่อทำการถ่ายภาพจะต้องถ่ายตามลำดับก่อน หลัง เพื่อให้ได้ภาพที่ต่อ ๆ กัน

การตั้งค่ากล้อง
ควรตั้งค่าพื้นฐานของกล้องทุกตัวให้เหมือนกัน เช่น Speed shutter รูรับแสง ISO หรือค่า ไวท์บาลานซ์  โดยค่าที่สำคัญ คือ ค่า Speed shutter เนื่องจากการถ่ายภาพ Matrix เราต้องการที่จะให้ตัวแบบหยุดนิ่งลอยอยู่บนอากาศ เราจึงต้องใช้ค่า Speed shutter ที่สูงโดยอาจจะใช้ตั้งแต่ 500-1000 หรือมากกว่า ในเรื่องของเลนส์ หากเป็นเลนส์ FIX  ควรใช้ช่วงเลนส์ที่มีระยะเท่า ๆ กัน หรือถ้าไม่มีเลนส์ FIX สามารถใช้เลนส์ซูม หรือเลน KIT  ในการถ่ายภาพควรเว้นพื้นที่ด้านบนของตัวแบบเพื่อให้เวลาที่ตัวแบบกระโดดแล้วหัวของตัวแบบไม่หลุดเฟรม หลังจากนั้นเราควรตั้งระนาบกล้องทุกตัวให้เท่า ๆ กัน เพื่อให้เวลานำภาพไปต่อกันเกิดความเนียน สวยงาม ดูไม่ขัดตา

การถ่ายภาพแบบหลอกสายตา


เทคนิคการถ่ายภาพแบบหลอก เป็นเรื่องของมุมกล้องและการตั้งค่ารูรับแสง เป็นอีกเทคนิคการถ่ายภาพแบบสร้างสรรค์ง่าย ๆ ที่นิยมถ่ายกัน และสามารถใช้กล้องทั่วไปหรือแม้กระทั่งกล้องมือถือก็สร้างสรรค์ภาพแบบนี้ได้เช่นกัน โดยการใช้มุมกล้องในการสร้างมุมมองที่แปลกตาตามจินตนาการของช่างภาพ เช่น ถ่ายภาพแบบแนวนอน แต่พอมองในแนวตั้งก็จะได้ภาพที่ดูแปลกตา หรือการใช้ขนาดรูรับแสงที่แคบเพื่อให้ภาพมีความชัดลึก ทำให้ทั้งสิ่งที่อยู่ใกล้หรือที่อยู่ไกลมีความคมชัดเท่ากัน จนดูเหมือนของในระนาบเดียวกัน เช่น ภาพยักษ์กับคนจิ๋ว เป็นต้น

เทคนิค 
การถ่ายภาพที่ต้องการภาพหลอกสายตา โดยใช้การถ่ายแบบชัดลึกหรือภาพที่มีความคมชัดเท่ากันทั้งภาพ ก็คือ การเลือกใช้ขนาดรูรับแสงแคบ หรือค่า F-number มาก ๆ เช่น F11 F16 F18 F22 โดยอาจใช้โหมด  M หากมีความชำนาญ หรือเลือกใช้โหมด AV (Canon) หรือ A (Nikon) เพื่อความสะดวกในการปรับตั้งค่ารูรับแสงเพียงอย่างเดียว แล้วให้กล้องปรับค่าที่เกี่ยวข้องโดยอัตโนมัติ แต่ต้องระวังไม่ให้ความไวชัตเตอร์ต่ำเกินไป (น้อยกว่า 1/60) ไม่งั้นภาพอาจจะสั่นได้ สำหรับผู้ที่ใช้กล้องมือถือก็สามารถใช้เทคนิคหลอกสายตาได้เช่นกันแม้จะปรับตั้งค่าไม่ได้มาก เพราะในตัวเลนส์ของกล้องมือถือค่อนข้างมีความชัดลึกในตัวอยู่แล้ว

ข้อควรระวังในการถ่ายภาพหลอกสายตา
ไม่ควรให้ค่าความไวชัตเตอร์ต่ำจนเกินไป ควรตั้งค่าความไวชัตเตอร์ 1/60 หรือมากกว่าขึ้นอยู่กับสภาพแสง

อ้างอิง

https://lms.thaimooc.org/courses/course-v1:KMITL+KMITL009+2019/about

Visits: 791

Comments

comments

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

For security, use of Google's reCAPTCHA service is required which is subject to the Google Privacy Policy and Terms of Use.

Back To Top