สีตรงข้าม หรือสีตัดกัน หรือสีคู่ปฏิปักษ์ เป็นสีที่มีค่าความเข้มของสี ตัดกันอย่างรุนแรง

ในทางปฏิบัติไม่นิยมนำมาใช้ร่วมกัน เพราะจะทำให้แต่ละสีไม่สดใสเท่าที่ควร

การนำสีตรงข้ามกันมาใช้ร่วมกัน อาจกระทำได้ดังนี้

1. มีพื้นที่ของสีหนึ่งมาก อีกสีหนึ่งน้อย

2. ผสมสีอื่นๆ ลงไปสีสีใดสีหนึ่ง หรือทั้งสองสี

3. ผสมสีตรงข้ามลงไปในสีทั้งสองสี

สีตรงข้าม หรือสีคู่ (Complementary Colors) หมายถึง สีสองสีที่อยู่ตรงข้ามกันบนวงจรสี ให้ความรู้สึกที่ขัดแย้งกันอย่างรุนแรง มี 6 คู่ คือ

1. เหลือง (Yellow) กับ ม่วง (Violet, Purple)

2. แดง (Red) กับ เขียว (Green)

3. น้ำเงิน (Blue) กับ ส้ม (Orange)

4. ส้มเหลือง (Yellow-Orange) กับ ม่วงน้ำเงิน (Blue-Green)

5. ส้มแดง (Red-Orange) กับ เขียวน้ำเงิน (Blue-Green)

6. เขียวเหลือง (Yellow-Green) กับ ม่วงแดง (Red-Violet)

การใช้สีตรงข้ามกับตัดกันอย่างรุนแรงนั้นค่อนข้างอันตรายอยู่เหมือนกัน

เพราะถ้าหากไม่เลือกใช้ดี ๆ ล่ะก็ งานของเราอาจจะดูรกไปเลยก็ได้ แต่ก็ใช่ว่าจะทำไม่ได้นะ

เทคนิค 3 ข้อในการจับคู่สีตรงข้ามมาให้ทุกท่านได้ศึกษากัน

ถ้าหากทำตามเทคนิคเหล่านี้  การจับคู่สีตรงข้ามให้ออกมาเวิร์คก็จะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป

1. สัดส่วน 80/20

เป็นเรื่องสำคัญหากคิดจะใช้คู่สีตรงข้าม คือจะต้องใช้สีหนึ่งประมาณ 80% อีกสีหนึ่ง 20%

เพราะถ้ามากไปกว่านั้นจะทำให้งานดูวุ่นวายสับสน

แทนที่จะโดดเด่น กลายเป็นดูรกและไม่น่ามองนั่นเอง

2. คู่สีตรงข้ามที่มีสัดส่วนเท่ากัน

จากข้อข้างบนที่บอกว่าคู่สีตรงข้ามนั้นต้องมีสัดส่วนประมาณ 80/20

แต่ถ้าหากเราอยากให้ทั้งสองสีมีสัดส่วนที่เท่ากันพอดี แนะนำให้ผสมสีขาวหรือเทาลงไปในแต่ละสี

เพื่อให้สีมีความ soft ลง ไม่ตัดกันรุนแรงจนเกินไป

3. คู่ตรงข้ามทั้ง 6

คู่สีตรงข้ามที่ตัดกันรุนแรงมีอยู่ด้วยกัน 6 คู่ ซึ่งเราสามารถนำไปผสมกับสีอื่นๆ

เพื่อเพิ่มความเข้ม-อ่อนของแต่ละสี หรือเพื่อลดความรุนแรงของสีที่ตัดกันให้ดูนิ่มนวลลงได้

และนี่คือเทคนิค 3 ข้อของการจับคู่สีตรงข้ามนะคะ สามารถลองเอาไปทำตามกันดูได้เลย

แต่การจับคู่สีนั้นไม่จำเป็นต้องใช้สีที่ตัดกันเพื่อสร้างความน่าสนใจเสมอไป

บางครั้งสีพื้นๆ อย่าง ขาว-เทา-ดำ ก็สามารถสร้างแรงดึงดูดให้กับงานของคุณได้เช่นกัน

หรือแม้กระทั่งสีที่ใกล้เคียงกันสัก 2-3 สีก็มีพลังไม่แพ้การจับคู่สีตรงข้ามเลย

ที่มา : https://www.vogue.co.th/fashion/article/zendaya-balmain-naacp

https://sites.google.com/site/wichasilpan/sit-rng-kham

Visits: 36547

Comments

comments