Category: Innovative Talk

PDCA การจองห้องฉายหนัง Mini theater

(P=Plan วางแผน) ด้วยศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษาไม่ได้รวมห้องจัดฉายภาพยนตร์ Mini theater 72 ที่นั่ง ในพื้นที่บริการศูนย์บรรรณสารและสื่อการศึกษา ชั้น 1 ให้จองห้องประชุมและการใช้งานผ่านระบบ Online Ebooking ของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ดังเช่น ห้องประชุมทางไกลระเบียงบรรณ 1 ห้องประชุมระเบียงบรรณ 2-3 ในพื้นที่เดียวกัน เนื่องจากจำเป็นต้องกลั่นกรองการใช้งานตามนโยบายของศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา บริหารจัดการใช้งานเฉพาะหน่วยงาน ดังเช่น ห้องประชุมระเบียงบรรณ 4 สงวนสิทธิ์รองรับภารกิจของหน่วยงาน จัดกิจกรรม ประชุม สัมนา ต้อนรับคณะเยี่ยมชม ใช้ห้องเพื่อสนับสนุนการเรียนการสอน ก่อนเป็นอันดับแรก การให้บริการห้องจึงยังเป็นระบบบริหารจัดการเฉพาะภายในหน่วยงาน และต้องมีเจ้าหน้าที่ควบคุมดูแลเมื่อมีการใช้ห้องทุกครั้ง เจ้าหน้าที่จะเป็นผู้รับคำขอใช้ห้อง โดยใช้เครื่องมือปฏิทิน Google calendar ที่สร้างขึ้นมาเพื่อใช้กันในเฉพาะฝ่ายส่งเสริมการเรียนรู้และให้บริการการศึกษา ตรวจสอบห้องว่างตามวันเวลาที่กำหนดเงื่อนไขในการให้บริการ และได้สร้าง Google form เพื่อบันทึกรับจอง รายงานสถิติการใช้งาน ให้เกิดการใช้ประโยชน์สูงสุด ต่อมาเมื่อมีการเปิดให้บริการกลุ่มนักศึกษาตั้งแต่ 10 คนขึ้นไปจองใช้บริการ เพื่อเพิ่มทักษะภาษาต่างประเทศ และเรียนรู้วัฒนธรรมนานาชาติจากการชมภาพยนตร์ จึงมีการขอใช้บริการห้องจัดฉายภาพยนตร์ Mini theater เพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก […]

สตูดิโอเสมือนคืออะไร

สตูดิโอเสมือน (Virtual Studio) คือ ระบบห้องส่งเสมือน ที่นำภาพฉาก 3 มิติมาใช้แทนฉากจริง เพื่อใช้ในการถ่ายทำวีดิทัศน์ต่างๆ ได้อย่างทันสมัย สมจริง ซึ่งในการถ่ายทำนั้นผู้ดำเนินรายการที่อยู่หน้ากล้องจะถ่ายทำอยู่หน้าฉากสีเขียวเพื่อให้ระบบ Virtual Studio สามารถตัดภาพของผู้ดำเนินรายการเพื่อไปซ้อนในฉาก 3 มิติได้ ซึ่งข้อดีของฉากเสมือน คือ จะสามารถเปลี่ยนฉากที่เหมาะสมได้ตามต้องการ โดยระบบ Virtual Studio ก็จะทำการจำลองให้เสมือนว่าผู้ดำเนินรายการอยู่ในฉากจริงๆ พร้อมทั้งจำลองแสงเงาให้มีความสมจริงยิ่งขึ้นอีกด้วย            สำหรับมหาวิทยาลัยซึ่งเป็นหน่วยงานการศึกษาที่มีความเกี่ยวพันกับการผลิตรายการหรือผลิตสื่อการเรียนการสอนโดยตรงนั้น เทคโนโลยี Virtual Studio ถือเป็นเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับการใช้ผลิตสื่อเพื่อประกอบการเรียนการสอน หรือแม้กระทั่งนักศึกษาสาขาที่เกี่ยวข้องกับการผลิตสื่อ เช่น นิเทศศาสตร์ ได้มีความรู้ความเข้าใจในตัวเทคโนโลยี เพื่อตอบรับต่ออุตสาหกรรมบันเทิงที่มีการใช้งานเทคโนโลยีนี้มากขึ้นเรื่อยๆ            นอกจากนี้มหาวิทยาลัยที่มีการผลิตสื่อการเรียนการสอนทางไกล ก็สามารถนำเทคโนโลยี Virtual Studio ไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากสามารถนำสื่อประเภทอื่นๆ เช่น PowerPoint Presentation, Video Clip หรือแม้แต่ Website มาแสดงผลในฉากหลังเพื่อเสริมความเข้าใจในเนื้อหาต่างๆ ได้อย่างดียิ่งขึ้น และยังสามารถส่งภาพและเสียงแบบรายการสดผ่าน Stream server […]

IP Camera คือ อะไร (กล้องไอพี) ประกอบด้วยอะไรบ้าง แตกต่างกับแบบอื่นยังไง?

Ip camera คือ กล้องวงจรปิดประเภทตรวจตราดูแลรักษาความปลอดภัยชนิดหนึ่ง โดยที่ตัวกล้อง ip camera ไม่ต้องใช้ระบบตัวกลางสำหรับการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่เป็นตัวรับสายปลายทางอีกที ซึ่งระบบกล้องวงจรปิด ip camera มีระบบ web sever ภายในตัวที่กล้องไอพีสามารถเชื่อมต่อเครือข่ายเพื่อถ่ายโอนข้อมูลภาพถ่ายส่งต่อถึงอุปกรณ์ดิจิตอลที่มนุษย์ใช้ติดตัวในชีวิตประจำวันอย่าง แท้บเล็ต แล็ปท็อป และสมาร์ทโฟน ในช่วงเวลาแบบ เรียลไทม์(real-time) โดยการติดตั้งกล้อง ip camera สามารถทำงานด้วยตัวของตัวเองไม่ต้องเสียเวลาประมวลผลจากระบบตัวกลางอีกเลย กล้อง IP Camera (กล้องไอพี) มี 2 ชนิด ดังนี้ กล้องไอพี IP Camera ชนิดรวมที่ศูนย์กลาง (Centralized) กล้อง IP camera ชนิดนี้เป็นกล้องไอพีระบบเครือข่ายที่ต้องการเซิร์ฟเวอร์วิดีโอNVR (Network Video Recorder)เป็นระบบส่วนกลางในการรับส่งข้อมูลรูปภาพ ซึ่งการบันทึกรูปภาพทั้งหมดของการเชื่อมต่อ IP camera กับ NVR เกิดขึ้นบนแพลตฟอร์มผ่าน Internet Protocol ที่เป็นระบบการส่งข้อมูลไปยังอุปกรณ์ดิจิตอลที่รับข้อมูลทางปลายทาง การบันทึกของกล้อง IP […]

รู้ทันภัยไซเบอร์

การกดเข้าไปในเว็บไซต์หรือ link ต่างๆ ที่มากับอีเมล์รู้ไหมว่า.. คุณกำลังเสี่ยงกับไวรัสร้าย ภัยไซเบอร์หากกดเข้าไปดู อาจส่งผลให้เครื่องและไฟล์ต่างๆ ในคอมพิวเตอร์หายไปในพริบตา แบบที่ 1 เรารู้จักกันในชื่อเรียกว่า Malware มันจะถูกสร้างและออกแบบมา เพื่อให้เข้าไปทำลายระบบคอมพิวเตอร์และเครือข่าย แบบที่ 2 คือไวรัส ช่วงแรกมันถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อก่อกวนและแร่เชื้อจากเครื่องหนึ่งไปยังอีกอีกเครื่องหนึ่ง ต่อมามันถูกพัฒนาขึ้นไปให้มีความสามารถในการทำลายล้างไฟล์ข้อมูล แบบที่ 3 Trojan หรือเจ้าม้าไม้มันจะแอบซ่อนอยู่ในคอมพิวเตอร์ของเรา แล้วเวลากลางค่ำกลางคืนหรือตามช่วงเวลาที่ถูกกำหนดไว้ จะทำงานแบบเงียบๆ โดยการส่งไวรัสไปให้เพื่อนๆในรายชื่อ E-Mail ของเรา แบบที่ 4 Spyware ใครที่ชอบเล่น Internet หรือชอบเข้าเว็บไซต์แปลกๆทั้งหลายมักจะโดนตัวนี้เล่นงานเพราะเป็นโปรแกรมที่อาศัยช่องโหว่ของเว็บไซต์พอเราคลิกดาวน์โหลดปั๊บมันจะเปิดประตูให้ Spywareเข้ามาขโมยข้อมูลส่วนตัวของเราได้ทันทีอย่างเช่นเข้ามา Hack Password เข้า E-Mail ของเรา แบบที่ 5 Ransomware จะแตกต่างกับ Malware ประเภทอื่นๆคือไม่ได้ถูกออกแบบมาเพื่อขโมยข้อมูลผู้ใช้แต่อย่างใดแต่จะทำการเข้ารหัสหรือ Lock ไฟล์ไม่ว่าจะเป็นไฟล์เอกสาร หรือรูปภาพ วีดีโอผู้ใช้จะไม่สามารถเปิดไฟล์ใดๆได้เลยหากไฟล์เหล่านั้นถูกเข้ารหัสซึ่งถูกเข้ารหัสก็หมายความว่าต้องใช้คีย์ในการปลด Lock เพื่อกู้ข้อมูลคืนมาผู้ใช้งานจะต้องจ่ายเงินตามข้อความเรียกค่าไถ่ ฟังดูน่ากลัวใช่ไหมครับ แต่เราสามารถป้องกันได้เพียงแค่เราติดตั้งโปรแกรมป้องกันไวรัสและเปิดโปรแกรมทำงานอย่าสม่ำเสมอรวมทั้ง Firewall […]

คลังข้อมูล | Data Warehouse

นิยามของคลังข้อมูล สำหรับคลังข้อมูลนั้น จะหมายถึงข้อมูลขนาดใหญ่ที่มีการรวบรวมจากแหล่งข้อมูลต่างๆข้อมูลที่จัดเก็บในคลังข้อมูลจะเป็นข้อมูลที่เกิดขึ้นแล้วในอดีตโดยที่มาของข้อมูลอาจจะมาจากแหล่งเดียวกันหรืออาจจะหลายแหล่งก็ได้ทั้งข้อมูลที่อาจจะเกิดขึ้นภายในองค์กรหรือภายนอกองค์กร แหล่งข้อมูลที่เป็นต้นกำเนิดของข้อมูลสำหรับคลังข้อมูลเรียกว่าเป็นข้อมูลต้นทาง (data source) ซึ่งการรวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่างๆ นั้นก็จะมีกระบวนการที่เราเรียกว่าการเชื่อมโยงข้อมูลหรือ Data integrationและข้อมูลที่นำมาเก็บภายในคลังข้อมูลก็จะไม่มีการนำมาแก้ไขปรับปรุงอีกเพราะถือว่าข้อมูลนั้นได้จบเสร็จสิ้นไปแล้ว สำหรับข้อมูลที่เก็บในคลังข้อมูลนั้นจะถูกนำมาใช้เพื่อการประมวลผลเป็นข้อมูลสารสนเทศในเชิงการบริหารเรียกว่าเป็น Management Information System โดยมีการนำเอาข้อมูลมาแสดง ทั้งในรูปของข้อมูลเชิงสรุป ตารางเป็นแผนภูมิ เป็นข้อมูลสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร แเรียกว่า Executive Information System (EIS) นอกจากนี้ความสามารถอีกอย่างหนึ่งของ Data Warehouse ก็คือการสามารถที่จะเจาะลึกลงไปดูในรายละเอียดของข้อมูลที่เราเรียกว่าการ drill-down เป็นการสรุปภาพรวมและสามารถจะอธิบายลงในรายละเอียดลงไปในแต่ละระดับชั้นการ roll-up ก็เป็นอีกเครื่องมือหนึ่งที่สำคัญการแสดงผลข้อมูลสารสนเทศนั้นจะอาศัยเครื่องมือที่เรียกว่าเครื่องมือธุรกิจอัจฉริยะหรือ Business Intelligence : BI เพื่อเป็นการแสดงผลข้อมูลสารสนเทศที่มีความยืดหยุ่น ขั้นตอนการเชื่อมโยงข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต่างๆ เพื่อเป็นคลังข้อมูล ขั้นตอนสำคัญคือต้องมีการกำหนดแหล่งข้อมูลแหล่งข้อมูล แหล่งข้อมูลแบ่งเป็น 2 ประเภทได้แก่ แหล่งข้อมูลภายในเป็นข้อมูลที่มีการพัฒนาและก็จัดเก็บภายในองค์กรเองและแหล่งข้อมูลจากภายนอกซึ่งเป็นข้อมูลที่มาจากภายนอกองค์กร เมื่อกำหนดแหล่งข้อมูลที่จะนำมาพัฒนาคลังข้อมูลขั้นตอนที่สองคือ การศึกษารูปแบบข้อมูลในแต่ละแหล่งข้อมูล ขั้นที่สามก็คือการเชื่อมโยงข้อมูลจากแหล่งต่างๆเพื่อให้ข้อมูลอยู่ในรูปแบบที่เหมาะสมต่อการนำไปเก็บในคลังข้อมูลซึ่งขั้นตอนการเชื่อมโยงข้อมูลจะมีการแปลงข้อมูลให้มีความเหมาะสมและมีมาตรฐานตามที่ได้กำหนดเอาไว้ในคลังข้อมูล การเตรียมความพร้อมสำหรับโครงการคลังข้อมูล การพัฒนาคลังข้อมูลนั้นเป็นโครงการที่อาจจะใช้ระยะเวลายาวนานแล้วก็มีงบประมาณเข้ามาเกี่ยวข้องซึ่งอาจจะต้องมีการลงทุน โครงการการพัฒนาคลังข้อมูลเป็นโครงการที่ต้องการความร่วมมือ แล้วก็การสนับสนุนจากหลายๆฝ่ายหลายๆกลุ่มคน โดยที่ผู้ที่เกี่ยวข้องนั้นอาจจะมีอยู่หลายประการด้วยกัน โดยเฉพาะการดำเนินงานนั้นจะต้องมีส่วนที่เกี่ยวข้องกับผู้บริหารซึ่งอาจจะมีอยู่หลายระดับด้วยกันแล้วก็แบ่งออกเป็นผู้บริหารระดับชั้นต้น ระดับสูง รวมถึงเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบดูแลระบบไอทีขององค์กร เจ้าหน้าที่เทคโนโลยีสารสนเทศแล้วก็ผู้ที่มีส่วนที่เกี่ยวข้องกับระบบฐานข้อมูลในด้านต่างๆ […]

พื้นฐาน Internet of Things (IoTs) | Basic Internet of Things (IoTs)

Internet of Things (IoTs) คือ นวัตกรรมใหม่ ที่รวม 5 สิ่งเข้าด้วยกัน คือ ฮาร์ดแวร์ Connectivity ซอฟต์แวร์ Data และ Intelligent ซึ่งทำงานประสานเข้าด้วยกัน  รวมไปถึงการที่อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ รวมถึงของสิ่งของ ผู้คน ข้อมูลและการบริการ สามารถเชื่อมโยงและสื่อสารกันได้โดยผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต การบรรจุอุปกรณ์สมองกลฝังตัวหรือที่เรียกว่า “embedded system device” เข้าไปใน “สิ่งของ (Things)” หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ มีอุปกรณ์ตรวจวัดหรือเซ็นเซอร์เพื่อตรวจวัดค่าต่าง ๆ แล้วส่งข้อมูลมายังสมองกลและส่งต่อไปยังหน่วยประมวลผลกลางและจัดเก็บในฐานข้อมูลผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตหรือที่เรียกว่า “Cloud Storage” รวมถึงบริการรับฝากไฟล์และประมวลผลข้อมูลผ่านทางออนไลน์ Internet of Things (IoTs) คือ นวัตกรรมใหม่ ที่รวม 5 สิ่งเข้าด้วยกัน คือ ฮาร์ดแวร์ Connectivity ซอฟต์แวร์ Data และ Intelligent ซึ่งทำงานประสานเข้าด้วยกัน ความหมายของ “Internet of Things” […]

คลาวด์คอมพิวติ้ง (Cloud Computing)

คลาวด์คอมพิวติ้ง (Cloud Computing) ภาพโดย : Image by macrovector on Freepik ภาพโดย : Image by macrovector on Freepik             หลายคนอาจจะนึกถึงแค่บริการพื้นที่ฝากไฟล์บนอินเทอร์เน็ต อย่าง iCloud บน iPhone, iPad หรือ Google Drive บน Android หรือ OneDrive บนมือถือ Windows Phone ซึ่งสิ่งเหล่านี้คือบริการ Cloud Storage อันเป็นบริการ Cloud ประเภทหนึ่งเท่านั้น เช่นการรีโมทเข้าระบบเซิร์ฟเวอร์ (server) จากระยะไกล หรือ การเก็บข้อมูลจากระยะไกล แต่ที่จริงนี่เป็นแค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น เพราะ Cloud Computing ยังมีบริการที่หลายรูปแบบ และ การใช้งานได้อีกหลายประเภท             Cloud Computing คือบริการที่ครอบคลุมถึงการให้ใช้ระบบประมวลผล […]

Data + AI for Communication : PDPA การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เตรียมความพร้อมเพื่อโอกาสทางธุรกิจ

  PDPA (Personal Data Protection Act) หรือ พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ตัวบทกฎหมายได้ถูกร่างและประกาศมาต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2562 ทั้งนี้ มีการกำหนดบังคับใช้งานจริง เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2565 เป็นต้นมา วัตถุประสงค์หลักสำคัญของกฎหมายฉบับนี้ ก็เพื่อคุ้มครองสิทธิข้อมูลของบุคคลโดยไม่ให้บุคคลใดๆ หรือองค์กรใดๆ เก็บข้อมูลบุคคลเพื่อนำไปใช้งานหรือเผยแพร่ต่อ โดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของข้อมูล ทำความเข้าใจกันก่อนข้อมูลส่วนบุคคล หมายถึง ข้อมูลที่เกี่ยวกับตัวบุคคล ที่สามารถระบุหรือเข้าถึงตัวตนหรือบุคคลนั้นๆ ได้ เช่น ชื่อ-สกุล วันเดือนปีเกิด สถานที่เกิด เลขบัตรประจำตัวประชาชน เลขบัตรประกันสังคม ใบอนุญาตขับขี่ บัญชีธนาคาร บัตรเครดิต ที่อยู่ อีเมล และเบอร์โทรศัพท์ เป็นต้น เหล่านี้ ล้วนเป็นข้อมูลส่วนบุคคลที่สามารถเชื่อมโยงถึงตัวบุคคลได้ทั้งสิ้น นอกจากนี้ ยังมีข้อมูลส่วนบุคคลที่มีความละเอียดอ่อน (Sensitive Personal Data) ได้แก่ เชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ ความคิดเห็นทางการเมือง ความเชื่อในลัทธิ ศาสนาหรือปรัชญา พฤติกรรมทางเพศ ประวัติอาชญากรรม […]

ภาพถ่ายทางอากาศ

ย้อนกลับไปเมื่อ 10 ปีก่อนหน้านี้หากจะพูดถึงการถ่ายภาพมุมสูงนั้นคงเป็นเรื่องไม่ง่ายนัก ถึงแม้จะมีด้วยกันหลายวิธี เช่น เฮลิคอปเตอร์, บอลลูน, รถกระเช้า, ยอดเขา, ยอดตึกสูง ซึ่งล้วนแล้วต้องใช้เวลาและต้นทุนค่อนข้างสูงซึ่งแตกต่างจากในปัจจุบันโดยสิ้นเชิง เนื่องด้วยในปัจจุบันนั้นการถ่ายภาพมุมสูงส่วนใหญ่สามารถใช้เทคโนโลยีที่เรียกว่า “Drone” โดรน หรือ อากาศยานไร้คนขับนั้นสามารถกระทำได้ไม่ว่าจะเป็นมือสมัครเล่น หรือ มือาชีพ เนื่องด้วยในปัจจุบันนั้นเทคโดนโลยีโดรนได้มีราคาถูกลงมาเป็นอย่างมาก มีให้เลือกใช้ตั้งแต่ราคาหลักพันจนหลักแสนตามแต่ต้นทุนและความจำเป็นในการใช้งาน แต่ด้วยข้อจำกัดของตัวกล้องและเลนส์ที่ติดตั้งขึ้นกับโดรนนั้นยังไม่สามารถเทียบเท่าคุณภาพของกล้องถ่ายภาพยนต์หรือภาพนิ่งขนาดใหญ่ได้ ฉะนั้นในการใช้งานที่ต้องการความละเอียดสูงจึงอาจจะต้องศึกษาข้อมูลและพิจรณาในส่วนนั้นดีๆ และที่สำคัญต้องศึกษาในเรื่องของข้อกฏหมายอากาศยานไร้คนขับให้รอบคอบก่อนใช้งาน ซึ่งปัจจุบันกฎหมายในประเทศไทยได้มีการควบคุมการบินอากาศยานไร้คนขับไว้แล้ว Visits: 27นาวิน เนาวพงศ์

ถ่าย VDO ตั้งค่ายังไงใช้โหมดไหนดี

หลายคนคงเคยถ่าย VDO ด้วยกล้องถ่ายรูปไม่ว่าจะเป็นชนิด dslr หรือ mirrorless ซึ่งกล้องทั้ง 2 แบบก็มีฟังค์ชั่นที่คล้ายกัน แต่ว่ามือใหม่ทั้งหลายที่ไม่เคยมีความรู้เรื่องการตั้งค่า speed shutter หรือ ค่ารูรับแสง (F-Stop) รวมทั้งค่า ISO นั้นจะต้องตั้งอย่างไรวันนี้เรามาดูกัน 1. PAL กับ NTSC คำว่า PAL กับ NTSC เราคงเคยได้ยินกันมาบ้างใช่มั้ยครับ อธิบายสั้น ๆ ว่าเป็นมาตราฐานระบบสัญญาณภาพที่ใช้กันทั่วโลกซึ่งมันก็จะมีให้เลือกหลัก ๆ สองอันนี้แหละในกล้องของเราก็สามารถเลือกได้ว่าจะบันทึกวิดีโอในระบบไหน ซึ่งในประเทศไทยจะใช้ระบบ PAL ซึ่งข้อแตกต่างของสองอันนี้คือ PAL จะเป็นแบบ 50Hz ส่วน NTSC นั้น 60Hz ซึ่งกล้องจะปรับการตั้งค่าเฟรมเรตวิดีโอให้สัมพันกับระบบที่คุณเลือกใช้ด้วยนี่เป็นเหตุผลว่าทำไมตอนเราอ่านสเปคกล้องเค้าบอกว่าถ่ายวิดีโอได้ 1080p 60fps แต่ตอนซื้อมาใช้มันตั้งได้แค่ 50fps เองเพราะกล้องซื้อในบ้านเรามันถูกตั้งไว้ที่ระบบ PAL(แต่บางรุ่นก็จะมี 60fps ให้เลือกเหมือนเดิม)มาตั้งแต่แรก แนะนำให้ตั้ง PAL ไว้ดีแล้วครับ 2. […]

ทักษะพื้นฐานการซ่อมบำรุงรักษาวัสดุอุปกรณ์ในสำนักงาน | Basic Skills in The Maintenance Office

        ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีในปัจจุบัน ทำให้ผู้ผลิตประดิษฐ์คิดค้นเครื่องมือเครื่องใช้ในสำนักงานมากมายหลายรูปแบบ  หลายยี่ห้อ  แต่ละชนิดมีความแตกต่างกันทั้งด้านคุณภาพ ประสิทธิภาพ การทำงานและราคา ซึ่งหลักการพิจารณาเลือกใช้เครื่องใช้สำนักงานมีดังนี้        1.  ความจำเป็นในการใช้เครื่องใช้สำนักงาน  โดยพิจารณาว่าหน่วยงานใดมีความจำเป็นต้องใช้เครื่องใช้สำนักงานประเภทใด เพราะเหตุใด จึงจำเป็นต้องใช้ ซึ่งจะทำให้ทราบถึงวัตถุประสงค์ของการใช้เครื่องใช้สำนักงานประเภทนั้น ๆ         2.  ลักษณะงาน  คือการพิจารณาความเหมาะสมกับลักษณะการทำงานที่นำเครื่องใช้สำนักงานมาใช้ว่ามีประสิทธิภาต่อการทำงานมากน้อยเพียงใด เช่น ได้ผลงานมากขึ้น สะดวก รวดเร็ว และประหยัด มีความก้าวหน้ากับเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา        3.  ความต้องการของบุคลากร  การเปลี่ยนแปลงการทำงานภายในองค์กรจากการใช้แรงงานคนมาเป็นการใช้เครื่องจักรนั้น ย่อมก่อให้เกิดปัญหา คือ การลดจำนวนพนักงานลงทำให้เกิดการว่างงานซึ่งกระทบต่อความรู้สึกของบุคลากร  เพื่อให้ปัญหา  ความสัมพันธ์ระหว่างจำนวนพนักงานและการใช้เครื่องใช้สำนักงานหมดไป ผู้บริหารจะต้องพิจารณาด้วยความรอบคอบว่ามี  ความเหมาะสมหรือไม่ เพื่อให้เกิดความประหยัดค่าใช้จ่าย มีความสะดวก รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพในงาน ขณะเดียวกันจะต้อง  ไม่เกิดความขัดแย้ง นอกจากนั้นควรคำนึงถึงปัญหาการฝึกอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับวิธีการใช้เครื่องใช้สำนักงานประเภทต่าง ๆ และชี้แจงให้เห็นประโยชน์ของเครื่องใช้นั้น ๆ ว่าสามารถลดความเบื่อหน่ายจากการทำงานในสภาพเดิมได้ และสามารถลดข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติงานรูปแบบเดิมได้ ทำให้พัฒนางานได้ตามความก้าวหน้าของเทคโนโลยี   […]

เทคโนโลยีฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ระบบ | Technology Hardware and System Software

คือ ส่วนที่ทำหน้าที่เป็นคำสั่งที่ใช้ควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ หรืออาจเรียกว่า “โปรแกรม” ก็ได้ ซึ่งหมายถึงคำสั่งหรือชุดคำสั่ง สามารถใช้เพื่อสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงาน เราต้องการให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำอะไรก็เขียนเป็นคำสั่งที่จะต้องสั่งเป็นขั้นตอน และแต่ละขั้นตอนต้องทำอย่างละเอียดและครบถ้วนก็จะเรียกว่า นักเขียนโปรแกรม (Programmer) สำหรับการเขียนโปรแกรมดังกล่าวใช้ภาษาที่ใช้ในการเขียนโปรแกรมโดยเฉพาะ หรือหมายถึง ภาษาที่เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจได้ เช่น ภาษาเบสิก ภาษาโคบอล ภาษาปาสคาล เป็นต้น โปรแกรมที่เขียนขึ้นมาก็จะนำไปใช้ในงานเฉพาะอย่าง เช่น โปรแกรมสต็อกสินค้าคงคลัง โปรแกรมคำนวณภาษี โปรแกรมคิดเงินเดือนพนักงาน เป็นต้น  ฮาร์ดแวร์ที่เป็นคอมพิวเตอร์พื้นฐานที่เกี่ยวกับระบบสารสนเทศ เรียกว่า CBIS (Computer-Based    Information System) ซึ่งส่วนที่เกี่ยวข้องกับซอฟต์แวร์ แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ  1. ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software)  2. ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software) ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software) เป็นซอฟต์แวร์ที่นำมาจัดการกับงานประยุกต์ต่าง ๆ มี 2 ประเภทคือ ซอฟต์แวร์ประยุกต์ที่ใช้กับงานโดยทั่วไป (General-Purpose Application Software) ส่วนใหญ่ใช้งานด้านการประมวลผลคำ (Word Processing) ด้านตารางคำนวณ (Spreadsheets) ด้านการจัดการแฟ้มข้อมูลและฐานข้อมูล (File/Database Management […]

ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขั้นพื้นฐาน | Network Literacy

ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์คืออะไรระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์หมายถึงอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อถึงกันซึ่งสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลและแบ่งปันทรัพยากรระหว่างกันได้ อุปกรณ์เครือข่ายเหล่านี้ใช้ระบบกฎที่เรียกว่าโปรโตคอลการสื่อสาร เพื่อส่งข้อมูลผ่านอุปกรณ์จริงหรือโดยใช้เทคโนโลยีไร้สาย เราลองมาตอบคำถามทั่วไปที่พบบ่อยเกี่ยวกับระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์กัน เครือข่ายคอมพิวเตอร์ทำงานอย่างไรโหนดและลิงก์เป็นบล็อกการสร้างพื้นฐานในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ โหนดเครือข่ายอาจเป็นอุปกรณ์สื่อสารข้อมูล (DCE) เช่น โมเด็ม ฮับ หรือสวิตช์ หรืออุปกรณ์ปลายทางข้อมูล (DTE) เช่น คอมพิวเตอร์และเครื่องพิมพ์ตั้งแต่สองเครื่องขึ้นไป ลิงก์คือการส่งข้อมูลสื่อที่เชื่อมต่อระหว่าง 2 โหนด ลิงก์เป็นได้ทั้งแบบผ่านอุปกรณ์จริง เช่น สายเคเบิลหรือสายใยแก้วนำแสง หรือแบบที่ช่วยเพิ่มพื้นที่ว่างได้อย่างเครือข่ายไร้สาย ในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานได้ โหนดต่างๆ จะเป็นไปตามชุดกฎเกณฑ์หรือโปรโตคอลที่กำหนดวิธีการส่งและรับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ผ่านลิงก์ สถาปัตยกรรมเครือข่ายคอมพิวเตอร์จะกำหนดการออกแบบองค์ประกอบจริงและเชิงตรรกะเหล่านี้ โดยให้ข้อกำหนดเฉพาะสำหรับองค์ประกอบจริงของเครือข่าย องค์กรการทำงาน โปรโตคอล และขั้นตอนต่างๆ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ทำหน้าที่อะไร เครือข่ายคอมพิวเตอร์ถูกคิดค้นขึ้นครั้งแรกในปลายทศวรรษ 1950 เพื่อใช้ในการทหารและกระทรวงกลาโหม แต่เดิมใช้เพื่อส่งข้อมูลผ่านสายโทรศัพท์ และมีการใช้งานเชิงพาณิชย์และวิทยาศาสตร์ที่ค่อนข้างจำกัด และการถือกำเนิดของเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตทำให้เครือข่ายคอมพิวเตอร์กลายเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้สำหรับองค์กรต่างๆ โซลูชันเครือข่ายยุคใหม่ไม่ได้มีแค่การเชื่อมต่อแล้ว แต่มีความสำคัญต่อการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัลและความสำเร็จของธุรกิจในปัจจุบันด้วย ความสามารถของเครือข่ายพื้นฐานนั้นสามารถตั้งโปรแกรมได้มากขึ้นโดยอัตโนมัติและปลอดภัย เครือข่ายคอมพิวเตอร์สมัยใหม่สามารถทำสิ่งต่อไปนี้ได้ ทำงานแบบเสมือน โครงสร้างพื้นฐานจริงของเครือข่ายพื้นฐานสามารถแบ่งสัดส่วนตามตรรกะเพื่อสร้างเครือข่าย “ซ้อนทับ” ได้หลายเครือข่าย ในเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบซ้อนทับ โหนดต่างๆ จะถูกเชื่อมโยงแบบเสมือนจริง และสามารถส่งข้อมูลระหว่างโหนดทั้งสองผ่านอุปกรณ์จริงได้หลากหลายวิธี ตัวอย่างเช่น เครือข่ายองค์กรจำนวนมากถูกซ้อนทับกันบนอินเทอร์เน็ต ผสานรวมในวงกว้าง บริการระบบเครือข่ายสมัยใหม่จะเชื่อมต่อเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบกระจายทางกายภาพ บริการเหล่านี้ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของเครือข่ายผ่านระบบอัตโนมัติและการตรวจสอบเพื่อสร้างเครือข่ายขนาดใหญ่ประสิทธิภาพสูงได้ บริการเครือข่ายสามารถปรับขนาดขึ้นหรือลงได้ตามความต้องการ […]

เทคโนโลยีสารสนเทศในยุคดิจิทัล | Information Technology in Digital Era

เทคโนโลยีดิจิทัล (Digital literacy)         ทักษะความเข้าใจและใช้เทคโนโลยีดิจิทัล หรือ Digital literacy หมายถึง ทักษะในการนำเครื่องมือ อุปกรณ์ และเทคโนโลยีดิจิทัลที่มีอยู่ในปัจจุบัน เช่น คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ แทปเลต โปรแกรมคอมพิวเตอร์ และสื่อออนไลน์ มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ในการสื่อสาร การปฏิบัติงาน และการทำงานร่วมกัน หรือใช้เพื่อพัฒนากระบวนการทำงาน หรือระบบงานในองค์กรให้มีความทันสมัยและมีประสิทธิภาพ ทักษะความสามารถสำหรับการรู้ดิจิทัลนั้น สามารถแบ่งเป็น 4 ส่วนที่สำคัญ ได้แก่ ใช้ (Use) หมายถึง ความคล่องแคล่วทางเทคนิคที่จำเป็นในการใช้คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต ทักษะและความสามารถที่เกี่ยวข้องกับคำว่า “ใช้” ครอบคลุมตั้งแต่เทคนิคขั้นพื้นฐาน คือ การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ เช่น โปรแกรมประมวลผลคำ (Word processor) เว็บเบราว์เซอร์ (Web browser) อีเมล และเครื่องมือสื่อสารอื่นๆ สู่เทคนิคขั้นสูงขึ้นสำหรับการเข้าถึงและการใช้ความรู้ เช่น โปรแกรมที่ช่วยในการสืบค้นข้อมูล หรือ เสิร์ชเอนจิน […]

Infographic นี้…ดีไฉนนนน

สวัสดีค่ะ ผู้เขียนเรียนจบจากสำนักวิชาสารสนเทศ … วันนี้เลยมีสาระมาเล่าให้ฟังค่ะ เนื่องจากไปลงเรียนวิชา การผลิตสื่อกราฟิกอย่างมืออาชีพ | Graphic Design Crash Course CMU012 ในระบบ ThaiMOOC มา เลยมาแบ่งปันเธอและฉันว่า “Infographic ที่กำลังเป็นที่นิยมนี้…ดีไฉน” ก็ขอตอบตรงนี้ว่า Infographic ดีจริง ๆ เพราะเป็นการสื่อที่มีประสิทธิภาพมากชนิดหนึ่ง เนื่องจากเป็นการนำเสนอข้อมูลด้วยภาพกราฟิกที่ทำให้ผู้ดูภาพสามารถเข้าใจข้อมูล ข่าวสาร สารสนเทศ ตัวเลข สถิติปริมาณมาก ๆ ยากต่อความเข้าใจ ให้เป็นข้อมูลที่กระชับ มีความถูกต้อง ง่ายต่อความเข้าใจ ผ่านรูปภาพเพียงภาพเดียว!! ซึ่งตรงใจวัยเทคโนโลยีก้าวล้ำนำสมัยอย่างพวกเรามาก ๆ … สวยงาม ตัวอักษรน้อย เข้าใจง่าย ใช้เวลาแป๊บเดียว !! แต่กว่าจะใช้เวลาสร้างสรรค์ออกมาได้ ผู้ผลิตก็ต้องใช้ความรู้ความสามารถกันสักนิด … ซึ่งรายวิชาการผลิตสื่อกราฟิกอย่างมืออาชีพเค้าได้สอนไว้ให้เยอะพอดูเลยจ๊ะ อาจารย์วชิระ นิจบุญ และอ.เด่นธนำ เดชะประทุมวัน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ บอกไว้ว่า Infographic (อินโฟกราฟิก)ที่ดีไม่ได้หมายถึงการมีข้อมูลปริมาณมากอยู่บนภาพ หรือมีการใช้ภาพประกอบที่มีรายละเอียดเยอะ […]

เรื่องเล่า…จากหลักสูตรการสร้างวีดิทัศน์สำหรับรายวิชา MOOC บน ThaiMOOC

ThaiMOOC “เคยเรียนแล้ว และเมื่อมาเรียนอีก ก็ยิ่งรู้…ยิ่งเข้าใจ และยิ่งตระหนักในความสำคัญของการเตรียมการ“ “รายวิชานี้จะเป็นเรื่องของการจัดการเรียนการสอน ในเรื่องของการผลิตสื่อวีดิทัศน์เพื่อใช้เป็นสื่อการสอนออนไลน์บนระบบเปิด ซึ่งเมื่อเรียนแล้วจะช่วยให้เข้าใจกระบวนการ ขั้นตอนการผลิตรายวิชาบนระบบ MOOC ได้ดียิ่งขึ้นเหมาะสำหรับอาจารย์ ผู้เกี่ยวข้อง รวมถึงผู้ที่สนใจการสร้างวีดิทัศน์บนสื่อออนไลน์ทุกคน ที่จะรู้และเข้าใจในกระบวนการและหน้าที่ของตัวเอง” ต้องออกตัวก่อนว่า ผู้เขียนเคยเรียนรายวิชานี้เมื่อนานมาแล้ว เนื่องจากต้องมาเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างวีดิทัศน์สำหรับรายวิชาที่จะเปิดสอนบน ThaiMOOC ตอนนั้นยังเรียนเพราะความจำเป็น เรียนโดยไม่มีความรู้อะไรเกี่ยวกับ ThaiMOOC เลย แต่วันนี้เมื่อเวลาผ่านมาหลายปี ได้มีโอกาสกลับมาทบทวนใหม่ก็พบว่า “ยิ่งเรียนยิ่งรู้ – ยิ่งอ่านยิ่งใช่” เอาเนื้อหามาจับกับประสบการณ์ที่เราต้องทำ ทำให้ตระหนักและเข้าใจการทำงานมากขึ้น ทั้งยังช่วยตอกย้ำว่า การเตรียม หรือการวางแผนก่อนที่จะผลิตวีดีทัศน์สักหนึ่งชิ้นนั้น…มีความสำคัญอย่างยิ่ง หลักสูตรการสร้างวีดิทัศน์สำหรับรายวิชา MOOC (VidoeX-Thai) สอนโดยรศ.ดร. สุรพล บุญลือ อาจารย์ประจำภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา ม.เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เนื้อหาจะไล่ลำดับตามขั้นตอนการผลิต ซึ่งแบ่งเป็น 4 ขั้นตอน อันเป็นขั้นตอนพื้นฐานของการผลิตวีดิทัศน์โดยทั่วไป แต่ในส่วนของรายละเอียดนั้นจะจำเพาะเจาะลงไปในส่วนที่ผู้ผลิตรายวิชาบท MOOC ต้องรู้ ควรรู้ หรือทำตาม พร้อมแทรกเกร็ดความรู้ เทคนิคต่าง ๆ ที่มีประโยชน์สำหรับผู้ที่เกี่ยวข้องอย่างมาก ซึ่งจะนำส่วนที่คิดว่ามีประโยชน์มาฝาก […]

Back To Top