Category: คู่มือปฏิบัติงาน

Student Management Turnitin’s class

กระบวนการจัดการกับ student ใน class ของ Instructor การเพิ่ม และการลบออกจาก class

PDCA : การพัฒนากระบวนการการรวบรวม Speech Recording ของอธิการบดีมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

          หอจดหมายเหตุมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ มีบทบาทหน้าที่ในการรวบรวมจดหมายเหตุหรือเอกสารที่สร้างขึ้นเพื่อการปฏิบัติงานหรือดำเนินกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ซึ่งเป็นเอกสารสำคัญที่ผ่านการประเมินแล้วว่ามีคุณค่าควรแก่การอนุรักษ์ไว้ เพื่อเป็นหลักฐานปกป้องคุ้มครองสิทธิ เป็นหลักฐานซึ่งจะสะท้อนถึงประวัติพัฒนาการ เหตุการณ์ กิจกรรม ของหน่วยงาน อันมีคุณค่าต่อการศึกษาและการวิจัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งคุณค่าในทางการดำเนินงานและบริหารงานของมหาวิทยาลัย คำกล่าว คำบอกเล่า คำสัมภาษณ์ คำปราศรัย ปาฐกถาหรือถ้อยแถลงของอธิการบดีมหาวิทยาลัย จัดเป็นจดหมายเหตุมหาวิทยาลัยประเภทเอกสารโสตทัศนจดหมายเหตุ (Audio-Visual Archives) ซึ่งเป็นการบันทึกถ้อยคำของบุคคลสำคัญของมหาวิทยาลัย ทำให้เกิดเป็นแหล่งข้อมูลมิติใหม่ในเชิงจดหมายเหตุที่มาจากการบันทึกเสียงของบุคคล การบันทึกถ้อยคำในงานจดหมายเหตุมหาวิทยาลัย เป็นวิธีการที่นำมาใช้ในการจัดเก็บข้อมูลจากเหตุการณ์สำคัญที่จะได้รับการบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์ของมหาวิทยาลัย และเพื่อให้บริการสำหรับการศึกษาอ้างอิงในอนาคต อีกทั้งยังเป็นการจัดเก็บข้อมูลประวัติของบุคคลสำคัญหรือบุคคลที่มีผลงานโดดเด่น หรือเป็นผู้ก่อให้เกิดเหตุการณ์ที่ได้รับการบันทึกเป็นประวัติศาสตร์ หรือเป็นผู้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของมหาวิทยาลัย งานหอจดหมายเหตุมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ได้รับนโยบายจากผู้บริหารให้ดำเนินการรวบรวมคำกล่าว คำสัมภาษณ์ คำปราศรัย ปาฐกถา หรือถ้อยแถลงของอธิการบดีมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ด้วยวิธีการบันทึกเสียง เพื่อรวบรวมจัดทำเป็น Speech Recording ของอธิการบดี งานจดหมายเหตุฯ จึงได้ออกแบบและพัฒนากระบวนการรวบรวม Speech Recording ของอธิการดีมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ขึ้น เพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการได้รับทราบและเข้าใจเกี่ยวกับขั้นตอนในการปฏิบัติงานอย่างชัดเจนและเป็นระบบ โดยกระบวนการรวบรวม Speech Recording ของอธิการบดีนั้น งานจดหมายเหตุฯ ได้ปฏิบัติงานร่วมกับงานบริการโสตทัศนูปกรณ์ฯ และงานผลิตสื่อการศึกษา ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา ซึ่งเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบงานควบคุมห้องประชุม หรือสถานที่ที่อธิการบดีไปร่วมพิธี กิจกรรม […]

PDCA : แนวปฏิบัติในการลงรายการหัวเรื่องทรัพยากรสารสนเทศภาษาไทยในระบบห้องสมุดอัตโนมัติ Walai AutoLib

งานจัดระบบทรัพยากรสารสนเทศ ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา รับผิดชอบภาระงานใน     การวิเคราะห์หมวดหมู่และลงรายการหัวเรื่อง รวมถึงการตรวจสอบความถูกต้องและแก้ไขรายการหัวเรื่องทรัพยากรสารสนเทศภาษาไทยในระเบียนหลักฐานหัวเรื่อง ของฐานข้อมูล WALAI AutoLib อีกด้วย บรรณารักษ์ผู้ตรวจสอบทำหน้าที่ตรวจสอบความถูกต้อง และแก้ไขรายการหัวเรื่องทรัพยากรสารสนเทศภาษาไทยในระเบียนหลักฐานหัวเรื่อง ตรวจสอบหัวเรื่องจากระเบียนหลักฐานตามตัวอักษร ก-ฮ  ผนวกระเบียนจากหัวเรื่องที่ผิดไปยังหัวเรื่องที่ถูกต้อง หรือหัวเรื่องที่ไม่ใช้ไปยังหัวเรื่องที่ใช้ และตรวจสอบการสะกดคำ ถ้ามีคำผิดแก้ไขให้ถูกต้อง ในการตรวจสอบหัวเรื่องจะต้องตรวจสอบจากฐานข้อมูลหัวเรื่องภาษาไทยออนไลน์ ของคณะทำงานฝ่ายวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาทุกครั้ง จากการตรวจสอบความถูกต้องของหัวเรื่องทรัพยากรสารสนเทศภาษาไทยในระเบียนหลักฐานหัวเรื่อง จะเห็นได้ว่ารายการหัวเรื่องมีความผิดพลาดและซ้ำซ้อนเกิดขึ้น เนื่องจากมีบรรณารักษ์ลงรายการหัวเรื่องในระเบียนบรรณานุกรมหลายคน และยังไม่มีแนวปฏิบัติในการลงรายการหัวเรื่องที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน ความผิดพลาดและซ้ำซ้อนของหัวเรื่องเกิดมาจากหลายสาเหตุด้วยกัน ได้แก่ 1. ไม่ได้ตรวจสอบหัวเรื่องจากฐานข้อมูลหัวเรื่องภาษาไทยออนไลน์ ของคณะทำงานฝ่ายวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา 2. ไม่ได้ตรวจสอบหัวเรื่องจากระเบียนหลักฐานหัวเรื่อง   3. ลงรายการหัวเรื่องผิดเขตข้อมูล (Tag) ของ MARC 21 เกิดจากจำแนกข้อมูลผิดประเภทรวมถึงการใช้รหัสเขตข้อมูลของหัวเรื่องย่อย และกำหนดตัวบ่งชี้ผิด 4. การสะกดคำผิดหรือพิมพ์หัวเรื่องผิด 5. ไม่มีแนวปฏิบัติในการลงรายการหัวเรื่องทรัพยากรสารสนเทศภาษาไทยที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน รายการหัวเรื่องในระเบียนหลักฐานมีความผิดพลาดและซ้ำซ้อนเกิดขึ้น  มีบรรณารักษ์ลงรายการหัวเรื่องในระเบียนบรรณานุกรมหลายคนและไม่ได้ลงรายการหัวเรื่องไปในทิศทางเดียวกัน จึงได้คัดเลือกกระบวนการจัดทำแนวปฏิบัติในการลงรายการหัวเรื่องทรัพยากรสารสนเทศภาษาไทยในระบบห้องสมุดอัตโนมัติ Walai AutoLib ขึ้น จากการปรับปรุงกระบวนการทำงานดังกล่าวจึงได้จัดทำแนวปฏิบัติในการลงรายการหัวเรื่องทรัพยากรสารสนเทศภาษาไทยสำหรับบรรณารักษ์ผู้ลงรายการหัวเรื่องให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน เพื่อลดและป้องกันข้อผิดพลาด ลดความซ้ำซ้อน และให้รายการหัวเรื่องภาษาไทยในระเบียนหลักฐานมีความถูกต้องสมบูรณ์ […]

PDCA: เกณฑ์การคัดเลือกหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ฟรี @ CLM

สร้างเกณฑ์การคัดเลือกหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ฟรี เพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นระบบ มีมาตรฐาน ได้รับหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ฟรีที่มีคุณภาพ ถูกต้องและนำไปประกอบการเรียนการสอนได้

การทำงานในพื้นที่อับอากาศ

ทำงานในพื้นที่อับอากาศอย่างไรให้ปลอดภัย          หมายถึง สถานที่ทำงานที่มีทางเข้าออกจำกัด มีการระบายอากาศตามธรรมชาติ ไม่เพียงพอที่จะทำให้อากาศ ภายในอยู่ในสภาพถูกสุขลักษณะ และปลอดภัยซึ่งอาจเป็นที่สะสม ของสารเคมีเป็น พิษ สารไวไฟ รวมทั้งออกซิเจนไม่เพียงพอ เช่น ถังน้ำมัน ถังหมัก ไซโล ท่อ ถัง ถ้ำ บ่อ อุโมงค์ เตา ห้องใต้ดิน ภาชนะ หรือสิ่งอื่นที่มีลักษณะคล้ายกันนี้ ด้วยเหตุนี้เราจะนำวิธี การทำงานในที่อับอากาศอย่างปลอดภัย มา แจ้งให้ทราบกันดังนี้ อันตรายจากการทำงานในสถานที่อับอากาศ การขาดออกซิเจน สาเหตุใหญ่ของการตายในสถานที่อับอากาศ คือ ขาดออกซิเจนในการหายใจ หมายถึง ปริมาณออกซิเจนในสถานที่อับอากาศนั้นน้อยกว่า 19.5 Vol.% หรือมากกว่า 23.5 Vol.% สาเหตุเกิดจากมีการติดไฟ หรือ การระเบิด ไฟจะใช้ออกซิเจนเพื่อการลุกไหม้ การแทนที่ออกซิเจนด้วยก๊าซอื่น เช่น มีเทน คาร์บอนไดออกไซด์ ไนโตรเจน เป็นต้น เกิดการกัดกร่อน หรือ การเกิดสนิม เหล็กใช้ออกซิเจนจากอากาศไปในการเกิดสนิม และ การที่ออกซิเจนถูกใช้ไปในปฏิกิริยาหมัก […]

การเขียนอ้างอิงในเนื้อหาตามแบบรูปแบบ APA

การอ้างอิง (Citation) คือข้อความที่เขียนหรือพิมพ์ไว้ในเนื้อหา หรือแทรกปนไปกับเนื้อหา ข้อความยืนยันและแสดงหลักฐานการค้นคว้า และ ข้อความระบุที่มาของความรู้ที่ใช้ในงานวิจัยหรือผลงานทางวิชาการ

แนวทางการดำเนินการจัดซื้อจัดจ้าง ตาม พรบ.การจัดซื้อจัดจ้าง และการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ.2560

วัตถุประสงค์ให้การดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ มีกรอบการปฏิบัติงานที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน เพื่อให้หน่วยงานของรัฐทุกแห่งนำไปใช้เป็นหลักปฏิบัติ

การเขียนบรรณานุกรมสื่อสิ่งพิมพ์ง่าย ๆ สไตล์ APA 

บรรณานุกรม หมายถึงรายละเอียดของแหล่งสารสนเทศที่ผู้เขียน ใช้ศึกษาเป็นข้อมูลในการทำผลงานวิชาการและรวบรวมอย่างเป็นระบบ เพื่อให้ผู้อ่านที่สนใจ สามารถค้นคว้าเพิ่มเติมได้

Back To Top