Author: Kanokwan Krainukool

PDCA : แนวปฏิบัติในการลงรายการหัวเรื่องทรัพยากรสารสนเทศภาษาไทยในระบบห้องสมุดอัตโนมัติ Walai AutoLib

งานจัดระบบทรัพยากรสารสนเทศ ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา รับผิดชอบภาระงานใน     การวิเคราะห์หมวดหมู่และลงรายการหัวเรื่อง รวมถึงการตรวจสอบความถูกต้องและแก้ไขรายการหัวเรื่องทรัพยากรสารสนเทศภาษาไทยในระเบียนหลักฐานหัวเรื่อง ของฐานข้อมูล WALAI AutoLib อีกด้วย บรรณารักษ์ผู้ตรวจสอบทำหน้าที่ตรวจสอบความถูกต้อง และแก้ไขรายการหัวเรื่องทรัพยากรสารสนเทศภาษาไทยในระเบียนหลักฐานหัวเรื่อง ตรวจสอบหัวเรื่องจากระเบียนหลักฐานตามตัวอักษร ก-ฮ  ผนวกระเบียนจากหัวเรื่องที่ผิดไปยังหัวเรื่องที่ถูกต้อง หรือหัวเรื่องที่ไม่ใช้ไปยังหัวเรื่องที่ใช้ และตรวจสอบการสะกดคำ ถ้ามีคำผิดแก้ไขให้ถูกต้อง ในการตรวจสอบหัวเรื่องจะต้องตรวจสอบจากฐานข้อมูลหัวเรื่องภาษาไทยออนไลน์ ของคณะทำงานฝ่ายวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาทุกครั้ง จากการตรวจสอบความถูกต้องของหัวเรื่องทรัพยากรสารสนเทศภาษาไทยในระเบียนหลักฐานหัวเรื่อง จะเห็นได้ว่ารายการหัวเรื่องมีความผิดพลาดและซ้ำซ้อนเกิดขึ้น เนื่องจากมีบรรณารักษ์ลงรายการหัวเรื่องในระเบียนบรรณานุกรมหลายคน และยังไม่มีแนวปฏิบัติในการลงรายการหัวเรื่องที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน ความผิดพลาดและซ้ำซ้อนของหัวเรื่องเกิดมาจากหลายสาเหตุด้วยกัน ได้แก่ 1. ไม่ได้ตรวจสอบหัวเรื่องจากฐานข้อมูลหัวเรื่องภาษาไทยออนไลน์ ของคณะทำงานฝ่ายวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา 2. ไม่ได้ตรวจสอบหัวเรื่องจากระเบียนหลักฐานหัวเรื่อง   3. ลงรายการหัวเรื่องผิดเขตข้อมูล (Tag) ของ MARC 21 เกิดจากจำแนกข้อมูลผิดประเภทรวมถึงการใช้รหัสเขตข้อมูลของหัวเรื่องย่อย และกำหนดตัวบ่งชี้ผิด 4. การสะกดคำผิดหรือพิมพ์หัวเรื่องผิด 5. ไม่มีแนวปฏิบัติในการลงรายการหัวเรื่องทรัพยากรสารสนเทศภาษาไทยที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน รายการหัวเรื่องในระเบียนหลักฐานมีความผิดพลาดและซ้ำซ้อนเกิดขึ้น  มีบรรณารักษ์ลงรายการหัวเรื่องในระเบียนบรรณานุกรมหลายคนและไม่ได้ลงรายการหัวเรื่องไปในทิศทางเดียวกัน จึงได้คัดเลือกกระบวนการจัดทำแนวปฏิบัติในการลงรายการหัวเรื่องทรัพยากรสารสนเทศภาษาไทยในระบบห้องสมุดอัตโนมัติ Walai AutoLib ขึ้น จากการปรับปรุงกระบวนการทำงานดังกล่าวจึงได้จัดทำแนวปฏิบัติในการลงรายการหัวเรื่องทรัพยากรสารสนเทศภาษาไทยสำหรับบรรณารักษ์ผู้ลงรายการหัวเรื่องให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน เพื่อลดและป้องกันข้อผิดพลาด ลดความซ้ำซ้อน และให้รายการหัวเรื่องภาษาไทยในระเบียนหลักฐานมีความถูกต้องสมบูรณ์ […]

ไมโครซอฟท์ เวิร์ด (โปรแกรมประมวลคำเพื่องานเอกสาร)

การใช้ปุ่มเมนูลัด ซึ่งในโปรแกรมของไมโครซอฟท์เวิร์ดจะมีปุ่มมหัศจรรย์ 1 ปุ่มคือ ปุ่ม Ctrl เมื่อปุ่ม Ctrl+ (บวกหรือผนวก) กับปุ่มอะไรก็ตามจะกลายเป็น Function key พิเศษขึ้นมา โดยการกดปุ่ม Ctrl ค้างไว้ แล้วตามปุ่มที่ต้องการใช้งาน

เทคนิคการถ่ายภาพแบบสื่อสาธารณะ

การจัดองค์ประกอบของภาพให้ดูดี อย่างแรก คือ การวางตำแหน่งจุดสนใจของภาพ และในการแบ่งด้านกว้าง และด้านยาวออกเป็นด้านละ 3 ส่วนแล้ว จะทำให้ภาพถูกแบ่งออกมาได้ 9 ช่อง ณ จุดที่เส้นแบ่งตัดกันจะมีอยู่ด้วยกัน 4 จุด จุดใดจุดหนึ่งของจุดทั้ง 4 ถือเป็นตำแหน่งสำคัญสำหรับวางภาพ ซึ่งจะทำให้ภาพมีคุณค่าขึ้น

การทำสารคดีในแบบสื่อสาธารณะ

สารคดีที่มีชุดข้อมูลที่สร้างสรรค์ต้องประกอบด้วย 3 ส่วน อย่างแรก คือ การหาข้อมูล อย่างที่ 2 คือ การใช้ความคิดสร้างสรรค์ ในการที่จะเล่าเรื่องของสารคดี ที่เรียกว่า Story telling เนื้อหาสารคดีข้อมูลดี ๆ ของสารคดี แต่ถ้าไม่ได้ประกอบไปด้วยการเล่าเรื่องที่ดี สารคดีชุดนั้นก็ไม่ได้รับความน่าสนใจ ส่วนที่ 3 คือ งานผลิต หรืองาน Production หมายถึง เรื่องของการออกแบบวิธีเล่าเรื่อง ออกแบบการนำเสนอ

การคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม

การคิดสร้างสรรค์เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับทุกคน เพราะการคิดสร้างสรรค์ช่วยให้เราแก้ปัญหาเดิมด้วยวิธีการใหม่ ช่วยให้มองเห็นโอกาสใหม่ ๆ ความเป็นไปได้ใหม่ ๆ ทำให้ได้สิ่งที่ดีกว่า

การใช้ Google tools เพื่อการพัฒนางาน

Google tools  เป็นเครื่องมือเพื่อการพัฒนางานได้หลายด้าน ถ้ามี account Gmail ก็จะสามารถใช้ tools ต่าง ๆ ของ Google ได้

การเขียนอ้างอิงในเนื้อหาตามแบบรูปแบบ APA

การอ้างอิง (Citation) คือข้อความที่เขียนหรือพิมพ์ไว้ในเนื้อหา หรือแทรกปนไปกับเนื้อหา ข้อความยืนยันและแสดงหลักฐานการค้นคว้า และ ข้อความระบุที่มาของความรู้ที่ใช้ในงานวิจัยหรือผลงานทางวิชาการ

การเขียนบรรณานุกรมสื่อสิ่งพิมพ์ง่าย ๆ สไตล์ APA 

บรรณานุกรม หมายถึงรายละเอียดของแหล่งสารสนเทศที่ผู้เขียน ใช้ศึกษาเป็นข้อมูลในการทำผลงานวิชาการและรวบรวมอย่างเป็นระบบ เพื่อให้ผู้อ่านที่สนใจ สามารถค้นคว้าเพิ่มเติมได้

Back To Top