Category: Creative Thinking

พื้นฐาน Internet of Things (IoTs) | Basic Internet of Things (IoTs)

Internet of Things (IoTs) คือ นวัตกรรมใหม่ ที่รวม 5 สิ่งเข้าด้วยกัน คือ ฮาร์ดแวร์ Connectivity ซอฟต์แวร์ Data และ Intelligent ซึ่งทำงานประสานเข้าด้วยกัน  รวมไปถึงการที่อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ รวมถึงของสิ่งของ ผู้คน ข้อมูลและการบริการ สามารถเชื่อมโยงและสื่อสารกันได้โดยผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต การบรรจุอุปกรณ์สมองกลฝังตัวหรือที่เรียกว่า “embedded system device” เข้าไปใน “สิ่งของ (Things)” หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ มีอุปกรณ์ตรวจวัดหรือเซ็นเซอร์เพื่อตรวจวัดค่าต่าง ๆ แล้วส่งข้อมูลมายังสมองกลและส่งต่อไปยังหน่วยประมวลผลกลางและจัดเก็บในฐานข้อมูลผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตหรือที่เรียกว่า “Cloud Storage” รวมถึงบริการรับฝากไฟล์และประมวลผลข้อมูลผ่านทางออนไลน์ Internet of Things (IoTs) คือ นวัตกรรมใหม่ ที่รวม 5 สิ่งเข้าด้วยกัน คือ ฮาร์ดแวร์ Connectivity ซอฟต์แวร์ Data และ Intelligent ซึ่งทำงานประสานเข้าด้วยกัน ความหมายของ “Internet of Things” […]

การสร้างสรรค์เนื้อหาด้วยข้อมูล (Data) เพื่อเพิ่มคุณค่าขององค์กร | Content Creation in Digital Organization

จากการศึกษาบทเรียนออนไลน์ ThaiMOOC รายวิชา NIDA: NIDA001 การสร้างสรรค์เนื้อหาด้วยข้อมูล (Data) เพื่อเพิ่มคุณค่าขององค์กร | Content Creation in Digital Organization สรุปได้ดังนี้ • ข้อมูลขนาดใหญ่ หรือ Big Data เป็นข้อมูลขนาดใหญ่ที่มีปริมาณมหาศาล มีความหลากหลายของข้อมูลสูง เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว และมีคุณค่าต่อการนำไปใช้ประโยชน์ โดยข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) นั้นจะถูกนำมาผ่านกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ข้อมูล และสามารถใช้ประโยชน์ในการดำเนินการด้านการตลาดดิจิทัลขององค์กรได้ โดยความสำคัญของข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) ในการพัฒนาประสิทธิภาพการตลาดดิจิทัลนั้น เมื่อข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) รวมตัวกันมีขนาดที่ใหญ่ขึ้น ทำให้เกิดความสามารถในการนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างแม่นยำมากขึ้น ช่วยให้เกิดโอกาสใหม่ๆ ทางการตลาด ช่วยให้สามารถสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมายได้อย่างรวดเร็ว และจะช่วยให้องค์กรสามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างรวดเร็ว และเรียลไทม์ สามารถนำมาใช้เพื่อสร้างคอนเทนต์ที่ส่งมอบคุณค่าให้กับกลุ่มเป้าหมาย สร้างรูปแบบการส่งเสริมการตลาดที่เจาะจงสอดคล้องกับความต้องการและดึงดูดลูกค้าเป้าหมายได้ โดยที่กระบวนการทำงานของข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) สำหรับการพัฒนาประสิทธิภาพการตลาดดิจิทัล ประกอบด้วย 4 ส่วน คือ (1) การสร้างข้อมูล คือ […]

ลำโพงชนิดต่างๆและการเลือกใช้ให้เหมาะสมกับงานประเภทต่างๆ

ปัจจุบันนี้ไม่จะงานสัมนางานเลี้ยงห้องประชุมหรือว่าคอนเสริตย์ไม่ว่าจะงานเล็กงานใหญ่สิ่งที่ขาดไม่ได้คือลำโพงซึ่งเป็นอุปกรณ์แปลงสัญญาณไฟฟ้ามาเป็นเสียงให้เราได้ยินกันและลำโพงในโลกใบนี้ก็มีหลายชนิดให้เลือกให้เลือกใช้งานกันดังนั้นเราต้องมาทำความเข้าใจและศึกษาก่อนว่าลำโพงชนิดต่างๆมีการทำงานอย่างไรและนำไปใช้งานอย่างไรไห้เหมาะสมและทำให้การใช้เสียงได้ครอบคลุมพืี้นที่ใช้งานและสามารถสื่อสารเสียงไปยังคนหมู่มากได้ทั่วถึงได้ยินเสียงชัดชัดกันทุกคน ก่อนอื่นเราก็มาดูเลยว่ามีลำโพงชนิดอะไรบ้างมีการทำงานยังใง ชนิดลำโพงต่างๆดังต่อไปนี้ 1 ลำโพง point source เป็นลำโพง full rang ที่ตอบสนองทุกย่างความถี่ตั้งแต่ 20 hz – 20 khz มีมุมกระจายเสียงที่กว้างเป็นที่นิยมใช้งานมากในงานต่างๆไม่ว่าจะเป็นห้องประชุมสัมนา คาราโอเกะ งานอีเว้นท์ต่างๆหรืองานคอนเสริตย์ขนาดเล็กให้คุณภาพเสียงที่ดีมากแต่หากใช้งานหลายๆใบหากวางลำโพงไม่มีจะปัญหาด้านเฟสทำให้เสียงในย่านบางความถี่หายไปได้ดังนั้นในการวางลำโพง point source จึงมีความสำคัญมาก หน้าตาลำโพง point source 2 ลำโพงชนิด คอลั่ม Column เป็นลำโพงอีกชนิดหนึ่งที่นิยมใช้กันมากในปัจจุบันลำโพงคอลั่มจะจัดเรียงตัวกันหลายใบเพื่อกำหนดทิศทางมุมกระจายเสียงทั้งระยะใกล้ กลาง ไกล จะใด้เปรียบตรงที่เสียงพุ่งไปใด้ไกลและชัดเจนเหมาะกับห้องที่มีความยาวนอกจากนี้ลำโพงคอลั่มให้มุมกระจายเสียงที่แคบจำเหมาะในการไปใช้งานห้องที่มีความก้องของห้องสูงๆจะลดการสะท้อนของเสียงได้เป็นอย่างดีและลำโพงชนิดนนี้จะมาพร้อมกับลำโพง sub woofer เสียงเบสทำไห้เสียงที่ได้มีความคมชัดและตอบสนองได้ทุกย่านความถี่เสียง ลักษณะหน้าตาลำโพงชนิด คอลั่ม 3 ลำโพงไลน์อาร์เรย์ Line array speaker เป็นการออกแบบการลำโพงกระจายเสียงหลายๆใบมาเรียงกันยาวๆให้เหมือนกับเสียงที่มาจากจุดๆเดียวซึ่งลำโพงจะมีทิศทางการกระจายเสียงจะออกมาเป็นเส้นๆในทางเทคนิกเสียงกันว่าไลย์ซอร์ตจุดเด่นของลำโพงไลย์อาร์เรย์คือเมื่อเทียบกับระยะทางที่เพิ่มขึ้นมันจะสูญเสียงความดังน้อยกว่าลำโพง point sourcec และมุมกระจายเสียงสามารถปรับทิศทางได้จึงสามารถนำไปใช้ในห้องที่มีความก้องได้ ลำโพงชนิดนี้สามารถนำไปใช้ในงานได้หลายแบบทั้ง คอนเสริตย์ขนาดใหญ่งานประชุมสัมนาในห้องใหญ่ๆงานอีเว้นต่างๆ หรือว่าติดตั้งในห้องประชุม ลำโพง Line array จะให้คุณภาพเสียงที่ดีทั้งคนที่อยู่ด้านหน้า ตรงกลาง […]

การแก้ไขปัญหาด้วยการใช้ความคิดสร้างสรรค์ | Creative Problem-solving

รายวิชานี้พัฒนาผู้เรียนให้มีความสามารถในการแก้ไขปัญหาด้วยการนำความคิดสร้างสรรค์มาประยุกต์ใช้อย่างมีประสิทธิผลและประสิทธิภาพ โดยเรียนรู้แนวคิดสำคัญของความคิดสร้างสรรค์ แหล่งที่มาของความสร้างสรรค์ เทคนิคการกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์โดยศึกษากรณีที่เกิดขึ้นจริง การพัฒนาปัจจัยส่งเสริมหรือสนับสนุน ซึ่งกระตุ้นให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ในการแก้ปัญหา ป้องกันปัญหาหรือพัฒนาผลงานและองค์การ Views: 193Anurak Khongkitฝ่ายสนับสนุนการเรียนการสอนและสื่อการศึกษา

การคิดสร้างสรรค์

สรุปเนื้อหาจากรายวิชา Thai Mooc Cu-Cu 009 ดร.ดรัณภพ เพียรจัด คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎราชนครินทร์ การคิดสร้างสรรค์ (Creative Thinking) การฝึกให้เกิดความคิดสร้างสรรค์กระบวนการฝึกคิดสร้างสรรค์เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพทางความคิดสามารถฝึกได้โดย เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ (2549) ได้นำเสนอแนวคิดการฝึกให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ไว้ดังนี้ .ฝึกสร้างจินตนาการอิสระ โดยลองฝึกสร้างจินตนาการให้กับสิ่งที่เราไม่เคยพบเห็นไม่เคยได้ยินสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ ไม่เคยมีใครทำหากเราลองสร้างภาพขึ้น แล้วค้นหาว่าจินตนาการนั้นมีประโยชน์หรือไม่เป็นไปได้หรือไม่ในโลกแห่งความจริง เช่น กำหนดหัวข้อการเขียนเรียงความแปลกๆเช่น เมื่อฉันได้เป็นรัฐมนตรีศึกษา หรือ ตี 2 ของคืนวันที่ 31 พฤษภาคมโดยตั้งเวลาเขียนสักประมาณ 1 ชั่วโมงการตั้งเวลาจะช่วยบังคับให้จดจ่อกับการคิดและเขียนให้เสร็จตามเวลา แล้วให้ลองตอบว่า คุณได้อะไรจากสิ่งที่เขียนบ้าง จะพบว่าสิ่งที่ได้รับจะพบจินตนาการที่ไม่เคยคิดมาก่อน หรือการเชื่อมโยงเหตุผลที่ดูไม่น่าจะเป็นไปได้หรือตื่นเต้นเมื่อคิดสิ่งใหม่ๆได้หรือเพิ่งรู้ว่าเราเองก็มีความคิดดีๆ เหมือนกัน ซึ่งหากลองฝึกเขียนพร้อมกับเพื่อนจะพบว่าแต่ละคนจะมีจินตนาการเป็นของตนเอง แต่ละเรื่องจะมีเอกลักษณ์ไม่เหมือนใคร เพราะเรื่องที่เขียนนั้นคิดขึ้นเอง ย่อมจะไม่ซ้ำในเนื้อหากับอีกหลายคนที่เขียนในเรื่องเดียวกัน . ฝึกมองต่างมุม การมองสิ่งเดียวกันแต่แตกต่างไปจากเดิมทำให้ค้นพบสิ่งใหม่ๆ ในสิ่งเดียวกันซึ่งนิสัยของนักคิดสร้างสรรค์ จะมองตรงข้ามจากเดิมเพื่อหามุมมองใหม่ๆ ที่ต่างไปจากความเคยชินเดิมๆการฝึกมองแบบมีมิติจะขยายขอบเขตความคิดให้หลุดพ้นจากกรอบแนวคิดเดิมๆ ซึ่งเป็นประโยชน์เมื่อนำไปใช้ในการคิดแก้ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น ฝึกขยายขอบเขตของความเป็นไปได้ โดยการฝึกจินตนาการเพื่อขยายขอบเขตความเป็นไปได้ของสิ่งนั้นๆช่วยให้ความคิดของเราไม่ยึดติดกับการตีความ สิ่งนั้นเพียงมุมมองเดียวตามประสบการณ์ ความรู้ หรือความเคยชิน แต่เกิดความพยายาม […]

การคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม

การคิดสร้างสรรค์เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับทุกคน เพราะการคิดสร้างสรรค์ช่วยให้เราแก้ปัญหาเดิมด้วยวิธีการใหม่ ช่วยให้มองเห็นโอกาสใหม่ ๆ ความเป็นไปได้ใหม่ ๆ ทำให้ได้สิ่งที่ดีกว่า

Agile : ทีม สื่อสาร กระบวนการ เป้าหมาย

Agile ถ้าทำให้เข้าใจง่ายทีสุดก็คือ “ทีม+สามัคคี” ทุกคนเห็นภาพเดียวกันว่าจะทำอะไรและใครทำอะไร มีการสื่อสารและทำงานเป็นทีมด้วยความเข้าใจ ทำงานสำเร็จ บรรลุเป้าหมาย

การคิดสร้างสรรค์

การคิดสร้างสรรค์ | Creative Thinking ความคิดสร้างสรรค์ คือการคิดอย่างรอบด้าน คิดสิ่งใหม่ๆ ที่ช่วยแก้ไขปัญหา ทำให้มีสิ่งที่ดีๆ เกิดขึ้น และมีประโยชน์ต่อตนเอง หรือผู้อื่น หรือต่อสังคม เป็นการคิดเชิงบวก สร้างประโยชน์และสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ การคิดสร้างสรรค์สามารถส่งเสริมหรือพัฒนาได้ ความคิดสร้างสรรค์จะก่อเกิดได้ ต้องมีต้นแบบ เป็นแนวทางให้เห็น มีการแลกเปลี่ยนความคิดกันช่วยก่อให้เกิดการจุดประเด็นความคิดใหม่ๆ มองเห็นมุมมองใหม่ๆ อ้างอิงจากประสบการณ์เดิมที่เคยมี พัฒนาต่อยอดไปสู่สิ่งใหม่ที่ดีกว่า ผู้ที่มีความคิดสร้างสรรค์มีลักษณะที่ เป็นตัวของตัวเอง มีความอิสระในตัวเอง มีความมุ่งมั่นทุ่มเท ทำงานที่ตัวเองสนใจอย่างหนัก มีความกระตือรือร้น ชอบเรียน ชอบค้นหาความรู้ สามารถแก้ปัญหาต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว มีความคิดที่ครอบคลุม หลากหลาย มีความยืดหยุ่นในการแก้ปัญหา มีสมาธิ ชอบคิดและทำสิ่งใหม่ๆ มีความอดทน ยอมรับการเปลี่ยนแปลงได้ เป็นคนคิดนอกกรอบ ไม่ชอบกฎ ระเบียบ เป็นคนคิดบวกและอารมณ์ดี มีจินตนาการ สภาพแวดล้อมที่ก่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ต้องประกอบไปด้วย บรรยากาศที่เอื้อในการเรียนรู้ เปิดกว้างทางความคิด ยอมรับความแตกต่างและความหลากหลายในวิธีการ ไม่มีการตัดสินถูกผิดในเรื่องความคิด เปิดโอกาสให้มีการเสนอความคิด มีการเอาใจใส่และตอบคำถาม เพื่อกระตุ้นให้เกิดการคิดต่อเนื่อง ทำให้เห็นประโยชน์ในความคิด ชี้แนะแนวทางที่หลากหลาย […]

Design Thinking Community : พื้นที่ชุมชนสร้างสรรค์

พื้นที่ชุมชนสร้างสรรค์ / พื้นที่สร้างสรรค์ชุมชน มีมานานแล้ว แต่เราจะรู้จักในนาม วิถีชีวิต วิถีชุมชน การแก้ปัญหา ภูมิปัญญา นวัตกรรม ฯลฯ ขึ้นอยู่กับเราที่จะเรียก

ความคิดสร้างสรรค์

ความคิดสร้างสรรค์ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย : สรุปเนื้อหา รายวิชาใน ThaiMOOC ความคิดสร้างสรรค์เป็นเป็นการใช้สมองให้สามารถคิดได้หลายทิศทาง หลายแง่มุมและคิดได้กว้างไกล เป็นการขยายขอบเขตของความคิดออกไป จากกรอบความคิดเดิมไปสู่การค้นพบสิ่งแปลกใหม่ ความคิดในการสร้างสรรค์สามารถพัฒนามาตั้งแต่วัยเด็ก ซึ่งมีจินตนาการกว้างไกล ผู้ใหญ่หรือผู้ปกครองไม่ควรปิดกั้นจินตนาการเหล่านั้น ต้องรับฟังเหตุผล เปิดกว้าง ยอมรับในความคิดและจินตนาการเหล่านั้น เมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่ ผู้มีความคิดสร้างสรรค์มักเป็นตัวของตัวเอง มีอิสระ มีเหตุผล ไม่คล้อยตามผู้อื่นง่าย ๆ ชอบคิดและทำสิ่งที่แปลกใหม่ สามารถคิดสิ่งที่ซับซ้อนได้ ความคิดสร้างสรรค์นั้น ส่วนสำคัญอีกประการหนึ่งคือโครงสร้างบรรยากาศ สภาพแวดล้อม ในการส่งเสริมให้เกิดการคิดสิ่งใหม่ โดยบรรยากาศในการดำรงชีวิต ต้องไม่มีการสร้างกรอบหรือมาตรฐานต่าง ๆ มาบีบรัด ส่งเสริมสิทธิเสรีภาพในการแสดงออก มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม ส่งเสริมการแข่งขันทางธุรกิจอย่างเสรี ตรงกันข้ามกับผู้ที่อยู่ในสังคมที่ขาดความคิดสร้างสรรค์ คือสังคมที่มีลักษณะเผด็จการ ปิดกั้นทางความคิด ยึดมั่นในขนบธรรมเนียมประเพณีจนเกินไป หากอยู่ในสังคมดังกล่าวความคิดสร้างสรรค์ก็จะชงักลง เช่นการเรียนหนังสือหากเน้นแต่การท่องจำ จะทำให้ผู้เรียนไม่เกิดความคิดสร้างสรรค์ ไม่ได้คิดอะไรใหม่ขึ้นมา ไม่มีบรรยากาศที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนคิดอย่างอิสระ กระบวนการฝึกคิดสร้างสรรค์เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพทางความคิด ซึ่งทุกคนสามาถสามารถฝึกได้  1. ฝึกมองต่างมุม การมองสิ่งเดียวกันแต่แตกต่างไปจากเดิม  2. ฝึกสร้างจินตนาการอิสระ โดยลองฝึกสร้างจินตนาการให้กับสิ่งที่เราไม่เคยพบเห็น ไม่เคยได้ยิน  3. […]

Library of Things

“Library of Things” หมายถึง ห้องสมุดที่สรรพสิ่งอื่น ๆ ที่นอกเหนือจากหนังสือ วารสาร นิตยสาร หรือทรัพยากรพื้นฐานที่ห้องสมุดมีให้บริการ ซึ่งห้องสมุดแต่ละประเภทจะสิ่งของที่ให้ยืมแตกต่างกันไป ตามประเภทของห้องสมุด กลุ่มผู้ใช้ หรือตามความต้องการของผู้ใช้ห้องสมุด

Back To Top