หากนึกถึง ห้องสมุด

บริการแรกที่คุณคิดถึงคงหนีไม่พ้น บริการยืม – คืนหนังสือ หรือทรัพยากรสารสนเทศประเภทต่าง ๆ เช่น วารสาร นิตยสาร ฯลฯ
แต่นั่นเป็นบริการพื้นฐานที่ห้องสมุดมี และยังคงมีอยู่ต่อไป แต่ทว่าในปัจจุบันนี้ ห้องสมุดหลายแห่งทั้งภายในประเทศไทยและต่างประเทศ ได้มีการเพิ่มบริการอื่น ๆ เสริมเข้ามาเพื่อรองรับความต้องการของผู้ใช้ เพื่อให้ผู้ใช้เกิดความประทับใจ สะดวกสบายในการใช้สอยสิ่งต่าง ๆ และประหยัดค่าใช้จ่ายให้แก่ผู้ใช้มากขึ้น
ห้องสมุดหลายแห่งเล็งเห็นว่านอกจากหนังสือ วารสาร และทรัพยากรสารสนเทศประเภทต่าง ๆ แล้วมียังมีหลายสิ่งหลายอย่างที่ผู้ใช้มีความต้องการใช้งาน เช่น อุปกรณ์สนับสนุนทางการศึกษา เครื่องใช้ไฟฟ้า อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ รวมถึงอุปกรณ์อื่น ๆ นอกเหนือจากนี้ แต่ทว่าบางครั้งบางทีสิ่งเหล่านั้นมีอาจมีราคาที่สูงเกินไป หากห้องสมุดมีสิ่งเหล่านั้นให้ผู้ใช้ได้หยิบยืมก็นับเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยให้ผู้ใช้ประหยัดเงิน ลดค่าใช้จ่ายลงไป และได้ใช้สิ่งของที่มีความจำเป็น หรือต้องการใช้งานจริง ๆ ได้มากกว่าหนังสือ
ห้องสมุดจึงได้เริ่มต้นจัดหาบริการเสริมอื่น ๆ นอกจากหนังสือ หรือทรัพยากรอื่น ๆ ที่มีอยู่เดิมเข้ามาให้บริการแก่ผู้ใช้เพื่อตอบรับกับความต้องการ ซึ่งบริการในลักษณะนี้เรียกว่า “Library of Things” หรือห้องสมุดที่ให้ยืมทุกสรรพสิ่งนั่นเอง! ซึ่งบริการนี้ เปิดให้บริการเป็นครั้งแรกในเมืองเวสต์ นอร์วูด ประเทศอังกฤษ ต่อมาก็เกิดเป็นบริการที่แพร่หลายไปยังห้องสมุดทั่วโลก! สิ่งสรรพสิ่งที่ห้องสมุดแต่ละแห่งมีให้ยืมนั้นก็จะมีความแตกต่างกันไปตามประเภทของห้องสมุด กลุ่มผู้ใช้ หรือตามความต้องการของผู้ใช้นั่นเอง!
บริการ “Library of thing” ของห้องสมุดในสถานศึกษา มีดังนี้ !
- คอมพิวเตอร์พกพา
- สายชาร์จ
- ไอแพด
- ปากกาสไตลัส
- กล้องเว็บแคม
- โต๊ะ
- แป้นพิมพ์ไร้สาย
- เมาส์ไร้สาย
- หูฟัง หูฟังไร้สาย
- สายชาร์จ
- ปลั๊กไฟต่อพ่วง
- กล่องไฟถ่ายรูป
- WI-Fi Display
- คัตเตอร์
- ปากกาดิจิทัล
- เครื่องวัดระยะด้วยเลเซอร์
- เครื่องคิดเลข
- อื่น ๆ
ตัวอย่าง ห้องสมุดในสถานศึกษาที่ให้บริการ Library of Things

บริการ Library of Things
หอสมุดแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
บริการ Library of Things
สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยขอนแก่น

บริการ “Library of thing” ของห้องสมุดประชาชน มีดังนี้ !
- เครื่องเคลือบพลาสติก
- เครื่องดนตรี
- กล้องดิจิทัล
- อุปกรณ์ดำน้ำ
- หุ่นยนต์ดูดฝุ่น
- เครื่องเล่นแผ่นเสียง
- เครื่องครัว
- เต็นท์
- อุปกรณ์ดูนก
- อุปกรณ์ตั้งแคมป์
- อุปกรณ์สำหรับจัดงานปาร์ตี้
- อุปกรณ์งานช่าง
- อุปกรณ์กีฬา
- อื่น ๆ
ตัวอย่าง ห้องสมุดประชาชน หรือห้องสมุดอื่น ๆ ที่ให้บริการ Library of Things
จะเห็นได้ว่า บริการ Library of things ของห้องสมุดทางการศึกษา จะเน้นให้บริการสิ่งของ หรือสรรพสิ่งที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา เนื่องจากเล็งเห็นประโยชน์ใช้สอย และความต้องการของผู้ใช้ที่มีความต้องการใช้งาน เพื่อประกอบการเรียนการสอน สิ่งเน้นให้บริการสิ่งที่สนับสนุนทางด้านการศึกษา แตกต่างจากห้องสมุดประชาชน หรือห้องสมุดอื่น ๆ จะเน้นไปทางสิ่งของอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับการศึกษาเท่าไรนัก เนื่องจากกลุ่มผู้ใช้หลักไม่ใช่นักเรียน นักศึกษา หรือบุคลากรทางการศึกษา แต่คือประชาชนทั่วไป ซึ่งมีอาชีพ มีความชื่นชอบ มีความต้องการใช้สอยสิ่งของต่าง ๆ ที่แตกต่างกัน ดังนั้นห้องสมุดประชาชนจึงมีบริการ Library of thing ที่หลากหลายไปตามความต้องการของผู้ใช้นั่นเอง
รู้อย่างนี้แล้ว หลายคนคงเริ่มมีมุมมองเกี่ยวกับขอบเขตบริการของห้องสมุดที่เปลี่ยนไปแล้วใช่มั้ยคะว่าห้องสมุดในปัจจุบันไม่ใช่ห้องสมุดที่มีรูปแบบการให้บริการแค่เพียงแค่หนังสือ วารสาร และทรัพยากรสารสนเทศประเภทต่าง ๆ อีกต่อไปแล้ว แต่กลายเป็นห้องสมุดสรรพสิ่งที่มีบริการมากมายที่พร้อมให้ผู้ใช้ได้เข้ามาใช้บริการเพื่อหยิบยืม มาเปลี่ยนมุมมองที่มีต่อห้องสมุดไปกันใหม่ด้วยกันนะคะ
อ้างอิงข้อมูลจาก
Library of Things มีทุกสิ่งให้เลือกสรรในห้องสมุด (tkpark.or.th)
Resources | THAMMASAT UNIVERSITY LIBRARY
“Library of Things” ห้องสมุดที่ให้ยืมทุกสรรพสิ่ง (bangkokbiznews.com)
Library of Things มีทุกสิ่งให้เลือกสรรในห้องสมุด (thekommon.co)
https://library.kku.ac.th/article.php?a_id=427319
https://m.facebook.com/ThammasatULibrary/photos/a.716172138429457/4599872236726075/?_rdr
https://www.facebook.com/KKULib/photos/a.132869076824323/3217677688343431/
Hits: 318