Category: เทคโนโลยีดิจิทัล

Cloud Computing

คำว่า “Cloud” หรือย่อมาจาก “Cloud Computing” มีความหมายเบื้องต้น คือ เครื่องมือที่ทำหน้าที่เป็น Host บริการผ่านอินเตอร์เนต ช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถ จัดเก็บข้อมูล, ดำเนินการ และ จัดการข้อมูลต่างๆ ผ่านอินเตอร์เนต เมื่อคุณอัพโหลดข้อมูลไปยังคลาวด์ ผ่านเซอร์วิสต่างๆ (อาทิเช่น Dropbox) ไฟล์ของคุณจะถูกส่งผ่านอินเตอร์เน็ตไปยังเซอร์เวอร์ที่จับต้องได้ และมีอยู่จริง ซึ่งเครื่อง Server ของผู้ให้บริการ Cloud นั้น มีจำนวนมาก เพื่อบริการเก็บข้อมูลทั้งโลก ซึ่งเรียกกันว่า Server Farms ดังนั้น นิยามง่ายๆ ของคลาวด์ ก็คือกลุ่มเครื่องเซอร์เวอร์ และ ศูนย์ข้อมูลเพื่อให้บริการเก็บข้อมูลรอบโลก โดยพื้นฐาน มันคือพื้นที่จัดเก็บข้อมูลดิจิตอล ที่คุณสามารถเก็บไฟล์งานต่างๆ ได้ ซึ่งข้อแตกต่างจาก Storage รูปแบบอื่นๆ (อาทิเช่น External Harddisk, Flashdrive และ อื่นๆ) คือไม่จำเป็นต้องมีอุปกรณ์เชื่อมต่อกับเครื่อง เพียงแค่อุปกรณ์สามารถเข้าถึง Internet ได้ ก็สามารถเข้าถึง […]

เขียนคอนเทนต์แบบไหน? ให้โดนใจในยุคดิจิทัล

  ในปัจจุบันมีการพูดถึงคอนเทนต์ หรือ Content กันมากขึ้น โดยเฉพาะในโซเชียลมีเดีย หรือสื่อออนไลน์ทุกประเภท และยังเป็นเทรนด์ในตอนนี้ว่าถ้าอยากทำการตลาด อยากเพิ่มยอดขาย อยากสร้างแบรนด์ให้เป็นที่รู้จัก ต้องรีบทำคอนเทนต์ ซึ่งทุกวันนี้ใคร ๆ ก็สามารถสร้างคอนเทนต์ได้ หากคุณเป็นมือใหม่ที่อยากจะเรียนรู้การทำคอนเทนต์ อยากรู้ว่าคอนเทนต์คืออะไร? คอนเทนต์มีแบบไหนบ้าง? มีประโยชน์อย่างไร? และจะเขียนคอนเทนต์อย่างไรให้โดนใจ ในบทความนี้ได้อธิบายเกี่ยวกับคอนเทนต์ (Content) รวมถึงสรุปสิ่งที่ต้องรู้และทำความเข้าใจ ประเภทคอนเทนต์แบบต่าง ๆ ไว้ให้แล้ว     ก่อนที่เราจะไปเรียนรู้ถึงไปถึงการเขียนคอนเทนต์อย่างไรให้โดนใจในยุคดิจิทัล ไปทำความรู้จักกับคำว่า “คอนเทนต์ ” กันก่อนนะคะ Content หรือ คอนเทนต์ คือ การสื่อสารข้อมูลไปหาผู้รับสารโดยใช้สื่อรูปแบบต่างๆ โดยคอนเท้นต์ไม่จำเป็นจะต้องเป็นรูปแบบข้อความ สามารถเป็นได้หลายรูปแบบ เช่น Video, Image, Infographic, Sound การสื่อสารข้อมูลผ่านคอนเทนต์ที่ดี ต้องถูกออกแบบมาให้เหมาะสมกับเป้าหมาย ผู้รับฟัง ประเภทของเนื้อหา และ ช่องทางการสื่อสาร ประเภทของคอนเทนต์มีอะไรบ้าง 1. Topical Content หรือคอนเทนต์ที่เป็นกระแส ณ ขณะนั้น […]

กุญแจสู่ความสำเร็จในการจัดการธุรกิจในยุคดิจิทัล

ในการจัดการธุรกิจยุคดิจิทัล ทุกธุรกิจย่อมต้องการความสำเร็จ ลูกค้าคือคนสำคัญและความ ต้องการของลูกค้าคือ Black Box ความท้าทายของการจัดการในยุคดิจิทัล 4.0 หน้าที่ของธุรกิจก็คือหาเทคนิควิธีการอะไรก็ได้ที่จะทำให้ธุรกิจมุ่งสู่ความสำเร็จนั่นเอง ซึ่งขอนำเสนอเทคนิคที่จะทำให้ทุกธุรกิจประสบความสำเร็จในการจัดการยุคดิจิทัล ดังนี้ 4 F 1. Focus Focus คือเน้นไปที่ลูกค้า เพราะลูกค้าคือคนสำคัญ ต้องรู้ว่าลูกค้าเป้าหมายต้องการอะไร เพราะลูกค้าคือคนที่นำรายได้มาสู่ธุรกิจ ต้องรู้ว่า อะไรคือความคาดหวังของลูกค้าเป้าหมาย ธุรกิจต้องคาดการณ์ ต้องเข้าถึงความต้องการของลูกค้าให้ได้ ควรจะต้องนำเสนอในสิ่งที่มากกว่าความคาดหวังของลูกค้า นอกจากนี้ธุรกิจต้องรู้ว่าอะไรคือ Pain Point ของลูกค้า ทำให้ธุรกิจเข้าใจถึง Pain Point ปัญหาที่ลูกค้ามี ธุรกิจสามารถได้ข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการแก้ปัญหาในเบื้องต้น ที่ลูกค้าใช้เพื่อตอบสนองความต้องการของตัวเองหรือเพื่อแก้ปัญหาบางประการการที่ธุรกิจจะรู้ว่า สิ่งที่ธุรกิจจะต้องทำนั่นก็คือการทำ Customer Insight  ก็คือการศึกษาลูกค้าแบบเจาะลึก การจะทำ Customer Insight อาจจะใช้วิธีการไปทำการวิจัยซึ่งถ้าธุรกิจทำวิจัย ธุรกิจอาจจะต้องลงทุนค่อนข้างที่จะเยอะ ที่จะทำให้ธุรกิจสามารถศึกษาความต้องการในเชิงลึกของลูกค้าโดยใช้ระยะเวลาไม่นานนัก และต้นทุนค่าใช้จ่ายไม่สูงมาก นั่นก็คือการทำ Customer persona ซึ่งจะทำให้ธุรกิจได้ข้อมูลของลูกค้าเป้าหมายในเชิงลึก Customer Persona เป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งที่จะทำให้ธุรกิจสามารถสกัดความต้องการของลูกค้าออกมาเป็นประเด็นต่าง ๆ จะดีกว่าไหมถ้าธุรกิจสามารถนำเสนอนวัตกรรมไปยังลูกค้าจนทำให้ธุรกิจเป็นเจ้าแรกและเป็นหนึ่งในใจลูกค้า […]

ถ่าย VDO ตั้งค่ายังไงใช้โหมดไหนดี

หลายคนคงเคยถ่าย VDO ด้วยกล้องถ่ายรูปไม่ว่าจะเป็นชนิด dslr หรือ mirrorless ซึ่งกล้องทั้ง 2 แบบก็มีฟังค์ชั่นที่คล้ายกัน แต่ว่ามือใหม่ทั้งหลายที่ไม่เคยมีความรู้เรื่องการตั้งค่า speed shutter หรือ ค่ารูรับแสง (F-Stop) รวมทั้งค่า ISO นั้นจะต้องตั้งอย่างไรวันนี้เรามาดูกัน 1. PAL กับ NTSC คำว่า PAL กับ NTSC เราคงเคยได้ยินกันมาบ้างใช่มั้ยครับ อธิบายสั้น ๆ ว่าเป็นมาตราฐานระบบสัญญาณภาพที่ใช้กันทั่วโลกซึ่งมันก็จะมีให้เลือกหลัก ๆ สองอันนี้แหละในกล้องของเราก็สามารถเลือกได้ว่าจะบันทึกวิดีโอในระบบไหน ซึ่งในประเทศไทยจะใช้ระบบ PAL ซึ่งข้อแตกต่างของสองอันนี้คือ PAL จะเป็นแบบ 50Hz ส่วน NTSC นั้น 60Hz ซึ่งกล้องจะปรับการตั้งค่าเฟรมเรตวิดีโอให้สัมพันกับระบบที่คุณเลือกใช้ด้วยนี่เป็นเหตุผลว่าทำไมตอนเราอ่านสเปคกล้องเค้าบอกว่าถ่ายวิดีโอได้ 1080p 60fps แต่ตอนซื้อมาใช้มันตั้งได้แค่ 50fps เองเพราะกล้องซื้อในบ้านเรามันถูกตั้งไว้ที่ระบบ PAL(แต่บางรุ่นก็จะมี 60fps ให้เลือกเหมือนเดิม)มาตั้งแต่แรก แนะนำให้ตั้ง PAL ไว้ดีแล้วครับ 2. […]

การสร้างสรรค์เนื้อหาด้วยข้อมูล (Data) เพื่อเพิ่มคุณค่าขององค์กร | Content Creation in Digital Organization

จากการศึกษาบทเรียนออนไลน์ ThaiMOOC รายวิชา NIDA: NIDA001 การสร้างสรรค์เนื้อหาด้วยข้อมูล (Data) เพื่อเพิ่มคุณค่าขององค์กร | Content Creation in Digital Organization สรุปได้ดังนี้ • ข้อมูลขนาดใหญ่ หรือ Big Data เป็นข้อมูลขนาดใหญ่ที่มีปริมาณมหาศาล มีความหลากหลายของข้อมูลสูง เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว และมีคุณค่าต่อการนำไปใช้ประโยชน์ โดยข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) นั้นจะถูกนำมาผ่านกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ข้อมูล และสามารถใช้ประโยชน์ในการดำเนินการด้านการตลาดดิจิทัลขององค์กรได้ โดยความสำคัญของข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) ในการพัฒนาประสิทธิภาพการตลาดดิจิทัลนั้น เมื่อข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) รวมตัวกันมีขนาดที่ใหญ่ขึ้น ทำให้เกิดความสามารถในการนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างแม่นยำมากขึ้น ช่วยให้เกิดโอกาสใหม่ๆ ทางการตลาด ช่วยให้สามารถสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมายได้อย่างรวดเร็ว และจะช่วยให้องค์กรสามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างรวดเร็ว และเรียลไทม์ สามารถนำมาใช้เพื่อสร้างคอนเทนต์ที่ส่งมอบคุณค่าให้กับกลุ่มเป้าหมาย สร้างรูปแบบการส่งเสริมการตลาดที่เจาะจงสอดคล้องกับความต้องการและดึงดูดลูกค้าเป้าหมายได้ โดยที่กระบวนการทำงานของข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) สำหรับการพัฒนาประสิทธิภาพการตลาดดิจิทัล ประกอบด้วย 4 ส่วน คือ (1) การสร้างข้อมูล คือ […]

เทคโนโลยีสารสนเทศในยุคดิจิทัล | Information Technology in Digital Era

เทคโนโลยีดิจิทัล (Digital literacy)         ทักษะความเข้าใจและใช้เทคโนโลยีดิจิทัล หรือ Digital literacy หมายถึง ทักษะในการนำเครื่องมือ อุปกรณ์ และเทคโนโลยีดิจิทัลที่มีอยู่ในปัจจุบัน เช่น คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ แทปเลต โปรแกรมคอมพิวเตอร์ และสื่อออนไลน์ มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ในการสื่อสาร การปฏิบัติงาน และการทำงานร่วมกัน หรือใช้เพื่อพัฒนากระบวนการทำงาน หรือระบบงานในองค์กรให้มีความทันสมัยและมีประสิทธิภาพ ทักษะความสามารถสำหรับการรู้ดิจิทัลนั้น สามารถแบ่งเป็น 4 ส่วนที่สำคัญ ได้แก่ ใช้ (Use) หมายถึง ความคล่องแคล่วทางเทคนิคที่จำเป็นในการใช้คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต ทักษะและความสามารถที่เกี่ยวข้องกับคำว่า “ใช้” ครอบคลุมตั้งแต่เทคนิคขั้นพื้นฐาน คือ การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ เช่น โปรแกรมประมวลผลคำ (Word processor) เว็บเบราว์เซอร์ (Web browser) อีเมล และเครื่องมือสื่อสารอื่นๆ สู่เทคนิคขั้นสูงขึ้นสำหรับการเข้าถึงและการใช้ความรู้ เช่น โปรแกรมที่ช่วยในการสืบค้นข้อมูล หรือ เสิร์ชเอนจิน […]

อินโฟกราฟิกนี้…ดีไฉนนนน (2)

สวัสดีค่ะ .. ก่อนหน้านี้เคยเล่าให้ฟังแล้วว่า อินโฟกราฟิก คือ การนำเสนอข้อมูลที่เข้าใจยากให้เป็นเรื่องที่เข้าใจได้ง่ายขึ้น และ องค์ประกอบของอินโฟกราฟิกที่ดี คือ Simplicity ความเรียบง่าย – ดูสบายตา ไม่ซับซ้อน ไม่ควรมีจุดเน้น ใช้สีหรือมีรายละเอียดของภาพและตัวหนังสือมากเกินไป Interestedness ความน่าสนใจ – นำเสนอเรื่องที่น่าสนใจ อยู่ในกระแส หรือถ้าไม่น่าสนใจก็เอามาแต่งตัวใหม่ให้น่าสนใจ Beauty ความสวยงาม – เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ เพราะความสวยงามของภาพจะดึงดูดคนให้มาอ่าน มาดูเนื้อหาในภาพ และเป็นตัวช่วยเพิ่มการจดจำได้ด้วย  …เรามาดูกันต่อว่า ถ้าอยากจะต้องออกแบบสื่ออินโฟกราฟิกสักชิ้นนั้น มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง ขั้นตอนการวิเคราะห์ วิคราะห์และกำหนดวัตถุประสงค์ในการออกแบบ วิเคราะห์บริบทของการนำไปใช้ – จะนำไปใช้บนสื่อใด แต่ละสื่อจะมีลักษณะการออกแบบที่ต่างกัน ทั้งความละเอียด ความคมชัด ขนาด และสีสัน และที่สำคัญคือ “ผู้รับสารเป็นใคร” มีลักษณะความชอบ ความสนใจฯ อย่างไร ขั้นตอนการเรียบเรียง การศึกษาข้อมูลและเนื้อหาทั้งหมด แล้วนำมารวบรวม จากนั้นทำการคัดกรอง ย่อยเนื้อหา และจัดระเบียบเนื้อหาให้กระชับ เข้าใจง่าย ศึกษา รวบรวม และจัดระเบียบเนื้อหา – […]

Infographic นี้…ดีไฉนนนน

สวัสดีค่ะ ผู้เขียนเรียนจบจากสำนักวิชาสารสนเทศ … วันนี้เลยมีสาระมาเล่าให้ฟังค่ะ เนื่องจากไปลงเรียนวิชา การผลิตสื่อกราฟิกอย่างมืออาชีพ | Graphic Design Crash Course CMU012 ในระบบ ThaiMOOC มา เลยมาแบ่งปันเธอและฉันว่า “Infographic ที่กำลังเป็นที่นิยมนี้…ดีไฉน” ก็ขอตอบตรงนี้ว่า Infographic ดีจริง ๆ เพราะเป็นการสื่อที่มีประสิทธิภาพมากชนิดหนึ่ง เนื่องจากเป็นการนำเสนอข้อมูลด้วยภาพกราฟิกที่ทำให้ผู้ดูภาพสามารถเข้าใจข้อมูล ข่าวสาร สารสนเทศ ตัวเลข สถิติปริมาณมาก ๆ ยากต่อความเข้าใจ ให้เป็นข้อมูลที่กระชับ มีความถูกต้อง ง่ายต่อความเข้าใจ ผ่านรูปภาพเพียงภาพเดียว!! ซึ่งตรงใจวัยเทคโนโลยีก้าวล้ำนำสมัยอย่างพวกเรามาก ๆ … สวยงาม ตัวอักษรน้อย เข้าใจง่าย ใช้เวลาแป๊บเดียว !! แต่กว่าจะใช้เวลาสร้างสรรค์ออกมาได้ ผู้ผลิตก็ต้องใช้ความรู้ความสามารถกันสักนิด … ซึ่งรายวิชาการผลิตสื่อกราฟิกอย่างมืออาชีพเค้าได้สอนไว้ให้เยอะพอดูเลยจ๊ะ อาจารย์วชิระ นิจบุญ และอ.เด่นธนำ เดชะประทุมวัน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ บอกไว้ว่า Infographic (อินโฟกราฟิก)ที่ดีไม่ได้หมายถึงการมีข้อมูลปริมาณมากอยู่บนภาพ หรือมีการใช้ภาพประกอบที่มีรายละเอียดเยอะ […]

เรื่องเล่า…จากหลักสูตรการสร้างวีดิทัศน์สำหรับรายวิชา MOOC บน ThaiMOOC

ThaiMOOC “เคยเรียนแล้ว และเมื่อมาเรียนอีก ก็ยิ่งรู้…ยิ่งเข้าใจ และยิ่งตระหนักในความสำคัญของการเตรียมการ“ “รายวิชานี้จะเป็นเรื่องของการจัดการเรียนการสอน ในเรื่องของการผลิตสื่อวีดิทัศน์เพื่อใช้เป็นสื่อการสอนออนไลน์บนระบบเปิด ซึ่งเมื่อเรียนแล้วจะช่วยให้เข้าใจกระบวนการ ขั้นตอนการผลิตรายวิชาบนระบบ MOOC ได้ดียิ่งขึ้นเหมาะสำหรับอาจารย์ ผู้เกี่ยวข้อง รวมถึงผู้ที่สนใจการสร้างวีดิทัศน์บนสื่อออนไลน์ทุกคน ที่จะรู้และเข้าใจในกระบวนการและหน้าที่ของตัวเอง” ต้องออกตัวก่อนว่า ผู้เขียนเคยเรียนรายวิชานี้เมื่อนานมาแล้ว เนื่องจากต้องมาเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างวีดิทัศน์สำหรับรายวิชาที่จะเปิดสอนบน ThaiMOOC ตอนนั้นยังเรียนเพราะความจำเป็น เรียนโดยไม่มีความรู้อะไรเกี่ยวกับ ThaiMOOC เลย แต่วันนี้เมื่อเวลาผ่านมาหลายปี ได้มีโอกาสกลับมาทบทวนใหม่ก็พบว่า “ยิ่งเรียนยิ่งรู้ – ยิ่งอ่านยิ่งใช่” เอาเนื้อหามาจับกับประสบการณ์ที่เราต้องทำ ทำให้ตระหนักและเข้าใจการทำงานมากขึ้น ทั้งยังช่วยตอกย้ำว่า การเตรียม หรือการวางแผนก่อนที่จะผลิตวีดีทัศน์สักหนึ่งชิ้นนั้น…มีความสำคัญอย่างยิ่ง หลักสูตรการสร้างวีดิทัศน์สำหรับรายวิชา MOOC (VidoeX-Thai) สอนโดยรศ.ดร. สุรพล บุญลือ อาจารย์ประจำภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา ม.เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เนื้อหาจะไล่ลำดับตามขั้นตอนการผลิต ซึ่งแบ่งเป็น 4 ขั้นตอน อันเป็นขั้นตอนพื้นฐานของการผลิตวีดิทัศน์โดยทั่วไป แต่ในส่วนของรายละเอียดนั้นจะจำเพาะเจาะลงไปในส่วนที่ผู้ผลิตรายวิชาบท MOOC ต้องรู้ ควรรู้ หรือทำตาม พร้อมแทรกเกร็ดความรู้ เทคนิคต่าง ๆ ที่มีประโยชน์สำหรับผู้ที่เกี่ยวข้องอย่างมาก ซึ่งจะนำส่วนที่คิดว่ามีประโยชน์มาฝาก […]

นวัตกรรมในชีวิตประจำวัน

IT กับชีวิตประจำวัน ทำให้ชีวิตง่ายขึ้น หน้าฝน เรามักจะมีปัญหาเสื้อผ้าซักแล้วแห้งช้า เพราะความชื้นทางอากาศ ปราศจากแสงแดดอุ่นๆ ผู้ที่ไม่มีเครื่องซักผ้าแบบปั่นแห้งดีๆ หรือเครื่องอบผ้า ก็มักจะไปหาร้านซักผ้าหยอดเหรียญอัตโนมัติ ซึ่งปัจจุบันหาใช้บริการได้ง่ายในราคาที่ไม่สูง เนื่องจากมีธุรกิจบริการเครื่องซักผ้าบริการแข่งขันกันทุกพื้นที่ ทั้งแบบจำกัดเวลาเปิดบริการ และแบบบริการ 24 ชม. ส่วนตัวเลือกร้านที่มีทั้งเครื่องซัก และอบผ้าแบบสแกนจ่ายด้วยคิวอาร์โค้ด เพราะเคยเจอปัญหาร้านบริการแบบหยอดเหรียญและสอดธนบัตร เหรียญเต็ม หรือไม่รับธนบัตร ยิ่งเป็นร้านที่ติดตั้งและWIFI แรงๆ ฟรียิ่งชอบ ร้านที่ใช้บริการประจำตอนนี้ติดตั้งระบบสแกนคิวอาร์โค้ดหน้าเครื่องซักและเครื่องอบทุกเครื่อง ซึ่งมีภาพ QR Code ให้เราตรวจสอบเครื่องว่างผ่านระบบออนไลน์ได้อีกด้วย ทำให้ไม่ต้องเสียเวลามานั่งรอเครื่องว่างหรือระบบทำงานเสร็จเรียบร้อย  นับว่าเป็นนวัตกรรมที่เหมาะกับชีวิตประจำวันที่มีตารางเวลาทำอะไรหลายๆ อย่าง เพราะคำว่านวัตกรรมคือ การมีเครื่องมือแก้ไขปัญหา ลดขั้นตอน ลดเวลา สามารถตรวจสอบ เข้าถึงได้ตลอดเวลา มีความสะดวก ถึงแม้อาจจะเพิ่มค่าใช้จ่าย แต่ในเวลาที่เราต้องนั่งรอเครื่องปั่นผ้า เราสามารถไปช้อปปิ้งจ่ายตลาด ดีกว่าไปนั่งรอ ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ได้จริงๆ                        […]

เทคโนโลยี AR & VR กับการศึกษา

เทคโนโลยี AR & VR กับการศึกษา                 การนําเทคโนโลยีโลกเสมือนก้าวสู่โลกความจริงใช้ในการเรียนการสอน โดยใช้โปรแกรม ความเสมือนจริง (Virtual Reality : VR) ความเป็นจริงเสริม (Augmented Reality : AR) และบูรณาการเทคโนโลยีความจริงผสม (Mixed Reality : MR) มาจัดการเรียนรู้ เป็นมิติใหม่ ทางด้านสื่อการศึกษาที่ผู้เรียนเกิดความสนใจ อยากรู้ เรียนรู้สิ่งใหม่ สร้างประสบการณ์ที่แปลกใหม่ เกิดปฏิสัมพันธ์เชื่อมโยงเข้าสู่ห้องเรียน นําเอาประสบการณ์เข้าสู่สถานการณ์จริงที่ผสมผสาน กับสถานการณ์เสมือนจริงผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนการสอน ช่วยส่งเสริมผู้เรียนเป็นพลเมืองดิจิทัล (Digital Citizenship) ผู้เรียนเพื่อเกิดพื้นฐานสังคมวิถีใหม่ (New Normal) รูปแบบการเรียนวิชาสังคมศึกษานำไปใช้ดำเนินชีวิตอย่างใหม่ ที่แตกต่างจากอดีตในการจัดการเรียนการสอน การใช้สื่อเทคโนโลยี  Mixed Reality (MR) ใช้ในห้องเรียนออนไลน์ในปัจจุบันและอนาคตในการสอนที่เกิดประสิทธิภาพที่ดี AR (Augmented Reality) การนำเทคโนโลยีมาผสานระหว่างโลกแห่งความเป็นจริง Real และความเสมือน Virtual เข้าด้วยกัน ด้วยการใช้ระบบซอฟต์แวร์และอุปกรณ์เชื่อมต่อต่างๆ เช่น […]

การปรับเกณฑ์ในมิกเซอร์อนาล๊อกและดิจิทัลมิกเซอร์

ในมิกเซอร์ปุ่มปรับเกณฑ์มีความสำคัญมากไม่ว่าจะเป็นมิกอนาล๊อกหรือดิจิทัลมิกเซอร์จะต้องมีปุ่มนี้ในการปรับความแรงสัญญาณขาเข้าให้มีความพอดีไม่มากจนเกิดสัญาณผิดเพี้ยนและไม่น้อยเกินไปจนเกินสัญญาณรบกวนในระบบหรือว่า noise นั่งเองผู้ปรับแต่งหรือ sound engineers ควรให้ความสำคัญตรงจุดนี้ไม่งั้นงานเสียงที่ทำอาจจะล่มเสียหายได้เสียงจะออกมาไม่ดีหรือว่าจะระบบเสียงท่านจะมีเสียงรบกวนที่ไม่น่าฟังจนเกิดความรำคาญในการฟังได้ เทคนิกการปรับเกนณ์ทั้งมิกอนาล๊อกเป็นเรื่องที่สำคัญมากซึ่งหากปรับมากไปก็จะทำไห้สัญญาณเสียงมีความผิดเพี้ยนเกิดอาการเสียงแตกหรือว่า Distrotion เทคนิกในการปรับต้องดูระดับสัญาณเสียงไฟ Led ที่มิกเซอร์จะมีไฟ 3 สีคือสีเขียวสีแดงและสีเหลืองคล้ายกับไฟจราจรตาม 4 แยกเลยคือสีเขียวคือระดับสัญญาณปกติส่วนสีเหลืองให้ระวังหรือว่า head room ของระบบก่อนที่สัญญาณเสียงจะคลิปส่วนสีแดงคือสัญญาณคลิปแล้วหรือเกิดการผิดเพี้ยนแล้วให้ปรับปุ่มลดสัญญาณ Gain ลงไม่งั้นเสียงจะแตกพร่าได้ ระดับความดังที่แสดงในมิกเซอร์อนาล๊อกจะมี scale บอกเป็นระดับความดังมีหน่วยเป็น dbu ซึ่งค่าระดับที่ 0 dbu คือค่าระดับความดังที่ดีที่สุดจึงใช้เป็นค่าอ้างอิงของมิกเซอร์อนาล๊อกทุกยี่ห้อจะใช้ค่านี้ทุกยี่ห้อดังนั้นผู้ทำระบบเสียงควรปรับ gain สัญญาณให้อยู่แถว 0 dbu หรือว่าบวกลบไม่เกิน+3 หรือว่า -3 dbu ถึงจะเป็นสัญญาณที่เหมาะสมมีความแรงของสัญญาณที่พอดี ระดับความดังในมิกเซอร์ดิจิทัลจะมีความดังบอกระดับเสียงมีหน่วยเป็น dbfs หรือว่า digital full scale ซื่งระดับความดังเสียงที่ใช้ในการอ้างอิงคือ -20 dbfs หรือเท่ากับ 0 dbu ทางฝั่งมิกอนาล๊อกนั่นเองดังนั้นผู้ปรับเสียงหรือว่า sound engineers ควรปรับเสียงให้ led uv […]

ปัญหาไมค์ห้องประชุม ปัญหาเล็กที่สะท้อนความเป็นมืออาชีพ

ไมค์ห้องประชุมถือเป็นหนึ่งในองค์ประกอบสำคัญในดำเนินการประชุม เพราะเป็นหัวใจหลักของการนำเสนอข้อมูล ทั้งการอภิปรายข้อมูลและการเสนอความคิดเห็นล้วนแล้วแต่ต้องใช้ไมโครโฟนทั้งสิ้น ดังนั้นห้องประชุมต้องเตรียมไมโครโฟนให้พร้อมใช้งานอยู่เสมอ ตั้งแต่การเลือกใช้ไมโครโฟนไปจนถึงการศึกษาปัญหาของไมโครโฟนเพื่อให้การประชุมดำเนินต่อไปได้อย่างราบรื่น ทำความเข้าใจไมค์ห้องประชุมเบื้องต้น ก่อนจะเริ่มต้นศึกษาปัญหาของไมโครโฟน เพื่อความเข้าใจหลักการทำงานของไมโครโฟน ควรทำการศึกษาข้อมูลเบื้องต้นของไมค์ห้องประชุมก่อน ทั้งลักษณะที่แตกต่างกันทั้งรูปลักษณ์ภายนอกและการรับเสียง และเมื่อเห็นภาพแล้วจะทำให้เข้าใจปัญหาง่ายมากขึ้น ประเภทของไมค์ห้องประชุม สำหรับไมโครโฟนที่นิยมใช้ในห้องประชุมนั้น เป็นประเภทตั้งโต๊ะเป็นส่วนใหญ่ ไม่นิยมใช้ไมโครโฟนแบบถือ (ยกเว้นห้องประชุมอเนกประสงค์ ที่เน้นการทำกิจกรรมเป็นหลัก) ซึ่งไมโครโฟนแบบตั้งโต๊ะเหมาะสำหรับการแลกเปลี่ยนความเห็น เนื่องจากผู้พูดมีไมโครโฟนประจำตำแหน่งสามารถตอบโต้ได้ทันที ทั้งนี้ไมค์ห้องประชุมแบบตั้งโต๊ะสามารถแยกเป็นสองประเภทได้ดังนี้ 1. Gooseneck Microphone Gooseneck Microphone หรือ ไมโครโฟนก้านยาว/ไมโครโฟนคอห่าน เป็นไมโครโฟนตั้งโต๊ะที่มีลักษณะเฉพาะตัว ด้วยก้านจับไมโครโฟนที่ยาวและสามารถงอก้านไปยังทิศทางที่ต้องการได้ มีปุ่มเปิด-ปิดไมโครโฟนขณะพูด โดยส่วนมากจะพบไมโครโฟนก้านยาวได้ตามห้องประชุมสัมมนาและห้องประชุมผู้บริหาร เป็นต้น 2. Boundary Microphone Boundary Microphone เป็นไมโครโฟนชนิดฝังโต๊ะ ประเภทเดียวกันกับไมโครโฟน Flush Mount ที่ฝังสายสัญญาณไปใต้โต๊ะ แต่แตกต่างกันที่ไมโครโฟนประเภท Boundary หัวไมโครโฟนจะเรียบไปกับโต๊ะ ส่วน Flush Mount ยังคงมีก้านไมโครโฟนอยู่ ซึ่งการเลือกใช้ไมโครโฟนประเภทนี้จะเน้นไปที่งานดีไซน์ และการออกแบบตกแต่งภายในห้องประชุม รูปแบบการรับเสียงของไมค์ห้องประชุม Cardioid คือ รูปแบบไมโครโฟนที่สามารถรับเสียงด้านหน้าได้ดีที่สุด ส่วนด้านข้างประสิทธิภาพการรับเสียงจะลดน้อยลง […]

ส่งภาพและเสียงด้วยเทคโนโลยี NDI

NDI ย่อมาจาก Network Device Interface และพัฒนาโดย  NewTek ประกาศ NDI ในปี 2015 และมีการเปิดใช้งานโพรโทคอลสำหรับการใช้สาธารณะในช่วงต้นปี 2559 ในปี 2017 โพรโทคอลรุ่นที่ 3 ได้รับการเผยแพร่เพิ่มการสนับสนุนมัลติคาสต์โหมดประสิทธิภาพสูงที่เรียกว่า NDI-HX และคุณสมบัติอื่น ๆ NDI เป็นการใช้งานผ่านโครงสร้างพื้นฐาน IP ที่มีอยู่ ทำให้ผู้ใช้สามารถถ่ายทอดภาพ เสียงและข้อมูล ด้วยคุณภาพที่สูง, ประหยัดทรัพยากร(Bandwidth), ลดต้นทุนและเวลาในการทำงานได้อย่างมาก บนระบบเครือข่ายอินเตอร์เนตมาตรฐาน NDI กับการบีบอัดไฟล์วิดีโอ ในการอัดไฟล์วิดีโอ ความละเอียด 4K UHD/ 1 ชม.                 – 12G SDI ใช้พื้นที่จัดเก็บ 5400 GB     […]

หลักสูตรการบริหารจัดการข้อมูลออนไลน์ด้วย Google Drive | Online Data Management Course with Google Drive

เทคโนโลยีการจัดเก็บข้อมูลบนระบบออนไลน์ การเข้าใช้งานข้อมูลและทำงานร่วมกันบนระบบออนไลน์ การกำหนดการใช้งานร่วมกันกับบุคคลอื่นได้อย่างเหมาะสม คุณสมบัติของ Google Drive 1. เนื้อที่ในการจัดเก็บข้อมูลฟรี สำหรับบัญชีทั่วไปของ Google ให้เนื้อที่ในการจัดเก็บ 15 GB โดยจะรวมการทำงานใน 3 แอปพลิเคชัน คือ Google Drive, Gmail และ Google Photo สำหรับองค์กรหรือหน่วยงานทางการศึกษาที่มีบัญชีเป็นของหน่วยงาน ได้เนื้อที่ไม่จำกัด 2. การจัดเก็บข้อมูล สามารถจัดเก็บข้อมูลไฟล์ได้ทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นไฟล์เอกสาร ไฟล์วิดีโอ ไฟล์เสียง ฯลฯ 3. เข้าถึงข้อมูลได้หลากหลายช่องทาง 4. สามารถแบ่งปันและทำงานร่วมกันกับบุคคลอื่นได้อย่างสะดวก รวดเร็ว หน้าจอการทำงานของ Google Drive ตำแหน่งที่ 1 เมนูสำหรับการเพิ่มข้อมูลใน Google Drive ตำแหน่งที่ 2 กลุ่มเมนูสำหรับการเข้าถึงไฟล์ข้อมูลที่จัดเก็บอยู่ใน Google Drive ตำแหน่งที่ 3 ส่วนของพื้นที่แสดงปริมาณเนื้อที่ในการใช้งานใน Google Drive […]

Back To Top