การสร้างสรรค์สื่อดิจิทัลบนเครือข่ายสังคมออนไลน์Digital media creation on social networks  

สื่อออนไลน์

สื่อสังคมออนไลน์(Social Media) หมายถึง สื่อดิจิทัลที่เป็นเครื่องมือในการปฏิบัติการ ทาง
สังคม (Social Tool) เพื่อใช้สื่อสารระหว่างกันในเครือข่ายทางสังคม (Social Network) ผ่านทางเว็บไซต์และ
โปรแกรมประยุกต์บนสื่อใด ๆ ที่มีการเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต โดยเน้นให้ผู้ใช้ทั้งที่เป็นผู้ส่งสารและผู้รับสารมี
ส่วนร่วม (Collaborative)อย่างสร้างสรรค์ ในการผลิตเนื้อหาขึ้นเอง (User-GenerateContent:UGC) ใน
รูปของข้อมูล ภาพ และเสียง โดยที่เครือข่ายสังคมออนไลน์ มักนำมาใช้ดำเนินงานหรือกิจกรรมต่าง ๆ โดยมี
บุคคลหรือหน่วยงานต่าง ๆ ร่วมกันเป็นเครือข่ายเพื่อใช้ทรัพยากรร่วมกัน แลกเปลี่ยน แบ่งปันทรัพยากร ข้อมูล
ข่าวสาร ฯลฯ ปัจจุบันคำว่า (Social Network) หมายถึงระบบเครือข่ายบนโลกออนไลน์ หรือการติดต่อสื่อสาร
ผ่านอินเทอร์เน็ต ซึ่งปัจจุบันบริการเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมีการนำมาใช้ในการสื่อสารระหว่างบุคคล เพื่อการ
สื่อสารทางธุรกิจ หรือการสื่อสารของหน่วยงานราชการ ตลอดจนองค์กรต่าง ๆ มีลักษณะเป็นการสื่อสารแบบ
สองทาง ที่มีรูปแบบการทำงานในลักษณะออนไลน์และสามารถที่จะใช้สร้างและเพิ่มเติมเนื้อหาได้สื่อสังคม
ออนไลน์จึงเป็นช่องทางการสื่อสารอีกช่องทางหนึ่งที่หน่วยงานราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจและ
หน่วยงานของเอกชนในทุกหน่วยงาน สามารถจะนำมาใช้ในการติดต่อสื่อสารกับบุคคลต่าง ๆ ได้เพื่อเผยแพร่
ข้อมูล การให้ความรู้รวมทั้งเป็นการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์และใช้ติดต่อสื่อสารกับสาธารณะ ซึ่งกล่าว
โดยทั่วไปแล้ว สื่อสังคมออนไลน์จึงมีทั้งข้อดีและข้อด้อย ดังนั้นในฐานะที่หน่วยงานของรัฐเป็นองค์กรนิติบัญญัติ
ในการนำมาใช้ควรจะกำหนดเงื่อนไขการใช้และข้อกำหนดความรับผิดชอบให้ชัดเจน นอกจากนี้สื่อสังคมออนไลน์
ยังเป็นสื่อที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และเป็นสื่อที่มีการปรับปรุงแก้ไขข้อมูลได้ตลอดเวลา จำเป็น ที่
จะต้องติดตามความเคลื่อนไหวของเนื้อหาสาระอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนตอบข้อสงสัยอย่างสม่ำเสมอ และ
รวมทั้งต้องรักษาความเป็นกลาง และต้องไม่สร้างความแตกแยกในสังคมในการน าสื่อสังคมออนไลน์หลากหลาย
ชนิดมาประยุกต์ใช้เพื่อเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารต่อสาธารณชน ด้วยความรู้สึกที่เป็นมิตร และเป็นประโยชน์ต่อ
สาธารณะชน
ในปัจจุบันประเทศกำลังมีการพัฒนาเป็น “ประเทศไทย 4.0” สื่อสังคมออนไลน์(Social Media)
สื่อดิจิทัลที่เป็นเครื่องมือในการปฏิบัติการทางสังคม (Social Tool)“ดิจิทัล 4.0” และ “ดิจิทัลไทยแลนด์” จะ
ส่งผลอะไรต่อชีวิตเราและประเทศไทยบ้างคนไทยมีชีวิตผูกติดกับดิจิทัลมานานแล้วไม่ว่าจะเป็นการใช้
อินเทอร์เน็ต ซื้อขายออนไลน์ อีคอมเมิร์ซ ทำธุรกรรมการเงินผ่านแอพพลิเคชั่น การสื่อสาร แต่เพียงเท่านี้
ยังไม่พอที่จะพาสังคมไทยเข้าสู่ยุคดิจิทัล 4.0 ได้เทคโนโลยีและโลกดิจิทัลมักไปไว และเคลื่อนที่ไม่มีหยุด
องค์กรจึงจ าเป็นต้องปรับตัวให้ทันตามเทรนด์พัฒนานวัตกรรมเพื่อต่อยอดการให้บริการ บนการแข่งขัน ที่
รวดเร็วและรอบด้าน จาก SME ให้กลายเป็น Smart Enterprise ที่มีศักยภาพสูงขึ้น จากบริการธรรมดาให้
กลายเป็น High Value Service เพื่อความมั่นคง มั่งคั่ง เชื่อมั่นและยั่งยืนของหน่วยงานของรัฐ

สื่อออนไลน์1

บทนำ
สำหรับในยุคนี้ เราคงจะหลีกเลี่ยงหรือหนีคำว่า Social Media ไปไม่ได้ เพราะไม่ว่าจะไปที่ไหน
ก็จะพบเห็นการใช้อยู่ตลอดเวลา ซึ่งหลายๆ คนก็อาจจะยังสงสัยว่า “Social Media” มันคืออะไรกัน คำว่า
“Social” หมายถึง สังคม ซึ่งในที่นี้จะหมายถึงสังคมออนไลน์ ซึ่งมีขนาดใหญ่มาก ในปัจจุบันคำว่า “Media”
หมายถึง สื่อ ซึ่งก็คือ เนื้อหา เรื่องราว บทความ วีดีโอ เพลง รูปภาพ เป็นต้น ดังนั้นคำว่า Social Media จึง
หมายถึง สื่อสังคมออนไลน์ที่มีการตอบสนองทางสังคมได้หลายทิศทาง โดยผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต พูด
ง่าย ๆ ก็คือเว็บไซต์ที่บุคคลบนโลกนี้สามารถมีปฏิสัมพันธ์โต้ตอบกันได้นั่นเอง
พื้นฐานการเกิด Social Media ก็มาจากความต้องการของมนุษย์หรือคนเราที่ต้องการ
ติดต่อสื่อสารหรือมีปฏิสัมพันธ์กัน จากเดิมเรามีเว็บในยุค 1.0 ซึ่งก็คือเว็บที่แสดงเนื้อหาอย่างเดียว บุคคลแต่ละ
คนไม่สามารถติดต่อหรือโต้ตอบกันได้ แต่เมื่อเทคโนโลยีเว็บพัฒนาเข้าสู่ยุค 2.0 ก็มีการพัฒนาเว็บไซต์ที่เรียกว่า
web application ซึ่งก็คือเว็บไซต์มีแอพลิเคชันหรือโปรแกรมต่างๆ ที่มีการโต้ตอบกับผู้ใช้งานมากขึ้น ผู้ใช้งาน
แต่ละคนสามารถโต้ตอบกันได้ผ่านหน้าเว็บ
สื่อสังคมออนไลน์(Social Media) เป็นรูปแบบการสื่อสารข้อมูลที่มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศ
และการสื่อสารเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้อง โดยมีรูปแบบการสื่อสารที่หลากหลาย ทั้งในรูปแบบของการสร้างและ
การเผยแพร่ข้อมูล ปัจจุบันกระแสการใช้งานอินเทอร์เน็ตและโทรศัพท์ประเภทสมาร์ทโฟน และอุปกรณ์พกพา
เช่น แท็บเล็ต ที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้มีการใช้งานสื่อสังคมออนไลน์เพิ่มขึ้นตามไปด้วย ทำให้หน่วยงานทั้งภาครัฐ
และภาคเอกชน องค์กร หรือกลุ่มบุคคลได้นำสื่อสังคมออนไลน์มาใช้ประโยชน์ทั้งในการสื่อสารติดต่อกันภายใน
หน่วยงาน การเผยแพร่ประชาสัมพันธ์และการติดต่อสื่อสารกับประชาชนมากขึ้นกล่าวโดยเฉพาะของรัฐใน
ฐานะองค์กรที่ใช้อำนาจนิติบัญญัติโดยมีสมาชิกของรัฐ บุคลากรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย ควรนำ
ช่องทางการสื่อสารผ่านสื่อสังคมออนไลน์มาประยุกต์ใช้ในการสื่อสารกับสาธารณชน โดยอาจน าไปใช้งาน
ร่วมกับสื่อประชาสัมพันธ์ในรูปแบบเดิม เช่น สื่อสิ่งพิมพ์โทรทัศน์วิทยุ เพื่อให้ข้อมูลและค าปรึกษาที่เกี่ยวข้อง
กับกฎหมาย การนำเสนอข้อมูล และเผยแพร่ประชาธิปไตย รวมทั้งการส่งเสริมธรรมาภิบาล ให้เข้าถึง
กลุ่มเป้าหมายมากขึ้นโดยเฉพาะกลุ่มคนรุ่นใหม่ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ของประชาชนโดยตรง ทำให้ติดต่อสื่อสารกับ
ประชาชนได้โดยตรงและใกล้ชิดมากขึ้นดังนั้น เพื่อความเข้าใจในเรื่องสื่อสังคมออนไลน์บทความนี้จะนำเสนอ
พัฒนาการของการสื่อสารออนไลน์ชนิดของสื่อสังคมออนไลน์

สื่อออนไลน์2


ความหมายและคุณลักษณะของสื่อสังคมออนไลน์(Social Media)
สื่อสังคมออนไลน์(Social Media) เป็นส่วนหนึ่งของเทคโนโลยีที่เรียกว่า เว็บ 2.0 (Web 2.0) คือ
เครื่องมือต่าง ๆ ที่ทำงานบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตและเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่อนุญาตให้แต่ละบุคคล
เข้าถึง แลกเปลี่ยน สร้างเนื้อหา และสื่อสารกับบุคคลอื่น ๆและการเข้าร่วมเครือข่ายออนไลน์ต่าง ๆซึ่งปัจจุบัน
บริการเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมีการน ามาใช้ในการสื่อสารระหว่างบุคคลเพื่อการสื่อสารทางธุรกิจ หรือการ
สื่อสารของหน่วยงานราชการ ตลอดจนองค์กรต่าง การสื่อสารของสื่อสังคมออนไลน์มีลักษณะเป็นการสื่อสาร
แบบสองทาง ซึ่งมีคุณลักษณะที่สำคัญ กล่าวคือ
1) มีรูปแบบการทำงานในลักษณะออนไลน์
2) สามารถที่จะใช้สร้างและเพิ่มเติมเนื้อหาได้
สื่อสังคมออนไลน์สามารถที่จะใช้งานได้ผ่านเครื่องมือ อุปกรณ์การสื่อสารต่าง ๆ เช่นคอมพิวเตอร์มือถือ แท็บ
เล็ต หรืออุปกรณ์อื่น ๆ ที่มีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตหรือเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ ดังนั้น สื่อสังคมออนไลน์จึง
เป็นช่องทางการสื่อสารอีกช่องทางหนึ่งที่หน่วยงานราชการจะนำมาใช้ในการติดต่อสื่อสารกับบุคคลต่าง ๆ ได้
เช่น หน่วยงานของของรัฐสามารถน ามาใช้ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวข้องกับของรัฐ การเสนอกฎหมาย การ
แลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับกระบวนการนิติบัญญัติเป็นต้น สื่อสังคมออนไลน์ช่วยให้ผู้ใช้สามารถสื่อสาร
ถึงกันได้ทันทีและสามารถสื่อสารถึงกันแบบการสื่อสารสองทางได้ทำให้มีการปฏิสัมพันธ์กันมากขึ้น อย่างไรก็
ตาม แม้ว่า สื่อสังคมออนไลน์จะสามารถสื่อสารแบบสองทางได้แต่พบว่าปัจจุบันหน่วยงานของรัฐส่วนใหญ่
นำมาใช้เป็นสื่อในการสื่อสารทางเดียวมากกว่า
พัฒนาการและชนิดของสื่อสังคมออนไลน์
นับแต่มีการพัฒนาเครือข่ายคอมพิวเตอร์ความเร็วสูงขึ้นในช่วงปลายทศวรรษ 1990 ท าให้เกิด
เว็บไซต์ที่อนุญาตให้ผู้ใช้สร้างและน าเสนอเนื้อหาได้ด้วยตนเองบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมากขึ้น เช่น ในปี1997
Six Degrees.com เป็นเว็บไซต์แรกที่เป็นสื่อสังคมออนไลน์ที่มีให้บริการ และตั้งแต่ปี2002เป็นต้นมา ได้มีการ
สร้างและขยายจ านวนสื่อสังคมออนไลน์เพิ่มมากขึ้น โดยมีทั้งสื่อสังคมออนไลน์ที่เปิดกว้างแก่ทุกกลุ่มเป้าหมาย
และเฉพาะกลุ่มผู้สนใจเฉพาะด้าน เช่น Friendster และ Hubculture ต้นทศวรรษ 2000 สื่อสังคมออนไลน์มี
การขยายตัวการใช้งานหลากหลายมากขึ้น บางสื่อมีจำนวนผู้ใช้เป็นจำนวนเพิ่มมากขึ้น เช่น Facebook ใน
เดือนกันยายน 2560 พบว่า มีจ านวนผู้ใช้ทั่วโลก 1.19 พันล้านคน Twitter เดือนกันยายน 2560 มีจำนวนผู้ใช้
มากกว่า 230 ล้านคน เป็นต้น
ปัจจัยที่มีผลส่งให้มีการใช้สื่อสังคมออนไลน์เพิ่มขึ้น คือ

  1. ปัจจัยทางด้านเทคโนโลยีทั้งการเพิ่มขีดความสามารถของเครือข่าย การปรับปรุง พัฒนา
    โปรแกรม รวมทั้งการพัฒนาขีดความสามารถของคอมพิวเตอร์และมือถือให้มีประสิทธิภาพและการใช้งานได้
    หลากหลายขึ้น
  2. ปัจจัยทางสังคม ที่เกิดจากกลุ่มวัยรุ่นที่มีการใช้งานสื่อสังคมออนไลน์เป็นจำนวนเพิ่มมากขึ้น
  3. ปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจ ได้แก่การซื้ออุปกรณ์คอมพิวเตอร์และซอฟแวร์เพิ่มขึ้น เนื่องมาจาก
    การพัฒนาด้านเทคโนโลยีที่ส่งผลให้อุปกรณ์ต่างๆ มีประสิทธิภาพมากขึ้น ในขณะที่ราคาถูกลง รวมทั้งการให้
    ความสนใจต่อการน าสื่อสังคมออนไลน์ไปใช้ในเชิงธุรกิจมากขึ้น
    ชนิดของสื่อสังคมออนไลน์เครือข่ายสังคมออนไลน์ที่ให้บริการตามเว็บไซต์สามารถแบ่งขอบเขตตามการใช้งานโดยดูที่
    วัตถุประสงค์หลักของการเข้าใช้งาน และคุณลักษณะของเว็บไซต์ที่มีร่วมกัน กล่าวคือ วัตถุประสงค์ของการเข้า
    ใช้งานมีเป้าหมายในการใช้งานไปในทางเดียวกันมีการแบ่งประเภทของเครือข่ายสังคมออนไลน์ออกตาม
    วัตถุประสงค์ของการเข้าใช้งาน ได้ 9 ประเภท
  4. สร้างและประกาศตัวตน (Identity Network) เครือข่ายสังคมออนไลน์ประเภทนี้ใช้ส าหรับให้
    ผู้เข้าใช้งานได้มีพื้นที่ในการสร้างตัวตนขึ้นมาบนเว็บไซต์ และสามารถที่จะเผยแพร่เรื่องราวของตนผ่านทาง
    อินเทอร์เน็ต โดยลักษณะของ การเผยแพร่อาจจะเป็นรูปภาพ วิดีโอ การเขียนข้อความลงในบล็อก อีกทั้งยัง
    เป็นเว็บที่เน้นการหาเพื่อนใหม่ หรือการค้นหาเพื่อนเก่าที่ขาดการติดต่อ
    การเขียนบทความได้อย่างเสรี ซึ่งอาจจะถูกน ามาใช้ได้ใน 2 รูปแบบ ได้แก่
    1.1 Blog บล็อก เป็นชื่อเรียกสั้นๆ ของ Weblog ซึ่งมาจากคำว่า “Web” รวมกับคำว่า
    “Log” ที่เป็นเสมือนบันทึกหรือรายละเอียดข้อมูลที่เก็บไว้ ดังนั้นบล็อกจึงเป็นโปรแกรมประยุกต์บนเว็บที่ใช้
    เก็บบันทึกเรื่องราว หรือเนื้อหาที่เขียนไว้โดยเจ้าของเขียนแสดงความรู้สึกนึกคิดต่างๆ โดยทั่วไปจะมีผู้ที่ท า
    หน้าที่หลักที่เรียกว่า “Blogger” เขียนบันทึกหรือเล่าเหตุการณ์ที่อยากให้คนอ่านได้รับรู้ หรือเป็นการเสนอ
    มุมมองและแนวความคิดของตนเองใส่เข้าไปในบล็อกนั้น
    1.2 ไมโครบล็อก (Micro Blog) เครือข่ายสังคมออนไลน์ประเภทนี้มีลักษณะเด่นโดยการให้
    ผู้ใช้โพสต์ข้อความจ านวนสั้นๆ ผ่านเว็บผู้ให้บริการ และสามารถกำหนดให้ส่งข้อความนั้นๆ ไปยัง
    โทรศัพท์เคลื่อนที่ได้ เช่น Twitter, Blauk, Weibo, Tout, Tumblr
  5. สร้างและประกาศผลงาน (Creative Network) เครือข่ายสังคมออนไลน์ประเภทนี้ เป็นสังคม
    ส าหรับผู้ใช้ที่ต้องการแสดงออกและนำเสนอผลงานของตัวเอง สามารถแสดงผลงานได้จากทั่วทุกมุมโลก จึงมี
    เว็บไซต์ที่ให้บริการพื้นที่เสมือนเป็นแกลเลอรี่ (Gallery) ที่ใช้จัดโชว์ผลงานของตัวเองไม่ว่าจะเป็นวิดีโอ รูปภาพ
    เพลง อีกทั้งยังมีจุดประสงค์หลักเพื่อแชร์เนื้อหาระหว่างผู้ใช้เว็บที่ใช้ฝากหรือแบ่งปัน โดยใช้วิธีเดียวกันแบบเว็บ
    ฝากภาพ แต่เว็บนี้เน้นเฉพาะไฟล์ที่เป็นมัลติมีเดีย ซึ่งผู้ให้บริการเครือข่ายสังคมออนไลน์ ประเภทนี้ ได้แก่
    YouTube, Flickr, Multiply, Photobucket, Instagram, Vimero, Pinterest และ Slideshare เป็นต้น
  6. ความชอบในสิ่งเดียวกัน (Passion Network) เป็นเครือข่ายสังคมออนไลน์ที่ทำหน้าที่เก็บในสิ่ง
    ที่ชอบไว้บนเครือข่าย เป็นการสร้าง ที่คั่นหนังสือออนไลน์ (Online Bookmarking) มีแนวคิดเพื่อให้ผู้ใช้
    สามารถเก็บหน้าเว็บเพจที่คั่นไว้ในเครื่องคนเดียวก็นำมาเก็บไว้บนเว็บไซต์ได้ เพื่อที่จะได้เป็นการแบ่งปันให้กับ
    คนที่มีความชอบในเรื่องเดียวกัน สามารถใช้เป็นแหล่งอ้างอิงในการเข้าไปหาข้อมูลได้ และนอกจากนี้ยัง
    สามารถโหวตเพื่อให้คะแนนกับที่คั่นหนังสือออนไลน์ที่ผู้ใช้คิดว่ามีประโยชน์และเป็นที่นิยม ซึ่งผู้ให้บริการ
    เครือข่ายสังคมออนไลน์ ได้แก่ Digg, Zickr, Ning, del.icio.us, Catchh และ Reddit เป็นต้น
  7. เวทีทำงานร่วมกัน (Collaboration Network) เป็นเครือข่ายสังคมออนไลน์ที่ต้องการความคิด
    ความรู้ และการต่อยอดจากผู้ใช้ที่เป็นผู้มีความรู้ เพื่อให้ความรู้ที่ได้ออกมามีการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องและเกิด
    การพัฒนาในที่สุด ซึ่งหากลองมองจากแรงจูงใจที่เกิดขึ้นแล้ว คนที่เข้ามาในสังคมนี้มักจะเป็นคนที่มีความภูมิใจ
    ที่ได้เผยแพร่สิ่งที่ตนเองรู้ และทำให้เกิดประโยชน์ต่อสังคม เพื่อรวบรวมข้อมูลความรู้ในเรื่องต่างๆ ในลักษณะ
    เนื้อหา ทั้งวิชาการ ภูมิศาสตร์ประวัติศาสตร์ สินค้า หรือบริการ โดยส่วนใหญ่มักเป็นนักวิชาการหรือ
    ผู้เชี่ยวชาญ ผู้ให้บริการเครือข่ายสังคมออนไลน์ในลักษณะเวทีทำงานร่วมกัน ในลักษณะเวทีทำงานร่วมกัน เช่น
    Wikipedia, Google earth , Google Maps, Google Groups, Yahoo Groups, Pantip เป็นต้น
    ประสบการณ์เสมือนจริง (Virtual Reality) เครือข่ายสังคมออนไลน์ประเภทนี้มีลักษณะ
    เป็นเกมออนไลน์ (Online games) ซึ่งเป็นเว็บที่นิยมมากเพราะเป็นแหล่งรวบรวมเกมไว้มากมาย มีลักษณะเป็น
    วิดีโอเกมที่ผู้ใช้สามารถเล่นบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เกมออนไลน์นี้มีลักษณะเป็นเกม 3 มิติที่ผู้ใช้น าเสนอตัวตน
    ตามบทบาทในเกม ผู้เล่นสามารถติดต่อปฏิสัมพันธ์กับผู้เล่นคนอื่นๆ ได้เสมือนอยู่ในโลกแห่งความเป็นจริง สร้าง
    ความรู้สึกสนุกเหมือนได้มีสังคมของผู้เล่นที่ชอบในแบบเดียวกัน อีกทั้งยังมีกราฟิกที่สวยงามดึงดูดความสนใจ
    และมีกิจกรรมต่างๆ ให้ผู้เล่นรู้สึกบันเทิง เช่น Second Life, Audition, Ragnarok, Pangya และ World of
    Warcraft เป็นต้น
  8. เครือข่ายเพื่อการประกอบอาชีพ (Professional Network) เป็นเครือข่ายสังคมออนไลน์เพื่อ
    การงาน โดยจะเป็นการนำประโยชน์จากเครือข่ายสังคมออนไลน์มาใช้ในการเผยแพร่ประวัติผลงานของตนเอง
    และสร้างเครือข่ายเข้ากับผู้อื่น นอกจากนี้บริษัทที่ต้องการคนมาร่วมงาน สามารถเข้ามาหาจากประวัติของผู้ใช้
    ที่อยู่ในเครือข่ายสังคมออนไลน์นี้ได้ ผู้ให้บริการเครือข่ายสังคมออนไลน์ประเภทนี้ได้แก่ Linkedin เป็นต้น
  9. เครือข่ายที่เชื่อมต่อกันระหว่างผู้ใช้ (Peer to Peer : P2P) เป็นเครือข่ายสังคมออนไลน์แห่ง
    การเชื่อมต่อกันระหว่างเครื่องผู้ใช้ด้วยกันเองโดยตรง จึงทำให้เกิดการสื่อสารหรือแบ่งปันข้อมูลต่างๆ ได้อย่าง
    รวดเร็ว และตรงถึงผู้ใช้ทันที ซึ่งผู้ให้บริการเครือข่ายสังคมออนไลน์ ประเภทนี้ ได้แก่ Skype และ BitTorrent
    เป็นต้น
  10. เครือข่ายสังคม (Socialnetworking site) เป็นเว็บไซต์ที่บุคคลหรือหน่วยงานสามารถสร้าง
    ข้อมูลและเปลี่ยนข้อมูล (สถานะของตน) เผยแพร่รูปภาพภาพเคลื่อนไหว โดยที่บุคคลอื่นสามารถเข้ามาแสดง
    ความชอบหรือส่งต่อ หรือเผยแพร่ หรือแสดงความเห็น โต้ตอบการสนทนา หรือแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมได้
    ได้แก่ Facebook, Badoo, Google+, Linkdin, Orkut
  11. โปรแกรมสังคม (Socialnetwork Application) การรับส่งข้อความสั้นจากมือถือ – SMS (text
    messaging) การแสดงตนว่าอยู่ ณ สถานที่ใด (Geo-spatial tagging) เป็นการแสดงตำแหน่งที่อยู่ พร้อม
    ความเห็นและรูปภาพในสื่อสังคมออนไลน์การคุยโต้ตอบ การส่งรูปภาพ อารมณ์ และการแชร์ ได้แก่ Line,
    Facebook, Wechat, MSN เป็นต้น

การใช้สื่อสังคมออนไลน์ในประเทศไทย
หากมองย้อนกลับไปในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาเมื่อพูดถึงคำว่า “เครือข่ายสังคมที่เต็มไปด้วยกลุ่มวัยรุ่น
ที่ท ากิจกรรมติดต่อสื่อสาร พูดคุย แลกเปลี่ยนข้อมูลด้านความบันเทิง หรือกิจกรรมอื่น ๆ ที่เน้นไปที่ การ
กระจายตัว “ความเป็นเมือง” ไปยังพื้นที่ต่าง ๆ อย่างทั่วถึง การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทั้งด้าน การ
คมนาคมขนส่ง การค้าและบริการ เทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านการสื่อสารที่ก้าวไปอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้เรา
สามารถเข้าถึงบริการด้านข้อมูลข่าวสาร และการติดต่อสื่อสารในยุคการเชื่อมต่อไร้สายผ่านทาง เครือข่าย
อินเตอร์เน็ตได้มากขึ้น
จากการศึกษาจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ(2556) โดยทำการสำรวจการมีและการใช้เทคโนโลยี
สารสนเทศในครัวเรือน พบว่า ประชากรไทยอายุ6 ปีขึ้นไป มีสัดส่วนการใช้อินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้นในทุกกลุ่มอายุ
โดยเฉพาะกลุ่มวัยรุ่นที่มีอายุระหว่าง 15 – 24 ปีมีสัดส่วนการใช้อินเทอร์เน็ตสูงกว่ากลุ่มอื่นจากร้อยละ 39.7
ในปี2550 เป็นร้อยละ 51.9 ในปี2554 และคาดว่าการใช้อินเทอร์เน็ตของกลุ่มวัยรุ่นนี้จะมีแนวโน้ม เพิ่ม
สูงขึ้นเรื่อย ๆ
ทั้งนี้จากการประชุมวิชาการระดับชาติสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล
ครั้งที่ 11 เรื่อง “ความหลากหลายทางประชากรและสังคมในประเทศไทย ณ ปี 2558” โดยใช้ข้อมูลจากการ
สำรวจการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในครัวเรือน พ.ศ. 2554 – 2557 ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ
พบว่ากลุ่มที่ใช้สื่อสังคมออนไลน์ส่วนใหญ่ยังคงเป็นกลุ่มวัยรุ่น แต่มีการขยายตัวไปยังกลุ่มผู้สูงอายุมากขึ้นด้วย
และจากการเปิดเผยสถิติภาพรวมสื่อดิจิตอลประจ าปี 2018 หรือ The Digital 2018 global
overview โดยSocial Media Management Platform อย่าง Hootsuiteและเอเจนซี่ระดับโลก We Are Social
เผยข้อมูลน่าสนใจเมื่อพบว่าประเทศไทยติดอยู่ในอันดับที่ 8 ประเทศที่มีผู้ใช้Facebook มากที่สุดในโลก โดย
มีจำนวนคนไทยที่ใช้Facebook ทั้งหมด 51 ล้านคน คิดเป็น 2% ของผู้ใช้Facebook ทั้งหมดขณะที่เมื่อ
จำแนกออกเป็นเมือง กรุงเทพฯ จะถือว่าเป็นเมืองที่มีผู้ใช้Facebook มากที่สุดในโลก ด้วยจำนวนถึง 22 ล้าน
คน หรือคิดเป็น 1% ของผู้ใช้Facebook ทั่วโลก นอกจากนี้ในรายงานสถิติดังกล่าวยังระบุว่า ในปี 2560
จ านวนผู้ใช้ Facebook ในประเทศไทยเพิ่มขึ้นเป็น 48 ล้านราย จาก 47 ล้านรายในปี 2559 โดยส่วนมากเป็น
กลุ่มคนที่มีอายุระหว่าง 22-40 ปีส่วนกลุ่มวัยรุ่นจะเน้นการใช้แอปพลิเคชั่นอื่นๆ อย่าง Instagram, Twitter,
YouTube และ Line TV

สื่อออนไลน์3


ปัญหาการใช้สื่อสังคมออนไลน์
ผลกระทบการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ในปัจจุบัน ส่งผลกระทบในด้านต่างๆ ดังต่อไปนี้

  1. ด้านทัศนคติผู้ที่ใช้บริการเครือข่ายสังคมออนไลน์ส าหรับการแลกเปลี่ยนข้อมูลและความรู้ จะ
    มีทัศนคติในด้านต่าง ๆ ที่เปลี่ยนแปลงไปและมีมุมมองที่หลากหลายเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากการได้รับข้อมูล
    สารสนเทศที่ทันสมัยอยู่เสมอ ซึ่งตรงกันข้ามกับบุคคลที่ไม่ได้ใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ มักจะปฏิเสธข้อมูลใหม่ ๆ
    หรือปฏิเสธมุมมองที่มีความแตกต่างไปจากเดิม (Levitan, & Visser, 2008) จากผลการศึกษาที่พบดังกล่าว
    สามารถอธิบายได้ว่า การใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์เป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้บริการในด้านการปรับเปลี่ยนทัศนคติ
    ถึงแม้จะไม่ได้ส่งผลโดยตรงกับผู้ใช้ในทันที แต่จะเป็นเครื่องมือที่จะช่วยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและทัศนคติ
    ในด้านต่าง ๆ ของผู้ใช้ในอนาคตได้
  2. ด้านความเป็นส่วนตัว ในการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ปัจจุบันมีความสะดวกรวดเร็ว ผู้ใช้
    สามารถใช้บริการผ่านโทรศัพท์มือถือเพื่อส่งข้อความ รูปภาพ หรือแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างกันได้ ข้อมูลที่ส่ง
    นั้นจะเป็นข้อมูลสาธารณะที่ทุกคนสามารถเข้าไปดูหรือแลกเปลี่ยนความคิดเห็นได้ ไม่มีระยะเวลาที่ก าหนด
    ดังนั้นความเป็นส่วนตัวอาจจะถูกคุกคามได้ ขึ้นอยู่กับมารยาทของผู้ใช้บริการเครือข่ายสังคมออนไลน์ หรืออาจ
    มีการเผยแพร่ข้อมูลที่เป็นด้านลบของผู้อื่น ยกตัวอย่าง เช่น พนักงานที่ลาออกจากบริษัทมีการเผยแพร่ข้อมูล
    ด้านลบของผู้จัดการหรือหัวหน้าให้คนอื่น ๆ รับรู้ผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์(Van Eecke, & Truyens,
    2010) ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม ดังนั้น ผู้ใช้บริการเครือข่ายสังคมออนไลน์อาจจะไม่ได้รับความ เป็น
    ส่วนตัวมากนัก เพราะข้อมูลที่โพสต์เข้าไปใน Profile จะมีลักษณะเป็นข้อมูลสาธารณะที่เพื่อนในกลุ่มทั้งหมด
    สามารถดูและแสดงความคิดเห็นได้ บางครั้งสมาชิกคนอื่น ที่ไม่ได้อยู่ในกลุ่มก็สามารถเข้ามาดูได้ยกเว้นมีการตั้ง
    ค่าสิทธิการเข้าใช้งานระบบ หรือใช้การพูดคุยกันแบบ Real Time เหมือน MSN เป็นต้น
    สื่อสังคมออนไลน์อาจไม่เป็นกลาง สามารถที่จะก่อให้เกิดผลกระทบในวงกว้างทั้งด้านความคิด
    อารมณ์ความรู้สึกของสมาชิก หรือผู้รับสื่อสังคมออนไลน์ผลกระทบที่เกิดขึ้นอาจมีทั้งข้อดีและข้อเสียและ
    ไม่สามารถควบคุมได้กรณีที่เผยแพร่ข้อมูลผ่านเว็บไซต์ผู้สร้างข้อมูลสามารถเปลี่ยนแปลง แก้ไขและสามารถ
    กำหนดเงื่อนไข ความรับผิดชอบ การควบคุมเนื้อหาสาระได้ขณะที่การเผยแพร่ข้อมูลผ่านสื่อสังคมออนไลน์

    ผู้เผยแพร่ไม่สามารถเป็นผู้กำหนดขอบเขตความรับผิดชอบได้เอง แต่ผู้ให้บริการสื่อสังคมออนไลน์จะเป็น ผู้
    กำหนดขอบเขตความรับผิดชอบ ผู้ใช้ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงข้อมูลได้ซึ่งมีทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทาง
    การสื่อสังคมออนไลน์มีความเป็นทางการ และควบคุมการทำงานได้น้อย ขาดความยืดหยุ่น แต่เปิดกว้าง ทำให้
    ขาดความน่าเชื่อถือ ขาดการเคารพกฎเกณฑ์ของสังคม การสื่อสารและการแลกเปลี่ยนข้อมูลมีการเคลื่อนไหว
    รวดเร็วกว่าสื่อในรูปแบบเดิมทำให้สามารถสร้างกระแสต่อสังคมในด้านต่างๆ ทั้งกระแสที่ดีและไม่ดีการละเมิด
    ลิขสิทธิ์และสิทธิส่วนบุคคล อาญากรรมคอมพิวเตอร์รวมทั้ง อาจเป็นภัยคุกคามทางความ แต่เป็นความท้าทาย
    ของหน่วยงานของรัฐ หรือหน่วยงานที่เป็นทางการ ที่จะนำมาประยุกต์ใช้เป็นต้น
    ความขัดแย้งบนโลกออนไลน์ สู่โลกความเป็นจริง
    จะเห็นได้ว่า ตั้งแต่เทคโนโลยีการสื่อสารพัฒนาอย่างก้าวล้ำ สื่อสังคมออนไลน์กลับส่งผลไปในการ
    ลบต่อชีวิตประจ าวันและความสัมพันธ์ของคนในสังคมอย่างชัดเจนยิ่งขึ้น จนกลายเป็นประเด็นทางสังคม ที่ทั้ง
    สื่อ กฎหมายและประชาชนเองจะต้องให้ความส าคัญในการป้องกันและแก้ไขปัญหาเหล่านี้โดยเฉพาะกับกลุ่ม
    วัยรุ่นที่ใช้เวลาไปกับสื่อออนไลน์วันละ หลายชั่วโมง จนอาจนำไปสู่ความขัดแย้ง ทะเลาะวิวาท จนถึงขั้นทำร้าย
    ร่างกายตามมา อย่างไรก็ตาม สิ่งที่เราสามารถท าได้ในการป้องกันภัยที่มาจากสื่อสังคมออนไลน์ก็คือการรู้เท่า
    ทันสื่อ (Media Literacy) โดยต้องเข้าใจสภาพของสื่อออนไลน์ว่าเป็นสังคมที่มีทั้งพื้นที่ส่วนตัวและพื้นที่
    สาธารณะ เรียนรู้การสื่อสารและการมีปฏิสัมพันธ์บนโลกออนไลน์กับชีวิตจริงว่า ความรอบคอบและมีสติทุก
    ครั้งในการสื่อสารและแสดงความคิดเห็นต่างๆ บนโลกออนไลน์ คือวิธีป้องกันภัยร้ายได้อย่างดี
    การใช้สื่อสังคมออนไลน์ของหน่วยงานราชการอาจมีข้อจำกัด
    หน่วยงานราชการจะต้องกำหนดว่า หน่วยงานราชการจะต้องกำหนดบทบาทของตนว่าหน่วยงาน
    ของตนอยู่ในตำแหน่งใดของสังคมออนไลน์โดยหากกำหนดระดับความเป็นทางการในการสื่อสารสื่อสังคม
    ออนไลน์ไว้สูง โอกาสที่จะมีการเข้าถึงของผู้ใช้จะน้อยลงด้วย แต่หากกำหนดระดับความเป็นทางการในการ
    สื่อสารสื่อสังคมออนไลน์ไว้ในระดับที่ต่างความน่าเชื่อถือของหน่วยงานก็จะลดลงตามไปด้วย ในการนำสื่อสังคม
    ออนไลน์ไปใช้ในหน่วยงานรัฐ จะต้องรักษาระดับระหว่างการใช้ประโยชน์การให้ข้อมูล และความเป็นกลาง
    ทางการเมือง ในกรณีที่ข้อมูลในสื่อสังคมออนไลน์กลายเป็นประเด็นร้อน บางครั้งจะต้องอธิบาย หรือแก้ไข
    ความถูกต้อง เพื่อไม่ให้เกิดความขัดแย้ง
    การน าสื่อสังคมออนไลน์มาใช้ในหน่วยงานของของรัฐ
    รัฐเป็นหน่วยงานที่มีสถานะและความเป็นทางการสูง จึงเป็นโอกาสที่จะทำอย่างไรที่ของรัฐจะใช้
    ช่องทางการสื่อสารโดยใช้สื่อสังคมออนไลน์ไปยังกลุ่มต่าง ๆ ด้วยความรู้สึกอบอุ่น เป็นมิตร และดึงดูดใจ
    ปัจจุบันพบว่า มีหน่วยงานของรัฐของหลายประเทศได้ให้ความสนใจที่จะนำสื่อสังคมออนไลน์มาใช้เป็น
    เครื่องมือในการสื่อสารกับสาธารณะ เช่น ของรัฐไทย ทั้งวุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฎรของรัฐสหราชอาณาจักร
    ของรัฐนอร์เวย์ของรัฐสวีเดน รวมทั้งของรัฐสหภาพยุโรปที่อยู่ระหว่างการนำสื่อสังคมออนไลน์มาเป็นเครื่องมือ
    ในการเผยแพร่วามรู้ความเข้าใจ ผู้สนใจข้อมูลเกี่ยวกับของรัฐ โดยการพัฒนาระบบงานใน Facebook เพิ่มเติม
    ให้มีระบบงานเพิ่มเติม เช่น การสนทนากับสมาชิกของรัฐการค้นหาข้อมูลสมาชิก การติดต่อกับหน้า Facebook
    ของสมาชิก เป็นต้นอย่างไรก็ตาม จากข้อด้อยของการใช้สื่อสังคมออนไลน์และการนำสื่อสังคมออนไลน์ไปใช้กัน
    อย่างไม่เป็นทางการ และมีการสื่อสารโต้ตอบกันทันทีทันใด อาจทำให้เกิดความผิดพลาดหรือสร้างความเข้าใจ
    ผิดได้หากของรัฐจะนำสื่อสังคมออนไลน์มาใช้ควรจะมีการกำหนดข้อกำหนดความรับผิดชอบและเงื่อนไขใน
    การใช้งานที่เป็นทางการ ถึงกฎระเบียบและประกาศให้บุคลากรทราบ โดยที่บางกรณีอาจมี
    ข้อก าหนดรวมถึงสมาชิกของรัฐด้วย แต่อาจไม่บังคับใช้แก่สมาชิกของรัฐที่นำเสนอผลงาน ความเห็นทาง
    การเมืองของตนการน าสื่อสังคมออนไลน์มาใช้เพื่อวัตถุประสงค์ต่าง ๆ ของของรัฐ สามารถนำมาใช้ประโยชน์ใน
    ด้านต่าง ๆ ได้ดังนี้การให้ข้อมูล เพื่อให้ข้อมูลพื้นฐานและแหล่งข้อมูลต่าง ๆ แก่สาธารณชน รวมถึงการ
    แลกเปลี่ยนและการส่งเสริมประชาสัมพันธ์ข้อมูลเกี่ยวกับกิจการของของรัฐ เช่น การดำเนินการเกี่ยวกับ
    กระบวนการตรากฎหมาย การติดตามกระทู้ถาม การประชุมกรรมาธิการกิจการพิเศษ การเยี่ยมชมของรัฐ และ
    รายงานการศึกษาที่น่าสนใจการศึกษา เป็นแหล่งในการค้นคว้า ติดตาม เอกสารประกอบการอบรม และ
    แหล่งข้อมูลต่าง ๆ ของครูอาจารย์และนักเรียน รวมทั้งข้อมูลเกี่ยวกับรายงานการศึกษาของของรัฐ บทความ
    เอกสารต่าง ๆ ของของรัฐการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์เพื่อเชื่อมต่อกับกลุ่มต่าง ๆ ทั้งภาครัฐ เอกชน และ
    องค์กรต่าง ๆ เพื่อเป็นช่องทางสาธารณะสำหรับการติดต่อกับของรัฐการสร้างความร่วมมือ และติดต่อกับ
    ประชาชนเป็นช่องทางที่ได้ผลดีในการให้ข้อมูล และติดต่อกับประชาชน การส่งความคิดเห็น และสร้างความ
    สนใจต่อกระบวนการนิติบัญญัติรวมถึงการให้ค าปรึกษาโดยตรงแก่สาธารณะ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับ
    กระบวนการนิติบัญญัตินโยบาย และกลยุทธ์ในการให้ประชาชนมีส่วนร่วมในกระบวนการนิติบัญญัติ
    ตัวอย่างการนำสื่อสังคมออนไลน์มาใช้ในหน่วยงานของของรัฐหน่วยงานของรัฐ อาทิของรัฐไทย ทั้งวุฒิสภา
    และสภาผู้แทนราษฎร ของรัฐสหราชอาณาจักรของรัฐสหภาพยุโรป ของรัฐนอร์เวย์ของรัฐสวีเดน มีการน าสื่อ
    สังคมออนไลน์ชนิดต่าง ๆ มาใช้เป็นสื่อในการติดต่อสื่อสารกับสาธารณชน ดังนี Twitter.com ,Youtube.com,Flickr.com,Facebook.com,myspace.com,linkedin.com
    บทสรุปและข้อเสนอแนะ
    บทสรุป

    บทบาทของสื่อสังคมออนไลน์จะเข้าไปมีส่วนร่วมในชีวิตประจำวันของประชาชนเพิ่มขึ้น แต่อาจมี
    การเปลี่ยนแปลงการใช้ชนิดของสื่อสังคมออนไลน์ประเภทต่างๆ ไปตามกระแสความนิยมของกลุ่มผู้ใช้กลุ่มต่าง ๆ
    และความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สื่อสังคมออนไลน์มีทั้งข้อดีและข้อด้อย รวมทั้งอาจ
    ส่งผลกระทบต่อสังคม เศรษฐกิจ อาญากรรมคอมพิวเตอร์และความมั่นคง ทั้งในแง่บวกและแง่ลบ แต่หากนำ
    ข้อดีและผลที่เกิดขึ้นในแง่ดีมาใช้ในการสื่อสารข้อมูลจากหน่วยงานราชการสู่สาธารณะ และลดข้อด้อย รวมทั้ง
    หาแนวทางการป้องกันผลด้านลบมิให้เกิดขึ้น สื่อสังคมออนไลน์จะเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่จะช่วยสนับสนุน สื่อ
    หลักที่มีอยู่เดิมได้เป็นอย่างดีสร้างโอกาสให้หน่วยงานราชการสามารถสื่อสารกับสาธารณะ และเข้าถึง
    กลุ่มเป้าหมายกลุ่มต่าง ๆ ได้มากขึ้น
    ข้อเสนอแนะ

    ในการนำสื่อสังคมออนไลน์มาใช้ในการสื่อสารของหน่วยงานราชการ จำเป็นจะต้องมีการ
    ดำเนินการเพื่อให้การสื่อสารของสื่อสังคมออนไลน์ที่น ามาใช้นั้น เป็นการสื่อสารสองทางที่เข้าถึงทุก
    กลุ่มเป้าหมายและได้รับข่าวสารที่ถูกต้อง ทันสมัย มีความเป็นกลางและตรวจสอบได้อย่างแท้จริง ดังนี้
    1. มีการวางแผนการใช้กำหนดนโยบาย เงื่อนไขการใช้สิทธิและความรับผิดชอบในการใช้
      สื่อสังคมออนไลน์ที่ชัดเจน
    2. พิจารณารายละเอียดของสื่อและสารที่ส่งออกจาหน่วยงานราชการอย่างรอบคอบ และมีความ
      เป็นกลาง โปร่งใส ประชาชนสามารถตรวจสอบข้อเท็จจริงได้
    3. ตรวจสอบและปรับปรุงเนื้อหาสาระ ตลอดจนตอบข้อสงสัยที่สอบถามผ่านสื่อออนไลน์อย่าง
      สม่ำเสมอ โดยไม่ปล่อยให้มีข้อสงสัย หรือเกิดข้อขัดแย้งเกิดขึ้น อันเป็นการช่วยให้เกิดภาพลักษณ์ที่ดี ของ
      หน่วยงานและเป็นช่องทางการประชาสัมพันธ์ข้อมูล ความรู้ของหน่วยงานแก่สาธารณชน
    4. ในการนำสื่อสังคมออนไลน์มาใช้ควรจะมีการวิเคราะห์กระแสการตอบรับการสื่อสารด้วยว่า
      สื่อที่นำมาใช้และสารที่ส่งออกไป สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายมากน้อยเพียงใด เพื่อเป็นข้อมูลในการปรับปรุง
      และพัฒนากลยุทธ์การสื่อสารให้ถึงกลุ่มเป้าหมายที่คาดหวังมากขึ้นต่อไป
    5. ในการก้าวเข้าสู่การพัฒนาเป็น “ประเทศไทย 4.0” ได้จริงสื่อสังคมออนไลน์(Social Media) สื่อ
      ดิจิทัลที่เป็นเครื่องมือในการปฏิบัติการทางสังคม (Social Tool) ควรจะต้องคำนึงถึงการเปลี่ยนแปลงของ
      ประเทศที่จะมีการเปลี่ยนแปลงไปขนาดไหน ทั้งในเรื่องของนวัตกรรมใหม่ ๆ สังคมและวัฒธรรมที่จะต้องมีการ
      เปลี่ยนแปลง จากการยอมรับวัฒนธรรมที่แตกต่างและการเข้ามาของความคิดที่แปลกใหม่ โดยจะต้องค านึงถึง
      เป็นพิเศษในเรื่องนวตกรรม การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตของสิ่งของ (Internet Of Things) ที่ท าให้เป็นอุปกรณ์
      อัจฉริยะหรือปัญญาประดิษฐ์การรักษาความปลอดภัยของข้อมูล(Cybersecurity) การประมวลและเก็บข้อมูล
      ผ่านระบบออนไลน์ (Cloud Computing)
    6. ในการประยุกต์ใช้ สื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) ประเภท Application ต่าง ๆ เช่น
      Facebook Line Instragram เป็นต้น หน่วยราชการ ต้องพึงระวังว่า Application ให้บริการบางแห่งอาจจะ
      เปิดเผยข้อมูลส่วนตัวมากเกินไป หากผู้ใช้บริการไม่ระมัดระวังในการกรอกข้อมูล อาจถูกผู้ไม่หวังดีนำมาใช้
      ในทางเสียหาย หรือละเมิดสิทธิส่วนบุคคลได้ Social Network เป็นสังคมออนไลน์ที่กว้าง หากผู้ใช้
      รู้เท่าไม่ถึงการณ์หรือขาดวิจารณญาณ อาจโดนหลอกลวงผ่านอินเทอร์เน็ต หรือการนัดเจอกันเพื่อจุดประสงค์ร้าย
      ตามที่เป็นข่าวตามหน้าหนังสือพิมพ์ เป็นช่องทางในการถูกละเมิดลิขสิทธิ์ ขโมยผลงาน หรือถูกแอบอ้าง
      เพราะ Social Network Service เป็นสื่อในการเผยแพร่ผลงาน รูปภาพต่าง ๆ ของเราให้บุคคลอื่นได้ดู และ
      แสดงความคิดเห็น ข้อมูลที่ต้องกรอกเพื่อสมัครสมาชิกและแสดงบนเว็บไซต์ในรูปแบบ Social Network ยาก
      แก่การตรวจสอบว่าจริงหรือไม่
สื่อออนไลน์4

Visits: 18109

Comments

comments

Back To Top