ระบบสายส่งและสายอากาศวิทยุและโทรทัศน์

ประเทศไทยเราในอากาศใด้มีการส่งคลื่นวิทยุในอากาศในหลายความถี่ด้วยกันมีทั้งย่าน FM (Frequency Modulation ) มีคลื่นความถี่ย่านในช่วง 78.5 Mhz- 108 Mhz ย่านความถี่ VHF (Very High Frequency ) มีคลื่นย่านความถี่ในช่วง 30-300 Mhz ย่านความถี่ UHF ( Ultra high Frequency ) มีย่านความถี่อยู่ในช่วง 300 – 1 Ghz ซึ่งความถี่ที่เราใช้เปิดวิทยุฟัง FM จะอยู่ในช่วง 78.5-108 Mhz ใช้ในเครื่องเสียงบ้านรวมทั้งวิทยุรถยนต์ก็จะจูนกันอยู่ในย่านความถี่พวกนี้ส่วนในระบบโทรทัศน์ที่เราใช้กันเมื่อก่อนระบบทีวีในประเทศไทยได้ส่งสัญญาณภาพและเสียงในระบบอนาล๊อกโดยใช้คลื่นย่านความถี่ทั้งย่าน VHF เช่นช่อง 3 ช่อง 5 ช่อง 7 ช่อง 9 ส่วนช่วงคลื่นย่าน UHF จะส่งช่อง Thaipbs

ปัจจุบันนี้เสาอากาศทีวีที่เราใช้ส่วนใหญ่จะเป็นย่าน UHF ส่งภาพในทีวีระบบดิจิตอลภาพจะมีความละเอียดสูงกว่าเดิมมากจนถึง HD ดังนั้นตอนนี้การรับของทีวีก็จะมีสามแบบดังนี้

1 ระบบส่งสัญญาณภาพในย่านความ UHF ( Ultra high Frequency )

ในการรับส่งสัญญาณจะใช้สายสัญญาณแบบยากิ ทีวีดิจิตอลซึ่งประกอบด้วย3ส่วนดังต่อไปนี้

1 ไดเร็กเตอร์ อิลิเม้นต์ Director Element

2 ไดลเวน อิลิเมนต์ Driven Element

3 รีเฟล็กเตอร์ อิลิเมนต์ Reflector Element

การติดตั้งสายอากาศแบบแบบยากิให้หมุนหางของสายอากาศไปทางสถานีส่งสัญญาณทีวีดิจิตอลกล่องเครื่องรับถีงจะมีสัญญาณที่แรงพอจนรับสัญญาณได้และมีภาพที่คมชัด

รูปการติดตั้งสายอากาศแบบยากิที่ถูกต้อง

การเชื่อมต่อสายอากาศยากิกับทีวีดิจิตอล

ในการเชื่อมต่อสายอากาศแบบยากิไปยังทีวีดิจิตอลนั้นจะใช้สายแบบ RG6 โดยปอกสายประมาณ 1 เซ็นติเมตรแล้วหมุนหัว F type เข้าไปทั้งหัวและท้ายโดยเอาหัว F type ไปต่อกับส่วนของ ไดลเวน อิลิเมนต์ ของสายอากาศแบบยากิและเอาส่วนหัวสาย Ftype ไปต่อกับเครื่องรับทีวีดิจิตอล

2 ระบบรับสัญญาณภาพจากจานดาวเทียม

ระบบรับสัญญาณภาพจากจานดาวเทียมมีทั้งรับสัญญาณแบบ KU BAND และย่าน C BAND ซึ่งจากทั้งสองแบบที่ไม่เหมือนกัน

KU BAND

ระบบ Ku band จะส่งคลื่นความถี่กลับมายังโลกใรช่วงความถี่ 10-12 Ghz สัญญาณที่ส่งจะคลุมพื้นที่ได้น้อยการส่งสัญญาณภายในประเทศส่วนไหญ่จะใช้แบบเคเบิ้ลทีวีความเข้มสัญญาณจะสูงจานจึงมีขนาดเล็ก

ส่วนประกอบการติดตั้งจานดาวเทียมแบบ KU BAND

2.1 หน้าจานรับสัญญาณดาวเทียม satellite disk

2.2 แอลเอ็นบี ( LNB )

2.3 เครื่องรับสัญญาณดาวเทียม (Receiver)

รูปตัวอย่างจานแบบ KU BAND

การติดตั้งจานและเครื่องรับดาวเทียมแบบ KU BAND

การติดตั้งจานรับดาวเทียมแบบ KU BAND โดยปรับมุมก้มเงย 59-60 อาศาปรับมุมกวาดไป 240 องศาแล้วต่อสาย RG6 จาก LNB ไปยังเครื่องรับดาวเทียมให้เรียบร้อยต่อสายสัญญาณภาพจากเครื่องรับดาวเทียมไปยังเครื่องโทรศัทย์และไปปรับองศาของ LNB ให้หมุนทิศไปทาง 240 ขวาล่างจากนั้นให้ทำการ จูนช่องสัญญาณดาวเทียมให้ครบทุกช่องก็จะเสร็จการติดตั้งเครื่องรับจานดาวเทียม

ส่วนประกอบการติดตั้งจานดาวเทียมแบบ C BAND

2.4 ขาจานดาวเทียม

2.5 คอจานดาวเทียม

2.6 ใบจานขนาดใหญ่ 1.5 เมตรขึ้นไป

2.7 ก้านฝีด

2.8 สกาล่าริง

2.9 แอลเอ็นบี

2.10 หมวกจาน

การติดตั้งจาน C BAND

การติดตั้งจะอ้างอิงสองลักษณะคือมุมกวาดกับมุมก้มเงยถ้าจังหวัดพิจิตรมุมก้มเงยจะอยู่ที่ 59 องศาซึ่งแต่ล่ะจังหวัดจะมีมุมก้มเงยไม่เท่ากันเมื่อได้มุมกุ้มเงิยแล้วก้ไห้ขันน๊อตไห้แน่นต่อไปคือมุมกวาดจะหันไป 240 องศานอกจากนี้ยังมีสิ่งที่สำคัญคือ LNB ให้หมุนไปขวาล่าง 240 องศาที่ขวาล่างจะได้คุณภาพที่มากขึ้นเสร็จแล้วต่อสาย RG6 จากหัว LNB มายังกล้องรับสัญญาณดาวเทียมแล้วต่อสาย HDMI จากกล่องไปยังเครื่องรับโทรทัศน์จากนั้นให้ปรับหน้าจานดาวเทียมให้ตรงกับดาวเทียมที่เราใช้งานโดยการปรับจานไปที่ 240 องศาเพื่อหาสัญญาณโดยดูจาก application แล้วปรับมุมก้มมุมเงินไปที่ 31-32 องศา แล้วยึดน๊อตให้แน่นหลังจากปรับหน้าจานได้สัญญาณจนแรงเต็มที่แล้วเอาหมวกจานดาวเทียมครอบไว้เพื่อกันน้ำเข้า LNB จากนั้นจูนช่องจนครบทุกช่องก็เสร็จการติดตั้ง

เนื้อหาทั้งหมดนี้ได้สรุปจาก THAiMOOC รายวิชา PPC001 สายส่งสายอากาศ Transmitssion and antena หวังว่าบทความนี้สรุปนี้ให้ประโยชน์แก่ผู้อ่านไม่มาก็น้อย

https://lms.thaimooc.org/courses/course-v1:OVEC+PPC001+2019/course/

Visits: 1625

Comments

comments

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

For security, use of Google's reCAPTCHA service is required which is subject to the Google Privacy Policy and Terms of Use.

Back To Top