กระบวนการจัดซื้อทรัพยากรสารสนเทศ ของศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา ดำเนินการจากงานจัดหาทรัพยากรสารสนเทศ และส่งเรื่องผ่านฝ่ายบริหารงานทั่วไปและธุรการ เพื่อดำเนินการต่อทางด้านพัสดุ และตัดงบประมาณการจัดซื้อ กระบวนการจากงานจัดหาทรัพยากรสารสนเทศ ที่มีการตกลงจะจัดซื้อทรัพยากรสารสนเทศแล้ว ได้บันทึกงบประมาณการจัดซื้อแต่ละรายการ ส่วนฝ่ายบริหารฯ มีการบันทึกงบประมาณอีกครั้งหลังจากร้านค้าส่งทรัพยากรสารสนเทศครบตามจำนวนที่กำหนด งานจัดหาฯ ทำรายงานผลการจัดซื้อ ฝ่ายบริหารฯ ดำเนินการเอกสารตามระเบียบพัสดุ และส่วนการเงินและบัญชีของมหาวิทยาลัย จ่ายเงินให้ร้านค้า ซึ่งระยะเวลาในการจัดหาฯ แล้วเสร็จแต่ละรายการ อาจใช้เวลามากกว่า 3 เดือน กว่าฝ่ายบริหารฯ จะบันทึกงบประมาณ ทำให้เกิดความล่าช้าในการใข้งบประมาณ และเกิดความคลาดเคลื่อนในการสรุปการใช้งบประมาณในแต่ละเดือน กระบวนการที่นำมาพัฒนา คือหลังจากงานจัดหาฯ ได้ดำเนินการจัดซื้อตามระเบียบพัสดุแล้ว ผู้บังคับบัญชาอนุมัติเรียบร้อยแล้ว บันทึกงบประมาณใน Google Sheets และให้ฝ่ายบริหารฯ มองเห็นงบประมาณที่งานจัดซื้อฯ ได้บันทึกไว้   หลังจากงานจัดหาฯ ได้นำ Google Sheets มาบันทึกการใช้งบประมาณ และให้ฝ่ายบริหารฯ สามารถมองเห็นงบประมาณที่งานจัดหาฯ ได้บันทึกไว้ ทำให้เกิดความเข้าใจตรงกันในการใช้งบประมาณ มีการตรวจสอบตัวเลขงบประมาณ และแก้ไขงบประมาณให้ถูกต้องหากมีความคลาดเคลื่อน เช่น หากร้านค้าส่งทรัพยากรไม่ครบตามขอบเขตงานที่ตั้งไว้ งบประมาณที่งานจัดหาฯRead More →

อาคารเรียนรวม6(ST) ของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เปิดให้บริการห้องเรียนแบบ Smart Classroom เพื่อสนับสนุนงานการเรียนการสอน จำนวน 72 ห้องเรียน เปิดให้บริการตั้งแต่เวลา 07.30 – 19.30 น. โดยมีนายช่างเทคนิคของศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา เป็นผู้ควบคุมดูแลระบบสื่อโสตทัศนูปกรณ์ ซึ่งในแต่ละชั้นเรียนจะมีนายช่างเทคนิครับผิดชอบ 1 อัตรา มีภาระหน้าที่รับผิดชอบดูแลควบคุมการเปิด – ปิด อุปกรณ์โสตทัศนูปกรณ์และทดสอบระบบของห้องเรียน ที่มีผู้ขอใช้บริการผ่านระบบจองห้องบรรยายอาคารเรียนรวมของศูนย์บริการการศึกษาให้เสร็จเรียบร้อยพร้อมใช้งาน ก่อนเริ่มเรียนคาบแรกเวลา 08.00 น. และให้ความช่วยเหลือแก้ไขปัญหาแก่อาจารย์ผู้สอน/นักศึกษา ปัจจุบันการขอใช้บริการห้องเรียนในช่วงเวลาดังกล่าวเต็มทุกวันทำการ ทำให้ประสบปัญหาไม่สามารถเปิดอุปกรณ์โสตทัศนูปกรณ์ และทดสอบระบบให้เสร็จเรียบร้อยได้ทันตามเวลาที่กำหนด     จึงเป็นที่มาของการพัฒนาระบบควบคุมการเปิด-ปิดโสตทัศนูปกรณ์ ของอาคารเรียนรวม6 ด้วยระบบอัตโนมัติ เพื่อพัฒนา/ปรับปรุงกระบวนการทำงานให้มีประสิทธิภาพ คล่องตัว และรวดเร็วมากยิ่งขึ้น โดยการนำเอา โปรแกรมควบคุมอัจฉริยะ/อุปกรณ์ Sensors ที่สามารถสั่งการควบคุมแบบไร้สาย เพื่อสั่งการเปิด – ปิด อุปกรณ์โสตทัศนูปกรณ์ผ่านทางแอพ eWeLink ใน iOS, Android ตามช่วงเวลาที่ต้องการRead More →

งานจัดระบบทรัพยากรสารสนเทศ ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา รับผิดชอบภาระงานใน     การวิเคราะห์หมวดหมู่และลงรายการหัวเรื่อง รวมถึงการตรวจสอบความถูกต้องและแก้ไขรายการหัวเรื่องทรัพยากรสารสนเทศภาษาไทยในระเบียนหลักฐานหัวเรื่อง ของฐานข้อมูล WALAI AutoLib อีกด้วย บรรณารักษ์ผู้ตรวจสอบทำหน้าที่ตรวจสอบความถูกต้อง และแก้ไขรายการหัวเรื่องทรัพยากรสารสนเทศภาษาไทยในระเบียนหลักฐานหัวเรื่อง ตรวจสอบหัวเรื่องจากระเบียนหลักฐานตามตัวอักษร ก-ฮ  ผนวกระเบียนจากหัวเรื่องที่ผิดไปยังหัวเรื่องที่ถูกต้อง หรือหัวเรื่องที่ไม่ใช้ไปยังหัวเรื่องที่ใช้ และตรวจสอบการสะกดคำ ถ้ามีคำผิดแก้ไขให้ถูกต้อง ในการตรวจสอบหัวเรื่องจะต้องตรวจสอบจากฐานข้อมูลหัวเรื่องภาษาไทยออนไลน์ ของคณะทำงานฝ่ายวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาทุกครั้ง จากการตรวจสอบความถูกต้องของหัวเรื่องทรัพยากรสารสนเทศภาษาไทยในระเบียนหลักฐานหัวเรื่อง จะเห็นได้ว่ารายการหัวเรื่องมีความผิดพลาดและซ้ำซ้อนเกิดขึ้น เนื่องจากมีบรรณารักษ์ลงรายการหัวเรื่องในระเบียนบรรณานุกรมหลายคน และยังไม่มีแนวปฏิบัติในการลงรายการหัวเรื่องที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน ความผิดพลาดและซ้ำซ้อนของหัวเรื่องเกิดมาจากหลายสาเหตุด้วยกัน ได้แก่ 1. ไม่ได้ตรวจสอบหัวเรื่องจากฐานข้อมูลหัวเรื่องภาษาไทยออนไลน์ ของคณะทำงานฝ่ายวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา 2. ไม่ได้ตรวจสอบหัวเรื่องจากระเบียนหลักฐานหัวเรื่อง   3. ลงรายการหัวเรื่องผิดเขตข้อมูล (Tag) ของ MARC 21 เกิดจากจำแนกข้อมูลผิดประเภทรวมถึงการใช้รหัสเขตข้อมูลของหัวเรื่องย่อย และกำหนดตัวบ่งชี้ผิด 4. การสะกดคำผิดหรือพิมพ์หัวเรื่องผิด 5. ไม่มีแนวปฏิบัติในการลงรายการหัวเรื่องทรัพยากรสารสนเทศภาษาไทยที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน รายการหัวเรื่องในระเบียนหลักฐานมีความผิดพลาดและซ้ำซ้อนเกิดขึ้น  มีบรรณารักษ์ลงรายการหัวเรื่องในระเบียนบรรณานุกรมหลายคนและไม่ได้ลงรายการหัวเรื่องไปในทิศทางเดียวกัน จึงได้คัดเลือกกระบวนการจัดทำแนวปฏิบัติในการลงรายการหัวเรื่องทรัพยากรสารสนเทศภาษาไทยในระบบห้องสมุดอัตโนมัติ Walai AutoLibRead More →

โลกในยุคปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงไปเป็นอย่างมาก แนวคิดในการพัฒนาองค์กรก็เน้นในเรื่องความรู้ ให้ความสำคัญกับการพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ และเน้นการนำองค์ความรู้ที่มีมารวบรวม และพัฒนาคน พัฒนาองค์กร           เมื่อโลกเปลี่ยน สภาพสังคม สภาพแวดล้อมเปลี่ยน คนก็ต้องพัฒนาและเปลี่ยนตาม เพื่อความอยู่รอดในด้านการดำรงชีวิตและการทำงาน ข่าวสารและเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามามีบทบาทในการดำเนินชีวิตประจำวัน ความเจริญก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่การงานก็ขึ้นอยู่กับองค์ความรู้ที่มี           ผู้ที่มีบทบาทในการเผยแพร่แนวคิดองค์การแห่งการเรียนรู้และเป็นที่รู้จักกันในปัจจุบัน คือ Peter Senge (1990) ซึ่งกล่าวไว้ว่า องค์กรแห่งการเรียนรู้ คือ สถานที่ซึ่งทุกคนสามารถขยายศักยภาพของตนเองอย่างต่อเนื่อง สามารถสร้างผลงานตามเป้าหมายที่วางไว้ เป็นสถานที่ซึ่งเกิดรูปแบบการคิดใหม่ๆ หลากหลายมากมาย ที่ซึ่งแต่ละคนมีอิสระที่จะสร้างแรงบัลดาลใจ และเป็นที่ซึ่งทุกคนต่างเรียนรู้วิธีการเรียนรู้ร่วมกัน กระบวนการปรับเปลี่ยนและสร้างความรู้ แบ่งออกได้เป็น 4 ลักษณะดังนี้ 1. Socialization เป็นขั้นตอนแรกในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในการสร้าง Tacit Knowledge จาก Tacit Knowledge ของผู้ร่วมงานโดยแลกเปลี่ยนประสบการณ์ตรงที่แต่ละคนมีอยู่ 2. Externalization เป็นขั้นตอนที่สองในการสร้างและแบ่งปันความรู้จากสิ่งที่มีอยู่ และเผยแพร่ออกมาเป็นลายลักษณ์อักษรเป็นการแปลงความรู้ จาก Tacit KnowledgeRead More →

กล้องมือถือในปัจจุบันมีคุณภาพสูงมาก บ่อยครั้งที่แยกไม่ออกว่าภาพไหนเป็นผลงานที่ได้จากกล้องมือถือ หรือกล้อง DSLR/Mirrorless ซึ่งการใช้งานกล้องมือถืออย่างถูกต้องจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการถ่ายภาพ ช่วยลดข้อบกพร่อง และเพิ่มคุณภาพให้กับภาพที่ถ่ายจากมือถือด้วยRead More →

ทักษะในการสื่อสาร นับเป็นทักษะสำคัญหนึ่งของ Soft skill เพราะว่าในการทำงานเราจะต้องพูดคุยประสานงานให้สำเร็จทั้งการพูดเจรจาต่อรอง อธิบาย การอ่านทำความเข้าใจการเขียน (ปัจจุบันเป็นการพิมพ์) ยิ่งมีทักษะภาษาที่สองอย่างเช่น English Communicationจะยิ่งเป็นเพิ่มมูลค่าให้ตัวเราเอง คนฝึกทักษะการสื่อสารจากการ ฟัง พูด อ่าน เขียน ตามหลักหัวใจนักปราชญ์ สุ จิ ปุ ลิ แต่หากไม่มีการใช้ภาษาที่สองบ่อยๆ ไม่ได้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ต้องใช้งานก็อาจจะหลงลืมไปบ้าง จึงจำเป็นต้องการมี Re-Up Skill อย่างต่อเนื่อง การฟังเพลง ชมภาพยนตร์ภาษาที่สอง ไม่ว่าจะเป็นภาษาอังกฤษ จีน เกาหลี ญี่ปุ่น ก็เป็นวิธีง่ายๆ วิธีหนึ่งในการ Reskillเพราะจะรู้สึกเพลิดเพลินกับทำนอง เรื่องราวในเนื้อหา เหมือนไม่ได้ตั้งใจฝึกทบทวนอย่างการอ่านหนังสือเพราะฉะนั้นนอกจากจะได้ Relax ผ่อนคลายในการฟังเพลง ชม MV ชมภาพยนตร์ต่างประเทศแล้วจะทำให้เราได้ฝึกฟัง แถมได้ฝึกการอ่านภาษาต่างประเทศไปด้วยหากมีคำบรรยาย Subtitleผู้เขียน Blog จะใช้วิธีดังกล่าวในการทบทวนภาษาอังกฤษยามว่าง ทั้งการชมภาพยนตร์ละครซีรี่ส์ไทย ประกอบกับคำบรรยายภาษาอังกฤษ เพื่อฝึกอ่านจากบทสนทนาง่ายๆRead More →

การจัดเก็บกระดาษถ่ายเอกสารในคลังเพื่อความง่ายในการตรวจนับวัสดุคงคลังประจำเดือน  ซึ่งมีวิธีการจัดเก็บดังนี้คือ จัดวางแบบ 1 ชั้นเท่ากับ 16 ลัง 1 ลังเท่ากับ 5 รีม 1 ตั้งเท่ากับ 7 ชั้น 1 ชั้นเท่ากับ 80 รีม 1 ตั้ง เท่ากับ 560 รีม ดังภาพ Visits: 10Pratana KachantornRead More →

ในการจัดการธุรกิจยุคดิจิทัล ทุกธุรกิจย่อมต้องการความสำเร็จ ลูกค้าคือคนสำคัญและความ ต้องการของลูกค้าคือ Black Box ความท้าทายของการจัดการในยุคดิจิทัล 4.0 หน้าที่ของธุรกิจก็คือหาเทคนิควิธีการอะไรก็ได้ที่จะทำให้ธุรกิจมุ่งสู่ความสำเร็จนั่นเอง ซึ่งขอนำเสนอเทคนิคที่จะทำให้ทุกธุรกิจประสบความสำเร็จในการจัดการยุคดิจิทัล ดังนี้ 4 F 1. Focus Focus คือเน้นไปที่ลูกค้า เพราะลูกค้าคือคนสำคัญ ต้องรู้ว่าลูกค้าเป้าหมายต้องการอะไร เพราะลูกค้าคือคนที่นำรายได้มาสู่ธุรกิจ ต้องรู้ว่า อะไรคือความคาดหวังของลูกค้าเป้าหมาย ธุรกิจต้องคาดการณ์ ต้องเข้าถึงความต้องการของลูกค้าให้ได้ ควรจะต้องนำเสนอในสิ่งที่มากกว่าความคาดหวังของลูกค้า นอกจากนี้ธุรกิจต้องรู้ว่าอะไรคือ Pain Point ของลูกค้า ทำให้ธุรกิจเข้าใจถึง Pain Point ปัญหาที่ลูกค้ามี ธุรกิจสามารถได้ข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการแก้ปัญหาในเบื้องต้น ที่ลูกค้าใช้เพื่อตอบสนองความต้องการของตัวเองหรือเพื่อแก้ปัญหาบางประการการที่ธุรกิจจะรู้ว่า สิ่งที่ธุรกิจจะต้องทำนั่นก็คือการทำ Customer Insight  ก็คือการศึกษาลูกค้าแบบเจาะลึก การจะทำ Customer Insight อาจจะใช้วิธีการไปทำการวิจัยซึ่งถ้าธุรกิจทำวิจัย ธุรกิจอาจจะต้องลงทุนค่อนข้างที่จะเยอะ ที่จะทำให้ธุรกิจสามารถศึกษาความต้องการในเชิงลึกของลูกค้าโดยใช้ระยะเวลาไม่นานนัก และต้นทุนค่าใช้จ่ายไม่สูงมาก นั่นก็คือการทำ Customer persona ซึ่งจะทำให้ธุรกิจได้ข้อมูลของลูกค้าเป้าหมายในเชิงลึกRead More →

ปัจจุบันสื่อกราฟิกเพื่อการนำเสนอมีหลากหลายรูปแบบ อินโฟกราฟิกได้กลายเป็นสื่อที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย ทั้งนี้เพราะลักษณะเด่นของสื่ออินโฟกราฟิก ที่ได้รับการออกแบบอย่างสวยงาม  สะดุดตา และสามารถดึงดูดความน่าสนใจแก่ผู้พบเห็นได้เป็นอย่างดี ซึ่งจากการได้เรียนจะมีเทคนิคหรือเกล็ดความรู้ที่น่าสนใจมาฝากคะคำว่า “กราฟิก” มาจากภาษากรีก 2 คำ คือ Graphikos กับ GrapheinGraphikos หมายถึง การเขียนภาพทั้งที่เป็นภาพสีและภาพขาวดำGraphein หมายถึง การเขียนตัวหนังสือและการใช้เส้นในการสื่อสาร ภาพอินโฟกราฟิกที่ดีประกอบไปด้วยองค์ประกอบหลัก ดังนี้1.Simplicity หรือความเรียบง่ายดูง่ายไม่ซับซ้อนไม่ควรมีจุดเน้นการใช้สีหรือมีรายละเอียดของภาพและตัวหนังสือที่มากเกินไป2.Interestedness หรือความน่าสนใจ การนำเสนอภาพอินโฟกราฟิก ควรเป็นเรื่องที่น่าสนใจหรือกำลังเป็นกระแสในปัจจุบันไม่เพียงแต่เรื่องที่น่าสนใจเท่านั้นการตั้งชื่อหัวเรื่อง3.Beauty หรือความสวยงามเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้เช่นกันเพราะความสวยงามของภาพจะเป็นส่วนสำคัญที่ดึงดูดคนที่พบเห็นให้อยากอ่านอยากเข้ามาดูเนื้อหาที่ปรากฏในภาพนอกจากนี้ความสวยงามยังสามารถเพิ่มการจดจำได้อีกด้วย ข้อควรระวังต่างๆ ในการออกแบบอินโฟกราฟิก 1. ข้อมูลไม่ควรเยอะจนเกินไป ควรที่จะแบ่งสัดส่วนของตัวหนังสือให้น้อยกว่าภาพ2. ข้อมูลนำเสนอไม่ควรซับซ้อน อย่างเช่น การใช้กราฟ หรือรูปภาพแทนข้อมูลต่างๆ จะทำให้ผู้ชมนั้นสามารถเข้าใจได้ดีมากกว่า3. อย่าใช้สีและตัวเลขมากเกินไป จะทำให้ประสิทธิภาพของงานเราน้อยลงตามไปด้วย หรืออาจจะเลือกใช้สีที่เป็นกระแสของช่วงนั้นจะส่งผลได้ดีกว่า เช่น กระแสของโทนสีเอิร์ธโทนกำลังมาแรง4. อย่าทำให้น่าเบื่อ การสร้าง Infographics ส่วนมากจะให้ความรู้ ประโยชน์ และความชัดเจน5. อย่าเน้นที่การออกแบบ Infographics ไม่จำเป็นต้องเน้นเรื่องการออกแบบให้สวยงามเพียงอย่างเดียว ควรเน้นเรื่องของการนำเสนอข้อมูลที่ถูกต้องด้วย การออกแบบอย่างสวยงามจะไม่มีประโยชน์เลย ถ้าหากคุณมีข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง 6.Read More →

สวัสดีค่ะ .. ก่อนหน้านี้เคยเล่าให้ฟังแล้วว่า อินโฟกราฟิก คือ การนำเสนอข้อมูลที่เข้าใจยากให้เป็นเรื่องที่เข้าใจได้ง่ายขึ้น และ องค์ประกอบของอินโฟกราฟิกที่ดี คือ Simplicity ความเรียบง่าย – ดูสบายตา ไม่ซับซ้อน ไม่ควรมีจุดเน้น ใช้สีหรือมีรายละเอียดของภาพและตัวหนังสือมากเกินไป Interestedness ความน่าสนใจ – นำเสนอเรื่องที่น่าสนใจ อยู่ในกระแส หรือถ้าไม่น่าสนใจก็เอามาแต่งตัวใหม่ให้น่าสนใจ Beauty ความสวยงาม – เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ เพราะความสวยงามของภาพจะดึงดูดคนให้มาอ่าน มาดูเนื้อหาในภาพ และเป็นตัวช่วยเพิ่มการจดจำได้ด้วย  …เรามาดูกันต่อว่า ถ้าอยากจะต้องออกแบบสื่ออินโฟกราฟิกสักชิ้นนั้น มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง ขั้นตอนการวิเคราะห์ วิคราะห์และกำหนดวัตถุประสงค์ในการออกแบบ วิเคราะห์บริบทของการนำไปใช้ – จะนำไปใช้บนสื่อใด แต่ละสื่อจะมีลักษณะการออกแบบที่ต่างกัน ทั้งความละเอียด ความคมชัด ขนาด และสีสัน และที่สำคัญคือ “ผู้รับสารเป็นใคร” มีลักษณะความชอบ ความสนใจฯ อย่างไร ขั้นตอนการเรียบเรียง การศึกษาข้อมูลและเนื้อหาทั้งหมด แล้วนำมารวบรวม จากนั้นทำการคัดกรอง ย่อยเนื้อหา และจัดระเบียบเนื้อหาให้กระชับRead More →

สวัสดีค่ะ ผู้เขียนเรียนจบจากสำนักวิชาสารสนเทศ … วันนี้เลยมีสาระมาเล่าให้ฟังค่ะ เนื่องจากไปลงเรียนวิชา การผลิตสื่อกราฟิกอย่างมืออาชีพ | Graphic Design Crash Course CMU012 ในระบบ ThaiMOOC มา เลยมาแบ่งปันเธอและฉันว่า “Infographic ที่กำลังเป็นที่นิยมนี้…ดีไฉน” ก็ขอตอบตรงนี้ว่า Infographic ดีจริง ๆ เพราะเป็นการสื่อที่มีประสิทธิภาพมากชนิดหนึ่ง เนื่องจากเป็นการนำเสนอข้อมูลด้วยภาพกราฟิกที่ทำให้ผู้ดูภาพสามารถเข้าใจข้อมูล ข่าวสาร สารสนเทศ ตัวเลข สถิติปริมาณมาก ๆ ยากต่อความเข้าใจ ให้เป็นข้อมูลที่กระชับ มีความถูกต้อง ง่ายต่อความเข้าใจ ผ่านรูปภาพเพียงภาพเดียว!! ซึ่งตรงใจวัยเทคโนโลยีก้าวล้ำนำสมัยอย่างพวกเรามาก ๆ … สวยงาม ตัวอักษรน้อย เข้าใจง่าย ใช้เวลาแป๊บเดียว !! แต่กว่าจะใช้เวลาสร้างสรรค์ออกมาได้ ผู้ผลิตก็ต้องใช้ความรู้ความสามารถกันสักนิด … ซึ่งรายวิชาการผลิตสื่อกราฟิกอย่างมืออาชีพเค้าได้สอนไว้ให้เยอะพอดูเลยจ๊ะ อาจารย์วชิระ นิจบุญ และอ.เด่นธนำ เดชะประทุมวันRead More →

ทุกคนคงมีการจัดเก็บไฟล์รูปภาพที่ถ่ายกับสมาร์ทโฟนเป็นจำนวนมาก แล้วพบปัญหาเมมโมรี่เต็มกันใช่ไหมคะ และแน่นอนว่าต้องลบภาพออก หรือย้ายที่จัดเก็บภาพที่กินเนื้อที่ เพื่อสามารถบันทึกภาพใหม่เข้ามาได้อีก ปัจจุบันเราสามารถย้ายอัลบั้มภาพที่ใช้พื้นที่หลาย GB ไปไว้บน Server ที่เรียกว่า Cloud ซึ่งผู้เขียนชอบใช้แอพพลิเคชั่น Google photo ในการ Sync ข้อมูลไปจัดเก็บที่ Google เพราะมีการเชื่อมต่อกับ Gmail อยู่แล้ว และเมื่อต้องการค้นหาภาพทั้งส่วนบุคคลหรือภาพที่เกี่ยวกับการทำงาน ก็ใช้วิธีค้นข้อมูลโดยพิมพ์คำค้นง่ายๆ เช่น หนังสือ, food ระบบ Google photo ก็จะดึงข้อมูลมาให้เราเลือกใช้หลากหลาย เป็นระบบ AI ที่น่าทึ่งมาก ยิ่งถ้าเราต้องการค้นหาภาพบุคคลท่านใดท่านหนึ่งเพื่อนำมาประกอบ Content ระบบ AI ใน Google photo ก็มีการค้นรวมภาพของบุคคลนั้นที่เราได้จัดเก็บไว้บน Server เช่นกัน หากเราได้ทำ Metadata บันทึกชื่อเรียกของใบหน้าบุคคลในภาพ เรียกว่าเป็นการทำดรรชนีภาพใบหน้าบุคคลที่มหัศจรรย์มาก ในภาพตัวอย่างผู้เขียนลองใช้คำค้น “ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา” ระบบRead More →

ยุคปัจจุบันนี้ สมาร์โฟนมีบทบาทกับทุกเพศทุกวัย ไม่ว่าจะดูภาพยนตร์ ฟังเพลง ภาพกราฟิกสวยๆ ได้จากสื่อดิจิทัลทั้งหมด การสร้างสื่อดิจิทัลให้มีความน่าสนใจ ทันสมัยในยุคปัจจุบันมีเคล็ดลับเกร็ดความรู้ นำมาฝากนะคะ สื่อดิจิทัล หมายถึง สื่อที่มีการนำเอาข้อความ กราฟิก ภาพเคลื่อนไหว เสียง และ วิดีโอ เป็นต้น โดย อาศัยเทคโนโลยีความเจริญก้าวหน้าทางด้านคอมพิวเตอร์ เข้ามาช่วยให้ข้อมูลที่เป็นสื่อต่างๆ เหล่านั้นมาแปลง สภาพ และเชื่อมโยงเข้าด้วยกันเพื่อประโยชน์ในการใช้งานองค์ประกอบ 3 อย่างคือ  1.เทคโนโลยี คือ ในส่วนที่เป็นฮาร์ดแวร์ก่อน อย่างเช่นตอนนี้ถือสมาร์ทโฟนอยู่ก็ถือว่าเป็นอุปกรณ์ประเภทนึงที่จะใช้สร้างสรรค์สื่อดิจิทัลได้ซอฟต์แวร์ ซอฟต์แวร์ต่าง ๆ ที่เอามาใช้ข้างในนี้หรือเรียกว่าแอพพลิเคชั่น 2.การสร้างสรรค์ คือ สิ่งที่ออกมาจากกระบวนการ คิด วิเคราะห์ ออกแบบอย่างเช่น บางคนต้องการที่จะทำงานประเภทของกราฟิกเราสามารถออกแบบได้โดยที่ไม่ต้องลอกเลียนคนอื่นเลยแล้วนำผลงานไปนำเสนอ ไปเผยแพร่ แล้วโดนใจ ตรงนี้ก็สร้างมูลค่า 3.สื่อดิจิทัลมีหลายรูปแบบมาก ๆ บางครั้งเป็นภาพธรรมดาส่งมา 1 รูปภาพ เปิดขึ้นมาดูเห็นสื่อความหมายชัดเจนว่ารูปนี้ต้องการที่จะบอกอะไรหรือหลาย ๆ คนได้รูปภาพมาแล้วRead More →

การสื่อสารเพื่อความเข้าใจร่วมกัน” เป็นกุญแจดอกสำคัญ ในการดำรงอยู่ด้วยกันอย่างมีความสุข บนหลักของ ความเคารพ ความแตกต่าง ความหลากหลาย ด้วยจุดยืนที่สร้างสรรค์ “๊WU014 ภาษาไทยเพื่อการสื่อสารร่วมสมัย” องค์ประกอบของการสื่อสารร่วมสมัย ผู้ส่งสาร (Transmitter, Source, Sender, Originator) คือ แหล่งกำเนิดของสารที่เกี่ยวกับความคิด เหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นแล้วส่งต่อไปยังผู้รับสาร ซึ่งการสื่อสารจะบรรลุผลได้นั้นทั้งผู้ส่งสารและผู้รับสารต้องมีทักษะในการสื่อสาร (Communication Skills) ทัศนคติ (Attitude) และระดับความรู้(Level of Knowledge) ในระดับเดียวกัน หรือใกล้เคียงกัน และอยู่ในระบบสังคม (Social System) และวัฒนธรรม (Culture) เดียวกัน สาร (Message)  คือ เรื่องราวที่ผู้ส่งสารส่งไปยังผู้รับสาร อาจจะเป็น ความคิดหรือเรื่องราว ทั้งวัจนภาษา และอวัจนภาษา องค์ประกอบของสารมี 3 ประการ คือ สัญลักษณ์ของRead More →