Author: Pratana Kachantorn

การเพิ่มประสิทธิภาพการรับต้นฉบับข้อสอบกลางภาคและปลายภาค

บทนำ ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา การรับต้นฉบับข้อสอบกลางภาคและปลายภาคของมหาวิทยาลัยวลัยลัษณ์ โดยผู้รับต้นฉบับข้อสอบกลางภาคและปลายภาคจากผู้ส่งข้อสอบแต่ละสำนักวิชาต่าง ๆ ที่มาส่งในแต่ละวันตามตารางกำหนดวันผลิตและส่งข้อสอบ และข้อสอบนอกตารางที่อาจารย์จัดสอบเอง ผู้รับต้นฉบับข้อสอบจะดำเนินการจัดทำตารางรับข้อสอบในแต่ละภาคการศึกษาที่มีการสอบในตารางและสอบนอกตาราง เพื่อควบคุมการส่งข้อสอบในแต่ละวันซึ่งมีผลต่อการผลิตสำเนาให้เสร็จตามกำหนด โดยในขั้นตอนการรับต้นฉบับข้อสอบกลางภาคและปลายของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ แต่ละรายวิชาที่มีการสอบทั้งในตารางและนอกตารางนั้น ผู้รับต้นฉบับข้อสอบจะจัดทำตารางรับข้อสอบในตารางและตารางรับข้อสอบนอกตารางในแต่ละภาคการศึกษา โดยใช้โปรแกรม Microsoft Excel ดังนั้นผู้รับต้นฉบับข้อสอบ จึงต้องหาแนวปฏิบัติในการรับต้นฉบับข้อสอบกลางภาคและปลายภาคของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เพื่อสามารถตรวจสอบรายวิชาได้อย่างรวดเร็วขึ้น โดยค้นหาในระบบผลิตเอกสารและข้อสอบ อาจารย์เจ้าของรายวิชาสามารถตรวจสอบรายวิชาของตนเองได้ว่าอยู่ในขั้นตอนไหน ทำให้การทำงานในขั้นตอนการรับต้นฉบับข้อสอบกลางภาคและปลายภาคมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นและใช้เวลาน้อยลง วัตถุประสงค์ 1. เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรับต้นฉบับข้อสอบกลางภาคและปลายภาค โดยเจ้าของรายวิชาสามารถตรวจสอบรายวิชาของตนเองได้ในระบบผลิตเอกสารและข้อสอบ 2. เพื่อลดเวลาในการค้นหารายวิชาที่มีการส่งต้นฉบับมายังงานออกแบบและผลิตสื่อสิ่งพิมพ์ในแต่ละวัน 3. เพิ่มความสะดวกในการเข้าถึงข้อมูลรายวิชาที่มีการสอบ ผลลัพธ์ที่คาดหวัง 1. อาจารย์ผู้สอนสามารถตรวจสอบรายวิชาของตนเองได้ในระบบผลิตเอกสารและข้อสอบ 2. เพิ่มความสะดวกในการค้นหาต้นฉบับข้อสอบในกรณีมีปัญหาในรายวิชานั้น ๆ 3. ผู้รับต้นฉบับข้อสอบสะดวกในการลงรับต้นฉบับข้อสอบมากขึ้น ขอบเขตของผลงาน การรับต้นฉบับข้อสอบกลางภาคและปลายภาคในระบบผลิตเอกสารและข้อสอบในแต่ละภาคการศึกษาของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ คำนิยาม 1. ระบบผลิตเอกสารและข้อสอบ 2. ต้นฉบับข้อสอบกลางภาคและปลายภาค 3. ตารางรับต้นฉบับข้อสอบกลางภาคและปลายภาค การวางแผนและทบทวนสภาพปัจจุบัน (Plan – P) การคัดเลือกกระบวนการเพื่อปรับปรุง 1. เพิ่มประสิทธิภาพในการรับต้นฉบับข้อสอบกลางภาคและปลายภาคแต่ละภาคการศึกษาที่มีการสอบในตารางนอกตาราง 2. ผู้รับข้อสอบลงรับต้นฉบับข้อสอบในระบบผลิตเอกสารและข้อสอบ […]

การจัดเก็บกระดาษถ่ายเอกสาร 80 แกรม ในคลังของงานออกแบบและผลิตสื่อสิ่งพิมพ์

การจัดเก็บกระดาษถ่ายเอกสารในคลังเพื่อความง่ายในการตรวจนับวัสดุคงคลังประจำเดือน  ซึ่งมีวิธีการจัดเก็บดังนี้คือ จัดวางแบบ 1 ชั้นเท่ากับ 16 ลัง 1 ลังเท่ากับ 5 รีม 1 ตั้งเท่ากับ 7 ชั้น 1 ชั้นเท่ากับ 80 รีม 1 ตั้ง เท่ากับ 560 รีม ดังภาพ Visits: 10Pratana Kachantorn

Back To Top