Tag: Thai MOOC

คลาวด์คอมพิวติ้ง (Cloud Computing)

คลาวด์คอมพิวติ้ง (Cloud Computing) ภาพโดย : Image by macrovector on Freepik ภาพโดย : Image by macrovector on Freepik             หลายคนอาจจะนึกถึงแค่บริการพื้นที่ฝากไฟล์บนอินเทอร์เน็ต อย่าง iCloud บน iPhone, iPad หรือ Google Drive บน Android หรือ OneDrive บนมือถือ Windows Phone ซึ่งสิ่งเหล่านี้คือบริการ Cloud Storage อันเป็นบริการ Cloud ประเภทหนึ่งเท่านั้น เช่นการรีโมทเข้าระบบเซิร์ฟเวอร์ (server) จากระยะไกล หรือ การเก็บข้อมูลจากระยะไกล แต่ที่จริงนี่เป็นแค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น เพราะ Cloud Computing ยังมีบริการที่หลายรูปแบบ และ การใช้งานได้อีกหลายประเภท             Cloud Computing คือบริการที่ครอบคลุมถึงการให้ใช้ระบบประมวลผล […]

เทคนิคการพัฒนาการคิดสร้างสรรค์

การคิดสิ่งใหม่ๆ หมายถึงการผสมผสานสิ่งต่าง ๆ ที่ยังไม่เคยถูกผสมผสานมาก่อน ซึ่งการคิดสร้างสรรค์ เป็นการผสมผสานหรือเชื่อมโยงความคิดที่มีอยู่ จนเกิดการเปรียบเทียบที่ทำให้มองเห็นความสัมพันธ์ระหว่าง ความคิดเหล่านั้น การคิดสร้างสรรค์เป็นการค้นหา คัดเลือก ปรับแต่ง ผสมผสานและสังเคราห์ไม่ว่าจะเป็น ข้อเท็จจริง ความคิด สติปัญญาและทักษะความสามารถที่มี สิ่งส าคัญคือการปรับความคิดและจิตใจของเราให้ พร้อมสำหรับการคิดใหม่ๆ Harvard Business Review (Kelly, 2013) ได้กล่าวถึงเทคนิคการพัฒนาการคิดสร้างสรรค์ไว้ดังนี้ 1. ฝึกการคิดที่หลากหลาย เริ่มจากการกำหนดหัวข้อที่ต้องการแล้วฝึกการคิดใหม่ ๆ จากหัวข้อนั้น พยายามคิดหลาย ๆ ทางเลือก จากการสืบเสาะ ค้นหาและการสื่อสารให้ความคิดนั้นออกมาให้ผู้อื่นได้รับรู้แล้วก็ บันทึกความคิดเหล่านั้นเชื่อมโยงสิ่งที่คล้ายและสิ่งที่แตกต่าง การฝึกคิดเหล่านี้จะทำให้ความคิดขยายเป็นการฝึก การคิดเบื้องต้นหลังจากที่ได้ความคิดมากพอแล้ว ก็ให้คิดขยายต่อไปอีกว่าเราจะพัฒนาความคิดเหล่านี้ไปข้างหน้า ได้อย่างไร  2. การจัดหมวดหมู่ของความคิด จากการฝึกการคิดที่หลากหลาย ขั้นต่อมาให้หาจุดสมดุลระหว่างความ รวดเร็วในการคิด ก็คือความคิดอย่างคล่องแคล่วและหาความแตกต่างและหลากหลายในการคิดก็คือความคิดที่ ยืดหยุ่น เปรียบเทียบผลการคิดเหล่านั้นแล้วก็รวบรวมความคิดที่ใหม่และก็นำไปใช้ได้จริง 3. สังเกตพฤติกรรมมนุษย์จากการค้นหาความรู้การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้คน สังเกตและฟัง โดยพยายามคิดและรู้สึกถึงความต้องการของผู้คนจากปฏิกิริยา ความชอบ ไม่ชอบของบุคคลแล้วสรุปผลออกมา และคัดเลือกว่าความคิดไหนเป็นความคิดที่ใหม่และน่าแปลกใจที่เราค้นพบ จากการสังเกตและค้นพบแล้วก็ถาม […]

ภาษาไทยเพื่อการสื่อสารร่วมสมัย | Thai for Contemporary Communication

การเข้าใจและพัฒนาทักษะทางภาษาไทยทั้งการรับสารและส่งสาร โดยในด้านการรับสารสามารถพัฒนาทักษะการจับใจความสำคัญจากเรื่องที่อ่านและที่ฟัง การวิเคราะห์เชื่อมโยงประเด็นย่อย ๆ จากเรื่องที่ฟังและอ่านจนเข้าใจและสามารถยกระดับเป็นความรู้ใหม่ การเสนอข้อคิดเห็นหรือให้คุณค่าต่อเรื่องที่อ่านและฟังได้อย่างมีเหตุผลและสอดคล้องกับคุณค่าทางสังคม ในด้านการส่งสารสามารถพัฒนาทักษะการนำเสนอความคิดผ่านการพูดและการเขียนได้อย่างมีประเด็นสำคัญและส่วนขยายที่ช่วยให้ประเด็นความคิดชัดเจนและเป็นระบบ การนำข้อมูลทางสังคมมาประกอบสร้างเป็นความรู้หรือความคิดที่ใหญ่ขึ้น การพูดและการเขียนเพื่อนำเสนอความรู้ทางวิชาการที่เป็นระบบและน่าเชื่อถือ บทที่ 1 ทำความรู้จักกับภาษาและการสื่อสาร ในความเปลี่ยนแปลง อันเป็นอนิจจัง และเป็นพลวัต “การสื่อสารเพื่อความเข้าใจร่วมกัน” ดูจะเป็นกุญแจดอกสำคัญในการดำรงอยู่ด้วยกันอย่างมีความสุข สมานฉันท์ บนหลักการแห่ง..ความเคารพ ความแตกต่าง ความหลากหลาย..ด้วยจุดยืนที่สร้างสรรค์             ความหมายของการสื่อสาร                การสื่อสารว่า คือ กระบวนการที่บุคคลคนหนึ่ง ถ่ายทอดสารไปยังอีกบุคคลหนึ่งและบุคคลหลังมีปฏิกริยาตอบโต้ โดยใช้สัญลักษณ์คือเครื่องหมายทั้งเป็น ภาษาคือคำพูดและภาษาที่ไม่ใช่คำพูด และปฏิสัมพันธ์นั่นคือปฏิกิริยาโต้ตอบระหว่างผู้รับสารและผู้ส่งสาร                จากความหมายดังกล่าวสรุปได้ว่าการสื่อสารเป็นพฤติกรรมหนึ่งของมนุษย์ที่เกิดขึ้นตลอดเวลาในชีวิตประจำวันเช่น เดียวกับพฤติกรรมอื่น ๆ โดยมีผู้เกี่ยวข้องที่สำคัญสองฝ่ายคือ ฝ่ายถ่ายทอดและฝ่ายรับสาร และทั้งสองฝ่ายมีปฏิกิริยาโต้ตอบกันภายใต้สัญลักษณ์ต่าง ๆ และเกิดการตอบสนอง ประเภทของภาษาที่ใช้ในการสื่อสาร วัจนภาษา คณาจารย์โปรแกรมวิชาภาษาไทย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย. (2548) ได้ให้ความหมายของวัจนภาษาไว้ว่า วัจนภาษา คือ ภาษาพูด ภาษาเขียน เป็นภาษาที่มีระบบระเบียบวิธีในการใช้สำนวน อวัจนภาษา หรือภาษาท่าทาง คือ การไม่ใช้ภาษาถ้อยคำเป็นตัวสื่อ ผู้รับสารอาจจะสังเกตจากการมองเห็น น้ำเสียงหนักเบา […]

ประวัติการถ่ายภาพของโลกและในประเทศไทย

ประวัติการถ่ายภาพของโลก          มนุษย์ใช้วิธีการวาดภาพลงบนวัสดุชนิดต่างๆเพื่อใช้เป็นเครื่องบันทึกความทรงจำและใช้เพื่อสื่อความหมาย ซึ่งการวาดภาพนั้นในสมัยโบราณนั้นต้องใช้ระยะเวลานานและไม่เหมือนความเป็นจริงในธรรมชาติทำให้มนุษย์เกิดความคิดที่จะหาวิธีการสร้างสรรค์ภาพโดยใช้ระยะเวลาที่น้อยที่สุดและได้ภาพที่สมบูรณ์เหมือนจริงมากที่สุด จากความพยายามของมนุษย์ดังกล่าวทำให้เกิดกระบวนการถ่ายภาพขึ้น โดยพัฒนาจากศาสตร์ 2 สาขา มาประกอบกัน คือ สาขาฟิสิกส์เกี่ยวกับแสงและกล้องถ่ายภาพ สาขาเคมี เกี่ยวกับสารไวแสงซึ่งในภายหลังได้พัฒนาเป็นฟิล์มถ่ายภาพและน้ำยา สำหรับล้างฟิล์มและน้ำยาสำหรับสร้างภาพ 400 ปี ก่อนคริสตศักราช อริสโตเติล( Aristotle ) นักวิทยาศาสตร์ชาวกรีกได้จดบันทึกไว้ว่า ถ้าปล่อยให้ลำแสงผ่านเข้าทางรูเล็กๆในห้องที่มืดแล้วให้แสงตกกระทบกับกระดาษที่วางห่างจากรูประมาณ 15 ซ.ม จะทำให้เกิดภาพปรากฏบนกระดาษเป็นเงารางๆไม่ชัดเจนมากในลักษณะภาพหัวกลับ ประวัติการถ่ายภาพในประเทศไทย         การถ่ายภาพในประเทศไทยเกิดขึ้นในสมัย พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยการนำมาเผยแพร่ของบาทหลวงแห่งโรมันคาทอลิค ชื่อ ยีน แบบตีสตา ปาลเลกัวซ์ ( Jean Baptiste Pallegoix ) แต่ไม่เป็นที่นิยมของคนไทย เพราะความเชื่อที่ผิดๆว่าถ้าใครถูกถ่ายภาพแล้วอายุจะสั้น หรือจะถูกนำไปทำร้ายด้วยวิธีทางไสยศาสตร์ความเชื่อดังกล่าวนี้มีมาจนถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงเป็นผู้นำในการถ่ายภาพพระบรมฉายาลักษณ์ ทำให้ประชาชนนิยมการถ่ายภาพเจริญรอยตามพระองค์มากขึ้นในเวลาต่อมาประมาณปีพ.ศ.2408ได้มีชาวอังกฤษเข้ามาเปิดร้านรับถ่ายภาพขึ้นที่ย่านถนนเจริญกรุง โดยคิดราคาภาพที่ถ่าย ขนาด 4 นิ้ว ราคา 1 ตำลึงและ ภาพขนาด15 นิ้วราคา 10 ตำลึง […]

การสื่อสารด้วยใยแก้วนำแสง

การสื่อสารด้วยใยแก้วนำแสง ออปติกไฟเบอร์ หรือ ไฟเบอร์ออปติก เป็นแก้วหรือพลาสติกคุณภาพสูง ที่สามารถยืดหยุ่นโค้งงอได้ “ใยแก้วนำแสง” เป็นสายรับ-ส่งสัญญาณชนิดหนึ่งที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในปัจจุบัน โดยถูกใช้ในโครงข่ายการสื่อสารความเร็วสูง และโครงข่ายที่รองรับปริมาณผู้ใช้งานจำนวนมาก เช่น โครงข่ายอินเตอร์เน็ต โครงข่ายโทรศัพท์พื้นฐาน เป็นต้น เนื่องด้วยสายใยแก้วนำแสงอาศัยการเดินทางของคลื่นแสงที่เดินทางด้วยความเร็วสูง จึงสามารถรองรับปริมาณข้อมูลจำนวนมากได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ ยังมีความ ปลอดภัยของข้อมูลที่สูงกว่าสายรับ-ส่งสัญญาณชนิดอื่นอีกด้วย            การสื่อสารใยแก้วนำแสงเป็นระบบการสื่อสารที่ใช้แสงผสมกับข้อมูลที่ต้องการส่งในรูปแบบดิจิตอลแล้วจึงส่งผ่านตัวกลางคือใยแก้วเส้นผ่านศูนย์กลางขนาด 250 ไมครอน ซึ่งมีขนาดเล็กมากทำให้สายเคเบิล 1 เส้น สามารถรวมเอาสายสัญญาณหลายเส้น แสงจะถูกส่งผ่านไปยังตัวรับคือโฟโตดีเทคเตอร์ เพื่อแปลผลค่าสัญญาณจากแสงเป็นสัญญาณไฟฟ้าและใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์แปผลเป็นข้อมูลอีกครั้งหนึ่ง          การสื่อสารผ่านสายใยแก้วนำแสงมีจุดเด่นคือสามารถส่งสัญญาณหลาย ๆช่องไปได้พร้อมๆกันโดยใช้เทคนิคการผสมสัญญาณ (multiplexing) ที่นิยมใช้คือการทำ WDM(wavelength  divisonmultiplexing) เป็นการส่งสัญญาณแต่ละช่องด้วยแสงที่มีความยาวคลื่นต่างกันทำให้สามารถส่งข้อมูลได้มากกว่ามหาศาลเมื่อเทียบกับการสื่อสารผ่านสายทองแดงแบบเดิม ลักษณะของใยแก้วนำแสง           ใยแก้วนำแสงมีองค์ประกอบที่สำคัญ 3 ส่วน ส่วนแรกคือ คอร์ (core) เป็นแก้วทำหน้าที่เป็นแกนนำแสงในใยแก้วมีหน้าที่ส่งผ่านสัญญาณแสง   ส่วนที่สองคือแคลดดิ้ง (cladding) เป็นแก้วเช่นกัน ทำหน้าที่เป็นตัวสะท้อนกลับเพื่อให้แสงไม่สามารถผ่านออกจากคอร์ของใยแก้วได้ และส่วนสุดท้ายคือเปลือกหุ้ม (jacket) ส่วนมากทำด้วยพลาสติก มีหน้าที่เป็นตัวสร้างความแข็งแรงให้แก่ใยแก้วนำแสง ลักษณะที่สำคัญที่ทำให้แสงสามารถเดินทางผ่านใยแก้วนำแสงได้คือหลักการสะท้อน กลับของแสงอันเนื่องมาจากความแตกต่างของดัชนีหักเหของแก้วในส่วนที่เป็น คอร์และแคลดดิ้ง   โดยที่คอร์จะต้องมีดัชนีหักเหมากกว่าแคลดดิ้ง   ส่วนการออกแบบลักษณะของดัชนีหักเห […]

พัฒนาการของคอมพิวเตอร์

พัฒนาการของคอมพิวเตอร์             นับแต่ปี พ.ศ. 2489  เป็นต้นมา  เครื่องคอมพิวเตอร์ได้พัฒนาก้าวหน้ามาโดยลำดับ ทั้งทางแนวความคิดด้านอุปกรณ์หรือฮาร์ดแวร์  และโปรแกรมคำสั่งหรือซอฟต์แวร์จนมาถึงปัจจุบัน  และสำหรับอนาคต  เราสามารถแบ่งการพัฒนาคอมพิวเตอร์เป็นยุคต่าง ๆ  ได้ดังนี้ 1.  ยุคแรก  (พ.ศ. 2487 – 2498)  เป็นช่วงที่ผู้สร้างคอมพิวเตอร์กำลังพัฒนาความคิดและทฤษฎีต่าง ๆ  ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ยังเพิ่งอยู่ในช่วงเริ่มต้น  และอยู่ในวงแคบ           ทั้งด้านการออกแบบวงจรคำนวณและการใช้คำสั่ง  คอมพิวเตอร์ในยุคนี้ใช้หลอดสุญญากาศเป็นหน่วยพื้นฐานของวงจร  หน่วยความจำเป็นรีเลย์หรือเป็นหลอดไฟฟ้าสถิต  ซึ่งทำงานช้าและเสียหายง่าย  ภาษาที่ใช้สำหรับสั่งงานเป็นภาษาระดับต่ำหรือใช้สายไฟฟ้าสำหรับเสียบเพื่อสั่งงาน  เครื่องในยุคนี้  ได้แก่  เครื่อง ENIAC 2.  ยุคที่สอง  (พ.ศ. 2499 – 2508)  คอมพิวเตอร์ในยุคนี้นำทรานซิสเตอร์มาใช้แทนหลอดสุญญากาศส่งผลให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้ดีขึ้น  กินไฟน้อย  ตัวเครื่องมีขนาดเล็กลงและใช้พื้นที่ไม่มากนัก  มีการใช้วงแหวนแม่เหล็กเป็นหน่วยความจำ  มีการเพิ่มอุปกรณ์การรับ – ส่งข้อมูลและการแสดงผลลัพธ์ออกไปในหลายอุปกรณ์  เช่น  การใช้จานแม่เหล็ก  การใช้บัตรเจาะรู  การใช้จอภาพและแป้นพิมพ์  การใช้เครื่องพิมพ์  เป็นต้น  คอมพิวเตอร์ในยุคนี้เริ่มต้นใช้ภาษาระดังสูง  เช่น […]

Data + AI for Communication : PDPA การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เตรียมความพร้อมเพื่อโอกาสทางธุรกิจ

  PDPA (Personal Data Protection Act) หรือ พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ตัวบทกฎหมายได้ถูกร่างและประกาศมาต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2562 ทั้งนี้ มีการกำหนดบังคับใช้งานจริง เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2565 เป็นต้นมา วัตถุประสงค์หลักสำคัญของกฎหมายฉบับนี้ ก็เพื่อคุ้มครองสิทธิข้อมูลของบุคคลโดยไม่ให้บุคคลใดๆ หรือองค์กรใดๆ เก็บข้อมูลบุคคลเพื่อนำไปใช้งานหรือเผยแพร่ต่อ โดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของข้อมูล ทำความเข้าใจกันก่อนข้อมูลส่วนบุคคล หมายถึง ข้อมูลที่เกี่ยวกับตัวบุคคล ที่สามารถระบุหรือเข้าถึงตัวตนหรือบุคคลนั้นๆ ได้ เช่น ชื่อ-สกุล วันเดือนปีเกิด สถานที่เกิด เลขบัตรประจำตัวประชาชน เลขบัตรประกันสังคม ใบอนุญาตขับขี่ บัญชีธนาคาร บัตรเครดิต ที่อยู่ อีเมล และเบอร์โทรศัพท์ เป็นต้น เหล่านี้ ล้วนเป็นข้อมูลส่วนบุคคลที่สามารถเชื่อมโยงถึงตัวบุคคลได้ทั้งสิ้น นอกจากนี้ ยังมีข้อมูลส่วนบุคคลที่มีความละเอียดอ่อน (Sensitive Personal Data) ได้แก่ เชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ ความคิดเห็นทางการเมือง ความเชื่อในลัทธิ ศาสนาหรือปรัชญา พฤติกรรมทางเพศ ประวัติอาชญากรรม […]

เดินคนเดียวเดินได้ไวแต่ถ้าจะเดินให้ไกลต้องเดินด้วยกัน

ปัจจุบันเทคโนโลยีดิจิทัลเกิดขึ้นมากมาย เราสามารถนำเทคโนโลยีเหล่านั้นมาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทํางาน ร่วมกันสร้างสรรค์ผลงาน เครื่องมือที่จะช่วยสนับสนุนการทำงานร่วมกันที่จะกล่าวนี้คือ Google Tool ซึ่งจะช่วยสนับสนุนการทำงานในรูแบบ Collaborative working , Co-working , Co-Creating คือการรวมระหว่าง Collaborative , Co-working , Co-Creating 3 อย่างนี้มารวมกันจะทำงานในรูปแบบ Collaborative working ทำงานร่วมกันแบบเรียลไทม์ การทำงานร่วมกัน เป็นการ แชร์ ไอเดียสร้างไฟล์งาน ปรับแต่ง แก้ไขงาน ให้ความคิดเห็นโดยผ่านทางการเปิดไฟล์ Google Docs , Google Presentation , Google Sheetsสามารถทำงานไปพร้อมกันทันที เชื่อมต่อกันได้ทุกที่ทุกคนทุกเวลา การจัดระเบียบและแบ่งปันไฟล์บน Cloud ในส่วนของ Google ก็จะชื่อว่า Google Drive เราสามารถสร้าง Folder ให้คนทำงานเก็บงานไว้ใน Folder และสามารถกำหนดสิทธิ์ต่าง ๆ เช่นกำหนดสิทธิ์ให้ดูได้อย่างเดียว , […]

การนำ Application ไปวางให้บริการบน Google play store

Google play store ก็เปรียบเสมือนเป็นตลาดที่เป็นตัวกลางเพื่อให้นักพัฒนาเอา application หรือว่าเอาเกมส์ที่พัฒนาเสร็จแล้วขึ้นไปวางขาย ให้ผู้ใช้ ดาวน์โหลดไปใช้งานหรือซื้อไปใช้งานวิธีการที่จะเอา Applicationขึ้นไปวางบน Google play store การเอา Application ไปปวางบน Google play store เข้าไปที่ เว็บไซต์ play.google.com/app/publish ให้สมัคร Gmail และจ่ายค่าสมัครในการเป็น New vaulter อยู่ที่ราคาประมาณ 700 บาท หลังจากนั้นก็จะมาเริ่มสร้าง Application ใหม่บน Google play store ทำได้โดยการกดที่ปุ่มสร้าง Application ข้อมูลที่เราต้องกรอกก็คือภาษาเริ่มต้นตรงนี้ถ้ากลุ่มเป้าหมายของเราเป็นคนไทยก็ให้เลือกที่เป็นไทยและก็ใส่ชื่อของ Application ของเราลงไปตรงนี้มีชื่อเรียกว่า UX UI basic เป็น Application พื้นฐานในการเรียน UX UI สมมุติเอาละกัน จากนั้นก็กดปุ่มสร้าง ข้อมูลผลิตภัณฑ์ใน Play store ให้เราสังเกตดูด้านซ้ายก่อนนิดนึงตรงเมนูด้านซ้าย ตรงไหนที่เป็นลูกศรถูก […]

การผลิตสื่อกราฟิกอย่างมืออาชีพ Graphic Design Crash Course

การผลิตสื่อกราฟิกอย่างมืออาชีพ จะทำให้ผู้ศึกษาได้เห็นภาพรวมของการออกแบบกราฟิกเพื่อการนำเสนอ ความหมาย องค์ประกอบและประโยชน์ของอินโฟกราฟิก ประเภทของอินโฟกราฟิก กระบวนการออกแบบอินโฟกราฟิก การสร้างอินโฟกราฟิกอย่างมีประสิทธิภาพ ข้อควรระวังในการออกแบบอินโฟกราฟิก โปรแกรมสำหรับการสร้างสื่อนำเสนออินโฟกราฟิก หลายคนคงได้ยินคำว่าอินโฟกราฟิก Infographic กันบ่อยมากในช่วงนี้ทั้งในเว็บไซต์เครือข่ายสังคมออนไลน์และสื่อสาธารณะทั่วไป Infographic มาจากคำ 2 คำ ผสมเข้าด้วยกัน คือ คำว่า Information และ Graphic ซึ่งหมายถึง การนำเสนอสารสนเทศที่มีการใช้ภาพกราฟิกมาแทนที่ข้อมูลตัวอักษรหรือตัวเลขเป็นการย่นย่อข้อมูล ตัวอักษรหรือตัวเลขจำนวนมากมาใช้ภาพกราฟิกในการสรุปเนื้อหาให้สั้นกระซับและเข้าใจง่ายเพียงกวาดตามองซึ่งเหมาะสำหรับคนในยุค IT ที่ต้องการเข้าถึงข้อมูลที่ซับซ้อนและมีจำนวนมากในเวลาอันรวดเร็วก่อนที่พวกเขาจะเบื่อหน่ายเสียก่อน ดังนั้นอินโฟกราฟิกจึงเปรียบเหมือนเป็นผู้ช่วยเข้ามาจัดการกับข้อมูล-ตัวเลข-ตัวอักษรที่เรียงรายเป็นจำนวนมากเหมือนยาขมให้กลายร่างมาเป็นภาพที่สวยงามการสร้างผลงานด้านอินโฟกราฟิกจึงถือเป็นการเปิดโอกาสให้กราฟิกดีไซเนอร์ได้แสดงทักษะการสื่อสารอย่างเต็มที่เพราะอันที่จริงแล้วการแปลงข้อมูลให้ออกมาเป็นภาพกราฟิกก็เป็นสิ่งที่คนทำกันมาตลอดไม่ว่าจะเป็นภาพถ่าย ภาพวาด กราฟิก กราฟรูปทรงต่าง ๆ ตาราง แผนที่ แผนผัง หรือไดอะแกรม แต่ทักษะทางด้านอินโฟกราฟิกนั้น จำเป็นต้องจัดระเบียบข้อมูล ที่ทั้งมากและหลากหลาย ให้จบได้ในภาพเดียว ประโยชน์ของภาพอินโฟกราฟิก                 ภาพอินโฟกราฟิกที่ดีย่อมสามารถถ่ายทอดเนื้อหาความรู้หรือข่าวสารต่างๆให้ผู้ดูภาพรับรู้ข้อมูลที่ผู้ถ่ายทอดต้องการจะสื่อสารไปยังผู้ดูภาพจากการมองภาพเพียงภาพเดียวซึ่งหลักการนี้สามารถที่จะนำไปประยุกต์ให้เกิดประโยชน์ได้อย่างมากมาย เช่น การนำเสนอเนื้อหาที่ยากต่อความเข้าใจให้เป็นข้อมูลที่เข้าใจได้ง่าย การถ่ายทอดเนื้อหาที่เป็นนามธรรมให้เป็นรูปธรรม การโฆษณาสินค้า บริการต่างๆ รวมไปถึงการอธิบายผลการสำรวจโพล์และผลงานวิจัย เป็นต้นโดยเฉพาะในด้านการศึกษาที่มีเนื้อหาประเภทที่ต้องการการอธิบายที่มีลักษณะเป็นนามธรรมผู้เรียนเข้าใจได้ยากและต้องการการอธิบายขั้นตอนอย่างกระชับรวดเร็ว นอกจากนี้ ยังสามารถใช้ในการนำเสนอเนื้อหาที่เน้นการเปลี่ยนแปลงทางเจตคติเพื่อรณรงค์ให้ผู้เรียนเกิดการเปลี่ยนแปลงทางความคิดและพฤติกรรม ตัวอย่างของอินโฟกราฟิกที่น่าสนใจอย่างเช่นภาพอินโฟกราฟิก การให้บริการเครือข่ายไร้สาย Jumbo Plus ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ตัวอย่างอินโฟกราฟิกเรื่อง รู้สู้ Flood ที่ให้ความรู้ในเรื่องของการเตรียมพร้อมรับมือกับสภาวะน้ำท่วมอย่างมีสติและเข้าใจมีเนื้อหาและวิธีการอธิบายที่เข้าถึงชาวบ้านประชาชนอย่างรวดเร็วโดนใจกลุ่มวัยรุ่นหรือเยาวชนในยุคดิจิตอลและให้ความสำคัญเรื่องน้ำท่วมว่าเป็นอย่างไรและตัวอย่างอินโฟกราฟิกที่ได้รับความนิยม Did you Know? ที่ให้ความรู้ในเรื่องต่างๆ ที่อยู่ในความสนใจของผู้คนโดยเฉพาะในเรื่องการสถิติต่างๆ ประเภทของอินโฟกราฟิก                 เราจึงแบ่งประเภทของอินโฟกราฟิกออกได้เป็น 3 ประเภท คือ 1. อินโฟกราฟิกที่แบ่งตามความสลับซับซ้อน 2. การแบ่งตามการออกแบบเลย์เอาท์ Layout 3. การแบ่งตามวัตถุประสงค์ในการใช้งาน                 โดยแต่ละประเภทมีรายละเอียดอย่างไรกันบ้าง ตามมาอ่านกันได้เลยครับ ประเภทที่ 1 อินโฟกราฟิกที่แบ่งตามความสลับซับซ้อน                 โดย Randy Krum กล่าวไว้ในหนังสือ Cool Infographics Effective Communication with Data Visualization and Design ซึ่งแบ่งได้เป็น 6 ลักษณะดังนี้ครับ 1. ภาพนิ่ง เป็นแบบที่เรียบง่ายและพบเห็นได้ทั่วไปมากที่สุดนิยมเผยแพร่ออนไลน์โซเชียลมีเดียต่างๆ หรือ พิมพ์ลงกระดาษมักอยู่ในรูปของไฟล์ JPG PNG GIF และ PDF เป็นต้น 2. ซูมมิ่ง เป็นแบบที่เพิ่มส่วนต่อประสานเข้าไปอีกชั้นเพื่อให้เกิดการโต้ตอบกับอินโฟกราฟิก คุณสมบัติหลักของงานประเภทนี้ คือ การอนุญาตให้ผู้ใช้สามารถเข้าไปดูเพื่ออ่านรายละเอียดของข้อมูลเนื้อหาได้มักพบในการออกแบบดิจิตัลแบนเนอร์ หรือโปสเตอร์ใหญ่ๆ ข้อได้เปรียบของอินโฟกราฟิกประเภทนี้ […]

การสร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์หรือ e-book

เทคโนโลยีมีความก้าวหน้าในทุกรูปแบบหนังสือ ที่ถือว่าเป็นสื่อสำคัญที่ถูกใช้ในการเรียนการสอนมาตั้งแต่อดีตจึงต้องได้รับการพัฒนาให้เข้ากับสังคมการ เรียนรู้ในปัจจุบันให้มากยิ่งขึ้นเพราะฉะนั้นแล้วการสร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์หรือ e-book เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ให้มีความน่าสนใจและเข้ากับยุคสมัยมากยิ่งขึ้น e-book มักนำเสนอข้อมูลหนังสือที่พร้อมเป็นสื่อมัลติมีเดียที่มีทั้งภาพและเสียงซึ่งทำให้แตกต่างจากหนังสือธรรมดาทั่วไปส่วนมากจะพบเจอในรูปแบบของไฟล์เอกสารหรือ pdf ซึ่งสามารถดาวน์โหลดผ่านอินเตอร์เน็ตสามารถเปิดอ่าน ได้จากอุปกรณ์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น คอมพิวเตอร์แท็บเล็ตรวมไปถึง Smart Phone ที่ใช้เป็นประจำในชีวิตประจำวันมีประโยชน์มากมายโดยเฉพาะด้านการศึกษาเป็นสื่อการเรียนการสอนที่สามารถช่วยสอนในสิ่งที่เราจะยากให้ง่ายขึ้น ปัจจุบันเริ่มมีผู้นำพัฒนาสร้างเป็นโปรแกรมสำเร็จรูปไม่ว่าจะเป็น Desktop Author , Flip Album หรือ Flash เป็นต้น สามารถเพิ่มภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหววีดีโอ เสียงเพลงต่าง ๆ และสามารถตอบโต้กับผู้เรียนได้ ทำให้มีการส่งเสริมการอ่านมากยิ่งขึ้น หนังสืออิเล็กทรอนิกส์แบ่งได้เป็น 4 ประเภทดังนี้ 1. Hyper Text Markup หรือ HTMLเป็นแบบที่ได้รับความนิยมสูงสุดออกแบบมาเพื่อสร้างหน้าเว็บ 2. Portable Document Format หรือ PDF เป็นอีกรูปแบบหนึ่งที่ได้รับความนิยม ไฟล์ PDF สามารถดาวน์     โหลดได้จาก Internet และพกพาไปไหนก็ได้ในอุปกรณ์หลาย ๆ […]

การสร้างสรรค์สื่อดิจิทัลบนเครือข่ายสังคมออนไลน์

ในปัจจุบันการสร้างสรรค์สื่อดิจิทัลบนเครือข่ายสังคมออนไลน์กลุ่มคนเหล่านี้ก็ค่อนข้างจะมีเพิ่มปริมาณมากขึ้นเพราะว่า โลกในยุคปัจจุบันมันค่อนข้างจะสะดวกสบายในเรื่องของการนำเสนอสิ่งที่เป็นเนื้อหา เป็นข้อมูล สิ่งต่าง ๆ ที่ถือว่าเป็นเป็นปัจจัยหนึ่งของการดำรงชีวิตนะครับ ก็สามารถจะถ่ายทอดลงในรูปแบบต่าง ๆ มากมายในส่วนของรูปแบบที่ เราจะเห็นอยู่ในยุคปัจจุบัน สามารถแบ่งเรื่องของรูปแบบของรายการที่อยู่บนเครือข่ายสังคมออนไลน์แบ่งออกได้โดยประมาณ 7 รูปแบบด้วยกัน 1. Publish ก็คือกลุ่มที่เน้นในเรื่องของการนำเสนอในเรื่องของการเผยแพร่ข้อมูล การเผยแพร่ในส่วนของบทความต่าง ๆ ก็จะเป็นกลุ่มของ Publish ซึ่งก็จะเน้นในเรื่องของข้อมูล บทความต่าง ๆ 2. Share ในส่วนของการ Share ก็จะเน้นในเรื่องของการที่ ผู้คนเอาข้อมูลข่าวสารมาเผยแพร่ มาแบ่งปันกันในสังคมออนไลน์นะครับ รวมไปถึงการแบ่งปันความรู้ต่าง ๆ รายการหลายรายการเลยที่เอาความรู้นะครับ เอาเรื่องของความถนัด เอาเรื่องของสาระความรู้ต่างๆ รวมไปถึงรูปภาพ คลิปวิดีโอ ซึ่งเอามาแชร์ให้สังคมได้รับรู้ การถ่ายทอดในเรื่องขององค์ความรู้ของตัวเองเอาความรู้มาเล่าให้คนอื่นฟัง มานำเสนอให้คนอื่นฟัง แลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน ถือว่าเป็นการแชร์ความรู้ต่าง ๆ ซึ่งก็มีมากมายหลากหลายรูปแบบการแบ่งปันความรู้กันในส่วนของ โลกในยุคปัจจุบัน หรือว่าเครือข่ายสังคมออนไลน์ 3. Discuss ซึ่งหลายคนก็อาจจะทำในลักษณะที่นำประเด็นปัญหาของสังคมในยุคปัจจุบันเอามาตีแผ่เผยแพร่ออกมาทำให้ผู้คนที่เข้าไปชมได้พบเห็นในเรื่องของ ประเด็นปัญหาเหล่านี้ในสังคมก็แชร์ความรู้หรือว่าแชร์ประสบการณ์ที่ตัวเองเข้าไปเป็นการแลกเปลี่ยนความคิด ซึ่งกันและกันในสังคมใครเข้าไปแชร์ความคิด เข้าไป ช่วยแก้ หรือว่าช่วยตอบปัญหาที่มันมีประเด็นอยู่ในสังคมอะไรอย่างนี้ ก็ถือว่าเป็นการระดมเอาความคิดนั้นมาช่วยกันแก้ปัญหาปัญหาสังคม […]

จิตวิทยาข้ามวัฒนธรรมในที่ทำงาน Cross-Cultural Psychology at work

โลกทุกวันนี้ไม่ว่าอยู่กันไกลแค่ไหนก็เหมือนจะมาบรรจบใกล้กัน โดยเฉพาะมนุษย์ในทุกวันนี้เราจะเห็นว่าทุกชาติทุกเผ่าพันธุ์ทุกภาษาก็มีโอกาสที่จะได้มาพบกันโดยเฉพาะในสถานที่ทำงานไม่ว่าจะเป็นองค์กรภาครัฐหรือองค์กรภาคเอกชน ดังนั้น การศึกษาเรื่องการข้ามวัฒนธรรมโดยในเฉพาะในแง่จิตวิทยาจึงเป็นเรื่องที่ทวีความสำคัญขึ้นมาเรื่อย ๆ แบบที่ว่าควรจะหันมาศึกษาอย่างจริงจังก็ว่าได้ ความหมาย ความสำคัญ และอิทธิพลของวัฒนธรรมของชาติต่อการทำงานร่วมกันของบุคคลในที่ทำงาน ความเชื่อในชาติพันธุ์นิยม ความฉลาดทางวัฒนธรรมและสมรรถนะทางวัฒนธรรมของบุคคล การสื่อสารและความสัมพันธ์ข้ามวัฒนธรรมในที่ทำงานและการบริหารจัดการความขัดแย้ง วัฒนธรรมองค์กร ผู้นำและการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ล้วนเป็นประเด็นที่น่าสนใจและควรศึกษาเอาไว้ทั้งนี้ก็เพื่อที่ว่า 1. เข้าใจถึงเรื่องแนวคิดของวัฒนธรรมของชาติและความสำคัญของการศึกษาวัฒนธรรมของชาติในที่ทำงาน 2. เข้าใจเรื่องปัจจัยทางวัฒนธรรมในระดับบุคคลที่สำคัญต่อการทำงานร่วมกับบุคคลจากวัฒนธรรมที่แตกต่าง 3. เข้าใจเกี่ยวกับการสื่อสารและความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลที่สำคัญในวัฒนธรรมที่แตกต่าง 4. เข้าใจถึงองค์ประกอบขององค์กรที่สำคัญต่อการทำงานร่วมกับบุคคลจากวัฒนธรรมที่แตกต่าง ทีนี้เราก็ควรที่จะมาทำความรู้จักเกี่ยวกับลักษณะหลักของวัฒนธรรมกันก่อน วัฒนธรรม คือ ชุดของวัตถุที่มนุษย์จัดทำขึ้น ทัศนคติ ค่านิยม ความเชื่อ และพฤติกรรมของกลุ่มคน แต่อาจจะมีความแตกต่างกันออกไปในรายบุคคล ซึ่งถูกสื่อสารและถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่น (Matsumoto, 1996)  ลักษณะหลักของวัฒนธรรม โดยมีอยู่ 4 ประการด้วยกัน ดังนี้ 1. วัฒนธรรมเกิดจากการเรียนรู้ 2. วัฒนธรรมเป็นสิ่งที่มีร่วมกัน 3. วัฒนธรรมมีการเปลี่ยนแปลง 4. วัฒนธรรมมีความเชื่อมโยง             วัฒนธรรมเป็นแบบแผนที่ซับซ้อนของความคิด อารมณ์ และการประจักษ์ที่สังเกตเห็นได้แล้วที่เป็นสัญลักษณ์ โดยวัฒนธรรมนี้สามารถแบ่งออกเป็น 6 ระดับตามระดับของกลุ่มการมีปฏิสัมพันธ์ของมนุษย์ ดังนี้ 1.วัฒนธรรมระดับชาติ (National Culture) […]

กินดีมีสุข

เคล็ดลับง่าย ๆ กับการรับประทานอาหารอย่างสุขภาพดี          ดังคำกล่าวที่สุขภาพดีเริ่มด้วยการกิน นอกจากการกินอาหารครบ 5 หมู่แล้ว การเลือกสรรอาหารที่ดีและมีประโยชน์ที่สุดก็สำคัญไม่น้อย โดยเลือกรับประทานอาหารที่มีไขมันหรือน้ำตาลสูงแต่น้อย เลี่ยงการรับประทานหนังหรือไขมันของสัตว์ และใช้กระบวนการทำให้สุกด้วยการอบ ปิ้ง หรือย่าง หากต้องใช้น้ำมันควรเลือกน้ำมันจากไขมันไม่อิ่มตัว เช่นน้ำมันมะกอกเป็นต้นโดยเลือกให้ตรงกับประเภทการปรุง เลี่ยงหรือลดปริมาณโซเดียมหรือเกลือจากอาหาร โดยปริมาณเกลือที่ควรได้รับนั้นอาจพบได้จากในอาหารคิดเป็น 3 ใน 4 ส่วน ส่วนที่เหลือก็คือเกลือที่ใช้ปรุงรสอาหารเพิ่มเติม ซึ่งหากได้รับเกลือมากไปจะส่งผลให้มีระดับความดันโลหิตเพิ่มสูง เสี่ยงต่อโรคหัวใจและโรคหลอดเลือดสมองตามมาได้ ทางที่ดีใช้เกลือปรุงอาหารเพียงเล็กน้อย อ่านฉลากโภชนาการเพื่อหลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์อาหารที่มีโซเดียมสูง กินน้ำเยอะ ๆ วันละ 6-8 แก้ว โดยนับรวมได้ทั้งน้ำเปล่า นม และเครื่องดื่ม ชา กาแฟ ว่าด้วยเรื่อง อาหารหลัก 5 หมู่ ก็คือ กลุ่มอาหาร 5 ประเภทที่ร่างกายควรได้รับในแต่ละวัน ซึ่งเป็นสารอาหารที่จำเป็น และมีประโยชน์ต่อร่างกาย 1. โปรตีน อาหารประเภทเนื้อสัตว์ ปลา ไข่ นม ถั่ว สาหร่าย […]

กุญแจสู่ความสำเร็จในการจัดการธุรกิจในยุคดิจิทัล

ในการจัดการธุรกิจยุคดิจิทัล ทุกธุรกิจย่อมต้องการความสำเร็จ ลูกค้าคือคนสำคัญและความ ต้องการของลูกค้าคือ Black Box ความท้าทายของการจัดการในยุคดิจิทัล 4.0 หน้าที่ของธุรกิจก็คือหาเทคนิควิธีการอะไรก็ได้ที่จะทำให้ธุรกิจมุ่งสู่ความสำเร็จนั่นเอง ซึ่งขอนำเสนอเทคนิคที่จะทำให้ทุกธุรกิจประสบความสำเร็จในการจัดการยุคดิจิทัล ดังนี้ 4 F 1. Focus Focus คือเน้นไปที่ลูกค้า เพราะลูกค้าคือคนสำคัญ ต้องรู้ว่าลูกค้าเป้าหมายต้องการอะไร เพราะลูกค้าคือคนที่นำรายได้มาสู่ธุรกิจ ต้องรู้ว่า อะไรคือความคาดหวังของลูกค้าเป้าหมาย ธุรกิจต้องคาดการณ์ ต้องเข้าถึงความต้องการของลูกค้าให้ได้ ควรจะต้องนำเสนอในสิ่งที่มากกว่าความคาดหวังของลูกค้า นอกจากนี้ธุรกิจต้องรู้ว่าอะไรคือ Pain Point ของลูกค้า ทำให้ธุรกิจเข้าใจถึง Pain Point ปัญหาที่ลูกค้ามี ธุรกิจสามารถได้ข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการแก้ปัญหาในเบื้องต้น ที่ลูกค้าใช้เพื่อตอบสนองความต้องการของตัวเองหรือเพื่อแก้ปัญหาบางประการการที่ธุรกิจจะรู้ว่า สิ่งที่ธุรกิจจะต้องทำนั่นก็คือการทำ Customer Insight  ก็คือการศึกษาลูกค้าแบบเจาะลึก การจะทำ Customer Insight อาจจะใช้วิธีการไปทำการวิจัยซึ่งถ้าธุรกิจทำวิจัย ธุรกิจอาจจะต้องลงทุนค่อนข้างที่จะเยอะ ที่จะทำให้ธุรกิจสามารถศึกษาความต้องการในเชิงลึกของลูกค้าโดยใช้ระยะเวลาไม่นานนัก และต้นทุนค่าใช้จ่ายไม่สูงมาก นั่นก็คือการทำ Customer persona ซึ่งจะทำให้ธุรกิจได้ข้อมูลของลูกค้าเป้าหมายในเชิงลึก Customer Persona เป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งที่จะทำให้ธุรกิจสามารถสกัดความต้องการของลูกค้าออกมาเป็นประเด็นต่าง ๆ จะดีกว่าไหมถ้าธุรกิจสามารถนำเสนอนวัตกรรมไปยังลูกค้าจนทำให้ธุรกิจเป็นเจ้าแรกและเป็นหนึ่งในใจลูกค้า […]

Design Thinking ความคิดเชิงออกแบบ

        “Design Thinking  ไม่ใช่สิ่งที่เราต้องรู้ แต่เป็นสิ่งที่เราต้องทำให้เป็น” นี่คือ Key Word สำคัญที่จะทำให้เราสามารถสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ ๆ ขึ้นมาได้ ดังนั้น Design Thinking จึงเป็นทักษะที่ต้องฝึกฝน ไม่ใช่เพียงการท่องจำ ว่า Design Thinking มีกี่ขั้นตอน แต่ละขั้นตอนคืออะไร ถ้าเรามัวแต่ท่องจำก็ไม่สามารถที่จะคิดเชิงออกแบบได้         ส่วนคำว่า นวัตกรรม คือ การที่สิ่งนั้นไม่มี แล้วเราทำให้สิ่งนั้นเกิดขึ้น และสามารถทำให้คนทั่วไปเชื่อถือหรือใช้ในสิ่งนั้น ๆ นั่นเอง        ต่อไปเป็นคำว่า Innovation สามารถสรุปได้ดังนี้ Innovation ก็คือ สิ่งที่สร้างขึ้นมา แล้วทำให้คนเก็บประโยชน์ และใช้สิ่งนั้นนั่นเอง         ***สิ่งสำคัญของนวัตกรรม คือ ต้องมีประโยชน์ และต้องมีคนใช้        ***นวัตกรรม เริ่มต้นที่ เราจะแก้ปัญหาอะไร ตอบโจทย์ผู้ใช้ได้อย่างไร         Design Thinking ประกอบไปด้วย 5 องค์กระกอบ คือ Empathize, Define, Ideate, Prototype และ Test […]

Back To Top