“Design Thinking  ไม่ใช่สิ่งที่เราต้องรู้ แต่เป็นสิ่งที่เราต้องทำให้เป็น” นี่คือ Key Word สำคัญที่จะทำให้เราสามารถสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ ๆ ขึ้นมาได้ ดังนั้น Design Thinking จึงเป็นทักษะที่ต้องฝึกฝน ไม่ใช่เพียงการท่องจำ ว่า Design Thinking มีกี่ขั้นตอน แต่ละขั้นตอนคืออะไร ถ้าเรามัวแต่ท่องจำก็ไม่สามารถที่จะคิดเชิงออกแบบได้

        ส่วนคำว่า นวัตกรรม คือ การที่สิ่งนั้นไม่มี แล้วเราทำให้สิ่งนั้นเกิดขึ้น และสามารถทำให้คนทั่วไปเชื่อถือหรือใช้ในสิ่งนั้น ๆ นั่นเอง
        ต่อไปเป็นคำว่า Innovation สามารถสรุปได้ดังนี้ Innovation ก็คือ สิ่งที่สร้างขึ้นมา แล้วทำให้คนเก็บประโยชน์ และใช้สิ่งนั้นนั่นเอง

        ***สิ่งสำคัญของนวัตกรรม คือ ต้องมีประโยชน์ และต้องมีคนใช้
        ***นวัตกรรม เริ่มต้นที่ เราจะแก้ปัญหาอะไร ตอบโจทย์ผู้ใช้ได้อย่างไร

        Design Thinking ประกอบไปด้วย 5 องค์กระกอบ คือ Empathize, Define, Ideate, Prototype และ Test แต่ในบทเรียนผู้สอนได้จัดกลุ่ม Design Thinking ออกเป็น 3 กลุ่มหลัก ๆ คือ

        1. Empathize และ Define คือ การหาปัญหาที่ถูกต้องก่อนลงมือแก้

        ซึ่งคนที่จะสร้างนวัตกรรมได้ จะต้องมองในมุมมองของลูกค้า ไม่ใช่การมองในมุมมองของผู้สร้าง โดยยึดหลัก “รู้สึก อย่างที่ เขารู้สึก  (Feel what other feels )” ให้ได้ จะต้องเข้าใจลูกค้าอย่างลึกซึ้ง (Empathize) โดยใช้วิธีการ Immerse (การสวมรอย) การจำลองเป็นลูกค้าหรือผู้ใช้นั่นเอง และหากเราต้องการเข้าใจความรู้สึกของผู้ใช้บริการหรือลูกค้า สามารถทำได้ 3 วิธีด้วยกัน คือ สังเกตการณ์ สวมรอย และพูดคุย

        2. Ideate คือ สร้างทางแก้ปัญหาหลาย ๆ ทาง

        ซึ่ง Ideate มาจากคำ 2 คำ คือ Idea + Create หมายถึง การสร้างไอเดียให้จำไว้ว่า “การเอาคนที่แตกต่างกันมาพูดคุยกัน ก็จะได้ไอเดียใหม่ ๆ เกิดขึ้น มากกว่าการที่เอาคนกลุ่มเดียวกันมาพูดคุยกันเพื่อหาไอเดียใหม่ ๆ”
        นอกจากนี้ไอเดียไม่ได้เกิดในห้องประชุมเท่านั้น แต่ไอเดียวสามารถเกิดขึ้นได้ในทุก ๆ ที่สิ่งสำคัญ คือ เราต้องสร้างสภาพแวดล้อมที่พร้อมให้คนเราเหล่านั้น ได้ออกมาพบปะ พูดคุย แลกเปลี่ยนไอเดียกันให้ได้ ซึ่งไอเดียที่ดี มาจากไอเดียที่เยอะ ๆ

        3. Prototype & Test สร้างแบบจำลองเพื่อทดสอบตลาด และรับข้อคิดเห็นจากผู้ใช้งาน

ดังนั้นวิธีการคิดเชิงออกแบบ หรือ Design Thinking จึงสรุปสั้น ๆ ได้ดังนี้
        1. ถามคำถาม ว่าทำไมถึงเป็นแบบนี้ ถามเหมือนตอนที่เราเป็นเด็ก
        2. คิดนอกรอบ โดยเน้นปริมาณ
        3. ลงมือทำ ลองทำซ้ำไปเรื่อย ๆ

      

สรุปความจากรายวิชา Thai MOOC : BMD1001 Design Thinking (https://thaimooc.org/course/THAIMOOC%3A%3ABMD1001)

Visits: 358

Comments

comments