ในกระบวนการเสนอประมวลรายวิชาและโครงสร้างรายวิชาออนไลน์บนระบบ Thai MOOC ต่อกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เพื่อขอใช้พื้นที่เปิดรายวิชาออนไลน์ผ่านระบบ Thai MOOC นั้น พบว่าอาจารย์ผู้ประสานงานรายวิชาหรืออาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชาที่ไม่เคยมีประสบการณ์การผลิตรายวิชาออนไลน์บนระบบ Thai MOOC หรือไม่เคยมีประสบการณ์ในการจัดทำเอกสารประมวลรายวิชาและโครงสร้างรายวิชา ผู้ประสานงานซึ่งทำหน้าที่ตรวจสอบเอกสารก่อนที่จะนำส่งให้กับกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จะพบกับปัญหาการจัดทำเอกสารประมวลรายวิชา การ Design โครงสร้างรายวิชา และการคำนวณจำนวนชั่วโมงการสอน จำนวนชั่วโมงของสื่อวีดิทัศน์ในเอกสารประมวลรายวิชาให้ตรงตามข้อกำหนดและเกณฑ์การพิจารณาเอกสาร ส่งผลให้การจัดทำเอกสารดังกล่าวมีความล่าช้า อีกทั้งส่งผลให้กระบวนการตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารจะต้องใช้เวลาในการตรวจสอบและแก้ไขข้อมูลภายในเอกสารให้ถูกต้อง            ดังนั้นเพื่อให้อาจารย์ผู้ประสานงานรายวิชาหรืออาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชาสามารถจัดทำเอกสารดังกล่าวได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว รวมถึงลดระยะเวลาและจำนวนครั้งในการตรวจสอบ แก้ไข ความถูกต้องของเอกสารประมวลรายวิชาและโครงสร้างรายวิชา ทางผู้พัฒนาจึงได้ทำการรวบรวมข้อมูลความผิดพลาดที่เกิดขึ้นในขั้นตอนของการตรวจสอบคุณภาพเอกสารประมวลรายวิชาและโครงสร้างรายวิชา จนได้ข้อสรุปถึงข้อผิดพลาดที่พบบ่อยครั้ง จึงได้ออกแบบและจัดทำ Template สำหรับคำนวณจำนวนชั่วโมงการเรียนรู้ และจำนวนชั่วโมงสื่อวีดิทัศน์ขึ้นเพื่อใช้ในเขียนข้อมูลเอกสารที่ 2 โครงสร้างรายวิชา ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในเอกสารประมวลรายวิชา สำหรับการผลิตบทเรียนออนไลน์บนระบบ Thai MOOC วัตถุประสงค์           1. เพื่อลดความผิดพลาดในการจัดทำข้อมูลจำนวนชั่วโมงการเรียนรู้และจำนวนชั่วโมงสื่อวีดิทัศน์ในเอกสารที่ 2 โครงสร้างรายวิชา (เอกสารประมวลรายวิชา) สำหรับการผลิตบทเรียนออนไลน์บนระบบ ThaiRead More →

          Thai MOOC คือ แพลตฟอร์มที่สนับสนุนด้านการจัดการเรียนการสอนออนไลน์แบบเปิด (Thailand Massive Open Online Course) ซึ่งอยู่ภายใต้การกำกับของโครงการพัฒนามหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มช่องทางการเรียนรู้ที่มีมาตรฐานให้กับประชาชนไทย ให้สามารถเรียนได้ฟรีและเข้าถึงแหล่งเรียนรู้ได้ทุกที่ทุกเวลา ผ่านการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ ให้เกิดเป็น “การเรียนรู้ตลอดชีวิต” (Lifelong Learning) เพื่อพัฒนาศักยภาพคนไทยทั้งการ Upskill และ Reskill ให้พร้อมสู่การทำงานยุคใหม่           ซึ่งรายวิชาใน Thai MOOC นั้นจะผลิตโดยผู้เชี่ยวชาญในเรื่องนั้น ๆ จากคณาจารย์ในสถาบันการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ หรือผู้เชี่ยวชาญที่มาจากองค์กร หน่วยงานภาครัฐและเอกชน รวมทั้งผู้เชี่ยวชาญในสาขาวิชาชีพต่าง ๆ ทำให้รายวิชาใน Thai MOOC มีเนื้อหาที่หลากหลาย เหมาะสำหรับการเรียนรู้ในยุคปัจจุบัน ซึ่งทั้งรายวิชาในกลุ่มของสุขภาพและการแพทย์, คณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์, คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยี, วิศวกรรมและสถาปัตยกรรม, การศึกษาและการฝึกอบรม, ธุรกิจและการบริหารจัดการ, สังคมRead More →

7 เทคนิคน่ารู้เกี่ยวกับการออกแบบ Infographic ให้น่าสนใจ มีดังนี้          1. ออกแบบ Infographic ให้เหมาะกับกลุ่มเป้าหมาย เช่น ถ้าจะออกแบบ Infographic ให้เด็ก ๆ ดูก็อาจเลือกใช้ตัวการ์ตูนที่มีสีสันสดใสเป็นส่วนประกอบ เป็นต้น         2. ออกแบบ Infographic ให้เหมาะกับการแสดงผล ก่อนออกแบบ Infographic ต้องรู้ว่าจะนำไปแสดงผลที่ใด อย่างไร เช่น การแสดงผลผ่านเว็บ ผ่านแอปฯ ในสมาร์ตโฟน จากนั้นก็ออกแบบขนาดของ Infographic ให้เหมาะสม         3. ออกแบบให้ง่าย ทั้งดูง่าย อ่านง่าย และเข้าใจง่าย พยายามลดความซับซ้อนต่าง ๆ ลงอะไรที่ไม่จำเป็น หรือไม่ได้ช่วยให้ Infographic นั้นดูน่าสนใจ ก็ควรตัดทิ้งไป         4. สร้างความสมดุลระหว่างตัวหนังสือกับภาพกราฟิก คือ มีส่วนที่เป็นตัวหนังสือ และส่วนที่เป็นภาพกราฟิกในปริมาณพอเหมาะพอดีไม่ใช่เต็มไปด้วยตัวหนังสือหรือมีแต่ภาพโดยแทบไม่มีตัวหนังสือเลย บางครั้งการมีเพียงภาพอย่างเดียว ก็อาจจะทำให้ตีความหมายผิดได้ หากเราเลือกภาพที่ไม่ชัดเจนนัก         5. หัวเรื่องต้องน่าสนใจโดดเด่น ข้อความที่คนส่วนใหญ่จะอ่านก่อนในRead More →

          Padlet คือ เว็บไซต์ที่ให้บริการกระดานแสดงความคิดเห็นออนไลน์ที่สามารถรองรับผู้ใช้ได้หลาย ๆ คน โดย Padlet นั้นจะมีลักษณะการใช้เป็นกระดาษโน้ตออนไลน์ที่จะช่วยให้ผู้ใช้งานแปะความคิดเห็นทั้งในรูปแบบของข้อความ รูปภาพ เสียง วิดีโอ และลิงก์เว็บไซต์ Padlet ยังสามารถใช้เป็นช่องทางในการอภิปรายแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร เขียนคำถาม คำตอบ หรือสรุปเนื้อหาร่วมกันได้ อีกทั้งยังสามารถแบ่งปันไฟล์หรือแม้แต่เก็บชิ้นงานเป็น Portfolio สำหรับผู้สอนและผู้เรียนได้อีกด้วยอีกทั้งยังสามารถ Export ข้อมูลในบอร์ดออกมาเป็นไฟล์ รูปภาพ .pdf .csv Excel หรือพิมพ์ และแชร์ผ่านช่องทางต่าง ๆ ได้ เช่น Facebook Twitter E-mail เป็นต้น ขั้นตอนการเข้าใช้งาน Padlet           หากผู้ใช้งานมีบัญชีของ Gmail อยู่แล้ว ก็เพียงลงทะเบียน Sign in เข้าใช้งาน Gmail จากนั้นเปิด Web BrowserRead More →

        “Design Thinking  ไม่ใช่สิ่งที่เราต้องรู้ แต่เป็นสิ่งที่เราต้องทำให้เป็น” นี่คือ Key Word สำคัญที่จะทำให้เราสามารถสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ ๆ ขึ้นมาได้ ดังนั้น Design Thinking จึงเป็นทักษะที่ต้องฝึกฝน ไม่ใช่เพียงการท่องจำ ว่า Design Thinking มีกี่ขั้นตอน แต่ละขั้นตอนคืออะไร ถ้าเรามัวแต่ท่องจำก็ไม่สามารถที่จะคิดเชิงออกแบบได้         ส่วนคำว่า นวัตกรรม คือ การที่สิ่งนั้นไม่มี แล้วเราทำให้สิ่งนั้นเกิดขึ้น และสามารถทำให้คนทั่วไปเชื่อถือหรือใช้ในสิ่งนั้น ๆ นั่นเอง        ต่อไปเป็นคำว่า Innovation สามารถสรุปได้ดังนี้ Innovation ก็คือ สิ่งที่สร้างขึ้นมา แล้วทำให้คนเก็บประโยชน์ และใช้สิ่งนั้นนั่นเอง         ***สิ่งสำคัญของนวัตกรรม คือ ต้องมีประโยชน์ และต้องมีคนใช้        ***นวัตกรรม เริ่มต้นที่ เราจะแก้ปัญหาอะไร ตอบโจทย์ผู้ใช้ได้อย่างไร         Design Thinking ประกอบไปด้วย 5 องค์กระกอบ คือ Empathize,Read More →

          การสร้างนวัตกรรมทางการศึกษาด้วยเทคโนโลยี Augmented Reality หรือ AR คือ เทคโนโลยีการผสมผสานโลกเสมือน (Virtual World) เพิ่มเข้าไปในโลกจริง (Physical World) เพื่อทำให้เกิดการกลมกลืนกันมากที่สุด นอกจากนี้ยังเป็นเทคโนโลยีที่ช่วยเพิ่มศักยภาพในการเรียนรู้ ช่วยลดรอยต่อของการปฏิสัมพันธ์ระหว่างโลกจริงกับโลกเสมือน โดยการนำเทคโนโลยีความเป็นจริงเสมือนผสมเข้ากับเทคโนโลยีภาพ เพื่อทำให้เห็นภาพสามมิติในหน้าจอ มีการโต้ตอบแบบเรียลไทม์ ช่วยให้ผู้เรียนได้ควบคุม (Keep Control) ด้วยตนเอง           โดยเทคโนโลยี Augmented Reality หรือที่เราเรียกสั้น ๆ ว่า “AR“ นี้ ถ้าจะพัฒนาแอปพลิเคชันนั้นจะต้องมีการนำวัตถุ, ไฟล์วิดิทัศน์, ไฟล์เสียง, 3D Model , 2D Graphic หรือสิ่งอื่นใด ที่เราสร้างขึ้นมาแล้วนำมาซ้อนเข้ากับโลกแห่งความจริง โดยสิ่งที่เรานำเข้ามาจำเป็นที่จะต้องมองผ่าน อุปกรณ์พิเศษ เช่น Web Cam, Camera ของ SmartRead More →