Category: ThaiMOOC

ขนมพื้นบ้านภาคใต้จากภูมิปัญญาชาวบ้านสู่รายวิชา Thai MOOC

ประวัติความเป็นมาและความสำคัญ ขนมไทย เป็นขนมที่เป็นเอกลักษณ์ประจำชาติ  ถือเป็นภูมิปัญญาชาวบ้านที่มีการสืบทอดกันมาจากรุ่น สู่รุ่น มีการเรียนรู้ในทุกขั้นตอนการทำและสั่งสมประสบการณ์ ลองผิด ลองถูกในการคิดค้น ทำสูตรขนมต่าง ๆ จนได้สูตรขนมที่ทำกันในแต่ละภาคของประเทศไทย  ซึ่งขนมของไทยเป็นขนมที่มีขั้นตอนที่ประณีต และเอียดอ่อน มีความสวยงาม  ในสมัยโบราณนิยมทำในเทศกาลงานบุญต่าง ๆ งานมงคลต่าง ๆ งานต้อนรับแขกบ้านแขกเมือง  ขนมพื้นบ้านภาคใต้ นอกจากเป็นขนมที่เป็นภูมิปัญญาของชาวบ้านแล้ว ยังเป็นขนมที่แสดงให้เห็นถึงวิถีชีวิตที่งดงาม ประณีต ของคนในสมัยก่อน และถ่ายทอดมาจากรุ่นสู่รุ่น ให้คงอยู่กับคนใต้ จากขนมในประเพณี เทศกาลงานบุญต่าง ๆ มาสู่การประกอบอาชีพและสร้างรายได้ให้กับครอบครัวในปัจจุบัน ประเภทของขนมไทย ประเภทของขนมแบ่งตามประเภทของการทำให้สุก  สามารถแบ่งได้เป็น 6 ประเภทดังนี้ วัตถุดิบของการทำขนมพื้นบ้านภาคใต้ วัตถุดิบที่ใช้ในการทำขนม วัตถุดิบพื้นฐาน ๆ ที่นิยมนำมาใช้ทำขนม เช่น ข้าวและแป้ง การนำข้าวมาทำขนมของคนไทยเริ่มตั้งแต่ข้าวไม่แก่จัด ข้าวอ่อนที่เป็นน้ำนม นำมาทำเป็นข้าวยาโค  เมื่อข้าวแก่จัดเป็นสีเขียว  นำมาทำเป็นข้าวเม่า  ข้าวที่แก่จัดแล้วนำมาสี เป็นข้าวสาร นำมาทำเป็นแป้งข้าวเจ้า แป้งข้าวเหนียว เป็นต้น มะพร้าว มะพร้าวอ่อน ใช้เนื้อผสมในขนม […]

ศิลปะ หัตถกรรม และการละเล่นพื้นบ้านภาคใต้

จากการที่ได้เรียนรู้ในหลักสูตร ThaiMooc เรื่อง ศิลปะ หัตถกรรม และการละเล่นพื้นบ้านภาคใต้ | Arts handicrafts and Traditional play of Southern  ของมหาวิทยาลัยทักษิณ จึงขออนุญาตแนะนำความรู้ในบางส่วนที่คิดว่าจะมีประโยชน์กับผู้ที่กำลังศึกษาค้นคว้าเรื่องเกี่ยวกับศิลปะ หัตถกรรม และการละเล่นพื้นบ้านภาคใต้ของไทยเราว่ามีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับเรื่องใดบ้าง ก่อนจะมีให้เราเห็นกันอยู่ในปัจจุบันนี้ ซึ่งคุณค่าของศิลปะที่เห็นเด่นชัดที่สุดก็น่าจะเป็นเรื่องประวัติศาสตร์ก่อน ศิลปะสัมพันธ์กับการดำเนินชีวิตของผู้คนมาตลอด ไม่ว่ามนุษย์จะสร้างอะไรขึ้นมาเพื่ออำนวยความสะดวก หรือเพื่อทุ่นแรงหรือเพื่อเป็นสิ่งที่เคารพบูชาศรัทธาต่าง ๆ คุณค่าในเรื่องความงามอาจจะเป็นลักษณะเชิงนามธรรมชนิดหนึ่งแต่ของที่มีแต่ละชิ้นสิ่งที่ผลิตขึ้นมาเราตั้งใจให้มันใช้สอยอย่างเดียว หรือว่าให้มันเกิดความงามขึ้นด้วย เราอาจแบ่งหมวดเป็น แบ่งหมวดเป็นงานด้านศิลปะ แบบศิลปะบริสุทธิ์หรือว่าเป็นศิลปะประยุกต์ เราก็มองว่ามันมีประเภทของจิตรกรรม ประติมากรรม สถาปัตยกรรม หัตถกรรม นาฏยะกรรม คีตกรรมวรรณกรรม หรือประเภทอื่นๆ ที่เสริมเข้ามาในยุคปัจจุบัน เช่น ภาพนิ่ง อาจเป็นฟิล์มขาวดำ ฟิล์มเนกาทีฟหรือฟิล์มสไลด์ และล่าสุดคือภาพเคลื่อนไหว วิดีโอ งานที่เป็นอนิเมชั่นหรือว่าฟิล์มภาพยนตร์  ถ้าเป็นลักษณะของจิตรกรรมก็จะเป็นพวกจิตรกรรมฝาผนัง ที่ปรากฎในถ้ำ ผนังโบสถ์ ในศาสนสถาน เป็นต้น  ประเภทประติมากรรม ก็อาจจะมาจากฝั่งกัมพูชา เวียดนามหรือจีนตอนล่างาของภาคใต้ อย่างการแกะสลัก ที่ได้รับอิทธิพลมาทางใต้ อย่าง […]

Learning how to learn วิธีการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ

Learning how to learn ชวนมาติดตามเทคนิคการเรียนรู้แบบต่าง ๆ เช่น การเรียนรู้แบบสมอง 2 โหมด การเรียนรู้แบบ “Pomodoro” หรือ“มะเขือเทศ” ลองมาติดตามกันดูครับ การเรียนรู้ด้วยสมอง 2 โหมด Learning how to learn เป็นการปรับเปลี่ยนความคิด (mindset) ให้ตระหนักถึงความสำคัญของการเรียนรู้เพิ่มพูนความรู้อย่างสม่ำเสมออย่างมีประสิทธิภาพจากแหล่งความรู้ที่เชื่อถือได้ ในการสร้างการเรียนรู้ สมองของเราสามารถจะเรียนรู้และจดจำสิ่งต่าง ได้จาก สมอง 2 โหมด คือ Focused Mode  หรือ โหมดจดจ่อ  เป็นการเรียนรู้ โดยใช้ทักษะจากที่เราเราเคยทำมาก่อนแล้ว  มีรูปแบบ มีที่  เราทำอยู่เป็นประจำอยู่แล้ว  เช่น การขับรถบนเส้นทางเดิม ๆ ที่เราทำประจำอยู่แล้ว ก็จะทำให้เราทำได้อย่างคล่องแคล่วว่องไว ไม่หลงไปไหน แต่ ก็จะทำให้เราขาดโอกาสในการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ Diffuse Mode  หรือ โหมดฟุ้งกระจาย เป็นการเรียนรู้แบบฟุ้ง เป็นการปล่อยใจให้ล่องลอย […]

กฎหมายควบคุมอาคาร | Building Regulations

ตามทกระทรวงพลังงานได้ ประกาศกฎกระทรวงกำหนดประเภท หรือขนาดของอาคาร และมาตรฐาน หลักเกณฑ์และวิธิการในการออกแบบอาคารเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2552 ซึ่งมี ผลบังคับใช้ตั้งแต่ วันที่ 20 มิถุนายน 2552 โดยการบังคับใช้กฎกระทรวงดังกล่าวอยู่ระหว่างการพิจารณาให้ความเห็นชอบจากคณะกรรมการควบคุมอาคาร เพื่อนำมาใชบังคับกับการควบคุมอาคารตามมาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ซึ่งกฎกระทรวงดังกล่าวกําหนดให้อาคารที่จะก่อสร้างหรือดัดแปลงที่มีขนาดพื้นที่รวมกันทุกชั้นในหลังเดียวกันตั้งแต่ 2,000ตารางเมตรขึ้นไป สําหรับอาคารประเภทต่างๆ แบ่งเป็น 9 ประเภท ได้แก่ สถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล สถานศึกษา สำนักงาน อาคารชุดตามกฎหมายว่าด้วยอาคารชุดอาคารชุมนุมคนตามกฎหมายว่าดวยการควบคุมอาคาร อาคารโรงมหรสพตามกฎหมายว่าด้วยการ ควบคุมอาคาร อาคารโรงแรมตามกฎหมายว่าด้วยโรงแรม อาคารสถานบรการตามกฎหมายว่าด้วยสถานบริการ และอาคารห้างสรรพสินค้าหรือศูนย์การค้า ต้องออกแบบให้อนุรักษ์พลังงานตามมาตรฐาน หลักเกณฑ์ และวิธีการคำนวณในการออกแบบอาคารที่กฎกระทรวงฯ กำหนด โดยที่กฎกระทรวงฯ ฉบบนี้ ยังเป็นเรื่องใหม่ ซึ่งผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหลาย ได้แก่ เจ้าของอาคาร ผุ้ออกแบบอาคาร และเจ้าหน้าที่ของรัฐโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้มีอำนาจหน้าที่ในการอนุมัติแบบ อาคารที่จะก่อสรางหรือดัดแปลงซึ่งจะต้องมีความเข้าใจในบทบัญญัติที่เกี่ยวข้อง และหน้าที่ความ รับผิดชอบ ตลอดจนแนวทางวิธีการปฏิบัติเพื่อให้สามารถดำเนินการใหบรรลุ ตามเจตนารมณ์ของกฎหมายอย่างแท้จริง กฎหมายควบคุมอาคาร คือ กฎหมายที่ต้องการเพื่อควบคุมการก่อสร้างอาคารให้มี ความมั่นคงแข็งแรง มีระบบความปลอดภัยสำหรับผู้ใช้อาคาร เช่น […]

ระบบการเรียนรู้และการสื่อสารผ่านระบบเครือข่าย | Learning System and Communication Through Networking

บทนำ       ปัจจุบันการศึกษาของไทยมีการนำเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาททางการศึกษามากขึ้นเพราะเทคโนโลยีมีความสำคัญต่อการจัดการศึกษาในยุคสังคมสารสนเทศเป็นอย่างมาก  การเรียนรู้และการจัดการเรียนการสอนเน้นกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่มีคอมพิวเตอร์  ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเข้ามามีส่วนในการจัดการเรียนการสอน  หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2544  บัญญัติไว้ว่าผู้เรียนมีสิทธิได้รับการพัฒนาขีดความสามารถในการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาเท่าที่ทำได้  เพื่อให้มีความรู้และทักษะที่จะใช้เทคโนโลยีเพื่อการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิตและใช้เวลาว่างอย่างสร้างสรรค์  มีความยืดหยุ่น  สนองความต้องการของผู้เรียนผู้เรียนสามารถศึกษาค้นคว้าได้ด้วยตนเอง  ผู้สอนสามารถจัดทำและพัฒนาสื่อการเรียนรู้ขึ้นเพื่อนำมาใช้ในการเรียนการสอนได้หรือนำสิ่งต่างๆ ที่มีอยู่รอบตัวและในระบบสารสนเทศมาใช้ในการเรียนการสอน  รวมถึงจัดทำและพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อใช้ในการเรียนการสอนให้กับผู้เรียน       การเรียนการสอนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเป็นการจัดการเรียนการสอนผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตบนพื้นฐานของหลักและวิธีการออกแบบการเรียนการสอนอย่างมีระบบ  มีการนำสื่อต่างๆ มาเป็นตัวกลางในการถ่ายทอดเนื้อหาความรู้ให้กับผู้เรียนโดยอาศัยเว็บไซต์  ในการเรียนด้วยบทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตนั้นผู้เรียนสามารถเรียนเวลาใดก็ได้  จากสถานที่ใดก็ได้ขึ้นอยู่กับความพร้อมของผู้เรียน  ผู้เรียนไม่จำเป็นต้องเรียนในห้องเรียนเท่านั้น  เพียงแค่ผู้เรียนสามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้  ผู้เรียนก็สามารถเข้าไปศึกษาเนื้อหาในเรื่องที่ตนเองสนใจได้  นอกจากนั้นแล้วผู้เรียนยังสามารถติดต่อสื่อสาร  สนทนา  อภิปรายกับผู้เรียนด้วยกัน  หรือกับผู้สอนได้อีกด้วย ความหมายของบทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต           บทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต  หมายถึง  การเรียนการสอนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตโดยมีการจัดสภาพการเรียนการสอนที่มีการออกแบบอย่างเป็นระบบ  โดยอาศัยคุณสมบัติและทรัพยากรของเวิล์ดไวด์เว็บมาเป็นสื่อกลางในการถ่ายทอดเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ  ในการจัดการเรียนการสอนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตนั้นอาจจัดการเรียนการสอนทั้งกระบวนการหรือนำมาใช้เพียงส่วนใดส่วนใดส่วนหนึ่งของกระบวนการก็ได้  การเรียนการสอนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตถือเป็นวิธีการเรียนแบบใหม่ที่ช่วยพัฒนาให้เกิดการเรียนรู้และช่วยขจัดปัญหาอุปสรรค์ของการเรียนในเรื่องของเวลาและสถานที่  เพราะในการเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตนั้นผู้เรียนสามารถเรียนได้ทุกที่ทุกเวลา  ผู้เรียนไม่จำเป็นต้องเรียนในห้องเรียนเท่านั้น  ขอเพียงผู้เรียนสามารถเชื่อมโยงกับอินเทอร์เน็ตได้  ผู้เรียนก็สามารถเรียนได้  โดยในการเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตผู้เรียนและผู้สอนสามารถมีปฏิสัมพันธ์กันโดยผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงถึงกัน องค์ประกอบของบทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต       ในการจัดทำบทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตนั้น  มีองค์ประกอบในการจัดทำบทเรียนได้แก่            1. องค์ประกอบของหน้าเว็บ ประกอบด้วยข้อความ  พื้นหลัง  และภาพ ข้อความที่ใช้ในบทเรียนต้องเลือกขนาดให้เหมาะสมโดยข้อความส่วนที่เป็นหัวข้อหลักต้องมีขนาดใหญ่กว่าข้อความที่เป็นหัวข้อย่อย  สีข้อความที่ใช้ต้องไม่กลมกลืนกับสีพื้นหลังพื้นหลังที่ใช้ไม่ควรมีลวดลายเพราะจะทำให้เป็นที่สนใจมากกว่าตัวหนังสือซึ่งเป็นเนื้อหา  สีพื้นหลังที่ใช้ไม่ควรใช้สีเข้มเกินไป  ควรใช้สีอ่อนๆ ที่ดูแล้วสบายตา  ภาพที่ใช้มีหลายชนิดทั้งภาพที่เป็นภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหว  การใช้ภาพในบทเรียนจะช่วยดึงดูดให้ผุ้เรียนเกิดความอยากเรียนมากขึ้นแต่ไม่ควรใช้ภาพเคลื่อนไหวในหน้าของเนื้อหาเพราะจะทำให้ผู้เรียนสนใจแต่ภาพไม่สนใจเนื้อหาในบทเรียน           2. องค์ประกอบเว็บเพจ  ประกอบด้วย     โฮมเพจ  […]

ระบบสารสนเทศกับการจัดการความรู้ในยุคดิจิทัล | Information System and Knowledge Management in the Digital Age

การจัดการความรู้ในยุคดิจิทัล การจัดการความรู้เป็นเทคนิคทางการบริหารที่นำมาใช้ในการรวบรวมองค์ความรู้ที่กระจัดกระจายในตัวคน หรือแหล่งต่าง ๆ ในองค์การแล้วนำมาพัฒนาเรียบเรียงและบันทึกให้เป็นระบบ เพื่อให้ทุกคนสามารถเข้าถึง และนำไปใช้ในการพัฒนาตนเอง พัฒนางาน พัฒนาองค์การ นำไปสู่การพัฒนาประเทศในที่สุด มนุษย์แต่ละยุคสมัยมีวิธีการในการจัดการความรู้ที่แตกต่างออกไป ตามแต่เครื่องมือหรือนวัตกรรมที่สามารถคิดค้นขึ้นมาได้ในช่วงเวลานั้น เช่น ในยุคก่อนประวัติศาสตร์มนุษย์ถ้าใช้วิธีการนำวัสดุธรรมชาติเขียนภาพตามผนังถ้าเพื่อถ่ายทอดเรื่องราว ต่อมาในยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม มนุษย์สามารถคิดค้นเครื่องพิมพ์ขึ้นมาได้ ก็สามารถบันทึกความรู้ลงในหนังสือ ตำรา ทำให้สามารถเผยแพร่ความรู้ได้อย่างกว้างขวางมากขึ้นจนกระทั่งพัฒนาการของโลกได้เจริญก้าวหน้ามาถึงในยุคดิจิทัล ซึ่งเป็นยุคที่มีเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัย มีเครือข่ายอินเตอร์เน็ต สามารถช่วยมนุษย์ในการรวบรวม เรียบเรียง จัดเก็บ ใช้ประโยชน์ เผยแพร่และแลกเปลี่ยนความรู้ได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และง่ายต่อการเข้าถึง ซึ่งเทคโนโลยีในยุคดิจิทัลเหล่านี้มีคุณอนันต์และโทษมหันต์เป็นเงาตามตัวหากรู้ไม่เท่าทัน บทความนี้จึงมีวัตถุประสงค์ในการสร้างความรู้ความเข้าใจและความตระหนักให้แก่บุคคล ในเรื่องของ“ความรู้และการจัดการความรู้ในยุคดิจิทัล” เพราะท่ามกลางความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีทำให้ปริมาณข้อมูลข่าวสารที่มีการหลั่งไหลเข้ามาในชีวิตประจำวันเป็นจำนวนมาก สิ่งที่สำคัญมากกว่าความสามารถในการใช้งานเทคโนโลยีและการใช้งานอินเตอร์เน็ตคือ บุคคลต้องมีทักษะในการจัดการความรู้ เริ่มตั้งแต่การรู้จักสืบค้นแยกแยะข้อมูล ข้อเท็จจริง และนำข้อมูลที่ได้รับมาใช้ในการจัดการเพื่อนำไปใช้ประโยชน์อย่างเหมาะสมดังจะได้กล่าวถึงต่อไปนี้ ความรู้และระดับขั้นของความรู้ความรู้ หมายถึง สิ่งที่สั่งสมมาจากการศึกษาเล่าเรียน การค้นคว้า หรือประสบการณ์ รวมทั้งความสามารถเชิงปฏิบัติและทักษะ เช่น ความรู้เรื่องประวัติศาสตร์ สิ่งที่ได้รับมาจากการได้ยิน ได้ฟัง การคิดหรือการปฏิบัติ (ราชบัณฑิตยสถาน,2554) มนุษย์มีกระบวนการสร้างความรู้อยู่ตลอดเวลา ซึ่งการเรียนรู้ของมนุษย์เริ่มขึ้นตั้งแต่เกิดมาและหลังจากนั้นมนุษย์ใช้เวลาทั้งชีวิตในการสั่งสมประสบการณ์และความรู้ ซึ่งเกิดได้จากหลายวิธี ทั้งจากประสบการณ์ตรงในการใช้ชีวิต การลงมือปฏิบัติเรื่องที่ได้พบเห็นในชีวิตประจำวัน หรือจากการเรียนรู้และหล่อหลอมจากสังคมที่เขาอยู่ […]

พลังงานทดแทน | Renewable Energy

พลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy) พลังงานหมุนเวียน พลังงานเป็นหนึ่งในปัจจัยที่มีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นพลังงานที่ใช้ในการอยู่อาศัย การเดินทาง การประกอบอาหาร ฯลฯ นับวันมนุษย์ยิ่งจะมีแต่ความต้องการในการใช้พลังงานเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งหมายถึงว่าจะมีการดึงพลังงานมาจากแหล่งต่าง ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการในการใช้งาน โดยเฉพาะเชื้อเพลิงฟอสซิลหรือพลังงานที่ใช้แล้วหมดไป เช่น น้ำมัน ถ่านหิน ก๊าซธรรมชาติ หินน้ำมัน และทรายน้ำมัน เป็นต้น ดังนั้น มนุษย์จึงต้องริเริ่มการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ โดยใช้ประโยชน์จากทรัพยากรที่มีอยู่อย่างรู้คุณค่าและยังคงเหลือไว้ให้คนรุ่นหลังได้ใช้ประโยชน์ต่อด้วย ปัจจุบัน แหล่งพลังงานหมุนเวียนเป็นจึงกลายเป็นแหล่งพลังงานทางเลือกที่นำมาใช้ทดแทนพลังงานจากเชื้อเพลิงฟอสซิล และจะเป็นแหล่งพลังงานที่มีบทบาทสำคัญมากขึ้นในอนาคต พลังงานหมุนเวียน คืออะไร พลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy) คือ พลังงานที่ใช้แล้วไม่หมดไป สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ เนื่องจากเป็นพลังงานที่ได้จากแหล่งพลังงานที่เกิดขึ้นต่อเนื่อง เช่น แสงอาทิตย์ ลม น้ำ ความร้อนใต้พิภพ ชีวมวล และก๊าซชีวภาพ รวมถึงผลผลิตและวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร เช่น แกลบ ใบ ลำต้นและชานอ้อย กากมันสำปะหลัง หรือมูลสัตว์ ซึ่งเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ และสามารถสร้างขึ้นทดแทนได้ในระยะเวลาอันสั้น โดยพลังงานหมุนเวียนนี้ถือเป็นพลังงานสะอาด ไม่เป็นการเพิ่มก๊าซเรือนกระจกให้กับโลก แตกต่างกับพลังงานจากเชื้อเพลิงฟอสซิล […]

เทคโนโลยี SMART GRID | Smart Grid

จากการที่การผลิตแบบกระจายมีโรงไฟฟ้ามากมายหลายขนาดกระจายอยู่ทุกระดับของโครงข่ายทำให้เกิดปัญหา และความซับซ้อนในการควบคุมโครงข่ายให้มีประสิทธิภาพและเชื่อถือได้ จึงเกิดแนวความคิดใน การพัฒนาระบบโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ (Smart Grid) ขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยนิยามทั่วไปของ ระบบโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ นั้นค่อนข้างกว้างและมีการตี ความแตกต่างกันแล้วแต่หน่วยงานที่นำไปปฏิบัติ แต่สามารถสรุปได้ดังต่อไปนี้ ระบบโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ คือ ระบบโครงข่ายไฟฟ้าสมัยใหม่ที่ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการเก็บข้อมูลและทำการสั่งการควบคุมโครงข่ายไฟฟ้า โดยใช้ข้อมูลดังกล่าวในการตัดสินใจ ยกตัวอย่าง เช่น เก็บข้อมูลพฤติกรรมของโหลดจากผู้ใช้งานและการผลิตไฟฟ้าจากผู้ผลิต การควบคุมอัตโนมัติของระบบโครงข่ายไฟฟ้าเพื่อทำการปรับปรุงประสิทธิภาพความเชื่อถือได้ ความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ และความยั่งยืนในการผลิตและจ่ายไฟฟ้าในระบบโครงข่ายไฟฟ้า นิยามของระบบโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ Union Commission Task Force for Smart Grids กำหนดนิยามของ ระบบโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ ว่า ระบบโครงข่ายไฟฟ้าที่มีความสามารถในการลดค่าใช้จ่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในการรวมพฤติกรรมและการกระทำของผู้ใช้ไฟฟ้าทั้งหมด ที่เชื่อมต่อกับโครงข่ายไฟฟ้าในวิธีการเพื่อให้แน่ใจได้ว่าเป็นระบบไฟฟ้าที่มีความยั่งยืน และมีประสิทธิภาพทางเศรษฐศาสตร์ โดยมีการสูญเสียภายในระบบที่ต่ำ มีคุณภาพในระดับที่สูง มีความมั่นคงในการจ่ายไฟฟ้า และมีความปลอดภัย ในส่วนของ The U.S. Department of Energy Smart Grid Task Force ได้ทำการนิยาม ระบบโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ ว่า มีความมุ่งหมายและตอบสนองต่อระบบไฟฟ้าที่ปั่นป่วน โดยการแก้ไขการปั่นป่วนนั้นด้วยตัวเอง อนุญาตให้ผู้ใช้ไฟฟ้าที่มีกำลังต่ออยู่กับโครงข่ายไฟฟ้ามีส่วนร่วม มีการจัดเตรียมระบบการผลิตไฟฟ้าทั้งหมด พร้อมทั้งระบบสะสมพลังงานทางเลือกต่างๆ อนุญาตให้มีโอกาสที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมต่างเข้าร่วมในระบบ ทำให้เกิดประสิทธิภาพและสมดุลของการใช้ทรัพยากรต่างๆ […]

สร้างสรรค์ภาพสวยด้วยมือถือ : My Mobile My Photo II

กล้องมือถือในปัจจุบันมีคุณภาพสูงมาก บ่อยครั้งที่แยกไม่ออกว่าภาพไหนเป็นผลงานที่ได้จากกล้องมือถือ หรือกล้อง DSLR/Mirrorless ซึ่งการใช้งานกล้องมือถืออย่างถูกต้องจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการถ่ายภาพ ช่วยลดข้อบกพร่อง และเพิ่มคุณภาพให้กับภาพที่ถ่ายจากมือถือด้วย

สุ จิ ปุ ลิ : ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร

เพื่อให้เข้าใจและพัฒนาทักษะภาษาไทย
•การรับสารและส่งสาร
•การจับใจความสำคัญจากเรื่องที่อ่านและที่ฟัง
•การวิเคราะห์เชื่อมโยงประเด็นจากเรื่องที่ฟังและอ่าน
•การเสนอข้อคิดเห็นหรือให้คุณค่าต่อเรื่องที่อ่านและฟังได้อย่างมีเหตุผล
•การนำเสนอความคิดผ่านการพูดและการเขียนได้ มีประเด็นสำคัญและส่วนขยายที่ช่วยให้ประเด็นความคิดชัดเจนและเป็นระบบ
•การนำข้อมูลทางสังคมมาประกอบเป็นความรู้หรือความคิดที่ใหญ่ขึ้น
•การพูดและการเขียนเพื่อนำเสนอความรู้ที่เป็นระบบและน่าเชื่อถือ

การจัดองค์ประกอบของภาพถ่าย

การทำให้ภาพถ่ายน่าสนใจ เทคนิคการจัดองค์ประกอบของภาพถ่าย จะช่วยทำให้ภาพถ่ายของเราสวย น่ามอง โดดเด่น เพียงแค่เราเรียนรู้ และนำมาใช้งาน

คลาวด์คอมพิวติ้ง (Cloud Computing)

คลาวด์คอมพิวติ้ง (Cloud Computing) ภาพโดย : Image by macrovector on Freepik ภาพโดย : Image by macrovector on Freepik             หลายคนอาจจะนึกถึงแค่บริการพื้นที่ฝากไฟล์บนอินเทอร์เน็ต อย่าง iCloud บน iPhone, iPad หรือ Google Drive บน Android หรือ OneDrive บนมือถือ Windows Phone ซึ่งสิ่งเหล่านี้คือบริการ Cloud Storage อันเป็นบริการ Cloud ประเภทหนึ่งเท่านั้น เช่นการรีโมทเข้าระบบเซิร์ฟเวอร์ (server) จากระยะไกล หรือ การเก็บข้อมูลจากระยะไกล แต่ที่จริงนี่เป็นแค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น เพราะ Cloud Computing ยังมีบริการที่หลายรูปแบบ และ การใช้งานได้อีกหลายประเภท             Cloud Computing คือบริการที่ครอบคลุมถึงการให้ใช้ระบบประมวลผล […]

เทคนิคการพัฒนาการคิดสร้างสรรค์

การคิดสิ่งใหม่ๆ หมายถึงการผสมผสานสิ่งต่าง ๆ ที่ยังไม่เคยถูกผสมผสานมาก่อน ซึ่งการคิดสร้างสรรค์ เป็นการผสมผสานหรือเชื่อมโยงความคิดที่มีอยู่ จนเกิดการเปรียบเทียบที่ทำให้มองเห็นความสัมพันธ์ระหว่าง ความคิดเหล่านั้น การคิดสร้างสรรค์เป็นการค้นหา คัดเลือก ปรับแต่ง ผสมผสานและสังเคราห์ไม่ว่าจะเป็น ข้อเท็จจริง ความคิด สติปัญญาและทักษะความสามารถที่มี สิ่งส าคัญคือการปรับความคิดและจิตใจของเราให้ พร้อมสำหรับการคิดใหม่ๆ Harvard Business Review (Kelly, 2013) ได้กล่าวถึงเทคนิคการพัฒนาการคิดสร้างสรรค์ไว้ดังนี้ 1. ฝึกการคิดที่หลากหลาย เริ่มจากการกำหนดหัวข้อที่ต้องการแล้วฝึกการคิดใหม่ ๆ จากหัวข้อนั้น พยายามคิดหลาย ๆ ทางเลือก จากการสืบเสาะ ค้นหาและการสื่อสารให้ความคิดนั้นออกมาให้ผู้อื่นได้รับรู้แล้วก็ บันทึกความคิดเหล่านั้นเชื่อมโยงสิ่งที่คล้ายและสิ่งที่แตกต่าง การฝึกคิดเหล่านี้จะทำให้ความคิดขยายเป็นการฝึก การคิดเบื้องต้นหลังจากที่ได้ความคิดมากพอแล้ว ก็ให้คิดขยายต่อไปอีกว่าเราจะพัฒนาความคิดเหล่านี้ไปข้างหน้า ได้อย่างไร  2. การจัดหมวดหมู่ของความคิด จากการฝึกการคิดที่หลากหลาย ขั้นต่อมาให้หาจุดสมดุลระหว่างความ รวดเร็วในการคิด ก็คือความคิดอย่างคล่องแคล่วและหาความแตกต่างและหลากหลายในการคิดก็คือความคิดที่ ยืดหยุ่น เปรียบเทียบผลการคิดเหล่านั้นแล้วก็รวบรวมความคิดที่ใหม่และก็นำไปใช้ได้จริง 3. สังเกตพฤติกรรมมนุษย์จากการค้นหาความรู้การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้คน สังเกตและฟัง โดยพยายามคิดและรู้สึกถึงความต้องการของผู้คนจากปฏิกิริยา ความชอบ ไม่ชอบของบุคคลแล้วสรุปผลออกมา และคัดเลือกว่าความคิดไหนเป็นความคิดที่ใหม่และน่าแปลกใจที่เราค้นพบ จากการสังเกตและค้นพบแล้วก็ถาม […]

ประวัติการถ่ายภาพของโลกและในประเทศไทย

ประวัติการถ่ายภาพของโลก          มนุษย์ใช้วิธีการวาดภาพลงบนวัสดุชนิดต่างๆเพื่อใช้เป็นเครื่องบันทึกความทรงจำและใช้เพื่อสื่อความหมาย ซึ่งการวาดภาพนั้นในสมัยโบราณนั้นต้องใช้ระยะเวลานานและไม่เหมือนความเป็นจริงในธรรมชาติทำให้มนุษย์เกิดความคิดที่จะหาวิธีการสร้างสรรค์ภาพโดยใช้ระยะเวลาที่น้อยที่สุดและได้ภาพที่สมบูรณ์เหมือนจริงมากที่สุด จากความพยายามของมนุษย์ดังกล่าวทำให้เกิดกระบวนการถ่ายภาพขึ้น โดยพัฒนาจากศาสตร์ 2 สาขา มาประกอบกัน คือ สาขาฟิสิกส์เกี่ยวกับแสงและกล้องถ่ายภาพ สาขาเคมี เกี่ยวกับสารไวแสงซึ่งในภายหลังได้พัฒนาเป็นฟิล์มถ่ายภาพและน้ำยา สำหรับล้างฟิล์มและน้ำยาสำหรับสร้างภาพ 400 ปี ก่อนคริสตศักราช อริสโตเติล( Aristotle ) นักวิทยาศาสตร์ชาวกรีกได้จดบันทึกไว้ว่า ถ้าปล่อยให้ลำแสงผ่านเข้าทางรูเล็กๆในห้องที่มืดแล้วให้แสงตกกระทบกับกระดาษที่วางห่างจากรูประมาณ 15 ซ.ม จะทำให้เกิดภาพปรากฏบนกระดาษเป็นเงารางๆไม่ชัดเจนมากในลักษณะภาพหัวกลับ ประวัติการถ่ายภาพในประเทศไทย         การถ่ายภาพในประเทศไทยเกิดขึ้นในสมัย พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยการนำมาเผยแพร่ของบาทหลวงแห่งโรมันคาทอลิค ชื่อ ยีน แบบตีสตา ปาลเลกัวซ์ ( Jean Baptiste Pallegoix ) แต่ไม่เป็นที่นิยมของคนไทย เพราะความเชื่อที่ผิดๆว่าถ้าใครถูกถ่ายภาพแล้วอายุจะสั้น หรือจะถูกนำไปทำร้ายด้วยวิธีทางไสยศาสตร์ความเชื่อดังกล่าวนี้มีมาจนถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงเป็นผู้นำในการถ่ายภาพพระบรมฉายาลักษณ์ ทำให้ประชาชนนิยมการถ่ายภาพเจริญรอยตามพระองค์มากขึ้นในเวลาต่อมาประมาณปีพ.ศ.2408ได้มีชาวอังกฤษเข้ามาเปิดร้านรับถ่ายภาพขึ้นที่ย่านถนนเจริญกรุง โดยคิดราคาภาพที่ถ่าย ขนาด 4 นิ้ว ราคา 1 ตำลึงและ ภาพขนาด15 นิ้วราคา 10 ตำลึง […]

การสื่อสารด้วยใยแก้วนำแสง

การสื่อสารด้วยใยแก้วนำแสง ออปติกไฟเบอร์ หรือ ไฟเบอร์ออปติก เป็นแก้วหรือพลาสติกคุณภาพสูง ที่สามารถยืดหยุ่นโค้งงอได้ “ใยแก้วนำแสง” เป็นสายรับ-ส่งสัญญาณชนิดหนึ่งที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในปัจจุบัน โดยถูกใช้ในโครงข่ายการสื่อสารความเร็วสูง และโครงข่ายที่รองรับปริมาณผู้ใช้งานจำนวนมาก เช่น โครงข่ายอินเตอร์เน็ต โครงข่ายโทรศัพท์พื้นฐาน เป็นต้น เนื่องด้วยสายใยแก้วนำแสงอาศัยการเดินทางของคลื่นแสงที่เดินทางด้วยความเร็วสูง จึงสามารถรองรับปริมาณข้อมูลจำนวนมากได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ ยังมีความ ปลอดภัยของข้อมูลที่สูงกว่าสายรับ-ส่งสัญญาณชนิดอื่นอีกด้วย            การสื่อสารใยแก้วนำแสงเป็นระบบการสื่อสารที่ใช้แสงผสมกับข้อมูลที่ต้องการส่งในรูปแบบดิจิตอลแล้วจึงส่งผ่านตัวกลางคือใยแก้วเส้นผ่านศูนย์กลางขนาด 250 ไมครอน ซึ่งมีขนาดเล็กมากทำให้สายเคเบิล 1 เส้น สามารถรวมเอาสายสัญญาณหลายเส้น แสงจะถูกส่งผ่านไปยังตัวรับคือโฟโตดีเทคเตอร์ เพื่อแปลผลค่าสัญญาณจากแสงเป็นสัญญาณไฟฟ้าและใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์แปผลเป็นข้อมูลอีกครั้งหนึ่ง          การสื่อสารผ่านสายใยแก้วนำแสงมีจุดเด่นคือสามารถส่งสัญญาณหลาย ๆช่องไปได้พร้อมๆกันโดยใช้เทคนิคการผสมสัญญาณ (multiplexing) ที่นิยมใช้คือการทำ WDM(wavelength  divisonmultiplexing) เป็นการส่งสัญญาณแต่ละช่องด้วยแสงที่มีความยาวคลื่นต่างกันทำให้สามารถส่งข้อมูลได้มากกว่ามหาศาลเมื่อเทียบกับการสื่อสารผ่านสายทองแดงแบบเดิม ลักษณะของใยแก้วนำแสง           ใยแก้วนำแสงมีองค์ประกอบที่สำคัญ 3 ส่วน ส่วนแรกคือ คอร์ (core) เป็นแก้วทำหน้าที่เป็นแกนนำแสงในใยแก้วมีหน้าที่ส่งผ่านสัญญาณแสง   ส่วนที่สองคือแคลดดิ้ง (cladding) เป็นแก้วเช่นกัน ทำหน้าที่เป็นตัวสะท้อนกลับเพื่อให้แสงไม่สามารถผ่านออกจากคอร์ของใยแก้วได้ และส่วนสุดท้ายคือเปลือกหุ้ม (jacket) ส่วนมากทำด้วยพลาสติก มีหน้าที่เป็นตัวสร้างความแข็งแรงให้แก่ใยแก้วนำแสง ลักษณะที่สำคัญที่ทำให้แสงสามารถเดินทางผ่านใยแก้วนำแสงได้คือหลักการสะท้อน กลับของแสงอันเนื่องมาจากความแตกต่างของดัชนีหักเหของแก้วในส่วนที่เป็น คอร์และแคลดดิ้ง   โดยที่คอร์จะต้องมีดัชนีหักเหมากกว่าแคลดดิ้ง   ส่วนการออกแบบลักษณะของดัชนีหักเห […]

พัฒนาการของคอมพิวเตอร์

พัฒนาการของคอมพิวเตอร์             นับแต่ปี พ.ศ. 2489  เป็นต้นมา  เครื่องคอมพิวเตอร์ได้พัฒนาก้าวหน้ามาโดยลำดับ ทั้งทางแนวความคิดด้านอุปกรณ์หรือฮาร์ดแวร์  และโปรแกรมคำสั่งหรือซอฟต์แวร์จนมาถึงปัจจุบัน  และสำหรับอนาคต  เราสามารถแบ่งการพัฒนาคอมพิวเตอร์เป็นยุคต่าง ๆ  ได้ดังนี้ 1.  ยุคแรก  (พ.ศ. 2487 – 2498)  เป็นช่วงที่ผู้สร้างคอมพิวเตอร์กำลังพัฒนาความคิดและทฤษฎีต่าง ๆ  ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ยังเพิ่งอยู่ในช่วงเริ่มต้น  และอยู่ในวงแคบ           ทั้งด้านการออกแบบวงจรคำนวณและการใช้คำสั่ง  คอมพิวเตอร์ในยุคนี้ใช้หลอดสุญญากาศเป็นหน่วยพื้นฐานของวงจร  หน่วยความจำเป็นรีเลย์หรือเป็นหลอดไฟฟ้าสถิต  ซึ่งทำงานช้าและเสียหายง่าย  ภาษาที่ใช้สำหรับสั่งงานเป็นภาษาระดับต่ำหรือใช้สายไฟฟ้าสำหรับเสียบเพื่อสั่งงาน  เครื่องในยุคนี้  ได้แก่  เครื่อง ENIAC 2.  ยุคที่สอง  (พ.ศ. 2499 – 2508)  คอมพิวเตอร์ในยุคนี้นำทรานซิสเตอร์มาใช้แทนหลอดสุญญากาศส่งผลให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้ดีขึ้น  กินไฟน้อย  ตัวเครื่องมีขนาดเล็กลงและใช้พื้นที่ไม่มากนัก  มีการใช้วงแหวนแม่เหล็กเป็นหน่วยความจำ  มีการเพิ่มอุปกรณ์การรับ – ส่งข้อมูลและการแสดงผลลัพธ์ออกไปในหลายอุปกรณ์  เช่น  การใช้จานแม่เหล็ก  การใช้บัตรเจาะรู  การใช้จอภาพและแป้นพิมพ์  การใช้เครื่องพิมพ์  เป็นต้น  คอมพิวเตอร์ในยุคนี้เริ่มต้นใช้ภาษาระดังสูง  เช่น […]

Back To Top