กฎหมายควบคุมอาคาร | Building Regulations

ตามทกระทรวงพลังงานได้ ประกาศกฎกระทรวงกำหนดประเภท หรือขนาดของอาคาร และมาตรฐาน หลักเกณฑ์และวิธิการในการออกแบบอาคารเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2552 ซึ่งมี ผลบังคับใช้ตั้งแต่ วันที่ 20 มิถุนายน 2552 โดยการบังคับใช้กฎกระทรวงดังกล่าวอยู่ระหว่างการพิจารณาให้ความเห็นชอบจากคณะกรรมการควบคุมอาคาร เพื่อนำมาใชบังคับกับการควบคุมอาคารตามมาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ซึ่งกฎกระทรวงดังกล่าวกําหนดให้อาคารที่จะก่อสร้างหรือดัดแปลงที่มีขนาดพื้นที่รวมกันทุกชั้นในหลังเดียวกันตั้งแต่ 2,000ตารางเมตรขึ้นไป สําหรับอาคารประเภทต่างๆ แบ่งเป็น 9 ประเภท ได้แก่ สถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล สถานศึกษา สำนักงาน อาคารชุดตามกฎหมายว่าด้วยอาคารชุดอาคารชุมนุมคนตามกฎหมายว่าดวยการควบคุมอาคาร อาคารโรงมหรสพตามกฎหมายว่าด้วยการ ควบคุมอาคาร อาคารโรงแรมตามกฎหมายว่าด้วยโรงแรม อาคารสถานบรการตามกฎหมายว่าด้วยสถานบริการ และอาคารห้างสรรพสินค้าหรือศูนย์การค้า ต้องออกแบบให้อนุรักษ์พลังงานตามมาตรฐาน หลักเกณฑ์ และวิธีการคำนวณในการออกแบบอาคารที่กฎกระทรวงฯ กำหนด
โดยที่กฎกระทรวงฯ ฉบบนี้ ยังเป็นเรื่องใหม่ ซึ่งผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหลาย ได้แก่ เจ้าของอาคาร ผุ้ออกแบบอาคาร และเจ้าหน้าที่ของรัฐโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้มีอำนาจหน้าที่ในการอนุมัติแบบ อาคารที่จะก่อสรางหรือดัดแปลงซึ่งจะต้องมีความเข้าใจในบทบัญญัติที่เกี่ยวข้อง และหน้าที่ความ รับผิดชอบ ตลอดจนแนวทางวิธีการปฏิบัติเพื่อให้สามารถดำเนินการใหบรรลุ ตามเจตนารมณ์ของกฎหมายอย่างแท้จริง
กฎหมายควบคุมอาคาร คือ กฎหมายที่ต้องการเพื่อควบคุมการก่อสร้างอาคารให้มี ความมั่นคงแข็งแรง มีระบบความปลอดภัยสำหรับผู้ใช้อาคาร เช่น ระบบป้องกันอัคคีภัย ระบบการระบายอากาศ ฯลฯ มีความเป็นระเบียบเรียบร้อย สวยงาม และมีการจัดการด้าน การรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม เช่น การจัดให้มีระบบบำบัด น้ำเสียก่อนปล่อยลงสู่ทางระบาย

กฏหมายควบคุมอาคาร

นิยามความหมายของคาว่า “อาคาร”
“อาคาร” หมายถึง ตึก บ้าน เรือน โรง ร้าน แพ คลังสินค้า สํานักงาน และสิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่น ซึ่งบุคคลอาจเข้าอยู่หรือใช้สอยได้และหมายความรวมถึง
1) อัฒจันทร์หรือสิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่นเพื่อใช้เป็นที่ชุมนุมของประชาชน
2) เขื่อน สะพาน อุโมงค์ทางหรือท่อระบายน้ํา อู่เรือ คานเรือ ท่าน้ํา ท่าจอดเรือ รั้ว กําแพง หรือประตูที่สร้างขึ้นติดต่อหรือใกล้เคียงกับที่สาธารณะ หรือสิ่งที่สร้างขึ้นให้บุคคลทั่วไปใช้สอย
3) ป้ายหรือสิ่งที่สร้างขึ้นสําหรับติดหรือตั้งป้าย ที่มีลกษณะ ดังนี้

  • ที่ติดหรือตั้งไว้เหนือที่สาธารณะและมีขนาดเกิน 1 ตารางเมตร หรือมีน้ำหนักรวมโครงสร้างเกิน 10 กิโลกรัม
  • ที่ติดหรือตั้งห่างจากที่สาธารณะน้อยกว่าความสูงของป้ายและมีความกว้างเกิน 50 เซนติเมตร หรอยาวเกิน 50 เซนติเมตร หรือมีเนื้อที่เกิน 5,000 ตารางเซนติเมตร หรือหนักเกิน 10 กิโลกรัม
  • พื้นที่หรือสิ่งที่สร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นที่จอดรถ ที่กลับรถ และทางเข้าออกของรถสําหรับ โรงมหรสพ ที่มีพื้นที่สําหรับจัดที่นั่งสําหรับคนดูตั้งแต่ 500 ที่ขึ้นไป โรงแรมที่มีห้องพักตั้งแต่
    30 ห้องขึ้นไป อาคารชุดที่มีพื้นที่แต่ละครอบครัวตั้งแต่ 60 ตารางเมตรขึ้นไป ภัตตาคารที่มีพื้นที่สําหรับตั้งโต๊ะอาหารตั้งแต่ 150 ตารางเมตรขึ้นไป ห้างสรรสินค้าที่มีพื้นที่ตั้งแต่ 300
    ตารางเมตรขึ้นไป และอาคารขนาดใหญ่ที่มีพื้นที่อาคารเกิน 1,000 ตารางเมตร โดยมีความสูงอาคารตั้งแต่ 15 เมตรขึ้นไป
  • สิ่งก่อสร้างอย่างอื่นตามที่กําหนดในกฎกระทรวง ได้แก่ ถังเก็บน้ําที่มีความจุตั้งแต่ 100 ลูกบาศก์เมตร สระว่ายน้ำภายนอกอาคารที่มีความจุตั้งแต่ 100 ลูกบาศก์เมตร กําแพงกันดิน
    หรือน้ําที่มีความสูงตั้งแต่ 1.5 เมตร เสาวิทยุโทรทัศน์ที่มีความสูงตั้งแต่ 10 เมตร และสิ่งที่ สร้างขึ้นอย่างอื่นที่มีความสูงตั้งแต่ 10 เมตร ขึ้นไป ตามกฎหมายได้ระบุไว้ในมาตรา 4
  • สําหรับอาคารทั่ว ๆ ไป เช่น อาคารอยู่อาศัย เมื่อก่อสร้างเสร็จแล้วสามารถเข้าอยู่อาศัยหรือ ใช้สอยได้ทันทีแต่อาคารบางประเภทเมื่อก่อสร้างเสร็จแล้วก่อนเข้าไปอาศัยหรือใช้สอย
    อาคารหรือหากมีการเปลี่ยนแปลงการใช้อาคารมาเป็นอาคารประเภทตามที่กฎหมาย กําหนดต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงาน ท้องถิ่นก่อนจึงจะสามารถเข้าใช้สอยอาคารนั้นได้
    จึงเรียกอาคารที่ถูกควบคุมเช่นนี้ว่า “อาคารควบคุมการใช้”

กฏหมายควบคุมอาคารเบื้องต้น

  1. สามารถสร้างบ้านชิดรั้วบ้านได้แต่ผนังบ้านรั้วต้องปิดทึบ

ในกรณีแรกที่จะเป็นปัญหากับเพื่อนบ้านอยู่เสมอคือการที่มีบ้านอีกหลังใดหลังนึงต่อเติมหรือสร้างบ้านจนมาชิดรั้วบ้านเรา ซึ่งเมื่อใดก็ตามที่จะสร้างบ้านแบบนี้ เจ้าของบ้านต้องได้รับการยินยอมจากเพื่อนบ้านเป็นลายลักษณ์อักษร โดยที่ผนังบ้านจะต้องไม่มีหน้าต่าง ช่องลม ช่องแสงใดๆ เป็นเด็ดขาด แน่นอนว่ากรณีนี้ย่อมเกิดปัญหาทีหลังเพราะถ้าเพื่อนบ้านไม่ยินยอมเช่นนั้น ซึ่งหากไม่อยากให้เรื่องยืดยาว ให้เว้นระยะห่างตัวบ้านจากรั้วบ้านหรือแนวดิน ไม่น้อยกว่า 50 เซนติเมตรแต่ยังคงต้องเป็นผนังทึบเช่นเดิม และติดตั้งรางน้ำฝนเพื่อป้องกันน้ำไหลลงฝั่งเพื่อนบ้านที่จะเป็นเหตุให้วิวาทกันภายหลังหลังด้วย

2. ผนังบ้านที่มีประตูหน้าต่างต้องมีระยะห่างจากแนวรั้วอย่างน้อย 2 เมตร

ในกรณีที่ผนังบ้านมีประตูหน้าต่างตัวบ้านชั้น 1 และชั้น 2 จะต้องอยู่ห่างจากรั้วอย่างน้อย 2 เมตร หากเป็นบ้าน 3 ชั้น ต้องอยู่ห่างจากรั้วอย่างน้อย 3 เมตร ซึ่งบางครั้งขนาดของที่ดินก็เป็นตัวกำหนดจำนวนชั้นของบ้านด้วยเช่นกัน เพราะหากมีที่ดินขนาดเล็กแต่พอเว้นระยะห่างชั้น 3 จากรั้วบ้านทุกด้านแล้วกลายเป็นว่าเหลือพื้นที่ใช้งานพียงน้อยนิดก็ย่อมไม่คุ้มหากจะสร้างบ้านถึง 3 ชั้นด้วยกัน

3. สร้างบ้านล้ำเข้าถนนสาธารณะไม่ได้

ข้อนี้เป็นที่แน่นอนอยู่อยู่แล้วว่าตัวบ้านจะล้ำเข้าไปในพื้นที่ถนนสาธารณะไม่ได้ และตัวบ้านต้องมีระยะห่างจากกึ่งกลางถนนสาธารณะอย่างน้อย 3 เมตรโดยวัดจากกึ่งกลางถนนสาธารณะที่มีความกว้างน้อยกว่า 6 เมตร ซึ่งถนนสาธารณะก็คือถนนที่ให้คนทั่วไปสัญจรโดยจะเก็บเงินหรือไม่เก็บเงินก็ตาม

4. แต่ละห้องต้องมีหน้าต่างหรือช่องแสง

การกำหนดพื้นที่ใช้งานให้เป็นสัดส่วน ในการสร้างห้องแต่ละห้องภายในบ้านสำหรับทำกิจกรรมต่างๆในบ้าน ไม่ว่าจะเป็นห้องน้ำ ห้องครัว ห้องนอน หรือห้องเก็บของ จะต้องมีพื้นที่สำหรับระบายอากาศทั้งประตู หน้าต่าง ช่องแสง ช่องลม รวมกันแล้วไม่น้อยกว่า 10% ของพื้นที่ในห้องนั้นๆ หากจะสร้างห้องทึบไม่มีช่องระบายอากาศเลยหรือน้อยกว่า 10% ของพื้นที่ถือว่าผิดกฎหมายอาคารทันที

5. ห้องนอนต้องมีพื้นที่ใช้งานไม่น้อยกว่า 8 ตารางเมตร

แน่นอนว่าคนเราใช้ชีวิตในห้องนอนแต่ละวันนั้นอย่างน้อยก็เป็นเวลาไม่ต่ำกว่า 8 ชั่วโมง จึงเป็นเรื่องจำเป็นมากที่พื้นที่ห้องนอนจะต้องมีขนาดที่กว้างขวางและโปร่งโล่ง เพื่อให้เกิดสภาวอยู่สบาย ตรงนี้ก็มีข้อกฎหมายระบุไว้ว่า ห้องนอนนั้นต้องมีพื้นที่ไม่น้อยกว่า 8 ตารางเมตร และมีด้านแคบสุดไม่น้อยกว่า 2.5 เมตร หากพื้นที่ในห้องมีขนาด 3 x 2.5 เมตร หรือด้านที่แคบเพียง 2 เมตรแต่มีความยาว 5 เมตร ซึ่งรวมแล้วมีพื้นที่ 10 ตารางเมตรก็ไม่สามารถจัดสรรเป็นห้องนอนได้เช่นกัน

6. เพดานห้องน้ำต้องสูงไม่ต่ำกว่า 2 เมตร

ประเด็นนี้เกี่ยวเนื่องกับห้องน้ำใต้บันไดที่มักนิยมสร้างเพื่อเป็นห้องน้ำรวมสำหรับแขก แต่รู้หรือไม่ การสร้างห้องน้ำใต้บันไดนั้นต้องพิจารณาถึงระดับความสูงของเพดานห้องด้วย ซึ่งหากพื้นที่ตรงนั้นมีเพดานด้านที่สูงน้อยที่สุดไม่ถึง 2 เมตรก็ไม่สามารถทำเป็นห้องน้ำเพื่อใช้งานได้

7. ขนาดของบันไดต้องมีขนาดไม่น้อยกว่า 80 เซนติเมตร และ ความสูงของแต่ละช่วงไม่เกิน 3 เมตร

อีกหนึ่งจุดสำคัญในบ้านคือบันได เพราะเป็นจุดเสี่ยงที่ก่อให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่าย การสร้างบ้านจึงมีข้อกฎหมายบังคับไว้อย่างชัดเจนว่า บันไดในบ้านจะต้องมีความกว้างไม่น้อยกว่า 80 เซนติเมตร และในแต่ละช่วงต้องมีความสูงไม่เกิน 3 เมตร หากมากกว่านี้จะต้องมีชานพักบันได ซึ่งชานพักบันไดต้องมีระยะห่างแนวดิ่งหรือความสูงจากบันไดอีกชั้นไม่น้อยกว่า 1.9 เมตร ซึ่งชานพักบันไดก็เป็นอีกหนึ่งจุดที่ช่วยลดระดับความรุนแรงในการเกิดอุบัติเหตุได้

ทั้งนี้ถ้าเราอยากศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับกฏหมายควบคุมอาคารก็สามารถซื้อหนังสือ หรือ ศึกษาทางเว็บไซด์ ได้……ทางผมได้อ่านแล้วสรุปมาคร่าวๆ ครับ

Visits: 1179

Comments

comments

Back To Top