Skip to content

จากการที่ข้าพเจ้าได้เข้าไปศึกษา เรื่อง การทำงานร่วมกันแบบออนไลน์ด้วย กูเกิลด็อก กูเกิลชีท กูเกิลสไลด์ | Online collaboration with Google Docs, Google Sheets and Google Slides อาจเป็นตัวช่วยหนึ่งในการปฏิบัติงานนอกสถานที่ง่ายขึ้น เนื่องจากเป็น Application สำหรับสร้าง จัดการงานเอกสารประมวลผล และนำเสนอ ที่สามารถอนุญาตให้บุคคลอื่นใช้บัญชี google มีส่วนร่วมในการทำงาน แก้ไขบนไฟล์ที่ได้รับอนุญาตได้แบบ Real Time

ซึ่งได้รวบรวมเกร็ดความรู้มากฝากคะ

Google Docs เป็นโปรแกรม สำหรับสร้างงานเอกสาร และสามารถจัดรูปแบบเอกสารได้เช่นเดียวกับ Microsoft Word โดยสามารถเข้าใช้งานได้ผ่าน Web Browser เมื่อเข้าสู่หน้าเว็บ หน้าแรกของ Google Docs ต้องลงชื่อเข้าใช้งานก่อน เมื่อเข้าสู่เว็บ หน้าแรกของ google docs สามารถสร้างเอกสารใหม่ได้ โดยคลิกเครื่องหมายบวก ในช่อง Blank เพื่อสร้างเอกสารใหม่แต่ถ้าหากต้องการใช้รูปแบบ Theme สำเร็จหรือ Template ก็ให้คลิกเลือกรูปแบบที่ต้องการหรือเลือกรูปแบบเพิ่มเติมที่ Template Gallery ก็จะปรากฎหน้าต่างหลักของ Google Docs ซึ่งจะอยู่ในรูปแบบของหน้ากระดาษขนาดมาตรฐาน กระดาษ A4 และหากเราเลือกเป็น Theme ก็สามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบจากที่กำหนดไว้แล้วได้สามารถกำหนดหรือตั้งต่าของหน้ากระดาษโดยการคลิกคำสั่ง file เลือก Page Setup ก็จะปรากฎหน้าจอเครื่องมือตั้งค่าหน้ากระดาษโดยจะประกอบไปด้วย

Orientation    คือ การกำหนดแนวของกระดาษ
Portrait         คือ กำหนดกระดาษเป็นแนวตั้ง
Landscape     คือ การกำหนดกระดาษเป็นแนวนอน
Paper Size     คือ การกำหนดขนาดของกระดาษ
Page color     คือ การกำหนดสีพื้นของเอกสาร
Margins         คือ การกำหนดระยะขอบของกระดาษทั้งขอบด้านบน ขอบด้านล่าง ขอบด้านซ้ายและขอบด้านขวา

การแทรกรูปภาพใน Google Docs ทำได้โดยคลิกไอคอน Image ซึ่งจะสามารถแทรกรูปภาพได้จากหลายแหล่งที่มา เช่น upload from computer, Search the Web Google Drive หรือจากกล้องของคอมพิวเตอร์ซึ่งสามารถปรับแต่งรูปภาพได้ เช่น ปรับขนาด, หมุนภาพได้ กำหนดให้ภาพอยู่ในบรรทัด หรือ In Line ได้

Google Slides สามารถเข้าใช้งานได้ผ่าน web Browser และต้องลงชื่อเข้าใช้ก่อน เมื่อเข้าสู่หน้าเว็บ หน้าแรกของ Google Slides สามารถสร้างชุดนำเสนอใหม่ได้ โดยคลิกเครื่องหมายบวก ในช่อง Blank เพื่อสร้างงานนำเสนอใหม่ แต่ถ้าหากต้องการใช้รูปแบบ Theme สำเร็จรูปก็ให้คลิกเลือกรูปแบบที่ต้องการ สามารถใส่ข้อมูลต่างๆ ได้เพื่อทำงานนำเสนอ เช่น ข้อความ รูปภาพ เสียง หรือวิดิโอ เป็นต้น

การใส่ภาพลง Slide ทำได้โดยการคลิกไอคอน Image ซึ่งก็จะสามารถแทรกรูปภาพได้จากหลายแหล่งที่มา เช่น รูปภาพจาก Computer Website หรือจาก Google Drive และสามารถจัดรูปแบบเพิ่มเติมได้โดยการเลือก Format Options โดยจะสามารถทำการปรับขนาด กำหนดตำแหน่งภาพ และยังสามารถปรับโทนสีของรูปภาพได้อีกด้วย

การแทรกวิดีโอ โดยการคลิก Insert และ Video โดยจะสามารถแทรกวิดีโอได้จากทั้ง Computer Website YouTube และ Google Drive ได้อีกด้วย การกำหนดรูปแบบการเล่นวิดีโอ ที่ Video playback โดยสามารถดูตัวอย่างการเล่นวิดีโอ กำหนดเวลาของวิดีโอที่ต้องการเริ่มเล่นและหยุดเล่นได้

การสร้างการเชื่อมโยง วิธีการสร้างจุดเชือมโยง หรือ Link ได้ โดยเลือกสิ่งที่จะใช้เป็นจุดเชื่อมโยง อาจจะเลือกเป็นรูปทรง กล่องข้อความหรือข้อความในกล่องข้อความก็ได้ เมื่อคลิกเลือกสิ่งที่จะใช้เป็นจุดเชื่อมโยงแล้ว คลิกไอคอน Insert Link จะปรากฎหน้าต่างสำหรับระบุ Link โดยจะสามารถระบุได้  2 แบบ คือ ส่วนที่ 1 การเชื่อมโยงไปยังแหล่งอื่นๆ โดยระบุตำแหน่งที่ช่อง Paste a Link or Search แล้วคลิกปุ่ม Apply ที่จุดเชื่อมโยงก็จะแสดง Link ตำแหน่งปลายทาง ส่วนที่ 2 การเชื่อมโยงไปยัง Slide ต่างๆ ภายในไฟล์นำเสนอนี้ให้คลิกที่ Slides in This Presentation โดยคลิกเลือก Slide ปลายทางที่ต้องการเชื่อมโยง แล้วคลิกปุ่ม Apply

การนำเสนอ คลิกปุ่มไอคอน Present เพื่อเริ่มการนำเสนอจะแสดง Slide เต็มหน้าจอ พร้อมทั้งเครื่องมือควบคุมการนำเสนอ เมื่อต้องการออกจากการนำเสนอ ก็ให้คลิกปุ่ม Exit ก็จะกลับสู่หน้าแก้ไข Slide สามารถใส่ Note เป็นคำอธิบายข้อมูลในแต่ละ Slide ได้ โดยคลิกที่ Click to add speaker note แล้วก็ทำการพิมพ์ Note

Google Sheets เป็นโปรแกรม หรือ Application สำหรับสร้างตารางคำนสณ โดยสามารถจัดรูปแบบตารางและประมวลผลข้อมูลในตารางได้ เมื่อเข้าสู่หน้าเว็บหน้าแรก ของ google sheets เราก็สามารถสร้างเอกสารใหม่ได้โดยคลิก เครื่องหมายบวก ในช่อง Blank เพื่อสร้างเอกสารตารางคำนวณใหม่ และมีรูปแบบ Theme สำเร็จรูป การใช้งาน google sheets จะมีความคล้ายกับ Microsoft Excle ประกอบด้วยการใส่ข้อมูลและปรับแต่ง การแทรก ลบ แถวหรือคอมลัมน์ การใส่ข้อมูลที่เป็นสูตรหรือฟังก์ชั่น การสร้างแผนภูมิ เป็นต้น

ไฟล์เอกสารของ Google สามารถ Share ให้กับบัญชี google อื่นๆ ได้ การกำหนดสิทธิ์ในการเข้าถึงข้อมูลให้กับบัญชีที่ต้องการทำงานร่วมกันซึ่งมี 3 รูปแบบ ดังนี้
Can edit คือ สามารถแก้ไข ปรับปรุงไฟล์หรือโฟลเดอร์ได้
Can comment คือ สามารถเพิ่มคอมเม้นหรือให้คำแนะนำแก่เจ้าของไฟล์ได้
Can view คือ สามารถดูไฟล์หรือโฟลเดอร์ได้เพียงอย่างเดียวเท่านั้น

ผู้ใช้งาน Internet ได้โดยทำการตั้งค่าในส่วนของ Who has access ให้คลิกที่ Change จะปรากฎหน้าต่าง link sharing

โดยเราสามรถตั้งค่าได้ 3 รูปแบบ คือ

On-Public on the web หรือแบบสาธารณะ คือ ผู้ใช้งานทุกคนสามารถค้นหาไฟล์ที่แบ่งปันนี้ได้โดยผู้ใช้งานไม่จำเป็นต้องมี Google Account ซึ่งจะเหมาะสำหรับเอกสารที่ต้องการเผยแพร่สู่สาธารณะ ไม่มีความลับที่ต้องปกปิด

On-Anyone with the link หรือ ทุกคนที่มี Link คือผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงไฟล์ โดยได้รับ Link จากเจ้าของไฟล์ส่งให้เท่านั้นส่วนคนอื่นก็ไม่สามารถเข้าถึงไฟล์ได้ผู้ใช้งานไม่จำเป็นต้องมี Google Account ก็สามารถเข้าใช้งานได้เหมาะสำหรับการแชร์ไฟล์ให้เฉพาะบุคคล
Off-Specific people หรือ ผู้ใช้ที่ระบุเท่านั้น คือผู้ใช้ต้องมี Google Account และถูกระบุชื่อจากเจ้าของไฟล์เท่านั้น ถึงจะเข้าใช้งานได้เหมาะสำหรับเอกสารที่ต้องการแบ่งปันเฉพาะบุคคลเท่านั้นเมื่อกำหนดการตั้งค่าเสร็จเรียบร้อยแล้วให้คลิกปุ่ม Save เพื่อทำการบันทึกจากนั้นคลิกปุ่ม Done ที่หน้าต่าง Sharing settings ซึ่งการตั้งค่าการแบ่งปันรูแปบบต่างๆ ก็ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการ share

ที่มา  https://lms.thaimooc.org/courses/course-v1:SCT+SCT002+2019/course/

เนื้อหาจากรายวิชาของ SCT: SCT002 การทำงานร่วมกันแบบออนไลน์ด้วย กูเกิลด็อก กูเกิลชีท กูเกิลสไลด์ | Online collaboration with Google Docs, Google Sheets and Google Slides

เจ้าของผลงาน ชื่นณัสฐา  เสนาะโสตร์

Visits: 127

Comments

comments