Category: การออกแบบการเรียน

การเรียนรู้ที่มีคุณค่า : Open Educational Resources (OER) คลังทรัพยากรการศึกษาแบบเปิด

• การเรียนรู้ที่มีคุณค่า ก็คือ การเรียนรู้แบบร่วมมือ การแบ่งปันความรู้ ไม่ยึดถือในความเป็นเจ้าของมากเกินไป แนวคิดการสร้างช่องทางการเรียนรู้ที่เข้าถึงได้อิสระเสรี จึงเป็นแนวคิดของการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong Learning) โดยมีหัวใจสำคัญอยู่ที่การแบ่งปันแหล่งทรัพยากรด้านการศึกษาที่มีคุณภาพสู่สังคมโลกเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ทางด้านการศึกษาได้อย่างเสรี • แหล่งทรัพยากรการศึกษาแบบเปิด หรือ OER : Open Educational Resources เป็นนวัตกรรมหนึ่งในวงการศึกษาที่ก่อกำหนดขึ้นมาภายใต้แนวคิดดังกล่าว โดยมีจุดเริ่มต้นมาจากโครงการขององค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือยูเนสโก (UNESCO) ที่ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (Massachusetts Institute of Technology หรือ MIT) สถาบันอุดมศึกษาที่มีชื่อเสียงด้านเทคโนโลยีของประเทศสหรัฐอเมริกา โดยพัฒนารวบรวมสื่อการเรียนรู้ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์แบบเปิด (Open Courseware) เผยแพร่ไว้ในเว็บไซต์ที่มีวัตถุประสงค์ทุกคนสามารถนำไปใช้ได้โดยไม่มีค่าใช้จ่ายและไม่มีข้อจำกัดในการใช้งาน ความสำเร็จของโครงการทำให้แนวคิดในการพัฒนาและแบ่งปันความรู้แก่มวลมนุษยชาติได้รับการยอมรับในชื่อของ “แหล่งทรัพยากรการศึกษาแบบเปิด” • ปัจจุบันมีแหล่งสนับสนุนและให้บริการ OER เกิดขึ้นมากมายทั่วโลก ส่วนใหญ่เป็นภาษาอังกฤษ และห้องสมุดสถาบันการศึกษาจำนวนมาก ก็ได้ผนวกทรัพยากรการเรียนรู้ดังกล่าว เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของสื่อการเรียนรู้แนะนำสำหรับนักศึกษาและผู้สอน สำหรับประเทศไทยมี OER ที่มีชื่อว่า คลังทรัพยากรการศึกษาแบบเปิด หรือ Thai Open Educational […]

เรื่องเล่า…จากหลักสูตรการสร้างวีดิทัศน์สำหรับรายวิชา MOOC บน ThaiMOOC

ThaiMOOC “เคยเรียนแล้ว และเมื่อมาเรียนอีก ก็ยิ่งรู้…ยิ่งเข้าใจ และยิ่งตระหนักในความสำคัญของการเตรียมการ“ “รายวิชานี้จะเป็นเรื่องของการจัดการเรียนการสอน ในเรื่องของการผลิตสื่อวีดิทัศน์เพื่อใช้เป็นสื่อการสอนออนไลน์บนระบบเปิด ซึ่งเมื่อเรียนแล้วจะช่วยให้เข้าใจกระบวนการ ขั้นตอนการผลิตรายวิชาบนระบบ MOOC ได้ดียิ่งขึ้นเหมาะสำหรับอาจารย์ ผู้เกี่ยวข้อง รวมถึงผู้ที่สนใจการสร้างวีดิทัศน์บนสื่อออนไลน์ทุกคน ที่จะรู้และเข้าใจในกระบวนการและหน้าที่ของตัวเอง” ต้องออกตัวก่อนว่า ผู้เขียนเคยเรียนรายวิชานี้เมื่อนานมาแล้ว เนื่องจากต้องมาเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างวีดิทัศน์สำหรับรายวิชาที่จะเปิดสอนบน ThaiMOOC ตอนนั้นยังเรียนเพราะความจำเป็น เรียนโดยไม่มีความรู้อะไรเกี่ยวกับ ThaiMOOC เลย แต่วันนี้เมื่อเวลาผ่านมาหลายปี ได้มีโอกาสกลับมาทบทวนใหม่ก็พบว่า “ยิ่งเรียนยิ่งรู้ – ยิ่งอ่านยิ่งใช่” เอาเนื้อหามาจับกับประสบการณ์ที่เราต้องทำ ทำให้ตระหนักและเข้าใจการทำงานมากขึ้น ทั้งยังช่วยตอกย้ำว่า การเตรียม หรือการวางแผนก่อนที่จะผลิตวีดีทัศน์สักหนึ่งชิ้นนั้น…มีความสำคัญอย่างยิ่ง หลักสูตรการสร้างวีดิทัศน์สำหรับรายวิชา MOOC (VidoeX-Thai) สอนโดยรศ.ดร. สุรพล บุญลือ อาจารย์ประจำภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา ม.เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เนื้อหาจะไล่ลำดับตามขั้นตอนการผลิต ซึ่งแบ่งเป็น 4 ขั้นตอน อันเป็นขั้นตอนพื้นฐานของการผลิตวีดิทัศน์โดยทั่วไป แต่ในส่วนของรายละเอียดนั้นจะจำเพาะเจาะลงไปในส่วนที่ผู้ผลิตรายวิชาบท MOOC ต้องรู้ ควรรู้ หรือทำตาม พร้อมแทรกเกร็ดความรู้ เทคนิคต่าง ๆ ที่มีประโยชน์สำหรับผู้ที่เกี่ยวข้องอย่างมาก ซึ่งจะนำส่วนที่คิดว่ามีประโยชน์มาฝาก […]

นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการสื่อสารการศึกษาและการเรียนรู้ | Innovation and Information Technology for Educational Communication and Learning

การออกแบบระบบการเรียนการสอน การออกแบบระบบการเรียนการสอนจะประกอบด้วยกระบวนการต่าง ๆ เพื่อเป็นแนวทางไปสู่ความสำเร็จในการเรียนการสอนตามที่ตั้งจุดมุ่งหมายไว้ ดังนั้น เมื่อมีการออกแบบระบบการเรียนการสอน ผู้ออกแบบจะต้องดำเนินงานตามกระบวนการ 5 ขั้นตอน ในการออกแบบ โดยหลักการพื้นฐานในการออกแบบระบบการเรียนการสอน (Instructional Systems Design (ISD) model/framework) ที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย คือ ADDIE Model หรือแบบจำลอง ADDIE ที่มีองค์ประกอบ 5 ขั้นตอน คือ การวิเคราะห์ (Analysis) การออกแบบ (Design) การพัฒนา (Development) การนำไปใช้ (Implementation) และการประเมินผล (Evaluation)  การวิเคราะห์ (A: Analysis) การวิเคราะห์เป็นขั้นตอนแรกของกระบวนการออกแบบระบบการเรียนการสอน ผู้ออกแบบจะต้องกำหนดความจำเป็นในการเรียน ทำการวิเคราะห์เนื้อหาหรือกิจกรรมการเรียนการสอน คุณลักษณะของผู้เรียน และวัตถุประสงค์ของการเรียนการสอนเพื่อรวบรวมข้อมูล สำหรับใช้เป็นแนวทางในการกำหนดขอบเขตของบทเรียน ขั้นการวิเคราะห์ การออกแบบ (D: Design) การออกแบบในระบบการเรียนการสอนจะใช้ข้อมูลที่ได้รับจากขั้นกระบวนการวิเคราะห์ เพื่อการตัดสินใจว่าจะสอนอย่างไรจึงจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ การออกแบบเป็นกระบวนการกำหนดว่าจะดำเนินการเรียนการสอนอย่างไร โดยมีการเขียนวัตถุประสงค์ กำหนดวิธีสอนและกลยุทธ์ในการเรียนการสอนเพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ กำหนดเนื้อหาบทเรียนและแบ่งย่อยหัวข้อและลำดับการนำเสนอเนื้อหาเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้สูงสุด […]

การออกแบบและสร้างสื่อ Interactive เพื่อการเรียนการสอนบน Smartphone

การเพิ่มเสียงลงใน Slide กระบวนการในการสร้างสื่อมัลติมีเดียด้วย storyline3 มาหลายอย่างแล้วแต่สื่อเรายังขาดความน่าสนใจอยู่อย่างนึงนั้นคือยังไม่มีเสียงวิธีการใส่เสียงใน storyline3เราต้องรู้ก่อนว่าในสื่อมัลติมีเดีย จะมีเสียงอยู่ 3 ประเภทหลักๆคือเสียง blackgroud musicคือเสียงที่เล่นอยู่บนพื้นหลังเช่นอนิเมชั่นก็วิ่งไปสื่อของเราก็วิ่งไป และมีเสียงดนตรีคลออยู่ด้านหลัง2 คือเสียงบรรยาย เสียงพากย์เสียงพูดตามข้อความที่ปรากฏอยู่บนจอภาพและสุดท้ายก็คือเสียง soundtrackเสียงที่จะดังขึ้นตอนเรากดปุ่ม กดปุ่ม Ok กดปุ่ม Next หรือปุ่มใดๆก็แล้วแต่   วิธีใส่เสียงbackground music ซึ่งเราจะให้เสียง background music เป็นเพลงที่คลอไป ตอนที่มีอนิเมชั่นของหน้า title screen วิ่งเข้ามาวิธีการใส่ก็ง่ายมาก ขั้นตอนการใส่เสียง background music  กดที่ insert เลือก audio จากนั้นเลือก audio from fileเราสามารถเลือกเสียงที่เราเตรียมเอาไว้ได้            โดยเสียงที่ storyline รองรับก็จะเป็นไฟล์เสียงหลายๆแบบ แต่ที่นิยมคือMP3 และ wav ไฟล์ กด openเมื่อเรากด open แล้วก็จะมีการเพิ่มtrack เข้ามาใหม่ ซึ่งเป็น […]

นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการสื่อสารการศึกษาและการเรียนรู้

ความหมายของระบบ ระบบ หมายถึง ผลรวมขององค์ประกอบย่อยต่าง ๆ โดยที่องค์ประกอบย่อยแต่ละองค์ประกอบทำงานเป็นอิสระจากกัน แต่มีปฏิสัมพันธ์กันเกี่ยวเนื่องต่อกัน ซึ่งอาจเกิดขึ้นโดยธรรมชาติ หรือเป็นระบบต่าง ๆ ที่มนุษย์ออกแบบและสร้างขึ้น เพื่อให้การดำเนินการบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ ความสำคัญของระบบ 1. การทำงานอย่างเป็นระบบเป็นการจัดสิ่งต่าง ๆ ในการทำงานอย่างเป็นระเบียบเรียบร้อยเป็นแบบแผนเพื่อป้องกันความสับสน อาจมีการออกกฎระเบียบในการทำงานเพื่อขจัดความขัดแย้งระหว่างผู้ร่วมงานหรือผู้อยู่ในระบบนั้น 2. การจัดระบบเอื้อให้เกิดความสะดวกรวดเร็วและไม่เกิดความซ้ำซ้อนในการทำงาน 3. ระบบจะช่วยให้ทำงานง่ายขึ้นเป็นการประหยัดเวลาและงบประมาณ 4. การทำงานจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล คุณลักษณะของระบบ ตามที่ได้กล่าวไปแล้วว่า การทำงานอย่างมีระบบช่วยให้งานมีประสิทธิภาพ และหากจะระบุถึงคุณลักษณะของระบบ อาจกล่าวได้ว่าระบบมีคุณลักษณะ 8 ประการ ได้แก่ 1. มีส่วนประกอบหรือระบบย่อย 2. ส่วนประกอบมีความสัมพันธ์และเกี่ยวเนื่องกัน 3. ถ้าเกิดการเปลี่ยนแปลงของส่วนประกอบหนึ่งขึ้นก็จะเกิดผลกระทบทั้งระบบ 4. ส่วนประกอบแต่ละส่วนมีจุดประสงค์ร่วมกัน 5. ระบบจะมีความซับซ้อน 6. แต่ละระบบจะมีระบบที่ใหญ่กว่า 7. ระบบจะทำการปรับตัวเอง โดยอาศัยผลสะท้อนกลับ 8. ทุกระบบจะมีกระบวนการเป็นของตนเอง Visits: 19prajak

การออกแบบการเรียนการสอนผ่านเว็บ

การเรียนเรื่อง การออกแบบการเรียนการสอนผ่านเว็บ | Web-Based Learning Design ในการออกแบบและพัฒนาเว็บเพื่อการเรียนการสอน ประกอบไปด้วย 5 ขั้นตอน คือ การวิเคราะห์ การออกแบบ การพัฒนา การนำไปใช้ และการประเมินผล           ในส่วนของการวิเคราะห์ประกอบไปด้วยการวิเคราะห์ผู้เรียน การวิเคราะห์เนื้อหา วัตถุประสงค์ การวิเคราะห์ และการวิเคราะห์บริบท ซึ่งการวิเคราะห์ทั้ง 4 ประเด็นนี้ถือว่ามีความจำเป็น และสำคัญมาก ช่วยให้สามารถออกแบบและพัฒนาเว็บให้มีความเหมาะสม ตรงกับพื้นฐาน และความต้องการของผู้ใช้           การออกแบบต้องพิจารณาทั้งเนื้อหา วัตถุประสงค์ บริบท เพื่อให้สามารถตอบสนองความต้องการของผู้เรียนได้ รวมไปถึงรูปแบบตัวอักษร การใช้สี การใช้ภาพกราฟฟิก การใช้วิดีทัศน์ การใช้ภาพเคลื่อนไหว การใช้เสียง การเรียงเนื้อหาในแต่ละหน้า เพื่อให้เนื้อหาสอดคล้อง และเข้าใจ เข้าถึงง่าย เหมาะสมกับผู้เรียน การพัฒนา เป็นขั้นตอนการทำเว็บให้สวยงาม การใช้ภาษาในการทำเว็บให้เหมาะสม การใช้เครื่องมือต่างๆ เพื่อสร้างเว็บทำให้เว็บสวยงาม มีความน่าใช้ ดึงดูดความสนใจของผู้เรียน การนำไปใช้ ในการทำไปใช้ ต้องให้มีความสอดคล้องเหมาะสมกับผู้เรียน […]

Back To Top