Category: บริการห้องสมุด

AI Writing Detection : ตรวจจับการเขียนด้วย AI

รายงานการตรวจระบุว่าข้อความส่วนใดบ้างที่สร้างขึ้นโดย AI และประโยคเหล่านั้นจะถูกเน้นด้วยสีน้ำเงินให้ทราบว่าส่วนใดบ้างที่อาจจะเขียนโดย AI มีเฉพาะ Instructor เท่านั้นที่จะเห็นรายงานผลการตรวจ AI Writing

ลบต้นฉบับออกจากคลัง Turnitin

ปัญหา self plagiarism เกิดจากการตั้งค่าเก็บเป็นต้นฉบับ การลบชิ้นงานออกจากคลังต้นฉบับของโปรแกรม Turnitin สามารถลบได้โดยผ่านชิ้นงานที่ส่งตรวจในห้องของ Instructor

PDCA การจองห้องฉายหนัง Mini theater

(P=Plan วางแผน) ด้วยศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษาไม่ได้รวมห้องจัดฉายภาพยนตร์ Mini theater 72 ที่นั่ง ในพื้นที่บริการศูนย์บรรรณสารและสื่อการศึกษา ชั้น 1 ให้จองห้องประชุมและการใช้งานผ่านระบบ Online Ebooking ของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ดังเช่น ห้องประชุมทางไกลระเบียงบรรณ 1 ห้องประชุมระเบียงบรรณ 2-3 ในพื้นที่เดียวกัน เนื่องจากจำเป็นต้องกลั่นกรองการใช้งานตามนโยบายของศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา บริหารจัดการใช้งานเฉพาะหน่วยงาน ดังเช่น ห้องประชุมระเบียงบรรณ 4 สงวนสิทธิ์รองรับภารกิจของหน่วยงาน จัดกิจกรรม ประชุม สัมนา ต้อนรับคณะเยี่ยมชม ใช้ห้องเพื่อสนับสนุนการเรียนการสอน ก่อนเป็นอันดับแรก การให้บริการห้องจึงยังเป็นระบบบริหารจัดการเฉพาะภายในหน่วยงาน และต้องมีเจ้าหน้าที่ควบคุมดูแลเมื่อมีการใช้ห้องทุกครั้ง เจ้าหน้าที่จะเป็นผู้รับคำขอใช้ห้อง โดยใช้เครื่องมือปฏิทิน Google calendar ที่สร้างขึ้นมาเพื่อใช้กันในเฉพาะฝ่ายส่งเสริมการเรียนรู้และให้บริการการศึกษา ตรวจสอบห้องว่างตามวันเวลาที่กำหนดเงื่อนไขในการให้บริการ และได้สร้าง Google form เพื่อบันทึกรับจอง รายงานสถิติการใช้งาน ให้เกิดการใช้ประโยชน์สูงสุด ต่อมาเมื่อมีการเปิดให้บริการกลุ่มนักศึกษาตั้งแต่ 10 คนขึ้นไปจองใช้บริการ เพื่อเพิ่มทักษะภาษาต่างประเทศ และเรียนรู้วัฒนธรรมนานาชาติจากการชมภาพยนตร์ จึงมีการขอใช้บริการห้องจัดฉายภาพยนตร์ Mini theater เพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก […]

โครงการขนมล่อมด

ในช่วงก่อนสอบและระหว่างสอบปลายภาค ศูนย์บรรณสารฯ จะจัดกิจกรรมพิเศษกิจกรรมหนึ่งเรียกว่า “โครงการขนมล่อมด” ซึ่งเริ่มต้นจัดเมื่อปี พ.ศ. 2561 มีแนวคิดจากนักศึกษาต้องอ่านหนังสือเตรียมสอบต่อเนื่องเป็นเวลานาน และบรรยากาศการอ่านหนังสือที่หอพักไม่เอื้อต่อการใช้สมาธิ เช่น มีเสียงรบกวน และกลางคืนหาอาหารทานยาก ต้องใช้เวลาในการเดินทางออกจากห้องสมุดไปศูนย์อาหาร (ขณะนั้นยังไม่มีบริการส่งอาหาร และยังไม่มีร้านอาหารว่างเปิดบริการที่อาคารบรรณสารและสื่อการศึกษา) ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา ได้จัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านหนังสือช่วงสอบปลายภาค โดยได้รับงบประมาณสนับสนุนจากผู้บริหาร คณาจารย์ และหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัยร่วมสมทบทุนให้ศูนย์บรรณสารฯ จัดหาอาหารว่างและเครื่องดื่มร้อน-เย็น ให้นักศึกษาที่มาใช้บริการศูนย์บรรณสารฯ ช่วงขยายเวลา 17.00-24.00 น. มาเป็นเวลาหลายปี และนักศึกษาพึงพอใจในกิจกรรมนี้มาก และสถิติการเข้าใช้ห้องสมุดในช่วงเวลาดังกล่าวได้เพิ่มมากขึ้นด้วย ซึ่งต่อมาได้งดกิจกรรมพิเศษนี้ไปเนื่องจากมาตรการโควิด-19 ในภาคการศึกษาที่ 1/2565 เมื่อเปิดการเรียนการสอน Onsite 100 เปอร์เซ็นต์ ศูนย์บรรณสารฯ ได้กลับมาขยายเวลาเปิดบริการถึงเที่ยงคืนอีกครั้ง เพื่อให้นักศึกษาได้มีสถานที่เหมาะสมแก่การศึกษาค้นคว้า บรรยากาศเหมาะสมต่อการอ่านหนังสือเตรียมสอบ ซึ่งการให้บริการอาหารว่างและเครื่องดื่มก็จะปรับเปลี่ยนไปตามงบประมาณที่เปลี่ยนไป แต่ได้เพิ่มจุดบริการตู้น้ำดื่มร้อน-เย็น ขึ้นมาแทนทั้ง 2 ชั้น เพื่อให้นักศึกษาสะดวกต่อการชงเครื่องดื่มร้อน หรือต้มบะหมี่สำเร็จรูปด้วยตัวเองแทน และได้กลับมาจัดโครงการขนมล่อมดอีกครั้ง ล่อให้นักรบเตรียมพร้อมสู้ศึกสนามสอบกันตั้งแต่วันจันทร์ที่ 5 – 11 กันยายน 2565 Visits: 16Santat […]

รายงานผลการตรวจการคัดลอก (Similarity Report)

รายงานผลการตรวจการคัดลอกของต้นฉบับที่ส่งตรวจกับฐานข้อมูลโปรแกรม Turnitin พร้อมชี้แหล่งข้อมูลที่ซ้ำ แสดงรายการซ้ำแยกไฮไลท์เป็นแถบสีที่แตกต่างกัน เรียงลำดับตามเปอร์เซ็นต์ความซ้ำจากมากไปหาน้อย

Add Class & Add Assignment

• การตั้งค่าทั้งหมดเสร็จเรียบร้อยก่อนส่งงาน
• การตั้งค่า กำหนดค่าทั้งหมด ตรงตามความต้องการของ Instructor
• นักศึกษาส่งงานได้
• สามารถตรวจงานนักศึกษา ให้คะแนน แก้ไขแสดงความคิดเห็นผ่านรายงานผลการตรวจได้
• สามารถรู้ตัวเลขความซ้ำผลงานของนักศึกษาได้ รู้ว่ามีการคัดลอกมาหรือไม่ มากน้อยเพียงใด

Quick Submit & Submit Paper

• ส่งงานเข้าตรวจได้โดยไม่ต้องสร้าง Class & Assignment
• เหมาะกับการตรวจชิ้นงานของตัวเอง
• สามารถส่งตรวจชิ้นงานทั้งตัวเองและของคนอื่น ๆ ได้
• จัดเก็บรายงานผลการตรวจ จนกว่าจะมีการลบ

No Repository ไม่เก็บต้นฉบับกับโปรแกรม Turnitin

No Repository คือการตั้งค่าให้ทุกชิ้นงานที่ส่งเข้าตรวจกับโปรแกรม Turnitin หลังจากตรวจเสร็จเรียบร้อยแล้ว ชิ้นงานนั้นจะไม่ถูกเก็บเป็นต้นฉบับในฐานข้อมูลของ Turnitin เพื่อตรวจเทียบความซ้ำ

PDPA ภาพกิจกรรมศูนย์บรรณสารฯ

คำประกาศนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลPersonal Data Protection Policy (PDPA) ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ตระหนักถึงความสำคัญของการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และมีการกำกับดูแล และการบริหารจัดการข้อมูลส่วนบุคคล ให้มีความสอดคล้องกับกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลและกฏหมายที่เกี่ยวข้อง ตามประกาศมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เรื่อง นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2565 จึงไดแจ้งข้อมูลดังต่อไปนี้ให้ผู้ใช้บริการทราบเพื่อเป็นการปฏิบัติตาม พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 โดยมีสาระสำคัญดังต่อไปนี้ https://library.wu.ac.th/?page_id=16194 ในการให้บริการศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา โดยเฉพาะการเยี่ยมชม ศึกษาดูงานของคณะบุคคลต่างๆ หรือว่าช่วงเวลาที่ผู้ใช้บริการใช้ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา อาจจะมีการบันทึกภาพนิ่งหรือวิดีโอ และมีการนำข้อมูลไปเผยแพร่ในการประชาสัมพันธ์กิจกรรม หรือประกอบข้อมูลแนะนำการใช้บริการ ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษาได้ปฏิบัติตามประกาศนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล จึงได้สร้างแบบฟอร์มให้ความยินยอมการบันทึกภาพกิจกรรมและนำไปใช้ต่อไป โดยให้ตัวแทนสแกนคิวอาร์โค้ดตามรูปภาพตัวอย่าง ทั้งนี้ฝ่ายส่งเสริมการเรียนรู้และให้บริการการศึกษา ได้แนบภาพ QR Code ให้ความยินยอมการบันทึกภาพกิจกรรมไว้ท้ายแบบประเมินความพึงพอใจในการเยี่ยมชม ศึกษาดูงาน ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ https://forms.gle/po8L2edt4GDZhQHk7 Visits: 5Santat Sarakบรรณารักษ์

Welcome an international library user group

ตัวอย่าง Script แนะนำห้องสมุดแก่นักศึกษานานาชาติHello and welcome to the Center for Library resources and Education media. This is the university library’s official name. This library tour will introduce you to our library facilities and operating hours. First of all, the library’s collection of books, journals, and other resources is found on the 1st-3rd floor of this building. 1st floor […]

กลยุทธ์การบริการสารสนเทศสำหรับองค์กรดิจิทัล

ทำไมถึงเลือกเรียนรายวิชานี้ ในใจลึกๆ ประเมินไว้ว่า “บริการสารสนเทศสำหรับองค์กรดิจิทัล” ไม่น่ายากหรอก เป็นอะไรที่ใกล้ตัวด้วย ก็เลยตัดสินใจเข้าทำแบบทดสอบทั้งก่อนเรียน ระหว่างเรียน และสอบประมวลความรู้ แล้วสิ่งที่คาดการณ์สิ่งที่เล็งไว้กับคะแนนผลสอบมันช่างสวนทางกันค่ะ เกรดสุดท้ายได้มาแค่นี้ 73% รายวิชานี้เขาเรียนอะไรบ้าง เราตามไปดูกันค่ะ บทแรกเริ่มต้นด้วยความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับบริการสารสนเทศสำหรับองค์กรดิจิทัล ตามมาด้วยบทที่ 2 ระบบบริการดิจิทัลสำหรับองค์กร บทที่ 3 การออกแบบบริการสำหรับองค์กรดิจิทัล ต่อด้วยบทที่ 4 กลยุทธ์การบริการสารสนเทศสำหรับองค์กรดิจิทัล บทสุดท้าย บทที่ 5 การกำหนดพิมพ์เขียวการบริการสำหรับองค์กรดิจิทัล อ่านมาถึงตรงนี้ก็มีแอบกังวลด้วยเห็นว่าเป็นรายวิชาหนึ่งที่อัดแน่นเนื้อหามาก ๆ ถ้าเราจะสรุปเนื้อหาให้ครบสมบูรณ์ก็จะมีความยาวเกินไป ทำให้ไม่น่าติดตามอ่าน วันนี้จึงขอบอกกล่าวเพียงหัวข้อเดียวคือ “กลยุทธ์การบริการสารสนเทศสำหรับองค์กรดิจิทัล” มาเล่าสู่กันฟังก่อนค่ะ คุณลักษณะการให้บริการแบบสมาร์ทดิจิทัล จุดเด่นคือจะเน้นให้บริการบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตโดยการเชื่อมต่อบริการบนมือถือด้วยแอพลิเคชั่นใหม่ ๆ เน้นบริการใหม่ ๆ ที่สร้างคุณค่าในการใช้งานให้กับผู้รับบริการ เป็นนวัตกรรมการบริการที่คิดค้นเพื่อตอบสนองและส่งมอบที่มีคุณค่าให้กับผู้รับบริการ กลยุทธ์การให้บริการแบบสมาร์ทดิจิทัล 1) การวางกลยุทธ์ในการบริการแบบสมาร์ทดิจิทัล ต้องมีการประชุมผู้ที่เกี่ยวข้อง จัดทำแผนปฏิบัติงานร่วมกัน ถ่ายทอดเป้าหมาย วางระบบงาน และสร้างความเข้าใจร่วมกัน ตัวอย่างการหลอมรวมบริการในห้องสมุด เช่น บริการยืมคืนจะเชื่อมโยงบริการยืมคืนบนมือถือ ทำร่วมกับแอพลิเคชั่นจะเชื่อมโยงการจ่ายเงินกับธนาคาร ผู้เกี่ยวข้องตั้งแต่ห้องสมุด […]

การบริการที่เป็นเลิศ

การเรียนเรื่อง การบริการที่เป็นเลิศ | The excellent service เนื้อหาการเรียนรู้เพื่อทำความเข้าใจเรื่องการบริการ ซึ่งในปัจจุบันการบริการถือเป็นสิ่งที่สำคัญ ในยุคปัจจุบันที่มีการแข่งขันกันอย่างหนักหน่วง การบริการจำเป็นต้องมีการพัฒนาไปสู่การบริการที่เป็นเลิศ เพื่อปรับสิ่งที่ดีอยู่แล้ว ให้ดียิ่งๆ ขึ้นไป สร้างความประทับใจ สร้างการยอมรับ เพื่อให้เกิดการใช้ซ้ำ หรือซื้อซ้ำ และองค์กรสามารถอยู่รอดได้ในยุคแห่งการเปลี่ยนแปลง รายวิชานี้มีความน่าสนใจเพราะสามารถมาปรับใช้กับการทำงานได้ ช่วยปรับปรุงวิธีการทำงาน ช่วยตรวจสอบการทำงานที่ผ่านมา เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น           การบริการเป็นสิ่งที่จับต้องไม่ได้ แต่สัมผัสได้ด้วยความรู้สึก องค์กรในปัจจุบันให้ความสำคัญกับเรื่องการบริการเพื่อสร้างความประทับใจให้กับลูกค้า ทำให้ลูกค้าเกิดความพึงพอใจ โดยเน้นความสะดวก รวดเร็ว ปลอดภัย โปร่งใส เป็นธรรม           ในส่วนของการบริการแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ ส่วนของกระบวนการ และด้านบุคลากร ซึ่งต้องมีความประสานสอดคล้องกัน เพื่อให้การบริการออกมาได้ดีที่สุด แต่เนื่องจากความเปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน องค์กรต่างๆ มีการแข่งขันกันค่อนข้างสูง เพราะฉะนั้นการบริการจึงถูกพัฒนาไปสู่การบริการที่เป็นเลิศ โดยเน้นเรื่องการสร้างความพึงพอใจให้แก่ลูกค้า การมีจิตใจพร้อมบริการของพนักงาน ใช้เวลาให้น้อยที่สุดในการให้บริการ สร้างความแตกต่างเพื่อให้เกิดความได้เปรียบ เน้นความจริงใจในการให้บริการ           หลักการให้บริการที่เป็นเลิศ คือเน้นความสม่ำเสมอ วัดความพึงพอใจของผู้ใช้ได้ พัฒนาการให้บริการให้มีประสิทธิภาพ สามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ได้ […]

Library of Things

“Library of Things” หมายถึง ห้องสมุดที่สรรพสิ่งอื่น ๆ ที่นอกเหนือจากหนังสือ วารสาร นิตยสาร หรือทรัพยากรพื้นฐานที่ห้องสมุดมีให้บริการ ซึ่งห้องสมุดแต่ละประเภทจะสิ่งของที่ให้ยืมแตกต่างกันไป ตามประเภทของห้องสมุด กลุ่มผู้ใช้ หรือตามความต้องการของผู้ใช้ห้องสมุด

10 พฤติกรรมผู้ใช้บริการห้องสมุด ยุคใหม่

10 พฤติกรรมผู้ใช้บริการห้องสมุดยุคใหม่ ที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ดังนั้นห้องสมุดควรปรับตัวอย่างไรให้ผู้ใช้เกิดความรู้สึกประทับใจขั้นสุด…

เรียนออนไลน์แบบ Relax สบายๆ ที่มุม Projection

มุมโปรเจ็คชั่น Projection corner เป็นพื้นที่บริการหนึ่งของศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา ดูแลบริหารการจัดการโดยฝ่ายส่งเสริมการเรียนรู้และให้บริการการศึกษา เพื่อรองรับการใช้งานประชุม Present งาน และ Discuss ของกลุ่มนักศึกษา ที่ต้องการใช้สื่อประกอบการอภิปราย บรรยาย มีโสตทัศนูปกรณ์รองรับการใช้สื่อดิจิทัลต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องเปิดสื่ออิเล็กทรอนิกส์ DVD/VCD/CD คอมพิวเตอร์ Desktop สำหรับเปิดไฟล์ข้อมูล พร้อมซอฟต์แวร์ทันสมัยในการท่องอินเตอร์เน็ตในการเข้าถึงข้อมูลจาก Browser ต่างๆ มีจอ LCD เชื่อมต่อสัญญาณกับระบบเครื่องเสียงที่ทันสมัย ทำให้เป็นมุมยอดนิยม Top hit อีกมุมของกลุ่มนักศึกษาที่ต้องการเปิดฉายหนังร่วมกับกลุ่มเพื่อน หรือเชื่อมต่อกับระบบประชุม Online ในการเรียนผ่านหน้าจอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงรอยต่อ เปิดเทอมเรียนออนไลน์ และเรียน Onsite จากที่บ้าน ของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ กลุ่มนักศึกษาก็จะมาเชื่อมระบบสัญญาณกับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ส่วนตัวนั่งเรียนในพื้นที่แห่งนี้ นับว่าเป็นการบริการ Workspace อีกรูปแบบหนึ่งของศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา Visits: 32Santat Sarakบรรณารักษ์

Back To Top