AnyDesk : เป็นโปรแกรมที่ใช้สำหรับการควบคุมหน้าจอ หรือบางท่านเรียกว่า “Remote Desktop” มีให้เราเลือกใช้หลาย แพลตฟอร์ม ตั้งแต่ Windows / Mac OS หรือแม้แต่ Linux นอกจากนี้แล้ว ยังสามารถ  ใช้งานร่วมกับ โทรศัพท์มือถือ ระบบ Android และ IOS ได้ อีกด้วย โดยให้ติดตั้งแอพหรือโปรแกรม เพื่อ  ควบคุมคอมพิวเตอร์ระยะไกลผ่าน AnyDesk ในทุกอุปกรณ์ ปัจจุบันโปรแกรมที่ใช้สำหรับ ควบคุมคอมพิวเตอร์ระยะไกล (Remote Desktop) เริ่มมีบทบาทสำคัญอย่างมากกับทุกคน และกลายเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้คอมพิวเตอร์ สมาร์ทโฟน อุปกรณ์ IT สามารถเชื่อมถึงกันได้โดยที่ไม่ว่าคุณจะอยู่ที่ใดเพียงมีอินเทอร์เน็ต คุณก็จัดการปัญหาการใช้งานที่ยุ่งยาก และประหยัดเวลาได้มากมาย ภาพจาก https://anydesk.com/en ผลการใช้งานโปรแกรม AnyDesk โปรแกรม AnyDesk ถือเป็นโปรแกรม RemoteRead More →

ตั้งแต่วันรับปริญญามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ปี พ.ศ. 2563 สนามหญ้าเขียวขจีหน้าศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษาไม่มีเฮลิคอปเตอร์มาลงให้ตื่นเต้นกับเสียงดังของเครื่องยนต์ขนาดใหญ่กันอีกแล้ว เนื่องจากได้มีการสร้าง ลานเฮลิคอปเตอร์ใหม่ตั้งอยู่ริมถนนวงใน ก่อนถึงสะพานยกระดับหน้าอาคารบริหาร แต่สนามกว้างเขียวขจีหน้าศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษาจะปรากฎซุ้มสวยๆ จากความร่วมมือของนักศึกษาสำนักวิชาต่างๆ มาแทนที่ให้บัณฑิตถ่ายรูปกับหมู่ญาติ เพื่อนฝูง ศิษย์พี่ศิษย์น้อง ท่ามกลางท้องฟ้าสดใส ตั้งแต่วันซ้อมย่อย จนถึงวันรับพระราชทานปริญญาจริง คณาจารย์ บุคลากร บัณฑิต และผู้ปกครองจะมาหลบร้อนที่ร้านกาแฟหน้าศูนย์บรรณสารฯ และศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษาก็เป็นจุด Check in ที่ฮ็อตอีกที่หนึ่ง โดยใช้จุดเช็คอินว่า Walailak University Library เป็นบรรยากาศที่สดชื่นอบอวลไปด้วยความสุข ภาพเครื่องเฮลิคอปเตอร์จึงเป็นการย้อนระลึกบรรยากาศช่วงพิธีรับปริญญาในอดีต เริ่มตั้งแต่มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์รับเสด็จสมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี กรมพระศรีสวางควัฒนฯ เสด็จแทนพระองค์มาในการพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษา มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ปี พ.ศ. 2545 ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา ก็จะเป็นพื้นที่สำคัญอีกจุดหนึ่ง ที่ได้รับการประสานจากตำรวจฝ่ายรักษาความปลอดภัยเข้าตรวจสอบพื้นที่บริเวณศูนย์บรรณสารฯ เพื่อเคลียร์พื้นที่เส้นทางเสด็จมายังลานจอดเฮลิคอปเตอร์ หน้าอาคารบรรณสารฯ และมีภารกิจพิเศษเพิ่มคือการรับรองดูแลนักบินที่นำเครื่องเฮลิคอปเตอร์มาจอดเตรียมพร้อมที่สนามหญ้าหน้าอาคารบรรณสารฯ หลายๆ ท่านที่ได้บันทึกภาพช่วงเวลาพิเศษนี้ ก็จะกลายเป็นภาพหายากบันทึกความทรงจำในอดีตของอาคารบรรณสารและสื่อการศึกษาอีกเหตุการณ์หนึ่งRead More →

มุมลึกลับในศูนย์บรรณสารฯ

อาคารบรรณสารและสื่อการศึกษา ที่ใครๆ เรียกติดปากว่า “ศูนย์บรรณฯ”เริ่มเปิดใช้เป็นทางการเมื่อปี พ.ศ. 2541 โดยย้ายมาจากอาคารวิจัย มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ (คนรุ่นเก่าเรียกว่า D4) เป็นหนึ่งในอาคารที่มีพื้นที่การใช้สอยมากอาคารหนึ่งในมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ศูนย์บรรณสารฯ เป็นตึก 3 ชั้น ซึ่งแน่นอนว่าจะมีการจัดสรรพื้นที่ แบ่งซอยห้องเล็กห้องน้อยออกไปทุกชั้น ผู้ใช้บริการบางท่านก็ไม่เคยใช้งาน ไม่เคยใช้พื้นที่ จนนักศึกษาบางคนเรียกว่ามุมลึกลับ เรามาดูกันว่าคำว่ามุมลึกลับในที่นี้ จริงๆ แล้วลึกลับเพราะมีเรื่องสยองขวัญซ่อนอยู่? หรือลึกลับเพราะผู้ใช้บริการเข้าไม่ถึง ไม่รู้จักกันแน่… งั้นเรามาทำความรู้จักมุมลึกลับ เริ่มไปจากชั้น 1 ห้องถัดไปจากเคาน์เตอร์บริการ ชั้น 1 จัดเป็นห้องมินิสตูดิโอบันทึกการเรียนการสอน Online ฝั่งตรงข้ามเป็นศูนย์จัดเก็บเอกสารกลางมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ งานหอจดหมายเหตุมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์รับผิดชอบดูแลพื้นที่ส่วนนี้ ส่วนลึกเข้าไปในชั้น 1 โซนห้องประชุมประเภทต่างๆ มี โรงหนัง 72 ที่นั่ง ซึ่งจะเปิดให้บริการเป็นหมู่คณะตามระเบียบการใช้งาน ข้างห้องน้ำหลังห้องประชุมระเบียงบรรณ 1 มีทางออกสู่เทอเรซ Terrace ที่นั่งอ่านชิคๆ ชมวิวหลักล้าน รองรับการใช้พื้นที่ส่งเสริมการเรียนรู้Read More →

อาคารเรียนรวม6(ST) ของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เปิดให้บริการห้องเรียนแบบ Smart Classroom เพื่อสนับสนุนงานการเรียนการสอน จำนวน 72 ห้องเรียน เปิดให้บริการตั้งแต่เวลา 07.30 – 19.30 น. โดยมีนายช่างเทคนิคของศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา เป็นผู้ควบคุมดูแลระบบสื่อโสตทัศนูปกรณ์ ซึ่งในแต่ละชั้นเรียนจะมีนายช่างเทคนิครับผิดชอบ 1 อัตรา มีภาระหน้าที่รับผิดชอบดูแลควบคุมการเปิด – ปิด อุปกรณ์โสตทัศนูปกรณ์และทดสอบระบบของห้องเรียน ที่มีผู้ขอใช้บริการผ่านระบบจองห้องบรรยายอาคารเรียนรวมของศูนย์บริการการศึกษาให้เสร็จเรียบร้อยพร้อมใช้งาน ก่อนเริ่มเรียนคาบแรกเวลา 08.00 น. และให้ความช่วยเหลือแก้ไขปัญหาแก่อาจารย์ผู้สอน/นักศึกษา ปัจจุบันการขอใช้บริการห้องเรียนในช่วงเวลาดังกล่าวเต็มทุกวันทำการ ทำให้ประสบปัญหาไม่สามารถเปิดอุปกรณ์โสตทัศนูปกรณ์ และทดสอบระบบให้เสร็จเรียบร้อยได้ทันตามเวลาที่กำหนด     จึงเป็นที่มาของการพัฒนาระบบควบคุมการเปิด-ปิดโสตทัศนูปกรณ์ ของอาคารเรียนรวม6 ด้วยระบบอัตโนมัติ เพื่อพัฒนา/ปรับปรุงกระบวนการทำงานให้มีประสิทธิภาพ คล่องตัว และรวดเร็วมากยิ่งขึ้น โดยการนำเอา โปรแกรมควบคุมอัจฉริยะ/อุปกรณ์ Sensors ที่สามารถสั่งการควบคุมแบบไร้สาย เพื่อสั่งการเปิด – ปิด อุปกรณ์โสตทัศนูปกรณ์ผ่านทางแอพ eWeLink ใน iOS, Android ตามช่วงเวลาที่ต้องการRead More →

ระบบตรวจจับความเร็วอัตโนมัติ (Automatic Speed Enforcement System) จะทำหน้าที่คอยตรวจจับความเร็วของรถที่วิ่งเกินกำหนด (สามารถกำหนดค่าความเร็วของรถได้) ในพื้นที่ที่ได้ติดตั้งอุปกรณ์ตรวจจับไว้ ● สามารถตรวจจับได้ในระยะ 120 เมตร จากตำแหน่งที่ติดตั้งอุปกรณ์● ตรวจจับพร้อมกันได้ถึง 4 เลน● ตรวจจับความเร็วรถสูงสุดได้ถึง 250 กิโลเมตรต่อชั่วโมง● ใช้หลักการของ Doppler Radar ที่มีความแม่นยำสูง● สามารถแยกประเภทรถได้ถึง 3 ประเภท● สามารถตรวจจับและถ่ายภาพได้แม้ในช่วงเวลากลางคืน● บันทึกภาพรถ, ป้ายทะเบียน, ความเร็ว, วันเวลาที่กระทำผิด ตรวจสอบย้อนหลังได้● ส่งสัญญาณและข้อมูลที่ได้ไปยังศูนย์ควบคุมกลาง ง่ายต่อการควบคุมและจัดการ● มีโปรแกรมวิเคราะห์จับภาพป้ายทะเบียนเพื่อเป็นข้อมูลหลักฐานประกอบการออกใบสั่ง● มีโปรแกรมจัดการเพื่อออกใบสั่ง ได้แบบ Real Time และย้อนหลังได้, ใบสั่งจัดเก็บไว้ไม่ต่ำกว่า 3 ปี● รองรับการเชื่อมต่อกับกรมการขนส่ง เพื่อใช้สืบค้นหาข้อมูลเจ้าของรถ ระบบตรวจจับความเร็วอัตโนมัติในปัจจุบันมีด้วยกัน 3 รูปแบบ คือ 1.ระบบตรวจจับความเร็วติดตั้งแบบถาวรเป็นระบบกล้องตรวจจับความเร็วยานพาหนะRead More →

Ip camera คือ กล้องวงจรปิดประเภทตรวจตราดูแลรักษาความปลอดภัยชนิดหนึ่ง โดยที่ตัวกล้อง ip camera ไม่ต้องใช้ระบบตัวกลางสำหรับการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่เป็นตัวรับสายปลายทางอีกที ซึ่งระบบกล้องวงจรปิด ip camera มีระบบ web sever ภายในตัวที่กล้องไอพีสามารถเชื่อมต่อเครือข่ายเพื่อถ่ายโอนข้อมูลภาพถ่ายส่งต่อถึงอุปกรณ์ดิจิตอลที่มนุษย์ใช้ติดตัวในชีวิตประจำวันอย่าง แท้บเล็ต แล็ปท็อป และสมาร์ทโฟน ในช่วงเวลาแบบ เรียลไทม์(real-time) โดยการติดตั้งกล้อง ip camera สามารถทำงานด้วยตัวของตัวเองไม่ต้องเสียเวลาประมวลผลจากระบบตัวกลางอีกเลย กล้อง IP Camera (กล้องไอพี) มี 2 ชนิด ดังนี้ กล้องไอพี IP Camera ชนิดรวมที่ศูนย์กลาง (Centralized) กล้อง IP camera ชนิดนี้เป็นกล้องไอพีระบบเครือข่ายที่ต้องการเซิร์ฟเวอร์วิดีโอNVR (Network Video Recorder)เป็นระบบส่วนกลางในการรับส่งข้อมูลรูปภาพ ซึ่งการบันทึกรูปภาพทั้งหมดของการเชื่อมต่อ IP camera กับ NVR เกิดขึ้นบนแพลตฟอร์มผ่านRead More →

ตามทกระทรวงพลังงานได้ ประกาศกฎกระทรวงกำหนดประเภท หรือขนาดของอาคาร และมาตรฐาน หลักเกณฑ์และวิธิการในการออกแบบอาคารเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2552 ซึ่งมี ผลบังคับใช้ตั้งแต่ วันที่ 20 มิถุนายน 2552 โดยการบังคับใช้กฎกระทรวงดังกล่าวอยู่ระหว่างการพิจารณาให้ความเห็นชอบจากคณะกรรมการควบคุมอาคาร เพื่อนำมาใชบังคับกับการควบคุมอาคารตามมาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ซึ่งกฎกระทรวงดังกล่าวกําหนดให้อาคารที่จะก่อสร้างหรือดัดแปลงที่มีขนาดพื้นที่รวมกันทุกชั้นในหลังเดียวกันตั้งแต่ 2,000ตารางเมตรขึ้นไป สําหรับอาคารประเภทต่างๆ แบ่งเป็น 9 ประเภท ได้แก่ สถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล สถานศึกษา สำนักงาน อาคารชุดตามกฎหมายว่าด้วยอาคารชุดอาคารชุมนุมคนตามกฎหมายว่าดวยการควบคุมอาคาร อาคารโรงมหรสพตามกฎหมายว่าด้วยการ ควบคุมอาคาร อาคารโรงแรมตามกฎหมายว่าด้วยโรงแรม อาคารสถานบรการตามกฎหมายว่าด้วยสถานบริการ และอาคารห้างสรรพสินค้าหรือศูนย์การค้า ต้องออกแบบให้อนุรักษ์พลังงานตามมาตรฐาน หลักเกณฑ์ และวิธีการคำนวณในการออกแบบอาคารที่กฎกระทรวงฯ กำหนด โดยที่กฎกระทรวงฯ ฉบบนี้ ยังเป็นเรื่องใหม่ ซึ่งผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหลาย ได้แก่ เจ้าของอาคาร ผุ้ออกแบบอาคาร และเจ้าหน้าที่ของรัฐโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้มีอำนาจหน้าที่ในการอนุมัติแบบ อาคารที่จะก่อสรางหรือดัดแปลงซึ่งจะต้องมีความเข้าใจในบทบัญญัติที่เกี่ยวข้อง และหน้าที่ความ รับผิดชอบRead More →

        ปัญหาของเสียงก้องและเสียงสะท้อนเกิดขึ้นได้อย่างไรนั้น ก่อนอื่นผมอาจต้องอธิบายพื้นฐานให้ทราบซักเล็กน้อยก่อนนะครับ ประการแรก ท่านเคยทราบมั๊ยครับว่า หูของเรามีหน่วยความจำด้วย จริงๆแล้วไม่ใช่หูหรอกครับ เป็นสมองที่จดจำเสียงที่เข้ามาได้ในหูของเรานั้นแหละครับ โดยสมองจะจดจำเสียงเดิมได้ประมาณ 0.1 วินาที ก่อนที่จะหายไป ประการที่ 2 ที่เราต้องทราบก่อนคือ เสียงมีการสะท้อนเหมือนลูกปิงปองกระทบกำแพงนั่นแหละ ครับ การเกิดเสียงก้องกับเสียงสะท้อน มีหลักการเกิดเหมือนกันก็คือ เสียง จะเดินทางออกจากลำโพงไป ทุกทิศทางนะครับ เพราะเสียงจะกระจายเป็นวง เมื่อเสียงเคลื่อนที่เข้ากระทบกับสิ่งกีดขวางที่มีความหนาแน่นสูงกว่า เสียงจะมีการสะท้อนกลับออกมา เช่น กำแพงหรือกระจก ที่มีความหนาแน่นสูงกว่าอากาศ เป็นต้น เมื่อเสียงสะท้อนออกมา แล้วเดินทางกลับเข้ามาที่หูอีกครั้ง ระยะเวลาของเสียงที่สะท้อนกลับมา หากไม่เกิน 0.1 วินาที เราจะได้ยินเสียงเหมือนเสียงกังวาล เราเสียงว่า เสียงก้อง หรือ Reverb ตัวอย่างเช่น ถ้าใครเคยแอบร้องเสียงในห้องน้ำ คุณจะได้ยินเสียงดังกังวาลกว่าปกติ ทำให้รู้สึกว่าร้องเพลงแล้วมีเสียงที่ไพเราะ นั่นก็เป็นเพราะว่า ผนังห้องน้ำส่วนใหญ่เราจะบุด้วยกระเบื้อง ที่มีความเรียบและแข็งทำให้การสะท้อนของเสียงเป็นระเบียบแต่เนื่องจากระยะห่างจากผนังห้องน้ำกับตัวเราอยู่ไม่ห่างกันมากนัก ทำให้เสียงที่สะท้อนกลับมีระยะเวลาไม่เกินRead More →

ในมิกเซอร์ปุ่มปรับเกณฑ์มีความสำคัญมากไม่ว่าจะเป็นมิกอนาล๊อกหรือดิจิทัลมิกเซอร์จะต้องมีปุ่มนี้ในการปรับความแรงสัญญาณขาเข้าให้มีความพอดีไม่มากจนเกิดสัญาณผิดเพี้ยนและไม่น้อยเกินไปจนเกินสัญญาณรบกวนในระบบหรือว่า noise นั่งเองผู้ปรับแต่งหรือ sound engineers ควรให้ความสำคัญตรงจุดนี้ไม่งั้นงานเสียงที่ทำอาจจะล่มเสียหายได้เสียงจะออกมาไม่ดีหรือว่าจะระบบเสียงท่านจะมีเสียงรบกวนที่ไม่น่าฟังจนเกิดความรำคาญในการฟังได้ เทคนิกการปรับเกนณ์ทั้งมิกอนาล๊อกเป็นเรื่องที่สำคัญมากซึ่งหากปรับมากไปก็จะทำไห้สัญญาณเสียงมีความผิดเพี้ยนเกิดอาการเสียงแตกหรือว่า Distrotion เทคนิกในการปรับต้องดูระดับสัญาณเสียงไฟ Led ที่มิกเซอร์จะมีไฟ 3 สีคือสีเขียวสีแดงและสีเหลืองคล้ายกับไฟจราจรตาม 4 แยกเลยคือสีเขียวคือระดับสัญญาณปกติส่วนสีเหลืองให้ระวังหรือว่า head room ของระบบก่อนที่สัญญาณเสียงจะคลิปส่วนสีแดงคือสัญญาณคลิปแล้วหรือเกิดการผิดเพี้ยนแล้วให้ปรับปุ่มลดสัญญาณ Gain ลงไม่งั้นเสียงจะแตกพร่าได้ ระดับความดังที่แสดงในมิกเซอร์อนาล๊อกจะมี scale บอกเป็นระดับความดังมีหน่วยเป็น dbu ซึ่งค่าระดับที่ 0 dbu คือค่าระดับความดังที่ดีที่สุดจึงใช้เป็นค่าอ้างอิงของมิกเซอร์อนาล๊อกทุกยี่ห้อจะใช้ค่านี้ทุกยี่ห้อดังนั้นผู้ทำระบบเสียงควรปรับ gain สัญญาณให้อยู่แถว 0 dbu หรือว่าบวกลบไม่เกิน+3 หรือว่า -3 dbu ถึงจะเป็นสัญญาณที่เหมาะสมมีความแรงของสัญญาณที่พอดี ระดับความดังในมิกเซอร์ดิจิทัลจะมีความดังบอกระดับเสียงมีหน่วยเป็น dbfs หรือว่า digital full scale ซื่งระดับความดังเสียงที่ใช้ในการอ้างอิงคือ -20 dbfs หรือเท่ากับ 0 dbu ทางฝั่งมิกอนาล๊อกนั่นเองดังนั้นผู้ปรับเสียงหรือว่าRead More →

ไมค์สายเป็นไมค์รูปแบบหนึ่งที่มีติดตั้งในห้องเรียน ห้องประชุมสัมมนา รวมไปถึงในงานการแสดงสันทนาการความบันเทิง ปัญหาหนึ่งที่พบเจอคือ ไมค์สายดูดปาก ทำให้ผู้ใช้งานหวาดระแวงในการจับไมค์พูด วันนี้เรามาดูสาเหตุและวิธืแก้ไขปัญหาดังกล่าว สาเหตุไมค์สายดูดปาก เพราะระบบเสียงของเราไม่ได้ลงกราวด์หรือระบบกราวด์ของอาคารไม่มีระบบกราวด์หรือมีระบบกราว์ดแต่ใช้งานไม่ได้ ทำให้มีกระแสไฟฟ้าไหลในระบบรวมถึงไมค์ของเราด้วย เวลาเราจับไมค์กระแสไฟฟ้าก็จะไหลผ่านตัวเราเพื่อหาทางลงดิน จึงทำให้เรารู้สึกสัมผัสได้ถึงอาการไฟดูดหรือ ไมค์ดูดปากนั่นเองครับ วิธีแก้ไขไมค์สายดูดปาก วิธีแก้ไขง่ายๆหาสายไฟเปล่ามาหนึ่งเส้น พันติดกับหัวน๊อตของระบบเสียง จะเป็นมิกเซอร์ หรือเพาเวอร์แอมป์ก็ได้ ปลายสายไฟอีกด้านให้พันติดกับตะปูหรือแท่งเหล็กแล้วตอกลงดินให้ลึกๆ หรือตอกลงที่ชื้นๆ จะดีมาก หรือจะใช้วิธีกลับปลั๊กของระบบเสียงก็จะช่วยได้ระดับหนึ่ง ถ้าระบบไฟในอาคารมีกราวด์แนะนำให้ใช้ปลั๊กที่มี 3 ขา เพื่อให้กราวด์ไปลงในระบบของไฟบ้านก็จะปลอดภัยและหมดปัญหาอาการไฟดูด หรือไมค์ดูดปากได้แล้วครับ ผู้ใช้งานสามารถป้องกันตัวเองได้โดย -ใช้ไมค์ลอยทดแทนไมค์สาย – นำฟองน้ำหุ้มหัวไมค์สายขณะใช้งาน -สวมรองเท้าทุกครั้งขณะใช้งาน หลังจากเรารู้สาเหตุและวิธีแก้ไขจากปัญหาไมค์สายดูดปากแล้วท่านสามารถใช้งานไมค์สายได้อย่างปลอดภัย ที่มา:AT prosound-shop Visits: 270Pongsuwan KaewthongRead More →

ไฟรั่วนั้นเป็นอาการที่กระแสไฟฟ้าสามารถรั่วไหลออกจากวงจรไฟฟ้าไปสู่ภายนอกได้ เช่นผิวของสายไฟ โลหะของเครื่องใช้ไฟฟ้า ซึ่งสามารถเกิดได้จากในหลากหลายสาเหตุ อาทิเช่น การเดินระบบไฟฟ้าที่ไม่ได้มาตรฐานเพียงพอ การใช้งานอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ไม่ได้มาตรฐาน รวมถึงอุปกรณ์ไฟฟ้าที่เสื่อมภาพลง วิธีตวจเช็คว่าบ้านมี ไฟรั่วหรือไม่ ด้วยตัวเอง ปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าทุกชนิด โดยที่ไม่ต้องสับคัทเอาท์หรือเบรกเกอร์ลง สังเกตที่ตรงมิเตอร์ของที่บ้านว่าแผ่นจานหมุนอยู่หรือไม่ ถ้ายังหมุนอยู่ เช็คอีกครั้งว่า ปิดไฟทุกดวงหมดหรือไม่ แต่ถ้ามั่นใจแล้วว่า ปิดไฟทุกดวงแล้ว แสดงว่ามีกระแสไฟฟ้ารั่วเกิดขึ้นในบ้านของคุณนั่นเอง อย่าวางใจแม้มิเตอร์จะหยุดหมุนแล้ว คุณจะต้องจดหมายเลขมิเตอร์และจดจำตำแหน่งแผ่นหมุนว่าหยุดอยู่ที่ตำแหน่งใด หลังจากนั้นทิ้งไวประมาณ 1 ชั่วโมง แล้วกลับมาตรวจสอบดูอีกรอบ ! ถ้าทุกอย่างเป็นเหมือนเดิม แสดงว่าไม่มีกระแสไฟฟ้ารั่วเกิดขึ้นภายในบ้านของคุณ กรณีที่ มีกระแสไฟฟ้ารั่ว แต่ไม่มั่นใจว่ารั่วมาจากเครื่องใช้ไฟฟ้าใด ต้องใช้ไขควงวัดไฟแตะไปที่เครื่องใช้ไฟฟ้า หากพบว่ามีแสงปรากฏขึ้นมาที่ไขควงแสดงว่าเกิดไฟฟ้ารั่ว ให้หยุดใช้ทันที และนำเครื่องใช้ไฟฟ้าไปซ่อมให้ปกติ 4 จุดสังเกตสัญญาณเตือนว่ามีไฟฟ้ารั่ว ค่าไฟสูงขึ้นผิดปกติ เครื่องตัดไฟทำงานบ่อย   เครื่องตัดไฟรั่ว เป็นอุปกรณ์ที่ทุกบ้านจำเป็นจะต้องมี โดยอุปกรณ์ตัดไฟจะมีให้เลือก  2 แบบ คือ · RCCB ใช้ตัดไฟรั่วอย่างเดียวเฉพาะจุด· RCBO ใช้ตัดไฟทั้งไฟรั่ว ไฟเกิน ไฟช็อตRead More →

สายนำสัญญาณเสียง เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่นำสัญญาณเสียง ในการต่อพ่วงกันของอุปกรณ์ต่างๆ ภายในระบบ เพื่อให้สามารถใช้งานร่วมกันได้สายสัญญาณที่ใช้ในระบบเสียง PA นั้น มีทั้งสายไมโครโฟน, สายแจ็คเครื่องดนตรี (กีตาร์,คีย์บอร์ด), สาย Line สำหรับงานติดตั้ง, และสายลำโพงด้วยงานของระบบ PA ที่ดี จึงต้องการคุณภาพเสียงที่ดี มีความชัดเจนของเสียง มีความสะอาดของเสียง และเสียงรบกวนน้อยที่สุดในปัจจุบัน “สายสัญญาณ” ในระบบเสียง แบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก คือแบบบาล๊านซ์ (Balanced) และแบบอันบาล๊านซ์ (Unbalanced) 1. แบบบาล๊านซ์ (Balanced)มีการใช้สายสัญญาณในการนำทางสัญญาณถึงสามเส้นด้วยกัน ได้แก่ ขั้วบวก ขั้วลบ และขั้วดิน (Sleeve) ทำให้ได้กระแสสัญญาณในการเดินทางที่เพิ่มมากขึ้น และสามารถใช้สายสัญญาณในระยะทางที่เพิ่มขึ้น ลดการสูญเสียสัญญาณที่มาจากความต้านทาน (Impedanced) ที่อยู่ในเครื่องมือ หรือสายสัญญาณลงไปได้มากจึงมีผลทำให้ได้คุณภาพเสียงที่ชัดเจน เสียงรบกวนต่างๆ ตํ่าลง มีมิติชัดเจน แม่นยำขึ้น ย่านความถี่สมบูรณ์มากขึ้น หัวแจ็คที่ใช้กับสายสัญญาณแบบบาล๊านซ์ (Balanced)Read More →

ในการสร้างห้องประชุมเพื่อให้ได้มาตรฐานระดับมืออาชีพ นอกเหนือจากการออกแบบความสวยงามและการใช้งานแล้ว โสตทัศนูปกรณ์เป็นอีกหนึ่งองค์ประกอบที่ช่วยให้การใช้งานห้องประชุมเป็นไปอย่างราบรื่นและมีประสิทธิภาพ  โสตทัศนูปกรณ์คืออะไร สำคัญอย่างไรต่อ “หอประชุม” โสตทัศนูปกรณ์ คือ อุปกรณ์ในระบบโสตทัศน์ โดยระบบโสตทัศน์เป็นระบบที่เกี่ยวข้องกับเสียงและภาพ ซึ่งโสตทัศน์เป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับหอประชุม เนื่องจากการประชุมเป็นกิจกรรมที่สื่อสารด้วยเสียงกับภาพเป็นหลัก ดังนั้นความชัดเจนของสารที่สื่อจึงเป็นหัวใจหลักที่ทำให้การประชุมมีประสิทธิภาพ หอประชุม ต้องมีโสตทัศนูปกรณ์อะไรบ้าง โสตทัศนูปกรณ์เป็นหนึ่งในองค์ประกอบที่ทำให้เกิดหอประชุม นอกเหนือจากที่นั่ง, โต๊ะและไฟ ระบบโสตทัศน์นี้แหละคือระบบปฏิบัติการณ์ภายในห้องประชุม โดยโสตทัศนูปกรณ์สามารถแบ่งได้ตามลักษณะการสื่อสารดังนี้ ระบบเสียง  ระบบเสียงเป็นสิ่งสำคัญสำหรับหอประชุม เนื่องจากในการประชุมนั้นใช้เสียงในการสื่อสารเป็นหลัก ดังนั้นความสำคัญและประสิทธิภาพของระบบเสียงจึงพิจารณาจากความชัดเจนในการสื่อสารทั้งการพูดและการได้ยิน สำหรับโสตทัศนูปกรณ์ด้านระบบเสียงที่สำคัญต่อหอประชุมมีดังนี้ 1. ไมโครโฟน ไมโครโฟนเป็นต้นกำเนิดเสียง โดยไมโครโฟนที่ใช้สำหรับการประชุมมักพบในรูปแบบของไมโครโฟนชุดประชุม หรือไมโครโฟนแบบตั้งโต๊ะ มีการวางระบบเสียงเชื่อมต่อกันระหว่างไมโครโฟนประธานกับผู้เข้าร่วมประชุม  นอกเหนือจากไมโครโฟนชุดประชุมแล้ว อีกหนึ่งไมโครโฟนที่พบได้คือ ไมโครโฟนแบบไร้สาย (Wireless) โดยไมโครโฟนประเภทนี้มีให้เลือกใช้หลายประเภทการใช้งาน เช่น แบบมือถือ แบบหนีบปกเสื้อ แบบคาดศรีษะ ฯ 2. ลำโพง สำหรับหอประชุมไม่เพียงแค่ต้นกำเนิดเสียงจากไมโครโฟนที่สำคัญต่อระบบเสียง แต่ส่วนต่อขยายเสียงอย่างลำโพงก็สำคัญไม่แพ้กัน เพราะลำโพงเป็นโสตทัศนูปกรณ์ที่ช่วยกระจายเสียงไปสู่ผู้เข้าร่วมประชุม หากลำโพงไม่ดีเสียงไม่ชัดเจน สารที่ส่งไปก็ลดประสิทธิภาพลง 3. Equalizer  นอกเหนือจากไมโครโฟนและลำโพงแล้ว อีกหนึ่งสิ่งที่สำคัญสำหรับระบบเสียงคือ Equalizer โดยRead More →

ไมค์ห้องประชุมถือเป็นหนึ่งในองค์ประกอบสำคัญในดำเนินการประชุม เพราะเป็นหัวใจหลักของการนำเสนอข้อมูล ทั้งการอภิปรายข้อมูลและการเสนอความคิดเห็นล้วนแล้วแต่ต้องใช้ไมโครโฟนทั้งสิ้น ดังนั้นห้องประชุมต้องเตรียมไมโครโฟนให้พร้อมใช้งานอยู่เสมอ ตั้งแต่การเลือกใช้ไมโครโฟนไปจนถึงการศึกษาปัญหาของไมโครโฟนเพื่อให้การประชุมดำเนินต่อไปได้อย่างราบรื่น ทำความเข้าใจไมค์ห้องประชุมเบื้องต้น ก่อนจะเริ่มต้นศึกษาปัญหาของไมโครโฟน เพื่อความเข้าใจหลักการทำงานของไมโครโฟน ควรทำการศึกษาข้อมูลเบื้องต้นของไมค์ห้องประชุมก่อน ทั้งลักษณะที่แตกต่างกันทั้งรูปลักษณ์ภายนอกและการรับเสียง และเมื่อเห็นภาพแล้วจะทำให้เข้าใจปัญหาง่ายมากขึ้น ประเภทของไมค์ห้องประชุม สำหรับไมโครโฟนที่นิยมใช้ในห้องประชุมนั้น เป็นประเภทตั้งโต๊ะเป็นส่วนใหญ่ ไม่นิยมใช้ไมโครโฟนแบบถือ (ยกเว้นห้องประชุมอเนกประสงค์ ที่เน้นการทำกิจกรรมเป็นหลัก) ซึ่งไมโครโฟนแบบตั้งโต๊ะเหมาะสำหรับการแลกเปลี่ยนความเห็น เนื่องจากผู้พูดมีไมโครโฟนประจำตำแหน่งสามารถตอบโต้ได้ทันที ทั้งนี้ไมค์ห้องประชุมแบบตั้งโต๊ะสามารถแยกเป็นสองประเภทได้ดังนี้ 1. Gooseneck Microphone Gooseneck Microphone หรือ ไมโครโฟนก้านยาว/ไมโครโฟนคอห่าน เป็นไมโครโฟนตั้งโต๊ะที่มีลักษณะเฉพาะตัว ด้วยก้านจับไมโครโฟนที่ยาวและสามารถงอก้านไปยังทิศทางที่ต้องการได้ มีปุ่มเปิด-ปิดไมโครโฟนขณะพูด โดยส่วนมากจะพบไมโครโฟนก้านยาวได้ตามห้องประชุมสัมมนาและห้องประชุมผู้บริหาร เป็นต้น 2. Boundary Microphone Boundary Microphone เป็นไมโครโฟนชนิดฝังโต๊ะ ประเภทเดียวกันกับไมโครโฟน Flush Mount ที่ฝังสายสัญญาณไปใต้โต๊ะ แต่แตกต่างกันที่ไมโครโฟนประเภท Boundary หัวไมโครโฟนจะเรียบไปกับโต๊ะ ส่วน Flush Mount ยังคงมีก้านไมโครโฟนอยู่ ซึ่งการเลือกใช้ไมโครโฟนประเภทนี้จะเน้นไปที่งานดีไซน์Read More →