Author: Pichai Poonsawat

การปรับปรุงการปฎิบัติงานแบบเหลื่อมเวลา

การให้บริการโสตทัศนูปกรณ์การเรียนการสอนในห้องเรียน ห้องประชุม และงานบริการโสตทัศนูปกรณ์อื่นฯช่างเทคนิคงานบริการโสตฯได้รับมอบหมายให้บริการควบคุมโสตทัศนูปกรณ์ ตามทีมีการจองใช้เพื่อการเรียนการสอน ตั้งแต่เวลา 07.30-19.30 น.ทุกวัน โดยไม่มีวันหยุดราชการ การให้บริการที่ผ่านมามักมีปัญหาในเรื่องการให้บริการทีไม่สามารถให้บริการได้ครอบคลุม ตามเวลาการจองห้องที่ผู้ขอใช้บริการต้องการได้ เนื่องจากเวลาปฎิบัติงานของพนักงาน มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ปฎิบัติงานวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 08.30-16.30 น.ทำให้มีช่วงเวลาก่อน 08.30 น และหลังจาก 16.30 น. เป็นช่วงเวลาทีไม่มีช่างเทคนิคค่อยให้บริการห้องเรียนทีมีการจองของผู้ใช้บริการทำให้เกิดช่องว่างเป็นปัญหาในการเรียนการสอน ส่งผลกระทบต่อนโยบายการจัดการเรียนการสอน ผู้รับผิดชอบจึงจำเป็นต้องจัดหาช่างเทคนิคควบคุมสื่อโสตทัศนูปกรณ์ประจำอาคาร เนื่องจากอาคารที่ใช้ในการเรียนการสอน มีหลายอาคารและอาคารแต่ละหลังอยูห่างไกลกัน จึงต้องมีช่างเทคนิคประจำอาคารสำหรับให้บริการในแต่ละกลุ่มอาคารในช่วงเวลาวันทำการปกติจะมีช่างเทคนิคค่อยให้บริการตลอดเวลา ผู้ใช้บริการสามารถเรียกช่างเทคนิคได้ในกรณีอุปกรณ์สื่อโสตฯในห้องเรียนมีปัญหา แต่หากมีการเรียนการสอนนอกเวลาทำการเช่น ช่วงเวลา 07.30-08.30 น.และเวลา 16.30-19.30 น. ต้องมีช่างเทคนิคทำงานนอกเวลาประจำอาคารสถาปัตยกรรมศาสตร์และอาคารเรียนรวม ค่อยให้บริการแก้ไขปัญหาสื่อโสตทัศนูปกรณ์ในอาคารเรียนให้กับผู้ใช้บริการ แต่ก็มีปัญหาในเรื่องของงบประมาณค่าทำงานล่วงเวลาของช่างควบคุมสื่อโสตทัศนูปกรณ์ ซึ่งต้องใช้งบประมาณในการทำงานล่วงเวลาของนายช่างเทคนิคซึ่งผู้บริหารมองว่าเป็นค่าใช้จ่ายที่ยังสูงอยู่ ต้องหาวิธีการปรับลดค่าใช่จ่ายในส่วนนี้ และต้องไม่กระทบต่อการให้บริการควบคุมสื่อโสตทัศนูปกรณ์การเรียนการสอนจากปัญหาดั่งกล่าวข้างต้นผู้รับผิดชอบจึงได้หาแนวทางการปรับปรับปรุงกระบวนการปฏิบัติงานนอกเวลาทำการเป็นแบบเหลื่อมเวลาเพื่อลดค่าทำงานล่วงเวลา ลดจำนวนคนทำงาน และลดเวลาการทำงานที่ต่อเนื่องกันในแต่ละวันของช่างเทคนิค จึงได้บทสรุปในการทำงานแบบเหลื่อมเวลาของงานบริการโสตทัศนูปกรณ์ การปฎิบัติงานควบคุมสื่อโสตฯสำหรับการเรียนการสอน ในอาคารเรียนรวมแบบเดิมก่อนทีจะมีการปรับปรุงใหม่ แบบเหลื่อมเวลา ตามตารางที่ปรากฎจะเห็นว่าช่างเทคนิคจำนวน 6 ท่าน เข้าทำงานเวลา 07.30 น. เพื่อเตรียมห้องเรียนให้พร้อมใช้งาน และออกงาน 16.30 น. […]

เทคโนโลยีทางภาพถ่ายเพื่อสื่อสารการศึกษา Photographic Technology Educational Communication

สรุปเนื้อหาบางส่วนจากรายวิชา Thai MCOO : LMS PSU PSU003 อาจารย์ชไมพร อินทร์แก้ว อาจารย์ประจำภาควิชาเทคโนโลยีการศึกษา รองศาสตราจารย์ ดร. วิชัย นภาพงค์ อาจารย์ประจำภาควิชาเทคโนโลยีการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เทคนิคถ่ายภาพบุคคลนอกสถานที่ ในการถ่ายภาพบุคคลไม่ว่าจะถ่ายในสถานที่ใดก็ตาม ทั้งนอกสถานที่และในสตูดิโอนั้น สิ่งสำคัญที่ช่างภาพต้องให้ความสำคัญ มีดังนี้ แสง แสงทีเหมาะสม เช่น แสงแรกหรือแสงสุดท้ายของวัน จะทำให้ภาพถ่ายออกมาแล้วดูมีมิติ มีน้ำหนักที่สวยงาม แสงที่ควรหลีกเลี่ยง คือแสงทีจ้าเกินไป เช่น แสงตอนเทียง หรือตอนบ่ายจัดๆ เพราะจะทำให้ภาพถ่ายเกิดเงา ถ่ายอยาก ต้องหาอุปกรณ์เสริมช่วย หรือมองหาจุดถ่ายภาพที่มีร่มเงา ต้นไม้ ซึ่งแสงที่ส่องกระทบในร่มเงาทำให้มีมิติ ทำให้ภาพดูนิ่มนวล น่าสนใจ ตัวแบบ นางแบบ/นายแบบ ช่างภาพต้องสามารถหาจุดเด่นและบุคลิกของผู้เป็นแบบให้ได้ เพื่อให้ได้ภาพที่สื่อถึงอารมณ์และสื่อถึ่งความมีเสน่ห์ของแบบ หาจุดเด่นให้เกิดความสมดุลย์ในการจัดท่า เพื่อให้แบบมีความสวยงาม ตามองค์ประกอบ อุปกรณ์เสริม ในการถ่ายภาพบุคคลนอกสถานที่ อาจจำเป็นต้องใช้อุปกรณ์เสริม ในการช่วยแก้ปัญหา สถานการณ์ต่างๆ เช่น เลนล์ […]

การคิดสร้างสรรค์

สรุปเนื้อหาจากรายวิชา Thai Mooc Cu-Cu 009 ดร.ดรัณภพ เพียรจัด คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎราชนครินทร์ การคิดสร้างสรรค์ (Creative Thinking) การฝึกให้เกิดความคิดสร้างสรรค์กระบวนการฝึกคิดสร้างสรรค์เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพทางความคิดสามารถฝึกได้โดย เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ (2549) ได้นำเสนอแนวคิดการฝึกให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ไว้ดังนี้ .ฝึกสร้างจินตนาการอิสระ โดยลองฝึกสร้างจินตนาการให้กับสิ่งที่เราไม่เคยพบเห็นไม่เคยได้ยินสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ ไม่เคยมีใครทำหากเราลองสร้างภาพขึ้น แล้วค้นหาว่าจินตนาการนั้นมีประโยชน์หรือไม่เป็นไปได้หรือไม่ในโลกแห่งความจริง เช่น กำหนดหัวข้อการเขียนเรียงความแปลกๆเช่น เมื่อฉันได้เป็นรัฐมนตรีศึกษา หรือ ตี 2 ของคืนวันที่ 31 พฤษภาคมโดยตั้งเวลาเขียนสักประมาณ 1 ชั่วโมงการตั้งเวลาจะช่วยบังคับให้จดจ่อกับการคิดและเขียนให้เสร็จตามเวลา แล้วให้ลองตอบว่า คุณได้อะไรจากสิ่งที่เขียนบ้าง จะพบว่าสิ่งที่ได้รับจะพบจินตนาการที่ไม่เคยคิดมาก่อน หรือการเชื่อมโยงเหตุผลที่ดูไม่น่าจะเป็นไปได้หรือตื่นเต้นเมื่อคิดสิ่งใหม่ๆได้หรือเพิ่งรู้ว่าเราเองก็มีความคิดดีๆ เหมือนกัน ซึ่งหากลองฝึกเขียนพร้อมกับเพื่อนจะพบว่าแต่ละคนจะมีจินตนาการเป็นของตนเอง แต่ละเรื่องจะมีเอกลักษณ์ไม่เหมือนใคร เพราะเรื่องที่เขียนนั้นคิดขึ้นเอง ย่อมจะไม่ซ้ำในเนื้อหากับอีกหลายคนที่เขียนในเรื่องเดียวกัน . ฝึกมองต่างมุม การมองสิ่งเดียวกันแต่แตกต่างไปจากเดิมทำให้ค้นพบสิ่งใหม่ๆ ในสิ่งเดียวกันซึ่งนิสัยของนักคิดสร้างสรรค์ จะมองตรงข้ามจากเดิมเพื่อหามุมมองใหม่ๆ ที่ต่างไปจากความเคยชินเดิมๆการฝึกมองแบบมีมิติจะขยายขอบเขตความคิดให้หลุดพ้นจากกรอบแนวคิดเดิมๆ ซึ่งเป็นประโยชน์เมื่อนำไปใช้ในการคิดแก้ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น ฝึกขยายขอบเขตของความเป็นไปได้ โดยการฝึกจินตนาการเพื่อขยายขอบเขตความเป็นไปได้ของสิ่งนั้นๆช่วยให้ความคิดของเราไม่ยึดติดกับการตีความ สิ่งนั้นเพียงมุมมองเดียวตามประสบการณ์ ความรู้ หรือความเคยชิน แต่เกิดความพยายาม […]

Back To Top