ตามทกระทรวงพลังงานได้ ประกาศกฎกระทรวงกำหนดประเภท หรือขนาดของอาคาร และมาตรฐาน หลักเกณฑ์และวิธิการในการออกแบบอาคารเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2552 ซึ่งมี ผลบังคับใช้ตั้งแต่ วันที่ 20 มิถุนายน 2552 โดยการบังคับใช้กฎกระทรวงดังกล่าวอยู่ระหว่างการพิจารณาให้ความเห็นชอบจากคณะกรรมการควบคุมอาคาร เพื่อนำมาใชบังคับกับการควบคุมอาคารตามมาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ซึ่งกฎกระทรวงดังกล่าวกําหนดให้อาคารที่จะก่อสร้างหรือดัดแปลงที่มีขนาดพื้นที่รวมกันทุกชั้นในหลังเดียวกันตั้งแต่ 2,000ตารางเมตรขึ้นไป สําหรับอาคารประเภทต่างๆ แบ่งเป็น 9 ประเภท ได้แก่ สถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล สถานศึกษา สำนักงาน อาคารชุดตามกฎหมายว่าด้วยอาคารชุดอาคารชุมนุมคนตามกฎหมายว่าดวยการควบคุมอาคาร อาคารโรงมหรสพตามกฎหมายว่าด้วยการ ควบคุมอาคาร อาคารโรงแรมตามกฎหมายว่าด้วยโรงแรม อาคารสถานบรการตามกฎหมายว่าด้วยสถานบริการ และอาคารห้างสรรพสินค้าหรือศูนย์การค้า ต้องออกแบบให้อนุรักษ์พลังงานตามมาตรฐาน หลักเกณฑ์ และวิธีการคำนวณในการออกแบบอาคารที่กฎกระทรวงฯ กำหนด โดยที่กฎกระทรวงฯ ฉบบนี้ ยังเป็นเรื่องใหม่ ซึ่งผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหลาย ได้แก่ เจ้าของอาคาร ผุ้ออกแบบอาคาร และเจ้าหน้าที่ของรัฐโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้มีอำนาจหน้าที่ในการอนุมัติแบบ อาคารที่จะก่อสรางหรือดัดแปลงซึ่งจะต้องมีความเข้าใจในบทบัญญัติที่เกี่ยวข้อง และหน้าที่ความ รับผิดชอบRead More →

บทนำ       ปัจจุบันการศึกษาของไทยมีการนำเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาททางการศึกษามากขึ้นเพราะเทคโนโลยีมีความสำคัญต่อการจัดการศึกษาในยุคสังคมสารสนเทศเป็นอย่างมาก  การเรียนรู้และการจัดการเรียนการสอนเน้นกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่มีคอมพิวเตอร์  ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเข้ามามีส่วนในการจัดการเรียนการสอน  หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2544  บัญญัติไว้ว่าผู้เรียนมีสิทธิได้รับการพัฒนาขีดความสามารถในการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาเท่าที่ทำได้  เพื่อให้มีความรู้และทักษะที่จะใช้เทคโนโลยีเพื่อการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิตและใช้เวลาว่างอย่างสร้างสรรค์  มีความยืดหยุ่น  สนองความต้องการของผู้เรียนผู้เรียนสามารถศึกษาค้นคว้าได้ด้วยตนเอง  ผู้สอนสามารถจัดทำและพัฒนาสื่อการเรียนรู้ขึ้นเพื่อนำมาใช้ในการเรียนการสอนได้หรือนำสิ่งต่างๆ ที่มีอยู่รอบตัวและในระบบสารสนเทศมาใช้ในการเรียนการสอน  รวมถึงจัดทำและพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อใช้ในการเรียนการสอนให้กับผู้เรียน       การเรียนการสอนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเป็นการจัดการเรียนการสอนผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตบนพื้นฐานของหลักและวิธีการออกแบบการเรียนการสอนอย่างมีระบบ  มีการนำสื่อต่างๆ มาเป็นตัวกลางในการถ่ายทอดเนื้อหาความรู้ให้กับผู้เรียนโดยอาศัยเว็บไซต์  ในการเรียนด้วยบทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตนั้นผู้เรียนสามารถเรียนเวลาใดก็ได้  จากสถานที่ใดก็ได้ขึ้นอยู่กับความพร้อมของผู้เรียน  ผู้เรียนไม่จำเป็นต้องเรียนในห้องเรียนเท่านั้น  เพียงแค่ผู้เรียนสามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้  ผู้เรียนก็สามารถเข้าไปศึกษาเนื้อหาในเรื่องที่ตนเองสนใจได้  นอกจากนั้นแล้วผู้เรียนยังสามารถติดต่อสื่อสาร  สนทนา  อภิปรายกับผู้เรียนด้วยกัน  หรือกับผู้สอนได้อีกด้วย ความหมายของบทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต           บทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต  หมายถึง  การเรียนการสอนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตโดยมีการจัดสภาพการเรียนการสอนที่มีการออกแบบอย่างเป็นระบบ  โดยอาศัยคุณสมบัติและทรัพยากรของเวิล์ดไวด์เว็บมาเป็นสื่อกลางในการถ่ายทอดเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ  ในการจัดการเรียนการสอนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตนั้นอาจจัดการเรียนการสอนทั้งกระบวนการหรือนำมาใช้เพียงส่วนใดส่วนใดส่วนหนึ่งของกระบวนการก็ได้  การเรียนการสอนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตถือเป็นวิธีการเรียนแบบใหม่ที่ช่วยพัฒนาให้เกิดการเรียนรู้และช่วยขจัดปัญหาอุปสรรค์ของการเรียนในเรื่องของเวลาและสถานที่  เพราะในการเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตนั้นผู้เรียนสามารถเรียนได้ทุกที่ทุกเวลา  ผู้เรียนไม่จำเป็นต้องเรียนในห้องเรียนเท่านั้น  ขอเพียงผู้เรียนสามารถเชื่อมโยงกับอินเทอร์เน็ตได้  ผู้เรียนก็สามารถเรียนได้  โดยในการเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตผู้เรียนและผู้สอนสามารถมีปฏิสัมพันธ์กันโดยผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงถึงกัน องค์ประกอบของบทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต       ในการจัดทำบทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตนั้น  มีองค์ประกอบในการจัดทำบทเรียนได้แก่            1. องค์ประกอบของหน้าเว็บ ประกอบด้วยข้อความ  พื้นหลัง  และภาพ ข้อความที่ใช้ในบทเรียนต้องเลือกขนาดให้เหมาะสมโดยข้อความส่วนที่เป็นหัวข้อหลักต้องมีขนาดใหญ่กว่าข้อความที่เป็นหัวข้อย่อย  สีข้อความที่ใช้ต้องไม่กลมกลืนกับสีพื้นหลังพื้นหลังที่ใช้ไม่ควรมีลวดลายเพราะจะทำให้เป็นที่สนใจมากกว่าตัวหนังสือซึ่งเป็นเนื้อหา  สีพื้นหลังที่ใช้ไม่ควรใช้สีเข้มเกินไป  ควรใช้สีอ่อนๆ ที่ดูแล้วสบายตา  ภาพที่ใช้มีหลายชนิดทั้งภาพที่เป็นภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหว Read More →

การจัดการความรู้ในยุคดิจิทัล การจัดการความรู้เป็นเทคนิคทางการบริหารที่นำมาใช้ในการรวบรวมองค์ความรู้ที่กระจัดกระจายในตัวคน หรือแหล่งต่าง ๆ ในองค์การแล้วนำมาพัฒนาเรียบเรียงและบันทึกให้เป็นระบบ เพื่อให้ทุกคนสามารถเข้าถึง และนำไปใช้ในการพัฒนาตนเอง พัฒนางาน พัฒนาองค์การ นำไปสู่การพัฒนาประเทศในที่สุด มนุษย์แต่ละยุคสมัยมีวิธีการในการจัดการความรู้ที่แตกต่างออกไป ตามแต่เครื่องมือหรือนวัตกรรมที่สามารถคิดค้นขึ้นมาได้ในช่วงเวลานั้น เช่น ในยุคก่อนประวัติศาสตร์มนุษย์ถ้าใช้วิธีการนำวัสดุธรรมชาติเขียนภาพตามผนังถ้าเพื่อถ่ายทอดเรื่องราว ต่อมาในยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม มนุษย์สามารถคิดค้นเครื่องพิมพ์ขึ้นมาได้ ก็สามารถบันทึกความรู้ลงในหนังสือ ตำรา ทำให้สามารถเผยแพร่ความรู้ได้อย่างกว้างขวางมากขึ้นจนกระทั่งพัฒนาการของโลกได้เจริญก้าวหน้ามาถึงในยุคดิจิทัล ซึ่งเป็นยุคที่มีเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัย มีเครือข่ายอินเตอร์เน็ต สามารถช่วยมนุษย์ในการรวบรวม เรียบเรียง จัดเก็บ ใช้ประโยชน์ เผยแพร่และแลกเปลี่ยนความรู้ได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และง่ายต่อการเข้าถึง ซึ่งเทคโนโลยีในยุคดิจิทัลเหล่านี้มีคุณอนันต์และโทษมหันต์เป็นเงาตามตัวหากรู้ไม่เท่าทัน บทความนี้จึงมีวัตถุประสงค์ในการสร้างความรู้ความเข้าใจและความตระหนักให้แก่บุคคล ในเรื่องของ“ความรู้และการจัดการความรู้ในยุคดิจิทัล” เพราะท่ามกลางความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีทำให้ปริมาณข้อมูลข่าวสารที่มีการหลั่งไหลเข้ามาในชีวิตประจำวันเป็นจำนวนมาก สิ่งที่สำคัญมากกว่าความสามารถในการใช้งานเทคโนโลยีและการใช้งานอินเตอร์เน็ตคือ บุคคลต้องมีทักษะในการจัดการความรู้ เริ่มตั้งแต่การรู้จักสืบค้นแยกแยะข้อมูล ข้อเท็จจริง และนำข้อมูลที่ได้รับมาใช้ในการจัดการเพื่อนำไปใช้ประโยชน์อย่างเหมาะสมดังจะได้กล่าวถึงต่อไปนี้ ความรู้และระดับขั้นของความรู้ความรู้ หมายถึง สิ่งที่สั่งสมมาจากการศึกษาเล่าเรียน การค้นคว้า หรือประสบการณ์ รวมทั้งความสามารถเชิงปฏิบัติและทักษะ เช่น ความรู้เรื่องประวัติศาสตร์ สิ่งที่ได้รับมาจากการได้ยิน ได้ฟัง การคิดหรือการปฏิบัติ (ราชบัณฑิตยสถาน,2554) มนุษย์มีกระบวนการสร้างความรู้อยู่ตลอดเวลาRead More →

พลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy) พลังงานหมุนเวียน พลังงานเป็นหนึ่งในปัจจัยที่มีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นพลังงานที่ใช้ในการอยู่อาศัย การเดินทาง การประกอบอาหาร ฯลฯ นับวันมนุษย์ยิ่งจะมีแต่ความต้องการในการใช้พลังงานเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งหมายถึงว่าจะมีการดึงพลังงานมาจากแหล่งต่าง ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการในการใช้งาน โดยเฉพาะเชื้อเพลิงฟอสซิลหรือพลังงานที่ใช้แล้วหมดไป เช่น น้ำมัน ถ่านหิน ก๊าซธรรมชาติ หินน้ำมัน และทรายน้ำมัน เป็นต้น ดังนั้น มนุษย์จึงต้องริเริ่มการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ โดยใช้ประโยชน์จากทรัพยากรที่มีอยู่อย่างรู้คุณค่าและยังคงเหลือไว้ให้คนรุ่นหลังได้ใช้ประโยชน์ต่อด้วย ปัจจุบัน แหล่งพลังงานหมุนเวียนเป็นจึงกลายเป็นแหล่งพลังงานทางเลือกที่นำมาใช้ทดแทนพลังงานจากเชื้อเพลิงฟอสซิล และจะเป็นแหล่งพลังงานที่มีบทบาทสำคัญมากขึ้นในอนาคต พลังงานหมุนเวียน คืออะไร พลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy) คือ พลังงานที่ใช้แล้วไม่หมดไป สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ เนื่องจากเป็นพลังงานที่ได้จากแหล่งพลังงานที่เกิดขึ้นต่อเนื่อง เช่น แสงอาทิตย์ ลม น้ำ ความร้อนใต้พิภพ ชีวมวล และก๊าซชีวภาพ รวมถึงผลผลิตและวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร เช่น แกลบ ใบ ลำต้นและชานอ้อย กากมันสำปะหลัง หรือมูลสัตว์Read More →

จากการที่การผลิตแบบกระจายมีโรงไฟฟ้ามากมายหลายขนาดกระจายอยู่ทุกระดับของโครงข่ายทำให้เกิดปัญหา และความซับซ้อนในการควบคุมโครงข่ายให้มีประสิทธิภาพและเชื่อถือได้ จึงเกิดแนวความคิดใน การพัฒนาระบบโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ (Smart Grid) ขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยนิยามทั่วไปของ ระบบโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ นั้นค่อนข้างกว้างและมีการตี ความแตกต่างกันแล้วแต่หน่วยงานที่นำไปปฏิบัติ แต่สามารถสรุปได้ดังต่อไปนี้ ระบบโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ คือ ระบบโครงข่ายไฟฟ้าสมัยใหม่ที่ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการเก็บข้อมูลและทำการสั่งการควบคุมโครงข่ายไฟฟ้า โดยใช้ข้อมูลดังกล่าวในการตัดสินใจ ยกตัวอย่าง เช่น เก็บข้อมูลพฤติกรรมของโหลดจากผู้ใช้งานและการผลิตไฟฟ้าจากผู้ผลิต การควบคุมอัตโนมัติของระบบโครงข่ายไฟฟ้าเพื่อทำการปรับปรุงประสิทธิภาพความเชื่อถือได้ ความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ และความยั่งยืนในการผลิตและจ่ายไฟฟ้าในระบบโครงข่ายไฟฟ้า นิยามของระบบโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ Union Commission Task Force for Smart Grids กำหนดนิยามของ ระบบโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ ว่า ระบบโครงข่ายไฟฟ้าที่มีความสามารถในการลดค่าใช้จ่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในการรวมพฤติกรรมและการกระทำของผู้ใช้ไฟฟ้าทั้งหมด ที่เชื่อมต่อกับโครงข่ายไฟฟ้าในวิธีการเพื่อให้แน่ใจได้ว่าเป็นระบบไฟฟ้าที่มีความยั่งยืน และมีประสิทธิภาพทางเศรษฐศาสตร์ โดยมีการสูญเสียภายในระบบที่ต่ำ มีคุณภาพในระดับที่สูง มีความมั่นคงในการจ่ายไฟฟ้า และมีความปลอดภัย ในส่วนของ The U.S. Department of Energy Smart Grid Task Force ได้ทำการนิยาม ระบบโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ ว่า มีความมุ่งหมายและตอบสนองต่อระบบไฟฟ้าที่ปั่นป่วน โดยการแก้ไขการปั่นป่วนนั้นด้วยตัวเองRead More →

• การเรียนรู้ที่มีคุณค่า ก็คือ การเรียนรู้แบบร่วมมือ การแบ่งปันความรู้ ไม่ยึดถือในความเป็นเจ้าของมากเกินไป แนวคิดการสร้างช่องทางการเรียนรู้ที่เข้าถึงได้อิสระเสรี จึงเป็นแนวคิดของการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong Learning) โดยมีหัวใจสำคัญอยู่ที่การแบ่งปันแหล่งทรัพยากรด้านการศึกษาที่มีคุณภาพสู่สังคมโลกเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ทางด้านการศึกษาได้อย่างเสรี • แหล่งทรัพยากรการศึกษาแบบเปิด หรือ OER : Open Educational Resources เป็นนวัตกรรมหนึ่งในวงการศึกษาที่ก่อกำหนดขึ้นมาภายใต้แนวคิดดังกล่าว โดยมีจุดเริ่มต้นมาจากโครงการขององค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือยูเนสโก (UNESCO) ที่ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (Massachusetts Institute of Technology หรือ MIT) สถาบันอุดมศึกษาที่มีชื่อเสียงด้านเทคโนโลยีของประเทศสหรัฐอเมริกา โดยพัฒนารวบรวมสื่อการเรียนรู้ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์แบบเปิด (Open Courseware) เผยแพร่ไว้ในเว็บไซต์ที่มีวัตถุประสงค์ทุกคนสามารถนำไปใช้ได้โดยไม่มีค่าใช้จ่ายและไม่มีข้อจำกัดในการใช้งาน ความสำเร็จของโครงการทำให้แนวคิดในการพัฒนาและแบ่งปันความรู้แก่มวลมนุษยชาติได้รับการยอมรับในชื่อของ “แหล่งทรัพยากรการศึกษาแบบเปิด” • ปัจจุบันมีแหล่งสนับสนุนและให้บริการ OER เกิดขึ้นมากมายทั่วโลก ส่วนใหญ่เป็นภาษาอังกฤษ และห้องสมุดสถาบันการศึกษาจำนวนมาก ก็ได้ผนวกทรัพยากรการเรียนรู้ดังกล่าว เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของสื่อการเรียนรู้แนะนำสำหรับนักศึกษาและผู้สอน สำหรับประเทศไทยมี OER ที่มีชื่อว่าRead More →

สวัสดีค่ะ .. ก่อนหน้านี้เคยเล่าให้ฟังแล้วว่า อินโฟกราฟิก คือ การนำเสนอข้อมูลที่เข้าใจยากให้เป็นเรื่องที่เข้าใจได้ง่ายขึ้น และ องค์ประกอบของอินโฟกราฟิกที่ดี คือ Simplicity ความเรียบง่าย – ดูสบายตา ไม่ซับซ้อน ไม่ควรมีจุดเน้น ใช้สีหรือมีรายละเอียดของภาพและตัวหนังสือมากเกินไป Interestedness ความน่าสนใจ – นำเสนอเรื่องที่น่าสนใจ อยู่ในกระแส หรือถ้าไม่น่าสนใจก็เอามาแต่งตัวใหม่ให้น่าสนใจ Beauty ความสวยงาม – เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ เพราะความสวยงามของภาพจะดึงดูดคนให้มาอ่าน มาดูเนื้อหาในภาพ และเป็นตัวช่วยเพิ่มการจดจำได้ด้วย  …เรามาดูกันต่อว่า ถ้าอยากจะต้องออกแบบสื่ออินโฟกราฟิกสักชิ้นนั้น มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง ขั้นตอนการวิเคราะห์ วิคราะห์และกำหนดวัตถุประสงค์ในการออกแบบ วิเคราะห์บริบทของการนำไปใช้ – จะนำไปใช้บนสื่อใด แต่ละสื่อจะมีลักษณะการออกแบบที่ต่างกัน ทั้งความละเอียด ความคมชัด ขนาด และสีสัน และที่สำคัญคือ “ผู้รับสารเป็นใคร” มีลักษณะความชอบ ความสนใจฯ อย่างไร ขั้นตอนการเรียบเรียง การศึกษาข้อมูลและเนื้อหาทั้งหมด แล้วนำมารวบรวม จากนั้นทำการคัดกรอง ย่อยเนื้อหา และจัดระเบียบเนื้อหาให้กระชับRead More →

สวัสดีค่ะ ผู้เขียนเรียนจบจากสำนักวิชาสารสนเทศ … วันนี้เลยมีสาระมาเล่าให้ฟังค่ะ เนื่องจากไปลงเรียนวิชา การผลิตสื่อกราฟิกอย่างมืออาชีพ | Graphic Design Crash Course CMU012 ในระบบ ThaiMOOC มา เลยมาแบ่งปันเธอและฉันว่า “Infographic ที่กำลังเป็นที่นิยมนี้…ดีไฉน” ก็ขอตอบตรงนี้ว่า Infographic ดีจริง ๆ เพราะเป็นการสื่อที่มีประสิทธิภาพมากชนิดหนึ่ง เนื่องจากเป็นการนำเสนอข้อมูลด้วยภาพกราฟิกที่ทำให้ผู้ดูภาพสามารถเข้าใจข้อมูล ข่าวสาร สารสนเทศ ตัวเลข สถิติปริมาณมาก ๆ ยากต่อความเข้าใจ ให้เป็นข้อมูลที่กระชับ มีความถูกต้อง ง่ายต่อความเข้าใจ ผ่านรูปภาพเพียงภาพเดียว!! ซึ่งตรงใจวัยเทคโนโลยีก้าวล้ำนำสมัยอย่างพวกเรามาก ๆ … สวยงาม ตัวอักษรน้อย เข้าใจง่าย ใช้เวลาแป๊บเดียว !! แต่กว่าจะใช้เวลาสร้างสรรค์ออกมาได้ ผู้ผลิตก็ต้องใช้ความรู้ความสามารถกันสักนิด … ซึ่งรายวิชาการผลิตสื่อกราฟิกอย่างมืออาชีพเค้าได้สอนไว้ให้เยอะพอดูเลยจ๊ะ อาจารย์วชิระ นิจบุญ และอ.เด่นธนำ เดชะประทุมวันRead More →

จุดเริ่มต้น infographic

นางพยาบาลมาเกี่ยวข้องอะไรกับ infographic กันน้า .. มาค่ะมา.. จะเหลา เอ้ย! เล่าให้ฟัง จริงอยู่ ถ้าดูตามบริบท นางพยาบาลอาจจะห่างจาก infographic ไปสักนิด แต่ถ้าบอกว่า เกี่ยวโยงด้วยการนำเสนอ ..อันนี้พอจะเข้าเค้า แต่ก็ยังไม่ Wowww เท่ากับว่า …จุดเริ่มต้นของการนำเสนอแบบ Infographic นั้น เกิดจาก “นางพยาบาล” ใช่ค่ะ …เมื่อได้ลงทะเบียนเรียนวิชา การผลิตสื่อกราฟิกอย่างมืออาชีพ | Graphic Design Crash Course บน ThaiMOOC ก็เป็นการเปิดโลกทัศน์ให้กว้างขึ้น และกว้างขึ้น เพราะนอกจากในรายวิชาจะอธิบายความหมายของคำว่า Infographic ว่ามาจากคำ 2 คำ คือ Info ที่มาจาก information+graphic “Infographic = Informaiton (ข้อมูลสารสนเทศ) +Read More →

ThaiMOOC “เคยเรียนแล้ว และเมื่อมาเรียนอีก ก็ยิ่งรู้…ยิ่งเข้าใจ และยิ่งตระหนักในความสำคัญของการเตรียมการ“ “รายวิชานี้จะเป็นเรื่องของการจัดการเรียนการสอน ในเรื่องของการผลิตสื่อวีดิทัศน์เพื่อใช้เป็นสื่อการสอนออนไลน์บนระบบเปิด ซึ่งเมื่อเรียนแล้วจะช่วยให้เข้าใจกระบวนการ ขั้นตอนการผลิตรายวิชาบนระบบ MOOC ได้ดียิ่งขึ้นเหมาะสำหรับอาจารย์ ผู้เกี่ยวข้อง รวมถึงผู้ที่สนใจการสร้างวีดิทัศน์บนสื่อออนไลน์ทุกคน ที่จะรู้และเข้าใจในกระบวนการและหน้าที่ของตัวเอง” ต้องออกตัวก่อนว่า ผู้เขียนเคยเรียนรายวิชานี้เมื่อนานมาแล้ว เนื่องจากต้องมาเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างวีดิทัศน์สำหรับรายวิชาที่จะเปิดสอนบน ThaiMOOC ตอนนั้นยังเรียนเพราะความจำเป็น เรียนโดยไม่มีความรู้อะไรเกี่ยวกับ ThaiMOOC เลย แต่วันนี้เมื่อเวลาผ่านมาหลายปี ได้มีโอกาสกลับมาทบทวนใหม่ก็พบว่า “ยิ่งเรียนยิ่งรู้ – ยิ่งอ่านยิ่งใช่” เอาเนื้อหามาจับกับประสบการณ์ที่เราต้องทำ ทำให้ตระหนักและเข้าใจการทำงานมากขึ้น ทั้งยังช่วยตอกย้ำว่า การเตรียม หรือการวางแผนก่อนที่จะผลิตวีดีทัศน์สักหนึ่งชิ้นนั้น…มีความสำคัญอย่างยิ่ง หลักสูตรการสร้างวีดิทัศน์สำหรับรายวิชา MOOC (VidoeX-Thai) สอนโดยรศ.ดร. สุรพล บุญลือ อาจารย์ประจำภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา ม.เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เนื้อหาจะไล่ลำดับตามขั้นตอนการผลิต ซึ่งแบ่งเป็น 4 ขั้นตอน อันเป็นขั้นตอนพื้นฐานของการผลิตวีดิทัศน์โดยทั่วไป แต่ในส่วนของรายละเอียดนั้นจะจำเพาะเจาะลงไปในส่วนที่ผู้ผลิตรายวิชาบท MOOC ต้องรู้ ควรรู้ หรือทำตามRead More →

การเรียนเรื่อง การออกแบบการเรียนการสอนผ่านเว็บ | Web-Based Learning Design ในการออกแบบและพัฒนาเว็บเพื่อการเรียนการสอน ประกอบไปด้วย 5 ขั้นตอน คือ การวิเคราะห์ การออกแบบ การพัฒนา การนำไปใช้ และการประเมินผล           ในส่วนของการวิเคราะห์ประกอบไปด้วยการวิเคราะห์ผู้เรียน การวิเคราะห์เนื้อหา วัตถุประสงค์ การวิเคราะห์ และการวิเคราะห์บริบท ซึ่งการวิเคราะห์ทั้ง 4 ประเด็นนี้ถือว่ามีความจำเป็น และสำคัญมาก ช่วยให้สามารถออกแบบและพัฒนาเว็บให้มีความเหมาะสม ตรงกับพื้นฐาน และความต้องการของผู้ใช้           การออกแบบต้องพิจารณาทั้งเนื้อหา วัตถุประสงค์ บริบท เพื่อให้สามารถตอบสนองความต้องการของผู้เรียนได้ รวมไปถึงรูปแบบตัวอักษร การใช้สี การใช้ภาพกราฟฟิก การใช้วิดีทัศน์ การใช้ภาพเคลื่อนไหว การใช้เสียง การเรียงเนื้อหาในแต่ละหน้า เพื่อให้เนื้อหาสอดคล้อง และเข้าใจ เข้าถึงง่าย เหมาะสมกับผู้เรียน การพัฒนา เป็นขั้นตอนการทำเว็บให้สวยงาม การใช้ภาษาในการทำเว็บให้เหมาะสม การใช้เครื่องมือต่างๆ เพื่อสร้างเว็บทำให้เว็บสวยงามRead More →