ระบบสารสนเทศกับการจัดการความรู้ในยุคดิจิทัล | Information System and Knowledge Management in the Digital Age

การจัดการความรู้ในยุคดิจิทัล
การจัดการความรู้เป็นเทคนิคทางการบริหารที่นำมาใช้ในการรวบรวมองค์ความรู้ที่กระจัดกระจายใน
ตัวคน หรือแหล่งต่าง ๆ ในองค์การแล้วนำมาพัฒนาเรียบเรียงและบันทึกให้เป็นระบบ เพื่อให้ทุกคนสามารถ
เข้าถึง และนำไปใช้ในการพัฒนาตนเอง พัฒนางาน พัฒนาองค์การ นำไปสู่การพัฒนาประเทศในที่สุด
มนุษย์แต่ละยุคสมัยมีวิธีการในการจัดการความรู้ที่แตกต่างออกไป ตามแต่เครื่องมือหรือนวัตกรรมที่
สามารถคิดค้นขึ้นมาได้ในช่วงเวลานั้น เช่น ในยุคก่อนประวัติศาสตร์มนุษย์ถ้าใช้วิธีการนำวัสดุธรรมชาติเขียน
ภาพตามผนังถ้าเพื่อถ่ายทอดเรื่องราว ต่อมาในยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม มนุษย์สามารถคิดค้นเครื่องพิมพ์ขึ้นมา
ได้ ก็สามารถบันทึกความรู้ลงในหนังสือ ตำรา ทำให้สามารถเผยแพร่ความรู้ได้อย่างกว้างขวางมากขึ้น
จนกระทั่งพัฒนาการของโลกได้เจริญก้าวหน้ามาถึงในยุคดิจิทัล ซึ่งเป็นยุคที่มีเทคโนโลยีสารสนเทศที่
ทันสมัย มีเครือข่ายอินเตอร์เน็ต สามารถช่วยมนุษย์ในการรวบรวม เรียบเรียง จัดเก็บ ใช้ประโยชน์ เผยแพร่
และแลกเปลี่ยนความรู้ได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และง่ายต่อการเข้าถึง ซึ่งเทคโนโลยีในยุคดิจิทัลเหล่านี้มีคุณ
อนันต์และโทษมหันต์เป็นเงาตามตัวหากรู้ไม่เท่าทัน
บทความนี้จึงมีวัตถุประสงค์ในการสร้างความรู้ความเข้าใจและความตระหนักให้แก่บุคคล ในเรื่องของ
“ความรู้และการจัดการความรู้ในยุคดิจิทัล” เพราะท่ามกลางความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีทำให้ปริมาณ
ข้อมูลข่าวสารที่มีการหลั่งไหลเข้ามาในชีวิตประจำวันเป็นจำนวนมาก สิ่งที่สำคัญมากกว่าความสามารถในการ
ใช้งานเทคโนโลยีและการใช้งานอินเตอร์เน็ตคือ บุคคลต้องมีทักษะในการจัดการความรู้ เริ่มตั้งแต่การรู้จัก
สืบค้นแยกแยะข้อมูล ข้อเท็จจริง และนำข้อมูลที่ได้รับมาใช้ในการจัดการเพื่อนำไปใช้ประโยชน์อย่างเหมาะสม
ดังจะได้กล่าวถึงต่อไปนี้
ความรู้และระดับขั้นของความรู้
ความรู้ หมายถึง สิ่งที่สั่งสมมาจากการศึกษาเล่าเรียน การค้นคว้า หรือประสบการณ์ รวมทั้ง
ความสามารถเชิงปฏิบัติและทักษะ เช่น ความรู้เรื่องประวัติศาสตร์ สิ่งที่ได้รับมาจากการได้ยิน ได้ฟัง การคิด
หรือการปฏิบัติ (ราชบัณฑิตยสถาน,2554)
มนุษย์มีกระบวนการสร้างความรู้อยู่ตลอดเวลา ซึ่งการเรียนรู้ของมนุษย์เริ่มขึ้นตั้งแต่เกิดมาและหลัง
จากนั้นมนุษย์ใช้เวลาทั้งชีวิตในการสั่งสมประสบการณ์และความรู้ ซึ่งเกิดได้จากหลายวิธี ทั้งจากประสบการณ์
ตรงในการใช้ชีวิต การลงมือปฏิบัติเรื่องที่ได้พบเห็นในชีวิตประจำวัน หรือจากการเรียนรู้และหล่อหลอมจาก
สังคมที่เขาอยู่ เช่น ครอบครัว กลุ่มเพื่อน สถาบันการศึกษา ซึ่งกระบวนการของการสั่งสมของความรู้สามารถ
อธิบายได้ตามตัวแบบปิรามิดแสดงลำดับขั้นแห่งความรู้แบ่งได้เป็น 3 ระดับได้แก่ ข้อมูล สารสนเทศ และ
ความรู้

ระดับขั้นที่ 1 ข้อมูล (Data)
ข้อมูล คือ ข้อเท็จจริง ข่าวสาร ตัวเลข ที่ปรากฏหรือได้รับการบันทึกในรูปแบบต่าง ๆ แต่ยังไม่ผ่าน
การแปลหรือกลั่นกรอง แหล่งข้อมูลมีอย่างหลากหลายโดยสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก ได้แก่
แหล่งข้อมูลปฐมภูมิและแหล่งข้อมูลทุติยภูมิ
แหล่งข้อมูลปฐมภูมิคือแหล่งข้อมูลชั้นแรก ที่มนุษย์เข้าถึงแหล่งกำเนิดข้อมูลได้ด้วยตัวเอง เช่น
ข้อมูลจากการพบเห็นปรากฎการณ์ในชีวิตประจำวัน การลงมือปฏิบัติ ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ พูดคุย
แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับบุคคลโดยตรง
ในยุคดิจิทัล มีเทคโนโลยีที่ช่วยให้มนุษย์สามารถเข้าถึงข้อมูลปฐมภูมิได้สะดวกรวดเร็วขึ้น แม้จะไม่ได้
เดินทางไปยังแหล่งข้อมูลหรือสถานที่จริง แต่เทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตช่วยให้มนุษย์เข้าถึงแหล่งกำเนิดข้อมูล
เสมือนจริงได้ เช่น การรวบรวมข้อมูลความคิดเห็นของบุคคลโดยใช้ช่องทาง Google form หรือหน่วยงาน
ภาครัฐมีช่องทางให้ประชาชนแสดงความคิดเห็นในการให้บริการหรือการท างานของภาครัฐผ่านทางเวบไซต์
ของหน่วยงาน รวมถึงการมีช่องทางให้ประชาชนเสนอแนวคิดหรือแนวทางในการแก้ไขปัญหาสาธารณะต่าง ๆ
เป็นต้น ซึ่งช่องทางดิจิทัลเหล่านี้จะทำให้หน่วยงานสามารถรวบรวมข้อมูลปฐมภูมิได้อย่างสะดวก ประหยัด
และรวดเร็วขึ้น
แหล่งข้อมูลทุติยภูมิคือแหล่งข้อมูลระดับสองที่มีบุคคลได้รวบรวมหรือเรียบเรียงเอาไว้ในรูปแบบต่าง
ๆ บุคคลสามารถเข้าถึงข้อมูลผ่านแหล่งที่มีผู้รวบรวมเอาไว้ โดยแหล่งข้อมูลทุติยภูมิเป็นแหล่งข้อมูลที่มีขนาด
ใหญ่และมีเป็นจำนวนมาก ปรากฎในหลายรูปแบบ เช่น หนังสือตำรา ข่าวสาร เอกสารราชการ กฎระเบียบ
ของหน่วยงาน
แหล่งข้อมูลทุติยภูมิในยุคดิจิทัล เพิ่มปริมาณมากขึ้นอย่างมหาศาลและสามารถเข้าถึงได้ผ่านช่องทาง
อินเตอร์เน็ต เช่น หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ห้องสมุดออนไลน์ หรือรูปแบบข้อมูลที่เผยแพร่ผ่านที่เป็น
แอปพลิเคชั่นออนไลน์ต่าง ๆ เช่น เฟสบุ๊ค (Facebook) ไลน์(Line) ทวิตเตอร์(Twitter) ไปจนถึงการจัดเก็บ
ข้อมูลในรูปแบบเทคโนโลยีสารสนเทศในเครือข่ายอินเตอร์เน็ตที่เรียกว่า ฐานข้อมูลขนาดใหญ่ หรือ Big Data
เช่น ฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ของกระทรวงมหาดไทย เว็บไซต์หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน ซึ่งข้อมูล
เหล่านี้จะอยู่ในรูปแบบดิจิทัลที่สามารถเข้าถึงได้ผ่านช่องทางออนไลน์ต่าง ๆ
เทคนิคในการสืบค้นข้อมูลในยุคดิจิตัล ปริมาณข้อมูลข่าวสารในยุคดิจิทัลมีมหาศาล แหล่งข้อมูลทั้ง
ปฐมภูมิและทุติยภูมิมีความสลับซับซ้อน การเข้าถึงข้อมูลในช่องทางดิจิทัลสามารถทำได้อย่างเสรีทำให้เราไม่
สามารถจะทราบได้ว่าข้อมูลที่ได้รับนั้นเป็นข้อเท็จ หรือข้อจริง ดังนั้นในยุคดิจิทัลบุคคลควรมีทักษะที่จำเป็นใน
การสืบค้นข้อมูล เพื่อจะทำให้มั่นใจได้ว่าจะสามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลที่ใกล้เคียงความจริงมากที่สุด โดย
เทคนิคที่จะทำให้ทักษะการสืบค้นข้อมูลในยุคดิจิทัลมีคุณภาพมากขึ้น 2 ประการ คือ

1) ควรสืบค้นข้อมูลจากแหล่งที่เชื่อถือได้ เช่น หน่วยงานราชการ ผู้กำเนิดข้อมูล หน่วยงานที่ได้รับการ
ยอมรับระดับชาติหรือนานาชาติ หรืออ้างอิงเอกสารในเชิงวิชาการ เป็นต้น
2) การสืบค้นข้อมูลควรใช้เทคนิคสามเส้า (Triangulation) หมายถึง ผู้สืบค้นควรเข้าถึงแหล่งข้อมูลที่
น่าเชื่อถือ อย่างน้อย 3 แหล่งขึ้นไป เพื่อนำข้อมูลที่ได้รับอย่างน้อย 3 แหล่งมาสังเคราะห์และยืนยันร่วมกัน
ก่อนการนำข้อมูลไปสู่การวิเคราะห์และนำไปใช้ประโยชน์
ระดับขั้นที่ 2 สารสนเทศ (Information)
สารสนเทศ หมายถึง ข้อมูลที่ผ่านการคัดกรอง วิเคราะห์ และเรียบเรียงอย่างเป็นระบบ มีการคิดใน
เชิงวิเคราะห์สังเคราะห์ เทียบเคียงกับองค์ความรู้ที่เหมาะสม และบันทึกอย่างเป็นระบบเพื่อสามารถนำไปใช้
ประโยชน์ในการดำเนินชีวิตหรือกิจกรรมในชีวิตประจำวัน
มนุษย์มีเทคโนโลยีที่สามารถช่วยในการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อเปลี่ยนข้อมูลสู่สารสนเทศ เช่น โปรแกรม
ปฏิบัติการทางคอมพิวเตอร์ โปรแกรมวิเคราะห์ข้อมูลการวิจัยทางสังคมศาสตร์ SPSS หรือโปรแกรม
คอมพิวเตอร์ที่ใช้วิเคราะห์เนื้อหาของข้อมูล เป็นต้น
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโลกของยุคดิจิทัลนี้ มีเทคโนโลยีที่มนุษย์คิดค้นขึ้นมาเพื่อใช้เป็นเครื่องมือตั้งแต่
การรวบรวมข้อมูล ไปจนถึงการเรียบเรียงและวิเคราะห์ข้อมูล เช่น ระบบการรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์
ข้อมูลออนไลน์ของ ระบบปฏิบัติการ Google Document ที่นำมาใช้ในการรวบรวมข้อมูลผ่านช่องทาง
ออนไลน์ และสามารถวิเคราะห์ข้อมูล และจัดการข้อมูลสู่สารสนเทศในรูปแบบต่างตามที่ผู้ใช้งานต้องการ และ
สามารถน าเสนอข้อมูลในรูปแบบต่าง ๆ ที่น่าสนใจ เช่น ข้อมูลตัวอักษร ตัวเลข สถิติ ไปจนถึงการนำเสนอใน
แบบ ตาราง กราฟฟิก กราฟ อินโฟกราฟฟิค เป็นต้น
นอกจากนั้นในยุคดิจิทัล มนุษย์ยังได้น าสารสนเทศที่ผ่านการวิเคราะห์แล้วไปผูกติดกับเทคโนโลยีที่
เรียกว่า “เทคโนโลยีสารสนเทศ” คือข้อมูลที่ผ่านการวิเคราะห์เรียบเรียงพร้อมน าไปใช้ประโยชน์ โดยผูกการใช้
งานเชื่อมโยงไว้กับเทคโนโลยีและอินเตอร์เน็ต เช่น ฐานข้อมูลภาษีของภาครัฐ ฐานข้อมูลบัญชีของ
กรมบัญชีกลาง ฐานข้อมูลนักศึกษาของส านักบริการวิชาการและงานทะเบียน มหาวิทยาลัยราชภัฎบ้านสมเด็จ
เจ้าพระยา ซึ่งเทคโนโลยีสารสนเทศนี้ มีประโยชน์คือมีความสะดวก รวดเร็ว ประหยัด ช่วยยกระดับการทำงาน
ของบุคคลและองค์การในยุคดิจิทัลได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ระดับขั้นที่ 3 ความรู้ (Knowledge)
เมื่อผ่านกระบวนการตามระดับขั้น คือเริ่มจากข้อมูลที่ผ่านการรวบรวมเรียบเรียง วิเคราะห์เป็น
สารสนเทศ และผ่านการใช้งาน สั่งสมและตกผลึกจนขั้นสุดท้ายจะเกิดเป็นความรู้ขึ้นในตัวบุคคล ความรู้ที่มี
การสั่งสมจะสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการทำงานหรือการใช้ชีวิตประจำวัน และสามารถนำไปสู่การพัฒนา
สิ่งใหม่ๆ ที่เรียกว่านวัตกรรม
ดังนั้นเงื่อนไขสำคัญของการผลิตความรู้คือ ในลำดับแรกบุคคลควรมีทักษะในการนำเข้าข้อมูลที่มี
คุณภาพ เพื่อนำไปสู่การสร้างสารสนเทศและสั่งสมเป็นความรู้ที่มีคุณภาพด้วย พึงตระหนักว่า การป้อนข้อมูลที่
ผิดก็จะได้คุณภาพของสารสนเทศและความรู้ที่พลาดด้วย (garbage in garbage out)

การจัดการความรู้ในยุคดิจิทัล
การจัดการความรู้(Knowledge Management) เป็นกระบวนการในการนำความรู้ที่มีอยู่อย่าง
กระจัดกระจายทั้งในตัวคน หรือแหล่งอื่นในองค์การ หรือในสังคม นำมารวบรวม เรียบเรียงและบันทึกอย่าง
เป็นระบบ และเผยแพร่ออกไปในรูปแบบต่าง ๆ สามารถนำไปใช้งานเพื่อให้เกิดประโยชน์กับองค์การและสังคม
การจัดการความรู้ในยุคดิจิทัลสามารถเกิดขึ้นได้อย่างสะดวก รวดเร็วและง่ายมากขึ้น เพราะมี
เทคโนโลยีสารสนเทศ อินเตอร์เน็ตเข้ามาช่วย ซึ่งสามารถอธิบายได้ตามแนวคิดเกลียวของความรู้ SECI
(Nonaka, I. & Takeuchi, H., 1995) ดังนี้

Socialization การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ พบปะพูดคุย เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างบุคคล เป็น
การน าความรู้ แลกเปลี่ยนระหว่างบุคคลหนึ่งไปสู่อีกบุคคลหนึ่ง (tacit knowledge to tacit knowledge) ซึ่ง
ในขั้นตอนนี้เป็นปกติของธรรมชาติมนุษย์ที่เป็นสัตว์สังคมย่อมต้องมีการร่วมกลุ่ม มีการพูดคุยแลกเปลี่ยน
ความคิดเห็นระหว่างกันในชีวิตประจ าวัน
การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในยุคดิจิทัล สามารถเกิดขึ้นได้โดยมีเทคโนโลยีและช่องทางอินเตอร์เน็ตเข้ามา
ช่วยท าให้การพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นของบุคคลเกิดขึ้นได้แม้ไม่ได้พบเจอกันในสถานการณ์จริง ปัจจุบัน
การพบปะพูดคุย ประสานงานกับบุคคลอื่นสามารถจัดขึ้นผ่านช่องทางออนไลน์เช่น ระบบปฏิบัติการ เฟสบุ๊ค
(Facebook) ไลน์(Line) ทวิตเตอร์(Twitter) หรือแม้กระทั่งการจัดประชุมหรือการเรียนหนังสือในรูปแบบ
ห้องเรียนหรือห้องประชุมเสมือนผ่านช่องทางออนไลน์เช่น ระบบปฏิบัติการ Microsoft Teams Google
Meet หรือ Zoom
เป็นต้น
Externalization การสกัดความรู้จากตัวคน เป็นกระบวนการการนำความรู้ที่มีอยู่ในตัวคนแล้ว
ถ่ายทอดออกมาสู่ข้างนอก (tacit knowledge to explicit knowledge) และบันทึกในรูปแบบต่าง ๆ เช่น
หนังสือ เอกสาร ตำรา งานเขียน ทั้งในรูปแบบเอกสารหรือรูปแบบอื่น
การสกัดความรู้ในยุคดิจิทัล สามารถทำได้สะดวกมากขึ้น เนื่องจากมีช่องทางการบันทึกและเผยแพร่
ความรู้โดยมีเทคโนโลยีสารสนเทศ และช่องทางอินเตอร์เน็ตมาช่วย เช่น การเขียนหรือบันทึกความรู้ในรูปแบบ
ตำราดิจิทัล การเขียนข้อมูลเผยแพร่ผ่านช่องทางอินเตอร์เน็ต บทความออนไลน์ หรือการเผยแพร่ข้อมูล
ข่าวสารของหน่วยงานผ่านเว็บไซต์ เป็นต้น
Combination การผนวกความรู้ ผสมผสานความรู้จากหลากหลายแหล่งเข้าด้วยกัน (explicit
knowledge to explicit knowledge) เช่น การประสานความรู้จากการอ่านหนังสือ การพบปะพูดคุย
สัมภาษณ์ การค้นคว้าข้อมูลจากสื่อ ข้อมูลจากหน่วยงาน การเรียนหนังสือในชั้นเรียน การค้นคว้าข้อมูลเพื่อ

ทำงานวิจัย เป็นต้น ซึ่งในชีวิตประจ าวันมนุษย์มีโอกาสในการเข้าถึงข้อมูลที่หลากหลาย การเข้าถึงและค้นคว้า
ข้อมูลที่มาจากแหล่งที่หลากหลายจะช่วยให้บุคคลสามารถเรียนรู้ได้กว้างขวางมากขึ้น
การผนวกความรู้ในยุคดิจิทัล มีแหล่งข้อมูลที่มนุษย์สามารถเข้าถึงได้อย่างหลากหลาย ผ่านรูปแบบ
เว็บไซต์ เช่น หนังสือดิจิทัล วารสาร บทความ ในรูปแบบดิจิทัล การรับฟังข้อมูลข่าวสาร การรายงานข่าวผ่าน
ช่องทางออนไลน์ต่าง ๆ เช่น ยูทูป (You tube) เว็บไซต์ของแหล่งสื่อ สถานีโทรทัศน์ออนไลน์ ซึ่งเทคโนโลยี
ดิจิทัลเหล่านี้ ช่วยให้มนุษย์มีช่องทางในการเข้าถึงและแลกเปลี่ยนข้อมูลในรูปแบบต่าง ๆ จนสามารถนำมาสู่
การผสมผสานข้อมูลที่ได้รับมา และตกผลึกเป็นสารสนเทศได้ง่ายมากยิ่งขึ้น
Internalization การฝังหรือผนึกความรู้ คือนำความรู้ที่ได้รับการถ่ายเทจากสิ่งแวดล้อม ผ่านการ
ผนวกหลายช่องทาง และผ่านการคิดวิเคราะห์แล้ว กลับไปเป็นความรู้ที่ฝังลึกในตัวคน (explicit knowledge
to tacit knowledge) เป็นการเปลี่ยนจากความรู้ชัดแจ้งไปสู่ความรู้ที่ฝังลึกในตัวคน เมื่อคนได้รับความรู้และมี
การแลกเปลี่ยนความรู้จากหลายแหล่งแล้ว คนจะนำความรู้นั้นฝังกลับไปในตัวเอง เข้าไปสู่ระบบสมองและการ
จดจ าของสมอง และเมื่อมีปัญหาก็สามารถนำความรู้นั้นมาใช้ประโยชน์ได้

การฝังหรือผนึกความรู้ในตัวคนนั้นเป็นกระบวนการอัตโนมัติที่เกิดขึ้นของมนุษย์ ทั้งนี้ในยุคดิจิทัล
มนุษย์สามารถใช้เทคโนโลยีมาช่วยในการจดจำ หรือจัดระเบียบความคิดของตัวเองได้มากขึ้น
บทส่งท้าย
ยุคดิจิทัล เป็นยุคที่ข้อมูลข่าวสารมีเป็นจำนวนมหาศาล มีช่องทางรับข้อมูลข่าวสารจ านวนมากและ
หลากหลาย บุคคลสามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างง่าย รวดเร็ว แต่ในขณะเดียวกัน ความน่าเชื่อถือของข้อมูลที่
ได้รับนั้นกลับมีน้อยลง บางครั้งข้อมูลที่ได้รับอาจเป็นข้อมูลเท็จมากกว่าข้อมูลจริง ดังนั้นบุคคลจึงต้องมี
วิจารณญาณในการสืบค้นและกลั่นกรองข้อมูล พึงตระหนักว่า “การรู้เท่าทันข้อมูลข่าวสารในโลกดิจิทัลจะไม่
โดนหลอก”
ทักษะในยุคดิจิทัลที่สำคัญประการหนึ่งคือ ความสามารถในการสืบค้นและจัดการกับข้อมูล ซึ่งการ
สืบค้นหรือค้นหาข้อมูลนั้นควรมาจากแหล่งที่เชื่อถือได้ เช่น ช่องทางดิจิทัลหน่วยงานของภาครัฐ หรือ
เอกสารอ้างอิงเชิงวิชาการ เป็นต้น และควรใช้เทคนิคสามเส้าในการรวบรวมข้อมูลอย่างน้อยสามแหล่งเพื่อ
นำมาสังเคราะห์ก่อนจะตัดสินใจเชื่อ บุคคลไม่ควรเชื่อในข้อมูลที่ได้รับมาในทันทีทันใด แต่ควรมีการสืบเสาะ
ค้นหาข้อมูลอย่างละเอียดก่อนตัดสินใจเชื่อ
นอกเหนือจากต้องมีความสามารถในการสืบค้นข้อมูลแล้ว ทักษะสำคัญอีกประการคือ วิจารณญาณใน
การกลั่นกรอง และวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้รับเพื่อประมวลผลเป็นสารสนเทศ ซึ่งในขั้นตอนนี้บุคคลสามารถน า
ความรู้ที่ได้เรียนหรือประสบการณ์ในชีวิต มาใช้ในการคิดแยกแยะและวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้รับมา เพื่อเรียบเรียง
และตกผลึกเป็นสารสนเทศเพื่อนำไปสู่การใช้ประโยชน์ในการทำงานหรือการใช้ชีวิตประจำวัน
สุดท้ายต้องการฝากให้ผู้อ่านได้ตระหนักว่า การจัดการความรู้ในยุคดิจิทัลนั้น แม้มีเทคโนโลยีสมัยใหม่
ที่ถือเป็นโอกาสที่จะอำนวยความสะดวกในการจัดการความรู้ แต่สิ่งสำคัญคือบุคคลต้องมีสติปัญญากำกับใน
การใช้เทคโนโลยีรับและกลั่นกรองข้อมูลก่อนจะตกผลึกเป็นความรู้

Visits: 1135

Comments

comments

Back To Top