stop-corruption

การประเมินคุณธรรมและความโปรงใสในการดําเนินงานของหน่วยงานภาครัฐได้เริ่มดําเนินการในปีงบประมาณ พ.ศ. 2557 เป็นตนมา และมีการขยายขอบเขตและพัฒนาให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นตามลําดับ โดยคำนึงถึงการเก็บข้อมูลอย่างรอบด้านและหลากหลายมิติ การกำหนดระเบียบวิธีการประเมินผลที่เป็นไปตามหลักการทางสถิติและทางวิชาการเพื่อให้ ผลการประเมินสามารถสะท้อนสุขภาวะขององค์กรในด้านคุณธรรมและความโปร่งใสได้อย่างแท้จริง โดยมีการ เก็บข้อมูลจาก 3 ส่วน ดังนี้ แบบวัดการรับรู้ผู้มีส่วนได้เสียภายใน (Internal Integrity and Transparency Assessment : IIT) โดยการให้บุคลากรที่ทำงานให้กับหน่วยงานมาเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 1 ปีตั้งแต่ระดับ ผู้บริหาร ผู้อำนวยการ หัวหน้า ข้าราชการ พนักงาน ไปจนถึงลูกจ้าง เป็นผู้ประเมิน  แบบวัดการรับรู้ผู้มีส่วนได้เสียภายนอก (External Integrity and Transparency Assessment : EIT) โดยการให้บุคคล นิติบุคคล บริษัทเอกชนหรือหน่วยงานของรัฐที่มารับบริการหรือมาติดต่องานตามภารกิจของหน่วยงาน ในปีงบประมาณที่ประเมิน เป็นผู้ประเมิน แบบตรวจการเปิดเผยข้อมูลสาธารณะ (Open Data Integrity and Transparency Assessment :Read More →

• การเรียนรู้ที่มีคุณค่า ก็คือ การเรียนรู้แบบร่วมมือ การแบ่งปันความรู้ ไม่ยึดถือในความเป็นเจ้าของมากเกินไป แนวคิดการสร้างช่องทางการเรียนรู้ที่เข้าถึงได้อิสระเสรี จึงเป็นแนวคิดของการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong Learning) โดยมีหัวใจสำคัญอยู่ที่การแบ่งปันแหล่งทรัพยากรด้านการศึกษาที่มีคุณภาพสู่สังคมโลกเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ทางด้านการศึกษาได้อย่างเสรี • แหล่งทรัพยากรการศึกษาแบบเปิด หรือ OER : Open Educational Resources เป็นนวัตกรรมหนึ่งในวงการศึกษาที่ก่อกำหนดขึ้นมาภายใต้แนวคิดดังกล่าว โดยมีจุดเริ่มต้นมาจากโครงการขององค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือยูเนสโก (UNESCO) ที่ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (Massachusetts Institute of Technology หรือ MIT) สถาบันอุดมศึกษาที่มีชื่อเสียงด้านเทคโนโลยีของประเทศสหรัฐอเมริกา โดยพัฒนารวบรวมสื่อการเรียนรู้ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์แบบเปิด (Open Courseware) เผยแพร่ไว้ในเว็บไซต์ที่มีวัตถุประสงค์ทุกคนสามารถนำไปใช้ได้โดยไม่มีค่าใช้จ่ายและไม่มีข้อจำกัดในการใช้งาน ความสำเร็จของโครงการทำให้แนวคิดในการพัฒนาและแบ่งปันความรู้แก่มวลมนุษยชาติได้รับการยอมรับในชื่อของ “แหล่งทรัพยากรการศึกษาแบบเปิด” • ปัจจุบันมีแหล่งสนับสนุนและให้บริการ OER เกิดขึ้นมากมายทั่วโลก ส่วนใหญ่เป็นภาษาอังกฤษ และห้องสมุดสถาบันการศึกษาจำนวนมาก ก็ได้ผนวกทรัพยากรการเรียนรู้ดังกล่าว เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของสื่อการเรียนรู้แนะนำสำหรับนักศึกษาและผู้สอน สำหรับประเทศไทยมี OER ที่มีชื่อว่าRead More →

การออกแบบระบบการเรียนการสอน การออกแบบระบบการเรียนการสอนจะประกอบด้วยกระบวนการต่าง ๆ เพื่อเป็นแนวทางไปสู่ความสำเร็จในการเรียนการสอนตามที่ตั้งจุดมุ่งหมายไว้ ดังนั้น เมื่อมีการออกแบบระบบการเรียนการสอน ผู้ออกแบบจะต้องดำเนินงานตามกระบวนการ 5 ขั้นตอน ในการออกแบบ โดยหลักการพื้นฐานในการออกแบบระบบการเรียนการสอน (Instructional Systems Design (ISD) model/framework) ที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย คือ ADDIE Model หรือแบบจำลอง ADDIE ที่มีองค์ประกอบ 5 ขั้นตอน คือ การวิเคราะห์ (Analysis) การออกแบบ (Design) การพัฒนา (Development) การนำไปใช้ (Implementation) และการประเมินผล (Evaluation)  การวิเคราะห์ (A: Analysis) การวิเคราะห์เป็นขั้นตอนแรกของกระบวนการออกแบบระบบการเรียนการสอน ผู้ออกแบบจะต้องกำหนดความจำเป็นในการเรียน ทำการวิเคราะห์เนื้อหาหรือกิจกรรมการเรียนการสอน คุณลักษณะของผู้เรียน และวัตถุประสงค์ของการเรียนการสอนเพื่อรวบรวมข้อมูล สำหรับใช้เป็นแนวทางในการกำหนดขอบเขตของบทเรียน ขั้นการวิเคราะห์ การออกแบบ (D: Design) การออกแบบในระบบการเรียนการสอนจะใช้ข้อมูลที่ได้รับจากขั้นกระบวนการวิเคราะห์Read More →

สำหรับการเชื่อมต่อมือถือเข้าทีวีไร้สาย หรือการแชร์หน้าจอมือถือเข้าทีวี จะมีอยู่ด้วยกัน 4 แบบ แล้วแต่ละยี่ห้อ และการใช้งานของแต่ละรุ่นด้วย ส่วนใหญ่แล้วจะสามารถทำได้ ซึ่งจะมี Software ติดเครื่องมาให้ สามารถเชื่อมต่อได้ในทันทีอยู่แล้ว แต่อาจจะต่างกันที่วิธีทำ หรือวิธีเชื่อมต่อที่มีชื่อเรียกต่างกันออกไป ส่วนวิธีที่เราจะมาบอกกันก็จะมีทั้งระบบ Android และ iOS ส่วนวิธีต่าง ๆ จะทำอย่างไรบ้าง ตามมาดูกันได้เลย 1. สะท้อนหน้าจอ iPhone ไปทีวี ด้วย Airplay / Screen Mirroring วิธีต่อมือถือเข้าทีวีไร้สาย ที่เราจะมาบอกกันเลยก็คือมือถือ iPhone, iPod Touch, Mac หรือ iPad ที่มีการรองรับการเชื่อมต่อในเครื่องมาอยู่แล้ว ทั้งการเชื่อมต่อไปยัง Apple TV หรือ Smart Tv ทั่วไปก็สามารถเชื่อมต่อได้เหมือนกัน ส่วนวิธีสะท้อนหน้าจอ iPhone ไปทีวีนั้นก็ง่ายแสนง่ายRead More →

การเรียนเรื่อง การออกแบบการเรียนการสอนผ่านเว็บ | Web-Based Learning Design ในการออกแบบและพัฒนาเว็บเพื่อการเรียนการสอน ประกอบไปด้วย 5 ขั้นตอน คือ การวิเคราะห์ การออกแบบ การพัฒนา การนำไปใช้ และการประเมินผล           ในส่วนของการวิเคราะห์ประกอบไปด้วยการวิเคราะห์ผู้เรียน การวิเคราะห์เนื้อหา วัตถุประสงค์ การวิเคราะห์ และการวิเคราะห์บริบท ซึ่งการวิเคราะห์ทั้ง 4 ประเด็นนี้ถือว่ามีความจำเป็น และสำคัญมาก ช่วยให้สามารถออกแบบและพัฒนาเว็บให้มีความเหมาะสม ตรงกับพื้นฐาน และความต้องการของผู้ใช้           การออกแบบต้องพิจารณาทั้งเนื้อหา วัตถุประสงค์ บริบท เพื่อให้สามารถตอบสนองความต้องการของผู้เรียนได้ รวมไปถึงรูปแบบตัวอักษร การใช้สี การใช้ภาพกราฟฟิก การใช้วิดีทัศน์ การใช้ภาพเคลื่อนไหว การใช้เสียง การเรียงเนื้อหาในแต่ละหน้า เพื่อให้เนื้อหาสอดคล้อง และเข้าใจ เข้าถึงง่าย เหมาะสมกับผู้เรียน การพัฒนา เป็นขั้นตอนการทำเว็บให้สวยงาม การใช้ภาษาในการทำเว็บให้เหมาะสม การใช้เครื่องมือต่างๆ เพื่อสร้างเว็บทำให้เว็บสวยงามRead More →