Author: Patcharin Pawikanon

เสริมสร้างธรรมาภิบาลต่อต้านการทุจริต

การประเมินคุณธรรมและความโปรงใสในการดําเนินงานของหน่วยงานภาครัฐได้เริ่มดําเนินการในปีงบประมาณ พ.ศ. 2557 เป็นตนมา และมีการขยายขอบเขตและพัฒนาให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นตามลําดับ โดยคำนึงถึงการเก็บข้อมูลอย่างรอบด้านและหลากหลายมิติ การกำหนดระเบียบวิธีการประเมินผลที่เป็นไปตามหลักการทางสถิติและทางวิชาการเพื่อให้ ผลการประเมินสามารถสะท้อนสุขภาวะขององค์กรในด้านคุณธรรมและความโปร่งใสได้อย่างแท้จริง โดยมีการ เก็บข้อมูลจาก 3 ส่วน ดังนี้ แบบวัดการรับรู้ผู้มีส่วนได้เสียภายใน (Internal Integrity and Transparency Assessment : IIT) โดยการให้บุคลากรที่ทำงานให้กับหน่วยงานมาเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 1 ปีตั้งแต่ระดับ ผู้บริหาร ผู้อำนวยการ หัวหน้า ข้าราชการ พนักงาน ไปจนถึงลูกจ้าง เป็นผู้ประเมิน  แบบวัดการรับรู้ผู้มีส่วนได้เสียภายนอก (External Integrity and Transparency Assessment : EIT) โดยการให้บุคคล นิติบุคคล บริษัทเอกชนหรือหน่วยงานของรัฐที่มารับบริการหรือมาติดต่องานตามภารกิจของหน่วยงาน ในปีงบประมาณที่ประเมิน เป็นผู้ประเมิน แบบตรวจการเปิดเผยข้อมูลสาธารณะ (Open Data Integrity and Transparency Assessment : OIT) ทำการประเมินโดยหน่วยงานที่รับการประเมินทุกหน่วยงานเพื่อตรวจสอบการเปิดเผยข้อมูลของหน่วยงานว่าเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดข้อมูลที่จำเป็นต้องให้ทุกคนสามารถเข้าถึงและตรวจสอบได้ มีความครบถ้วนหรือไม่ กระบวนทัศน์หลักธรรมาภิบาลเพื่อการป้องกันการทุจริต ทุจริต […]

การออกแบบหน้าจอสำหรับการเรียนการสอนบนเว็บ

การเรียนการสอบบนเว็บเป็นลักษณะของการจัดการเรียนการสอนโดยใช้เทคโนโลยีเครือข่ายคอมพิวเตอร์หรือ อินเตอร์เน็ตเข้ามาเป็นช่องทางสำคัญในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนไม่ว่าจะเป็นการนำเสนอเนื้อหาผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์รูปแบบต่าง ๆที่บรรจุลงในเว็บหรือว่าใช้เป็นลักษณะของการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ผ่านเว็บ การออกแบบหน้าจอแบ่งออกเป็น การออกแบบทั่วไป เน้นความเรียบง่ายไม่ซับซ้อนแต่สวยงามและกลมกลืน หลีกเลี่ยงการออกแบบที่ตกแต่งเกินความพอดี เพราะจะดูน่ารำคาญไม่น่าเชื่อถือ การออกแบบเนื้องหา ถูกต้อง กระชับ จัดเจน ทันสมัย จัดลำดับหมวดหมู่ชัดเจน มีการอ้างอิงที่มา จัดให้มีเนื้อที่ว่างบนหน้าจอ (white space)เพื่อให้หน้าจอไม่แน่นจนเกินไป ออกแบบให้มีการต่อเนื่อง และสม่ำเสมอ ไม่ควรใช้ไฟล์ข้อมูลที่ใหญ่เกินไป เพราะจำให้เสียเวลาในการเปิดหน้าเว็บ ควรตรวจสอบการมองเห็นจากหลาย Browser การเลือกสี ใช้สีเพื้นหลังกับสีอักษรที่แตกต่างกันเพื่อให้มองเห็นได้ชัดเจน ไม่ควรใช้สีตัดกันเกินไป สีการเชื่อมโยง ช่วยแยกความแตกต่างของข้อความธรรมดากับข้อความเป็นตัวเชื่อมได้ เช่น Hiperlink การเน้นสีข้อความ ควรเป็นสีที่เด่นกว่าเนื้อความ การออกแบบปุ่มและสัญรูป มีความเป็นรูปธรรม สากล มองเห็นและแปลความง่าย รวมทั้งมีรูปแบบที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เช่น สัญลักษณ์ปุ่ม facebook จัดกลุ่มที่มีหน้าที่ใกล้เคียงกันไว้ใกล้กัน โดยแยกกลุ่มหน้าที่แตกต่างกันไว้ห่างกัน จัดวางในตำแหน่งที่มองเห็นได้ชัดเจน และตำแหน่งเดิมทุกหน้าจอ หากภาพสื่อความหมายไม่ชัดเจน ควรใช้ข้อความกำกับหรืออาจใช้แถบสีครอบข้อความ รูปแบบตัวอักษร ใช้รูปแบบตัวอักษรที่อ่านง่าย ไม่หวือหวา และเป็นรูปแบบมาตรฐาน หลีกเลี่ยงตัวอักษรแบบเอียง หรือขีดเส้นใต้ […]

การเตรียมสไลด์เพื่อนำเสนอผลงาน

ในปัจจุบันนี้การนำเสนอเข้ามามีบทบาทสำคัญในองค์กรทางธุรกิจ การเมือง การศึกษาหรือแม้แต่หน่วยงานของรัฐทุกแห่งก็ต้องอาศัยวิธีการนำเสนอเพื่อสื่อสารข้อมูล เสนอความเห็น เสนอขออนุมัติ หรือเสนอข้อสรุปผลการดำเนินงานต่างๆผู้ที่มีหน้าที่เกี่ยวกับการประชาสัมพันธ์ การแนะนำเพื่อการเยี่ยมชม การฝึกอบรม การประชุมหรือผู้ที่เป็นหัวหน้างานทุกระดับจะต้องรู้จักวิธีการนำเสนอ เพื่อนำไปใช้ให้เหมาะสมกับงานต่างๆและเพื่อผลสำเร็จของการพัฒนางานของตนหรือขององค์กรและหน่วยงานต่างๆ การนำเสนอมีความสำคัญต่อการปฏิบัติงานทุกประเภทเพราะช่วยในการตัดสินใจในการดำเนินงาน ใช้ในการพัฒนางานเราจึงควรรู้แนวทางการเตรียมสไลด์เพื่อนำเสนอผลงานเพื่อเสนอต่อผู้บังคับบัญชาและบุคคลผู้ที่สนใจ การเตรียมสไลด์ประกอบการนำเสนอผลงานวิจัยด้วยวาจา มีแนวทางในการดำเนินงานโดยสรุปดังนี้ การวางแผน นักวิจัยต้องหาข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่ที่นำเสนอ ขนาดของห้องและเวที ตำแหน่งเครื่องฉาย ขนาดจอข้อกำหนดในการนำเสนอผลงานวิจัยด้วยวาจา ลักษณะและจำนวนผู้เข้าร่วมประชุม เพื่อใช้ในการวางแผนการนำเสนอสไลด์ประกอบการนำเสนอผลงานวิจัยด้วยวาจา หากนักวิจัยมีข้อมูลมากเท่าไร การวางแผนเสนอสไลด์ประกอบการนำเสนอผลงานวิจัยด้วยวาจา ยิ่งได้ผลดีมากขึ้นเท่านั้น แนวทางสำหรับการวางแผนงานคือ การตอบคำถามว่าจะเสนออะไร เสนออย่างไร เหตุใดจึงเลือกวิธีเสนอแบบนั้น และผลที่คาดว่าจะได้รับรวมทั้งกำหนดระยะเวลา ต้นทุนค่าใช้จ่ายในการเตรียมสไลด์ด้วย การออกแบบ นักวิจัยต้องตัดสินใจว่าจะเลือกเนื้อหาสาระส่วนใดจากรายงานวิจัยทั้งฉบับไปจัดทำเป็นสไลด์ประกอบการนำเสนอผลงานวิจัยด้วยวาจา โดยต้องกำหนดวัตถุประสงค์ของการเสนอผลงานวิจัยก่อนว่าต้องการให้เกิดผลเกิดประโยชน์อะไรต่อผู้เข้าชม หรือต้องการขายความคิด หรือต้องการเสนอนวัตกรรม เพราะวัตถุประสงค์ที่ต่างกันทำให้แนวการเตรียมสไลด์ประกอบการนำเสนอผลงานวิจัยแตกต่างกันด้วย เมื่อกำหนดวัตถุประสงค์แล้วจึงตัดสินใจเกี่ยวกับรูปแบบของสไลด์ ซึ่งมีหลักการดังนี้ เลือก template ที่เหมาะสมกับผู้เข้าร่วมประชุม สไลด์ทางวิชาการไม่นิยมมีรูปการ์ตูน ออกแบบสไลด์ให้มีจำนวนเหมาะสม ประมาณ 6-7 แผ่น สไลด์จำนวน 10-12 แผ่น ถือว่ามากเกินไปสำหรับการเสอนผลงานวิจัยด้วยวาจา ใช้ลูกเล่น เช่น ภาพเคลื่อนไหว สีและรูปแบบพิเศษ เฉพาะบางสไลด์ […]

Google Calendar เพื่อสร้างนัดหมายและการประชุมอย่างมืออาชีพ

การใช้ Google tools เพื่อการพัฒนางานนั้น เราสามารถใช้ Google tools ในการพัฒนางานได้หลากหลายด้าน เพียงแค่มี account Gmail ก็จะมี tools ต่าง ๆ ของ Google เป็น App ที่มีประสิทธิภาพมาก ๆเป็นเครื่องมือที่เราไว้ใช้งานร่วมกันได้เช่น การใช้ Google เพื่อการติดต่อสื่อสาร การใช้เครื่องมือของ Google เพื่อการแบ่งปันพื้นที่การทำงานร่วมกัน การทำงานแบบออนไลน์ได้ในเวลาเดียวกันและก็ใช้เครื่องมือ Google เพื่อการสร้างแบบสำรวจและแบบสอบถามออนไลน์ การใช้เครื่องมือ Google เพื่อการค้นหาข้อมูลสารสนเทศทรัพยากร เพื่อการประชาสัมพันธ์ผลงาน แต่ในที่นี้จะขอกล่าวถึง Google Calendar เพื่อการสร้างนัดหมายและการประชุมอย่างมืออาชีพ ในการกำหนดตารางนัดหมาย การประชุม หรือสร้างวันและเวลาเพื่อที่จะนัดหมายและการทำงานร่วมกัน เราสามารถดำเนินการโดยโปรแกรมที่ชื่อว่า Google Calendarโดยเริ่มจาการเสิร์ซ google คลิกมุมขวาบน ก็จะเจอ Google calendar เป็นรูป 31 แล้วก็มีคำว่า calendar ถ้าใช้เวอร์ชันเป็นภาษาไทยก็จะใช้คำว่าปฏิทิน ให้กดเข้าไปแล้วจะมีรูปปฏิทินโชว์ขึ้นมา […]

การบริหารจัดการ..การประชุม

การปฏิบัติงานภายในสำนักงานไม่ว่าจะเป็นภาครัฐบาลหรือภาคเอกชนจำเป็นต้องมีการประชุมอยู่เสมอและตลอดเวลา เป็นงานที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้น ผู้ปฏิบัติงานในสำนักงานจึงควรมีความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติงานประชุม และจัดเตรียมความพร้อมของการประชุม การวางแผนก่อนการประชุมการจัดการประชุมมีลักษณะเช่นเดียวกันกับการดำเนินการอื่นๆ ที่ต้องมีการวางแผนก่อนการประชุมโดยทั่วไปการวางแผนก่อนการประชุมมีแนวทาง ดังนี้ การวางแผนก่อนการประชุม การพิจารณาทบทวนถึงปัญหาและตัดสินใจเกี่ยวกับเป้าหมายของการประชุม ทั้งนี้เนื่องจากประธานการประชุมจะต้องเป็นผู้ที่เข้าใจและรู้ดีที่สุดถึงเป้าหมายและปัญหาที่จะหยิบยกเข้ามาในที่ประชุม ประธานจะเป็นผู้ตัดสินใจว่าใครควรจะเป็นคณะกรรมการหรือผู้เข้าประชุม บางกรณีประธานอาจเชิญผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านเข้าร่วมประชุม ประธานจะทำหน้าที่ตัดสินใจกำหนดวัน เวลา และสถานที่ในการประชุม ประธานทำหน้าที่กำหนดวาระประชุม มีการแจ้งหรือประกาศเกี่ยวกับการประชุมให้สมาชิกหรือคณะกรรมการรับทราบถึงการประชุมอย่างเป็นทางการ มีการตรวจสอบถึงความพร้อมทางกายภาพ เช่น สถานที่ เอกสารประกอบการประชุม อุปกรณ์เครื่องเสียงต่าง ๆ การกำหนดระเบียบวาระการประชุม ก่อนอื่นมาทำความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดระเบียบวาระการประชุมในประเด็นสำคัญที่ต้องศึกษา ได้แก่ ความหมายของระเบียบวาระการประชุมระเบียบวาระ หมายความว่า ลำดับรายการที่กำหนดไว้เสนอที่ประชุม คำนี้จึงใช้สำหรับการประชุมโดยเฉพาะ บางหน่วยงานใช้คำว่า วาระ ซึ่งอาจเพราะเห็นว่าเป็นคำสั้นๆ แต่คำนี้ควรใช้เฉพาะในภาษาพูด ไม่ควรใช้ในรายงานการประชุม รูปแบบของระเบียบวาระการประชุมในการประชุมแต่ละครั้งประธานจะเป็นผู้กำหนดว่าจะใช้รูปแบบของระเบียบวาระการประชุมแบบใด ในกรณีที่ประธานไม่ได้กำหนดมา ผู้เป็นเลขานุการควรสอบถามประธานให้ชัดเจนเสียก่อน นอกจากหน่วยงานนั้น ๆยึดรูปแบบใดแบบหนึ่งโดยเฉพาะอยู่แล้ว อาจไม่ต้องสอบถาม2.1 รูปแบบที่เป็นทางการ ในการประชุมใหญ่ หรือการประชุมที่จัดสม่ำเสมอ มักใช้รูปแบบที่มีระเบียบวาระเหมือนกัน2.2 อยู่แบบที่ไม่เป็นทางการ ที่ประชุมอาจกำหนดรูปแบบง่ายๆ ไม่ต้องมีระเบียบวาระครบถ้วน มักใช้กับการประชุมที่ไม่เป็นทางการหรือที่ประชุมกลุ่มย่อย ๆ หัวข้อประชุมเพียงแต่เรียงลำดับ 1-2-3 เท่านั้น2.3 รูปแบบที่หน่วยงานกำหนด […]

มารยาทเน็ตที่ควรทำความเข้าใจก่อนเริ่มใช้สื่อสังคมออนไลน์

สื่อสังคมออนไลน์ เป็นสื่อดิจิทัลที่เป็นเครื่องมือในการปฏิบัติการทางสังคม (Social Tool)เพื่อใช้สื่อสารระหว่างกันในเครือข่ายทางสังคม(Social Network) ผ่านทางเว็บไซต์และโปรแกรมประยุกต์บนสื่อใด ๆที่มีการเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต โดยเน้นให้ผู้ใช้ ทั้งที่เป็นผู้ส่งสารและผู้รับสารมีส่วนร่วมอย่างสร้างสรรค์ในการผลิตเนื้อหาขึ้นเอง ซึ่งปัจจุบันเราใช้สื่อออนไลน์ในชีวิตประจำวันกันมากขึ้น จึงต้องมีการเรียนรู้มารยาทในการสื่อสารต่อกันก่อนเริ่มใช้สื่อสังคมออนไลน์มารยาทเน็ต (netiquette) คือ กิริยาอาการที่พึงประพฤติปฏิบัติในการอยู่ร่วมกันอย่างสันติในสังคมกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ มารยาทเน็ต คือ ชุดวิธีประพฤติตนที่เหมาะสมเมื่อคุณใช้อินเทอร์เน็ต “อย่าลืมว่าคุณกำลังติดต่อกับคนที่มีตัวตนจริง ๆ” ก่อนส่งอีเมล หรือโพสต์ข้อความอะไรบนอินเทอร์เน็ตคุณต้องถามตัวเองว่า ถ้าเจอกันต่อหน้าคุณจะพูดแบบนี้กับเขาหรือไม่ ถ้าคำตอบคือไม่ ก็จงแก้ไขข้อความนั้นแล้วอ่านใหม่อีกครั้ง ทำแบบนี้ซ้ำๆ จนรู้สึกว่าไม่ลำบากใจที่จะพูดแบบนี้กับใครแล้วจึงค่อยส่ง “การสื่อสารออนไลน์ให้ยึดมาตรฐานความประพฤติเดียวกับการสื่อสารในชีวิตจริง” ในชีวิตจริง คนส่วนใหญ่มักจะเคารพกฎหมาย เพราะกลัวโดนจับ แต่ในโลกอินเทอร์เน็ต โอกาสถูกจับมีน้อย ก็เลยปฏิบัติต่อกันโดยมีมาตรฐานทางศีลธรรมต่ำกว่าในโลกจริง ถ้าอยากทำอะไรผิดกฎหมายในไซเบอร์สเปซ สิ่งที่คุณกำลังจะทำนั้นก็น่าจะผิดด้วย “รู้ว่าคุณอยู่ที่ไหนในไซเบอร์สเปซ” การกระทำอะไรก็ตามอาจเป็นเรื่องยอมรับได้ในที่แห่งหนึ่ง แต่ถ้าเป็นที่แห่งอื่นๆ อาจจะไม่ใช่ลองใช้เวลาสักพักสังเกตการณ์ก่อนว่า ที่นั่นเขาคุยอะไรกัน ปฏิบัติต่อกันอย่างไร หรือเข้าไปอ่านข้อความเก่าๆ จากนั้นค่อยเข้าไปมีส่วนร่วมกับเขา “เคารพเวลาและการใช้แบนด์วิธ” ปัจจุบันดูเหมือนคนจะมีเวลาน้อยลงกว่าที่เคยเป็นมามากนัก เมื่อคุณส่งอีเมลหรือโพสต์ข้อความลงเน็ต รู้ไว้ว่าคุณกำลังทำให้คนอื่นเสียเวลามาอ่าน ดังนั้นเป็นความรับผิดชอบที่คุณควรแน่ใจก่อนส่ง ว่าข้อความหรืออีเมลนั้นไม่ทำให้ผู้รับเสียเวลา“สำหรับกระดานสนทนา” ผู้ที่เข้ามาอ่านกระดานแบบนี้ส่วนใหญ่นั่งแช่หน้าจอคอมพิวเตอร์นานเกินไปอยู่แล้ว ไม่มีใครชอบหรอกถ้าต้องเสียเวลาทำทั้งหมดนั้นแล้วพบว่าไม่เห็นจะคุ้มค่าเวลาที่เสียไปเลย หากจะส่งข้อมูลอะไรไปให้ใคร ลองถามตัวเองดูก่อนว่าเขาจำเป็นจะต้องรู้เรื่องในอีเมลนั้นหรือไม่ ถ้าไม่ ก็อย่าส่ง […]

ใช้งาน Facebook อย่างไรให้ปลอดภัย

Facebook คือ บริการบนอินเทอร์เน็ตบริการหนึ่ง ที่จะทำให้ผู้ใช้สามารถติดต่อสื่อสารและร่วมทำกิจกรรมใดกิจกรรม หนึ่งหรือหลายๆ กิจกรรมกับผู้ใช้ Facebook คนอื่นๆ ได้ ไม่ว่าจะเป็นการตั้งประเด็นถามตอบในเรื่องที่สนใจ โพสต์รูปภาพ โพสต์คลิปวิดีโอ เขียนบทความหรือบล็อก แชทคุยกันแบบสดๆ เล่นเกมส์แบบเป็นกลุ่ม (เป็นที่นิยมกันอย่างมาก) และยังสามารถทำกิจกรรมอื่นๆ ผ่านแอพลิเคชั่นเสริม (Applications) ที่มีอยู่อย่างมากมาย ซึ่งแอพลิเคชั่นดังกล่าวได้ถูกพัฒนาเข้ามาเพิ่ม เติมอยู่เรื่อยๆ เราจึงควรรู้จักการใช้งาน Facebook ให้ปลอดภัย ไม่ให้ข้อมูลของเรารั่วไหล และไม่ต้องตกเป็นเหยื่อของผู้ที่ไม่หวังดี รอดพ้นจากการหลอกหลวง ที่เข้ามาด้วยวิธีต่าง ๆ อย่างมากมาย และสามารถรักษาความปลอดภัยในการเล่น Facebook ของเราได้อย่างดีที่สุด การตั้งค่าการใช้งาน facebook ให้เหมาะสมและเพื่อความปลอดภัยในการเล่น มีรายละเอียด ดังนี้ การตั้งรหัสผ่าน ไม่ควรตั้ง วันเดือนปีเกิด หมายเลขโทรศัพท์ เพราะจะทำให้ง่ายต่อการคาดเดา ควรจะตั้งรหัสที่มีการผสมระหว่างตัวอักษร และ ตัวเลข และมีการเปลี่ยนรหัสผ่านอยู่เป็นประจำ เมื่อเข้าสู่การตั้งค่าแล้ว เลือกหัวข้อ ทั่วไป และที่ รหัสผ่าน ให้เลือก แก้ไข […]

Back To Top