การเตรียมสไลด์เพื่อนำเสนอผลงาน

presentation

ในปัจจุบันนี้การนำเสนอเข้ามามีบทบาทสำคัญในองค์กรทางธุรกิจ การเมือง การศึกษาหรือแม้แต่หน่วยงานของรัฐทุกแห่งก็ต้องอาศัยวิธีการนำเสนอเพื่อสื่อสารข้อมูล เสนอความเห็น เสนอขออนุมัติ หรือเสนอข้อสรุปผลการดำเนินงานต่างๆผู้ที่มีหน้าที่เกี่ยวกับการประชาสัมพันธ์ การแนะนำเพื่อการเยี่ยมชม การฝึกอบรม การประชุม
หรือผู้ที่เป็นหัวหน้างานทุกระดับจะต้องรู้จักวิธีการนำเสนอ เพื่อนำไปใช้ให้เหมาะสมกับงานต่างๆ
และเพื่อผลสำเร็จของการพัฒนางานของตนหรือขององค์กรและหน่วยงานต่างๆ การนำเสนอมีความสำคัญต่อการปฏิบัติงานทุกประเภทเพราะช่วยในการตัดสินใจในการดำเนินงาน ใช้ในการพัฒนางาน
เราจึงควรรู้แนวทางการเตรียมสไลด์เพื่อนำเสนอผลงานเพื่อเสนอต่อผู้บังคับบัญชาและบุคคลผู้ที่สนใจ

การเตรียมสไลด์ประกอบการนำเสนอผลงานวิจัยด้วยวาจา มีแนวทางในการดำเนินงานโดยสรุปดังนี้

  1. การวางแผน นักวิจัยต้องหาข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่ที่นำเสนอ ขนาดของห้องและเวที ตำแหน่งเครื่องฉาย ขนาด
    จอข้อกำหนดในการนำเสนอผลงานวิจัยด้วยวาจา ลักษณะและจำนวนผู้เข้าร่วมประชุม เพื่อใช้ในการวาง
    แผนการนำเสนอสไลด์ประกอบการนำเสนอผลงานวิจัยด้วยวาจา หากนักวิจัยมีข้อมูลมากเท่าไร การวางแผน
    เสนอสไลด์ประกอบการนำเสนอผลงานวิจัยด้วยวาจา ยิ่งได้ผลดีมากขึ้นเท่านั้น แนวทางสำหรับการวางแผนงาน
    คือ การตอบคำถามว่าจะเสนออะไร เสนออย่างไร เหตุใดจึงเลือกวิธีเสนอแบบนั้น และผลที่คาดว่าจะได้รับ
    รวมทั้งกำหนดระยะเวลา ต้นทุนค่าใช้จ่ายในการเตรียมสไลด์ด้วย
  2. การออกแบบ นักวิจัยต้องตัดสินใจว่าจะเลือกเนื้อหาสาระส่วนใดจากรายงานวิจัยทั้งฉบับไปจัดทำเป็นสไลด์ประกอบการนำเสนอผลงานวิจัยด้วยวาจา โดยต้องกำหนดวัตถุประสงค์ของการเสนอผลงานวิจัยก่อนว่าต้องการให้เกิดผลเกิดประโยชน์อะไรต่อผู้เข้าชม หรือต้องการขายความคิด หรือต้องการเสนอนวัตกรรม เพราะวัตถุประสงค์ที่ต่างกันทำให้แนวการเตรียมสไลด์ประกอบการนำเสนอผลงานวิจัยแตกต่างกันด้วย

เมื่อกำหนดวัตถุประสงค์แล้วจึงตัดสินใจเกี่ยวกับรูปแบบของสไลด์ ซึ่งมีหลักการดังนี้

  1. เลือก template ที่เหมาะสมกับผู้เข้าร่วมประชุม สไลด์ทางวิชาการไม่นิยมมีรูปการ์ตูน
  2. ออกแบบสไลด์ให้มีจำนวนเหมาะสม ประมาณ 6-7 แผ่น สไลด์จำนวน 10-12 แผ่น ถือว่ามากเกินไป
    สำหรับการเสอนผลงานวิจัยด้วยวาจา
  3. ใช้ลูกเล่น เช่น ภาพเคลื่อนไหว สีและรูปแบบพิเศษ เฉพาะบางสไลด์ เพื่อดึงดูดความสนใจ แต่ไม่ควร
    ใช้ทุกแผ่น เพราะจะทำให้ผู้เข้าร่วมประชุมเบื่อ
  4. ใช้สีพอเหมาะ ไม่มากไม่น้อยเกินไป และใช้โทนสีไม่ขัดกัน สีพื้นหลังและสีของภาพควรเสริมให้ภาพ
    เด่นชัดไม่ควรใช้สีตัดกันแรงๆ แบบวันคริสต์มาส
  5. เลือกชนิด (font) และขนาดของตัวอักษร เหมาะสมกับตำแหน่งที่ผู้เข้าร่วมประชุมจะเห็นข้อความใน
    สไลด์ได้ชัดเจน ห้องขนาดใหญ่ต้องใช้ขนาดตัวอักษรใหญ่ และข้อความอาจต้องสั้นกะทัดรัดมากขึ้น ไม่ควรใช้
    อักษรภาษาอังกฤษที่เป็นตัวพิมพ์ใหญ่ทุกตัวอักษร เพราะทำให้อ่านยากกว่าปกติ และพยายามอย่าใช้ชนิดอักษร
    มากเกินกว่าสองชนิด ควรใช้หลักความคงเส้นคงวา
  6. นักวิจัยต้องระลึกว่าผู้เสนอผลงานคือนักวิจัย มิใช่สไลด์โชว์
  7. ควรมีการตรวจทานการสะกดคำในสไลด์ทุกแผ่น
  8. เตรียมไฟล์สไลด์สำรองกรณีแผ่นจานแม่เหล็ก หรือ ซีดี มีปัญหา รวมทั้งเตรียมทางเลือกในการ
    นำเสนอกรณีอุบัติเหตุไฟฟ้าดับ คอมพิวเตอร์หยุดทำงาน

Cr.เทคนิคการนำเสนองานวิชาการ | Technical Academic Presentation

Visits: 177

Comments

comments

Back To Top