คำว่า “Cloud” หรือย่อมาจาก “Cloud Computing” มีความหมายเบื้องต้น คือ เครื่องมือที่ทำหน้าที่เป็น Host บริการผ่านอินเตอร์เนต ช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถ จัดเก็บข้อมูล, ดำเนินการ และ จัดการข้อมูลต่างๆ ผ่านอินเตอร์เนต เมื่อคุณอัพโหลดข้อมูลไปยังคลาวด์ ผ่านเซอร์วิสต่างๆ (อาทิเช่น Dropbox) ไฟล์ของคุณจะถูกส่งผ่านอินเตอร์เน็ตไปยังเซอร์เวอร์ที่จับต้องได้ และมีอยู่จริง ซึ่งเครื่อง Server ของผู้ให้บริการ Cloud นั้น มีจำนวนมาก เพื่อบริการเก็บข้อมูลทั้งโลก ซึ่งเรียกกันว่า Server Farms ดังนั้น นิยามง่ายๆ ของคลาวด์ ก็คือกลุ่มเครื่องเซอร์เวอร์ และ ศูนย์ข้อมูลเพื่อให้บริการเก็บข้อมูลรอบโลก โดยพื้นฐาน มันคือพื้นที่จัดเก็บข้อมูลดิจิตอล ที่คุณสามารถเก็บไฟล์งานต่างๆ ได้ ซึ่งข้อแตกต่างจาก Storage รูปแบบอื่นๆ (อาทิเช่น External Harddisk, Flashdrive และ อื่นๆ) คือไม่จำเป็นต้องมีอุปกรณ์เชื่อมต่อกับเครื่อง เพียงแค่อุปกรณ์สามารถเข้าถึง Internet ได้ ก็สามารถเข้าถึง Cloud ได้ ไม่ว่าจะอยู่ที่ใดในโลก

ชนิดของคลาวด์

Cloud เราจะสามารถแบ่งประเภทของมันออกได้ทั้งหมด 4 ประเภท โดยหลักๆ ใช้วิธีแบ่งจากขอบเขตการเข้าถึงของผู้ใช้ ที่ผู้จัดหากำหนดให้เป็นหลัก คือ

  • Public Clouds
  • Private Clouds
  • Hybrid Clouds
  • Multi Cloud

Public Cloud คือคลาวด์แบบสาธารณะ คือ คลาวด์ ที่ทำการเซอร์วิสที่รองรับการเข้าถึงได้โดยทุกๆ คน ทุกคนสามารถเช่าพื้นที่ส่วนหนึ่งของเซอร์เวอร์ เปรียบเสมือนตึกออฟฟิศขนาดใหญ่ ที่ทุกคนมีโต๊ะและล็อคเกอร์เป็นของตนเอง

        Private Cloud คือ คลาวด์แบบส่วนตัวที่โครงสร้างทั้งหมดของ Cloud จะใช้งานเพียงหนึ่ง User เท่านั้น ผู้ใช้ยังคงจำเป็นต้องใช้งานผ่านอินเตอร์เน็ต เพียงแต่ Server ที่เก็บข้อมูลทำหน้าที่หนึ่ง User เท่านั้น

Hybrid Cloud คือการใช้งานควบคู่กันทั้ง Server ส่วนตัว และ Server สาธารณะ ผู้ใช้จึงสามารถได้ประโยชน์ทั้งในความเป็นส่วนตัว และสะดวกสบาย เช่น เลือกเก็บข้อมูลสำคัญที่เป็นความลับใน Private Cloud แต่เก็บข้อมูลทั่วไปจำนวนมากใน Public Cloud

 

     Multi Cloud เกิดขึ้นเมื่อองค์กรเลือกใช้งานแต่คลาวด์ประเภท Public Cloud หลายๆ เจ้ารวมกัน ต่างจากแบบ Hybrid ที่มีการใช้งานผสมกันระหว่างแบบสาธารณะและส่วนตัว รูปแบบนี้เกิดขึ้นเพราะผู้ให้บริการ Public Cloud แต่ละเจ้า มีข้อดีและเซอร์วิสที่แตกต่างกัน ผู้ใช้จึงเลือกใช้บริการจากหลายๆ ที่ เพื่อครอบคลุมฟังก์ชั่นที่เป็นประโยชน์ทั้งหมด

 

ประโยชน์ของ CLOUD

ต่อกลุ่มลูกค้าธุรกิจ

ลดต้นทุน การลงทุนในอุปกรณ์ต่างๆ สามารถสร้างต้นทุนมหาศาลแก่ธุรกิจได้ การดูแลรักษาและปรับปรุงอุปกรณ์ไอทีนั้น เป็นสิ่งที่ไม่จำเป็นสำหรับ คลาวด์ และการชำระเงินแค่ส่วนที่เช่าใช้เท่านั้น ช่วยให้ลดต้นทุนให้น้อยลง ไม่เพียงแต่ในส่วน Hardware เท่านั้น แต่ยังรวมถึงค่าแรงในการจ้างผู้เชี่ยวชาญ และค่าไฟอีกด้วย นอกจากนี้ อีกหนึ่งข้อได้เปรียบ คือ การประหยัดเวลาในการแก้ไขเมื่ออุปกรณ์มีปัญหา

ระบบรักษาความปลอดภัย

หลายๆ คน อาจจะไม่เชื่อ ว่าจริงๆ แล้ว Cloud Computing นั้นมีระบบ Security ที่ยอดเยี่ยม ผู้ใช้งานอาจคิดว่าการเก็บข้อมูลสำคัญไว้กับอุปกรณ์ที่จับต้องและมองเห็นได้เองมีความปลอดภัยกว่า แต่อยากให้เห็นภาพว่า จริงๆแล้ว คลาวด์ ก็เปรียบเสมือนธนาคาร ผู้บริการ Cloud ส่วนใหญ่มักมีอุดมกาณ์ที่เน้นความปลอดภัยเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดในการให้บริการ ข้อมูลที่รับจะถูกเข้ารหัส ปกป้องเป็นอย่างดี โดยบางเจ้า ยังเปิดให้ผู้ใช้งานเข้าไปตั้งค่าระบบ Security ได้เองอีกด้วย

ทำงานได้ทุกสถานที่

เพราะข้อมูลทุกอย่างถูกบันทึกใน Cloud ทำให้เกิดข้อได้เปรียบที่สำคัญ คือ ทำให้ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงได้ถ้ามีอินเตอร์เน็ต ไม่ว่าจะอยู่ที่ใดก็ตามบนโลก ด้วยรูปแบบการทำงานในปัจจุบัน ที่เน้นความยืดหยุ่นในสถานที่ทำงานมากขึ้น ระบบคลาวด์จึงทำหน้าที่สำคัญในการเข้ามาช่วยสนับสนุนแนวคิดนี้ นอกจากนี้ยังช่วยให้สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ผ่านอุปกรณ์อื่นนอกจากคอมพิวเตอร์ อาทิเช่น มือถือ แท็บเล็ต เป็นต้น

กู้คืนความเสียหาย

การบันทึกข้อมูลสำคัญใน Cloud นั้น มีความปลอดภัยที่ค่อนข้างสูง การที่เราเก็บข้อมูลไว้ในอุปกรณ์ Hardware เพียงชิ้นเดียวนั้น มีความเสี่ยงพอสมควรทีเดียวครับ เพราะหากเกิดปัญหากับตัวอุปกรณ์ ไม่ว่าจะเป็น ไฟไม่เข้า ไปจนถึงถูก Malware ทำลาย ก็มีสิทธิที่ข้อมูลของผู้ใช้จะหายไปตลอดการ ในขณะที่คลาวด์จะมีบริการ Backup ข้อมูลของผู้ใช้ด้วยเซอร์เวอร์จำนวนมากในหลายๆ พื้นที่ครับ

พื้นที่ใช้งานที่ยืดหยุ่น

Cloud นั้นมีความสามารถที่จะปรับขยายเพิ่มพื้นที่ได้ ช่วยให้บริษัทที่มีการเติบโต สามารถขยายพื้นที่เก็บข้อมูลได้ตลอดเวลา ในทางตรงการข้าม สำหรับองค์กรที่มีการลดขนาดการใช้งานพื้นที่เก็บข้อมูลลดลง ก็สามารถปรับพื้นที่ให้ลดลงได้ให้เช่าใช้ Cloud แต่แรก แต่หากมีการใช้อุปกรณ์ Hardware เป็นตัวเก็บข้อมูล ก็เป็นเรื่องยากที่จะขายพื้นที่ส่วนเกินออกไป

การทำงานร่วมกัน

ช่วยการพนักงานทุกคนในองค์กรสามารถทำงานร่วมกันได้ง่ายขึ้น เพราะไฟล์ต่างๆ ที่จัดเก็บสามารถเข้าถึงได้ทุกคน (หรือเฉพาะคนที่ตั้งค่าอนุญาต) ด้วยระบบคลาวด์บริษัทสามารถสร้างทีมที่มีสมาชิกหลายสิบคน ทำงานในไฟล์เดียวกัน พร้อมกัน ในสถานที่ที่ต่างกันได้ ช่วยให้องค์กรสามารถจัดการ บริหาร และ จัดการการทำงานแบบเป็นทีมได้ง่ายขึ้นครับ

ต่อกลุ่มรายบุคคล

นอกเหนือจากชีวิตการทำงาน คุณสามารถใช้ประโยชน์จาก คลาวด์ ได้อย่างมากมาย สิ่งที่เห็นได้ชัดที่สุด คือ การประหยัดเนื้อที่เก็บข้อมูลดิจิตอล

หากใครที่ไม่ได้ใช้คลาวด์ เมื่อต้องการเซฟไฟล์ จะต้องบันทึกข้อมูลต่างๆ ลงอุปกรณ์ Hardware ไม่ว่าจะเป็น คอมพิวเตอร์, โน๊ตบุ๊ค หรือ สมาร์ทโฟน เป็นต้น

ในวันใดวันหนึ่ง หากอุปกรณ์มีความจุที่เต็มแล้ว ผู้ใช้อาจจะแก้ไขได้ด้วยการซื้อ External Hard Drive มาใช้งาน ซึ่งถ้าเต็มอีก ก็ต้องซื้อเพิ่มอีกเรื่อยๆ สะสมไว้มากมาย จนในที่สุด ก็ยากต่อการจัดการข้อมูลเก่าๆ ที่เคยบันทึกสะสมมาไว้

     

 

การที่ข้อมูลทุกอย่างถูกจัดเก็บไว้ในที่ที่เดียว ซึ่งไม่กินเนื้อที่จริงๆ ในชีวิตประจำวัน ช่วยให้การจัดการทุกอย่าง ควบคุมได้ง่ายมากขึ้น อีกทั้งยังช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการซ้ออุปกรณ์ Hardware ด้วย นอกจากนี้ การที่อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ไม่ถูกบันทึกข้อมูลให้แน่นจนเกินไป ก็จะมีประสิทธิภาพในการทำงานที่ดีขึ้นด้วย

ในขณะเดียวกัน ซอฟต์แวร์ที่ใช้งานผ่าน คลาวด์ อาทิเช่น Dropbox Paper ยังช่วยให้ผู้ใช้งานประหยัดระยะเวลาในการดาวน์โหลดและติดตั้งสู่ตัวเครื่อง ซึ่ง Software ส่วนใหญ่ที่ใช้ระบบคลาวด์ จะมีข้อดี คือ สามารถเข้าถึงและใช้งานได้จากอุปกรณ์ทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น Mobile Apps หรือ Web Base ก็ตาม

การแชร์สิ่งต่างๆ กับ เพื่อนฝูงหรือคนรัก ก็ทำได้ง่ายขึ้น ยกตัวอย่างเช่น การอัพโหลดรูปภาพในงานเลี้ยงขึ้น Cloud เพื่อให้เพื่อนๆ ทุกคนเข้าถึงได้

ประโยชน์ของ Cloud นั้น มีมากมายอย่างไร้ขีดจำกัด ไม่ว่าจะเป็นการใช้งานในรูปแบบใดก็ตาม คือ องค์กรขนาดใหญ่ SME, บริษัท SMB หรือบุคคล ถือเป็น Technology ที่ช่วยเพิ่มผลลัพธ์, พัฒนาองค์กร, สร้างเสริมการทำงานร่วมกัน และ ประหยัดค่าใช้จ่าย ในขณะที่ปกป้องข้อมูลของผู้ใช้ได้อย่างปลอดภัย

Visits: 173

Comments

comments

Back To Top