วัฒนธรรม วิถีชีวิต ประเพณีและความเชื่อในภาคใต้

จากการที่ได้เรียนรู้ในรายวิชาดังกล่าวนี้ จึงขอแนะนำความรู้ในบางส่วนที่คิดว่าจะมีประโยชน์กับผู้ที่กำลังศึกษาวัฒนธรรมท้องถิ่นภาคใต้ของเราว่ามีความเป็นมาเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับเรื่องใดบ้างก่อนจะมีวัฒนธรรมให้เราได้ยึดถือปฏิบัติกันมาจนถึงวันนี้

คำว่า “วัฒนธรรมท้องถิ่น” กล่าวคือ วัฒนธรรมท้องถิ่นในที่นี้ก็จะเชื่อมโยงไปให้เห็นคำว่าวัฒนธรรมท้องถิ่นภาคใต้ ฉะนั้นคำว่าวัฒนธรรมท้องถิ่นภาคใต้แน่นอนจะบอกเฉพาะเจาะจงไปที่ความเป็นท้องถิ่นภาคใต้ ฉะนั้นพอเป็นความท้องถิ่นภาคใต้ ก็จำเป็นจะต้องทำความเข้าใจ ความมีลักษณะเฉพาะของวัฒนธรรมท้องถิ่นภาคใต้ในอีกรูปแบบหนึ่ง พอเฉพาะเจาะจงไปเรื่องวัฒนธรรมท้องถิ่นภาคใต้เราก็ต้องมีพื้นฐานให้เข้าใจไปโดยอัตโนมัติว่าประเทศไทยถูกแบ่งภูมิภาคออกเป็นอย่างน้อย 5 ภูมิภาค ซึ่งขนาดภาคใต้เองก็เป็นภาคใต้ตอนล่าง-ภาคใต้ตอนบน ภาคกลางเองก็มีภาคตะวันตก ภาคตะวันออก ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือภาคตะวันตก ที่แบ่งให้เห็นความเหลื่อมหรือความต่างของวัฒนธรรม

ทั้งนี้วัฒนธรรมท้องถิ่นภาคใต้มี 2 โซน ก็คือ วัฒนธรรมท้องถิ่นภาคใต้ตอนล่าง กับวัฒนธรรมท้องถิ่นภาคใต้ตอนบน ก็ได้แบ่งโดยพื้นที่ของจังหวัดสงขลานับลงไปถึงโซนข้างล่างสุด และนับไปจากนครศรีธรรมราชขึ้นไปก็เป็น 6 จังหวัดภาคใต้ตอนบน และ 6 จังหวัดภาคใต้ตอนล่าง ฉะนั้นขนาดโซนภาคใต้เองที่เราเรียกว่าวัฒนธรรมท้องถิ่นภาคใต้ ก็จะมีจุดเน้นทางวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน

วัฒนธรรมท้องถิ่นภาคใต้ตอนล่างเราจะเห็นว่าแตกต่างกัน เราจะเห็นว่าบทบาทศาสตราวุธ โดยเฉพาะ 6 ภาคใต้ตอนล่างศาสตราวุธที่มีความเด่นมาก ในท้องถิ่นภาคใต้ก็คือกริชใน 6 ภาคใต้ตอนล่าง กริชหรือออกเสียงเป็นภาษาอินโดนีเซียบาฮาซาออกเสียงว่าเกอริช 2 พยางค์แต่คนไทยเอาคำนี้มาใช้เรียกรวมกันว่ากริชใน อินโดนีเซียบาฮาซา แปลว่าแทงในระยะประชิดตัว แต่ว่าพอเป็นคำกริยา เวลามาอยู่ในประเทศไทยออกเสียงเป็นพยางค์เดียวว่ากริช แต่คนในอินโดนิเซียออกเสียงว่าเกอริช แล้วก็เป็น อาวุธสำคัญที่สะท้อนให้เห็นทั้งโลกทัศน์ความเชื่อและพัฒนาการทางศาสนา ในพื้นที่คาบสมุทรมลายูทั้งหมด

ส่วนภาคใต้ตอนบนกริชหรือเกอริชจะลดทอนบทบาทลงไป เยอะมาก กลับมีอาวุธชนิดหนึ่งที่โดดเด่นแทนบทบาท ของกริชก็คือพระขรรค์ ฉะนั้นวัฒนธรรมภาคกลางที่มีอิทธิพลมาถึงนครศรีธรรมราชซึ่งเป็นหัวเมือง ชั้นเอกในสมัยอยุธยาเป็นต้นมามันจึงทำให้ศาสตราวุธมีความแตกต่างกัน ถึงแม้จะมีคติหรือจารีตการใช้ที่ใกล้เคียงกัน เช่น ในขณะที่สถาปนาองค์ประมุขรัฐในรัฐไทยเราจะเห็นว่าพระขรรค์มีเป็นศาสตราวุธ ที่สำคัญเค้าเรียกพระขรรค์แสงชัยศรี ในขณะที่สถาปนาองค์ประมุขรัฐในคาบสมุทรมลายูทั้งหมด เครื่องราชกกุธภัณฑ์ที่สำคัญก็คือ กริช แต่ในภาคใต้ ประเทศไทยภาคใต้ตอนบน ขึ้นไปพระขรรค์ ไม่เฉพาะจารีตในลักษณะแบบนี้แต่ในศิลปะการแสดงพื้นบ้านเราพบว่าตัวเอกในหนังตะลุงที่ขึ้นไป

จากนครศรีธรรมราชหรือในลุ่มน้ำทะเลสาบบางช่วงตัวเอกจะถือพระขรรค์นั่นคือตัวพระเอกหรือตัวแสดงบทนำถ้าถือพระขรรค์แล้วจะไม่เป็นตัวโกง ในขณะที่หนังตะลุงในภาคใต้ตอนล่างที่เค้าเรียกว่าหนังวายัง วายังแบบปัตตานี หรือวายังกูริชในชวาปรากฏว่าตัวเอกซึ่งมักจะเป็นพระเอกของเรื่องก็จะถืออาวุธสำคัญก็คือพระขรรค์ทั้งสิ้น ตัวไหนถือกริช ในวัฒนธรรมภาคใต้ตอนล่างไปจนถึงคาบสมุทรมลายูทั้งหมดเลยก็จะไม่เป็นตัวผู้ร้าย ในขณะที่ตัวเอกในวัฒนธรรมภาคกลางที่มีบทบาทมากถ้าถือพระขรรค์ก็จะไม่มีทางเป็นผู้ร้าย อันสะท้อนให้เห็นว่าภูมิภาค สิ่งที่เรียกว่าวัฒนธรรมมีความแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัดขึ้นอยู่กับภูมิหลังและพัฒนาการทางประวัติศาสตร์หรือศูนย์กลางทางวัฒนธรรมฉะนั้นเรื่องแนวคิดคุณลักษณะเฉพาะของวัฒนธรรมท้องถิ่นในภาคใต้อาจแบ่งเป็น 2 โซนคือภาคใต้ตอนล่างกับภาคใต้ตอนบนในขณะที่ภาคใต้ตอนล่างมีศูนย์กลางทางวัฒนธรรมอยู่ที่ในชวา เพราะว่าก่อนรัชกาลที่ 5 เป็นต้นมาวัฒนธรรมท้องถิ่นภาคใต้เป็นวัฒนธรรมที่ไหลบ่าทะลักเข้ามาจากคาบสมุทรมลายูและใช้ร่วมกันมาถึงภาคใต้ตอนล่าง แต่พอหลังจากสมัยรัชกาลที่ 5 ซึ่งมีการปฏิรูปโครงสร้างระบบรัชกาลอย่างรอบด้านส่งผลให้การศึกษาและวัฒนธรรมการเรียนรู้แบบใหม่ที่รัฐไทยเป็นผู้จัดมีอิทธิพลต่อวัฒนธรรมและการเรียนรู้นี้อาจถูกกำหนดโดยแกนสำคัญก็คือแนวคิดทางด้านศาสนา ถึงแม้รากฐานทางวัฒนธรรมของกลุ่มคนในพื้นที่ภาคใต้จะมีรากฐานมาจากวัฒนธรรมนับถือวิญญาณบรรพบุรุษขยับมาเป็นวัฒนธรรมที่เกิดจากอิทธิพลฮินดู-พราหมณ์ วัฒนธรรมที่ฐานทางพุทธศาสนาทั้งพุทธศาสนาแบบมหายานและเถรวาท แล้วก็อิทธิพลของศาสนาอิสลามในยุคสมัยใหม่ก็จะเห็นว่า แกนโครงสร้างสำคัญที่ส่งผลต่อวัฒนธรรมท้องถิ่นมีเหตุผลหรือมีปัจจัยสำคัญหลายประการฉะนั้นโดยเฉพาะมิติทางศาสนา เป็นเงื่อนไขสำคัญที่ทำให้เป็นเบ้าหลอมหรือสร้างโลกทัศน์วิธีคิดและวิถีชีวิตให้กับผู้คนโดยเฉพาะในยุคหลัง

วิถีชีวิตของผู้คนในภาคใต้ก็จะไปเกี่ยวโยงกับฐานทรัพยากร ถ้าหากใช้แนวคิดเรื่องลักษณะทางภูมิศาสตร์หรือภูมิวัฒนธรรมเราจะเห็นวิถีชีวิตของผู้คนที่สำคัญ ฐานทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่ภาคใต้อาจจะแบ่งเป็น 3 โซน โซนที่ 1 โซนภูเขา โซนที่ 2 โซนที่ราบลุ่ม โซนที่ 3 ก็คือพื้นที่โซนชายทะเล ฉะนั้นเวลาเราแบ่งโซนแบบนี้เราจะเห็นว่าวิถีชีวิตของผู้คนที่อยู่ตามเขตเขาควนอาจจะมีวิถีชีวิตที่ไปปฏิสัมพันธ์กับฐานทรัพยากรธรรมชาติอีกรูปแบบหนึ่ง อันที่ 2 วิถีชีวิตของคนที่อยู่ในพื้นที่ราบลุ่มก็จะเกี่ยวข้องกับวิถีนา อันที่ 3 วิถีชีวิตของผู้คนที่อยู่ตามชายทะเลก็จะใช้ฐานทรัพยกร โดยเฉพาะฐานทรัพยากรที่เกี่ยวข้องกับประมงหรือทะเล ฉะนั้นพอพูดถึงลักษณะแบบนี้วิถีชีวิตของผู้คนทั้งวิถีชีวิตประจำวัน วิถีการบริโภค วิถีการแต่งตัวก็ย่อมแตกต่างกันเป็นธรรมดา อันนี้สะท้อนให้เห็นวิถีชีวิตของผู้คนในภาคใต้ ในส่วนที่สอง ฉะนั้นวิถีชีวิตลักษณะแบบนี้ในยุคโบราณเค้าจึงไม่สามารถพึ่งพาตัวเองได้โดยแยกอิสระระหว่างกลุ่มชาวเลคือกลุ่มที่ทำประมงกลุ่มที่ทำนาอกลุ่มที่อยู่เขตเขาควน ฉะนั้นสะท้อนให้เห็นวิถีชีวิตของผู้คนในภาคใต้โดยภาพรวม

วิถีชีวิตของชาวภาคใต้” ถ้าดูลักษณะทางด้านภูมิศาสตร์ของภาคใต้ซึ่งมีลักษณะเป็นแหลมแล้วก็มีกระดูกสันหลังเป็นเทือกเขาบรรทัดที่ทอดยาวมาจาก ตั้งแต่ประจวบคีรีขันธ์ลงมาจนกระทั่งถึงตอนล่างสุด ผ่านพื้นที่ใดเขาก็เรียกเทือกเขานั้นแตกต่างกัน เช่น เรียกเทือกเขาสันกาลาคีรี เรียกเทือกเขาบรรทัด ก็แล้วแต่ลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่พื้นที่ตรงนั้นปรากฏ ฉะนั้นลักษณะที่มีทางด้านตะวันออกก็เป็นทะเล ทางด้านตะวันตกก็เป็นทะเลแล้วก็มีพื้นที่ราบแน่นอน แล้วก็มีที่ราบเชิงเขา แล้วก็มีที่ราบชายทะเล เวลาพูดถึงคำว่า “วิถีชีวิตของชาวภาคใต้” จึงหนีไม่พ้นที่จะเชื่อมโยงให้เห็นลักษณะทางภูมิศาสตร์ของภาคใต้ ถ้าพูดให้เห็นเรื่องพัฒนาการ เรื่องวิถีชีวิตที่อยู่ริมน้ำอาจพูดถึงวิถีชีวิตของชาวประมงแล้วก็ที่ราบชายฝั่ง เมื่อพูดถึงวิถีชีวิตชาวประมงแน่นอนต้องไปเกี่ยวพันกับระบบมรสุม ก็คือมรสุมตะวันออก มรสุมตะวันตก ฉะนั้นวิถีชีวิตของชาวบ้านหรือจะเรียกว่าการผลิตองค์ความรู้หรือภูมิปัญญาเพื่อไปสอดรับกับวิถีชีวิตที่เกี่ยวข้องกับลักษณะทางภูมิศาสตร์หรือภูมิปัญญาของแต่ละพื้นที่ก็แตกต่างกัน ฉะนั้นอาจยกกรณีตัวอย่างง่าย ๆ ของวิถีชีวิตของชาวประมงฝั่งอ่าวไทยลักษณะรูปเรือก็อาจแตกต่างกัน ลักษณะคลื่นเองก็อาจลักษณะแตกต่างด้วย จึงส่งผลให้รูปแบบเรือที่ปรากฏ ที่ลักษณะการใช้แตกต่างกันที่เป็นรูปธรรมชัดเจน เช่น เรือในฝั่งอ่าวไทยก็ผลิตเรือกอและ ลักษณะเรือกอและก็จะมีตัวเรือค่อนข้างที่จะอ้วน แล้วก็หัวเรือก็มีลักษณะความคมเพื่อจะตัดคลื่นให้เร็ว แล้วก็ส่วนท้ายก็จะสั้นลง อันนี้ก็จะซ่อนให้เห็นความถี่ของคลื่นที่ต้องการผลิตเรือเพื่อจะใช้ประโยชน์ในฝั่งอ่าวไทย รวมถึงเครื่องมือทางการประมงก็แตกต่างกัน เช่น ลักษณะของพันธุ์ปลาในฝั่งอ่าวไทยแตกต่างจากพันธุ์ปลาในฝั่งอันดามัน ก็จะทำให้เครื่องมือในการจับสัตว์แตกต่างกันด้วย เรื่องภูมิปัญญาการใช้ประโยชน์และเครื่องมือ ชาวประมงสามารถแบ่งลักษณะตาของอวนที่จะใช้ในฝั่งอ่าวไทยว่าถ้าอวนขนาดนี้ต้องดักที่ฝั่งอ่าวไทย อวนขนาดนี้ต้องดักที่ฝั่งอันดามัน ซึ่งแน่นอนวิถีชีวิตถ้าเห็นพัฒนาการในอดีตมาถึงปัจจุบัน ปัจจุบันเราจะเห็นว่าฝั่งอันดามันกลายเป็นพื้นที่แห่งการท่องเที่ยวที่สำคัญมาก

อีกกลุ่มหนึ่งที่สำคัญก็คือกลุ่มที่ตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณที่ราบลุ่ม ที่ราบลุ่มบริเวณนี้ก็จะเกี่ยวข้องกับการประกอบอาชีพชาวนา แน่นอนการประกอบอาชีพชาวนาก็คือเป็นส่วนหนึ่งของการทำการเกษตรแล้วก็ทำนา พอทำนาก็จะเห็นว่าชาวนาผลิต ทำนาบนพื้นฐานของนาปีที่เราเรียกนาปี  ฉะนั้นวิถีชีวิตของชาวที่ทำนานนาปีก็จะเกี่ยวข้องกับลักษณะทางด้านธรรมชาติที่เขาใช้เป็นทรัพยากรสำคัญ โดยเฉพาะในลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาเราพบว่า คนที่ประกอบอาชีพทำนาก็จะมีอาชีพอันหนึ่งที่สำคัญในช่วงที่ไม่ได้ทำนาปี “นาปี” หรือชีวิตของชาวสวนถ้าเราเห็นช่วงที่เขาเรียกว่าคำตอบชีวิตอยู่ที่เขตเขาควน เราจะเห็นว่าเศรษฐกิจของผู้ประกอบอาชีพที่เขตเขาควนมีรายได้สูงมาก โดยเฉพาะช่วง 20 ปีที่ผ่านมา ที่มีอุตสาหกรรมการปลูกยางในภาคใต้ ส่งผลให้วิถีชีวิตของชาวสวนยางก็แตกต่างจากชาวประมง แตกต่างจากชาวนามาก เช่น ชาวสวนยางอาจต้องตื่น นอนกลางวันแล้วก็ตื่นทำงาน 5 ทุ่มก็เริ่มที่กรีดยาง มาสว่างก็จะกรีดยางเสร็จพอกรีดยางเสร็จเช้าก็ทำภารกิจเรื่องหุงอาหาร แล้วก็เสร็จก็นอนพักผ่อนกลางวัน อันนี้ก็จะเห็นวิถีชีวิตประจำวันที่เปลี่ยนแปลงไป ฉะนั้นฐานทรัพยากรเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้วิถีชีวิตชาวบ้านเปลี่ยนแปลงไปเป็นจำนวนมาก รวมถึงภาพรวมรายได้ของครัวเรือนในทางเศรษฐกิจ จะทำให้วิถีชีวิตชาวบ้านจากสังคมเกษตรสู่สังคมอุตสาหกรรมหรือสังคมเมืองสังคมกึ่งอุตสาหกรรม แต่ว่ายังไงก็ตามปัจจุบันนี้เทคโนโลยีไม่ได้อยู่กับเมืองกับชนบทอีกแล้วนะครับ ฐานทางด้านทรัพยากรเปลี่ยนแปลงโดยสิ้นเชิง หรือเทคโนโลยีเมืองกับชนบทอาจไม่แตกต่างอะไรโดยเฉพาะการเข้าถึงเทคโนโลยีแบบใหม่ที่เราเรียกว่าเทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตไร้สายสังคมสื่อสาร สังคมดิจิตอลก็เปลี่ยนแปลงโฉมหน้าของวิถีชีวิตการสื่อสารทั้งหมด

ในเรื่องของความเชื่อในภาคใต้จะมีกลุ่มความเชื่อมากมาย เราจะพบความเชื่อที่ไม่สามารถที่จะสลัดออกไปจากชีวิตภาคใต้ได้เลย โดยเฉพาะในวัฒนธรรมภาคใต้รวมถึงมิติความเชื่อทางศาสนาด้วย  ก็แล้วแต่ว่าคนกลุ่มไหนนับถือสิ่งศักดิ์สิทธิ์อย่างไรก็จะดำเนินชีวิตไปตามความเชื่อนั้น เช่น ความเชื่อความศรัทธาในเจดีย์วัดไอ้ไข่ก็เชื่อกัน แต่ว่าความเชื่อแบบนี้ก็ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตของชาวใต้ หรือความเชื่อในหลวงพ่อทวด หรือความเชื่อจากวิถีโบราณ ภาคใต้อาจเชื่อเรื่องผีบรรพบุรุษตายาย โนราโรงครู

ในเรื่องของประเพณีในภาคใต้ ก็จะมีประเพณีลากพระหรือชักพระ ประเพณีทำบุญเดือนสิบ ประเพณีทำตายายโนราโรงครู ประเพณีทำบุญเดือนห้าหรือประเพณีสงกรานต์ของชาวภาคกลางที่เดี๋ยวนี้คนภาคใต้ก็ใช้ประเพณีนี้เรียกว่าเรียกว่าเป็นประเพณีสงกรานต์เหมือนกันรวมถึงประเพณีย่อยท้องถิ่นเป็นจำนวนมากเช่นประเพณีแต่งงานกับนางไม้ของชาวสิงหนคร ประเพณีไหว้แม่เจ้าอยู่หัวของชาวท่าปุระ ประเพณีลอยเรือของชาวเล ประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุ สิ่งเหล่านี้ล้วนเรียกว่ามีอิทธิพลของความเชื่อเข้ามามีบทบาทสำคัญ ถึงแม้จะเป็นประเพณีที่เกี่ยวข้องกับศาสนา

ในเรื่องของอัตลักษณ์ทางอุปนิสัยใจคอ อัตลักษณ์ทางด้านภูมิศาสตร์ อัตลักษณ์ทางด้านอาหาร จะเห็นได้ชัดเจนมากในพื้นที่ภาคใต้ ถ้าเราเป็นนักชิมเราจะพบว่ารสชาติของอาหารที่สงขลาก็จะเป็นรสชาติกลางๆ มากจืด ๆ อาจจะเหมือนกับภาคกลางด้วยซ้ำไป แต่เวลาเราไปทานอาหารพอขยับไปพัทลุงแล้วรสชาติจัดจ้านขึ้น ไปนครก็อีกแบบไปถึงสุราษฯ ก็รสชาติอีกแบบ ส่วนของอัตลักษณ์ของผู้คน อัตลักษณ์ทางด้านภาษาดูสำเนียง อัตลักษณ์ทางด้านภาษาก็จะแตกต่างกัน

ลักษณะของภาคใต้ในพื้นที่สงขลาเป็นพื้นที่รอยต่อทางวัฒนธรรม เป็นโซนภาคใต้ตอนล่าง ซึ่งเป็นภาคใต้ตอนล่างที่รอยต่อกับภาคใต้ตอนบน คือจังหวัดนครศรีธรรมราช จากนครศรีธรรมราชขึ้นไปจนกระทั่งถึงประจวบคีรีขันธ์ถึงว่าเป็นภาคใต้ตอนบน เป็นโซนภาคใต้ตอนบน แล้วจากสงขลาลงไปก็จะเป็นภาคใต้ตอนล่าง ฉะนั้นพอเห็นภาพภาคใต้ตอนล่างเราจะเห็นว่าวัฒนธรรมจะแตกต่างกัน เมื่อเปรียบเทียบในส่วนภาคใต้ตอนบนและตอนล่าง เราจะเห็นว่าศูนย์กลางทางด้านวัฒนธรรมในภาคใต้ตอนล่างมีลักษณะคล้ายคลึงกับวัฒนธรรมในคาบสมุทรมลายูอย่างมากไม่ว่าจะผ่านมิติของเครื่องดนตรีที่เราเรียกว่า “เครื่องดนตรีเครื่อง 5” มีพวกปี่ มีพวกกลอง มีพวกทับ มีพวกซอหน้านาง ก็จะเห็นว่าเครื่องดนตรีเหล่านี้ใช้รวมไปถึงอินโดนีเซียในชวา ส่วนภาคใต้ตอนบนในแง่ของภาษาและอาหารก็จะเห็นอัตลักษณ์ของด้านอาหาร การแต่งกายก็แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง เช่น ถ้าเปรียบเทียบฝั่งอันดามันกับฝั่งอ่าวไทยเราจะเห็นการแต่งกายแบบกลุ่มชาติพันธุ์ชาวเลวัฒนธรรมผสมผสานกันระหว่างอิทธิพลของจีนกับอิทธิพลของมลายูที่เราเรียกว่าการแต่งกายแบบ “บาบ๋า ย่าหยา” ซึ่งผสมผสานระหว่างกลุ่มชาติพันธุ์พื้นเมืองกับวัฒนธรรมจีน แต่พอมาฝั่งอ่าวไทยเราจะเห็นการแต่งกายที่แตกต่างกัน

อย่างกลุ่มชาติพันธุ์ดั้งเดิมของพื้นที่ภาคใต้หรือกลุ่มชาวเลที่เราเรียกว่า ที่เรารู้จักกันในนาม “มอแกร็น หรือ มอแกน” “มอแกร็น”กลุ่มหนึ่ง “มอแกน”กลุ่มหนึ่ง พวกเหล่านี้เป็นชาติพันธุ์ที่มีวัฒนธรรมดั้งเดิมอยู่ยาวนานที่สืบทอดมาถึงปัจจุบัน ก็จะเป็นอัตลักษณ์อันหนึ่งของผู้คนในภาคใต้ รวมถึงวัฒนธรรมที่เราทำความเข้าใจอย่างสำคัญในทางชาติพันธุ์ก็คือชาติพันธุ์มลายู ที่อยู่ในพื้นที่ประเทศไทยที่มีความหลากหลายทางด้านวัฒนธรรมในทางสังคมที่เราเรียกว่า “พหุวัฒนธรรม” ด้วย

จะเห็นได้ว่า วัฒนธรรม วิถีชีวิต ประเพณีและความเชื่อในภาคใต้ มีหลากหลายเชื้อชาติ ผสมผสานกันทั้งอิทธิพลของชาวจีน และ มลายู อีกทั้งการดำเนินชีวิตที่แตกต่างกันของแต่ละฝั่งทะเลอันดามัน/อ่าวไทย ยิ่งทำให้วิถีชีวิตแตกต่างกันมากยิ่งขึ้น ซึ่งสิ่งที่แบ่งแยกวัฒนธรรมได้อย่างชัดเจนที่สุด คือ ลักษณะการแบ่งเป็นโซนภาคใต้ตอนบน และ ภาคใต้ตอนล่าง

ที่มา https://lms.thaimooc.org/courses/course-v1:TSU+TSU003+2019/course/

เนื้อหาจากรายวิชาของ วัฒนธรรม วิถีชีวิต ประเพณีและความเชื่อในภาคใต้ | Culture tradition and believe in Southern of Thailand พัฒนารายวิชาโดย มหาวิทยาลัยทักษิณ

เจ้าของผลงาน จริยา รัตนพันธุ์

Visits: 6132

Comments

comments

Back To Top