จากการที่ได้เรียนรู้ในรายวิชาดังกล่าวนี้ จึงขอแนะนำความรู้ในบางส่วนที่คิดว่าจะมีประโยชน์กับผู้ที่กำลังศึกษาวัฒนธรรมท้องถิ่นภาคใต้ของเราว่ามีความเป็นมาเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับเรื่องใดบ้างก่อนจะมีวัฒนธรรมให้เราได้ยึดถือปฏิบัติกันมาจนถึงวันนี้ คำว่า “วัฒนธรรมท้องถิ่น” กล่าวคือ วัฒนธรรมท้องถิ่นในที่นี้ก็จะเชื่อมโยงไปให้เห็นคำว่าวัฒนธรรมท้องถิ่นภาคใต้ ฉะนั้นคำว่าวัฒนธรรมท้องถิ่นภาคใต้แน่นอนจะบอกเฉพาะเจาะจงไปที่ความเป็นท้องถิ่นภาคใต้ ฉะนั้นพอเป็นความท้องถิ่นภาคใต้ ก็จำเป็นจะต้องทำความเข้าใจ ความมีลักษณะเฉพาะของวัฒนธรรมท้องถิ่นภาคใต้ในอีกรูปแบบหนึ่ง พอเฉพาะเจาะจงไปเรื่องวัฒนธรรมท้องถิ่นภาคใต้เราก็ต้องมีพื้นฐานให้เข้าใจไปโดยอัตโนมัติว่าประเทศไทยถูกแบ่งภูมิภาคออกเป็นอย่างน้อย 5 ภูมิภาค ซึ่งขนาดภาคใต้เองก็เป็นภาคใต้ตอนล่าง-ภาคใต้ตอนบน ภาคกลางเองก็มีภาคตะวันตก ภาคตะวันออก ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือภาคตะวันตก ที่แบ่งให้เห็นความเหลื่อมหรือความต่างของวัฒนธรรม ทั้งนี้วัฒนธรรมท้องถิ่นภาคใต้มี 2 โซน ก็คือ วัฒนธรรมท้องถิ่นภาคใต้ตอนล่าง กับวัฒนธรรมท้องถิ่นภาคใต้ตอนบน ก็ได้แบ่งโดยพื้นที่ของจังหวัดสงขลานับลงไปถึงโซนข้างล่างสุด และนับไปจากนครศรีธรรมราชขึ้นไปก็เป็น 6 จังหวัดภาคใต้ตอนบน และ 6 จังหวัดภาคใต้ตอนล่าง ฉะนั้นขนาดโซนภาคใต้เองที่เราเรียกว่าวัฒนธรรมท้องถิ่นภาคใต้ ก็จะมีจุดเน้นทางวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน วัฒนธรรมท้องถิ่นภาคใต้ตอนล่างเราจะเห็นว่าแตกต่างกัน เราจะเห็นว่าบทบาทศาสตราวุธ โดยเฉพาะ 6 ภาคใต้ตอนล่างศาสตราวุธที่มีความเด่นมาก ในท้องถิ่นภาคใต้ก็คือกริชใน 6 ภาคใต้ตอนล่าง กริชหรือออกเสียงเป็นภาษาอินโดนีเซียบาฮาซาออกเสียงว่าเกอริช 2 พยางค์แต่คนไทยเอาคำนี้มาใช้เรียกรวมกันว่ากริชใน อินโดนีเซียบาฮาซา แปลว่าแทงในระยะประชิดตัว แต่ว่าพอเป็นคำกริยา เวลามาอยู่ในประเทศไทยออกเสียงเป็นพยางค์เดียวว่ากริช แต่คนในอินโดนิเซียออกเสียงว่าเกอริชRead More →