Category: สำนักงานสีเขียว

ทุ่นกักขยะลอยน้ำลดปัญหาขยะในทะเลได้อย่างไร

“ทุ่นกักเก็บขยะลอยน้ำ ช่วยกักเก็บขยะลอยน้ำในทะเล โดยขยะจะไม่หลุดลอยออกนอกทุ่นตามการเปลี่ยนแปลงของกระแสน้ำ รองรับขยะได้สูงสุดถึง 700 กิโลกรัม” การลดปริมาณขยะก่อนออกสู่ท้องทะเล ในปัจจุบัน ทั่วโลกกำลังประสบปัญหากับปริมาณขยะที่มีมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง และ ขยะเหล่านั้นก็ยังไหลลงทะเลอย่างต่อเนื่อง  หลาย ๆ หน่วยงาน ทั้งภาครัฐและเอกชน ได้หันมาให้ความสนใจในการสร้างทุ่นกักขยะ  ได้แก่ “ต้นแบบทุ่นกักขยะลอยน้ำ” (SCG – DMCR Litter Trap) ซึ่งเป็นนวัตกรรม เพื่อลดปัญหาขยะในทะเล ซึ่ง เอสซีจีร่วมกับกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช) ได้พัฒนา “ต้นแบบทุ่นกักขยะลอยน้ำ” (SCG – DMCR Litter Trap) โดยธุรกิจเคมิคอลส์ เอสซีจี ได้นำท่อ PE100 คุณภาพสูงของเอสซีจี ที่เหลือใช้จากการทดสอบขึ้นรูป ซึ่งคุณสมบัติแข็งแรงคงทนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มาพัฒนาเป็นอุปกรณ์ติดทุ่นกักขยะลอยน้ำของ ทช. จุดเด่นของทุ่นดักเก็บขยะลอยน้ำ มีตะแกรงฝาเปิด-ปิด ป้องกันขยะไหลย้อนออกจากทุ่น มีตาข่ายรอง ป้องกันการหลุดลอยของขยะจากอิทธิพลน้ำขึ้นน้ำลง ทุ่นลอยน้ำ ช่วยพยุงตัวดักจับให้อยู่ระดับผิวน้ำ โครงสร้างผลิตจากท่อ PE100 ที่เหลือใช้จากการทดสอบขึ้นรูปในโรงงาน มีความแข็งแรงทนทาน […]

WULibrary Challenge การจัดการขยะด้วยหลัก 8R

การจัดการขยะที่ถูกวิธีดีต่อเราและดีต่อโลก คิดก่อนซื้อ ซื้อให้น้อย ใช้อย่างพอดี ปฏิเสธสิ่งไม่จำเป็น 8R เป็นวิธีการที่จะช่วย ให้โลกของเราน่าอยู่ น่าอาศัย และ ช่วยลดการเกิดก๊าซเรือนกระจก  หากเราสามารถนำหลัก 8R มาใช้ในการจัดการขยะในชีวิตโดยการลดการบริโภคตั้งแต่ต้นทาง การใช้ข้าวของเครื่องใช้ให้คุ้มค่ามากที่สุด ไม่บริโภคเกินจำเป็น ลองมาทำความรู้จักกับหลักการจัดการขยะซึ่งประกอบด้วย  Rethink, Refuse, Reuse, Reduce, Repair, Regift, Recycle, Recover  WULibrary Challenge การจัดการขยะด้วยหลัก 8R Rethink   “คิดแล้วคิดอีก คิดให้ดีก่อนซื้อ” ลองถามตัวเราเองก่อนว่า สิ่งของที่เราจะซื้อ จำเป็นขนาดไหน เราต้องการจริง ๆ หรือไม่   เราซื้อแล้วคุ้มค่าหรือเปล่า เราจะได้ใช้จริง ๆ ไม่ใช่นำมากองไว้  รวมทั้งของอาหารต่าง ๆ  ถ้าเราซื้อมากินแล้วกินไม่หมด มันก็จะกลายเป็นขยะอาหารเหลือทิ้ง ที่สร้างปัญหาให้กับโลกเราได้เช่นกัน  ซึ่งหากรู้จักคิดก่อนซื้อ ก็จะช่วยลดการการใช้พลังงานในการกำจัดขยะ ลดการผลิตใหม่ และเป็นการช่วยลดการเกิดก๊าซเรือนกระจกอีกด้วย เป็นการไม่สร้างขยะตั้งแต่ต้นทาง Reduce “ลดการใช้” เน้นใช้ของที่เราจำเป็นจริง […]

อาชีวอนามัยและความปลอดภัย (Occupational Health and Safety)

“อาชีวอนามัยและความปลอดภัย” หมายถึง ศาสตร์และศิลป์เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพอนามัยและความปลอดภัยของผู้ประกอบอาชีพ ซึ่งรวมถึงการป้องกันอันตรายและส่งเสริมสุขภาพอนามัย เพื่อคงไว้ซึ่งสภาพร่างกายและจิตใจที่สมบูรณ์ ตลอดจนสถานะความเป็นอยู่ที่ดีของผู้ประกอบอาชีพทั้งมวล อาชีวะ (Occupational) หมายถึง อาชีพ การเลี้ยงชีพ การทำมาหากิน อนามัย (Health) หมายถึง ความไม่มีโรค สภาวะสมบูรณ์ดีทั้งร่างกาย ทางจิตใจ ทางสังคม และจิตวิญญาณ ความปลอดภัย (Safety) หมายถึง สภาวะที่ปราศจากภัยคุกคาม ไม่มีอันตราย หรือความเสี่ยงใดๆ การจำแนกสิ่งคุกคามและผลกระทบทางด้านสุขภาพและความปลอดภัยในสถานที่ทำงาน“สิ่งคุกคาม (hazard)” หมายถึง สิ่งใดๆ หรือสภาวการณ์ใดๆ ก็ตาม ที่มีความสามารถก่อปัญหาทางสุขภาพต่อคนได้ สิ่งคุกคามสุขภาพจากการทํางาน หรือ สิ่งคุกคามทางสุขภาพในสิ่งแวดล้อมการทำงาน (Occupational Health Hazards) คือ สิ่งใดๆ ที่อยู่ในบริเวณทำงานหรือปฏิบัติงานที่มีความสามารถก่อปัญหาทางสุขภาพต่อคนได้แบ่งออกเป็น 5 ประเภท ได้แก่1. สิ่งคุกคามด้านกายภาพ (Physical Hazard) ได้แก่(1.1) แสงสว่าง ในทุกๆอาชีพ จำเป็นต้องใช้แสงสว่างในการส่องสว่างในการทำงาน ความเข้มแสง สว่างจะเพียงพอกับงานที่ทำอยู่หรือไม่นั้น ขึ้นกับลักษณะงาน/ประเภทของงานนั้นๆ […]

ฉลากที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

ฉลากสิ่งแวดล้อม เป็นกลไกการสื่อสารและบ่งบอกความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมของผลิตภัณฑ์ให้แก่ผู้บริโภคทราบ

บริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

ธุรกิจที่ให้ความสำคัญใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อม โดยการเลือกใช้อุปกรณ์ประหยัดพลังงาน ประหยัดน้ำ และมีการจัดการขยะที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ รวมทั้งมีการจัดซื้อจัดจ้างสีเขียว เลือกใช้สินค้าและบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

วัสดุสำนักงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมศูนย์บรรณสารฯ

วัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม หรือวัสดุสีเขียว คือ วัสดุหรือสินค้าที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยกว่าวัสดุที่ทำหน้าที่อย่างเดียวกัน โดยพิจารณาตลอดวัฏจักรชีวิตของวัสดุหรือสินค้านั้น

ECO LABEL : ฉลากรักษ์โลก

“ฉลากสิ่งแวดล้อม” บอกความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมของผลิตภัณฑ์ให้ผู้บริโภคทราบ

7R ลดขยะได้ง่าย ๆ เริ่มได้ที่ตัวเรา

มาสร้างโลกของเราให้น่าอยู่ น่าอาศัย  ช่วยกันลดขยะให้เป็นศูนย์ หรือ สร้างขยะให้น้อยที่สุดเท่าที่จำเป็นด้วยหลัก 7R Reduce  Reuse  Recycle  Refuse Refill Repair และ Return  เมื่อเราเข้าใจอย่างถ่องแท้และยึดหลักการจัดการขยะแบบ 7R  ได้แล้ว อย่าลืมส่งต่อความรู้และหลักปฏิบัติให้กับสมาชิกในครอบครัว เพื่อนร่วมงาน และ เพื่อนร่วมโลก เพื่อสร้างสังคม ที่ปลอดขยะและสร้างโลกที่น่าอยู่ น่าอาศัย  ช่วยกันรักษาสิ่งแวดล้อมในโลกของเราให้คงอยู่แบบยั่งยืนตลอดไป 7R ลดขยะได้ง่าย ๆ เริ่มได้ที่ตัวเรา “7R ปลูกฝังแนวคิดลดขยะ เพื่อชีวิตแบบ Zer0 Waste”                 ขยะ  ขยะ  ขยะ  เชื่อว่าในทุก ๆ วัน  เราต้องสร้างขยะให้แก่โลกนี้นอน จากการดำเนินชีวิตประจำวันของ ไม่ว่าจะ แกงถุง  ซื้อสินค้าออนไลน์ ย่อมทำให้เกิดขยะมากขึ้นแน่นอน  เราอาจจะคุ้นชินกับหลัก 3R   ซึ่งได้แก่  Reduce Reuse และ Recycle แต่ในปัจจุบัน  […]

พลังงานทดแทนเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน

พลังงานทดแทน หมายถึง พลังงานที่นำมาใช้แทนน้ำมันเชื้อเพลิงและพลังานไฟฟ้า สามารถแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ พลังงานทดแทนจากแหล่งที่ใช้แล้วหมดไป หรือเรียกว่า พลังงานสิ้นเปลือง ได้แก่ ถ่านหิน ก๊าซธรรมชาติ นิวเคลียร์ น้ำมัน เป็นต้น และพลังงานทดแทนอีกประเภทหนึ่งเป็นแหล่งพลังงานที่ใช้แล้ว สามารถหมุนเวียนมาใช้ได้อีกและไม่หมดไป เรียกว่า พลังงานหมุนเวียน ได้แก่ แสงอาทิตย์ ลม ชีวมวล น้ำ และไฮโดรเจน เป็นต้น เป็นพลังงานสะอาด ที่ไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ต่อไปจะมาดูกันว่าพลังงานทดแทนหรือพลังงานสะอาดที่ไม่เป็นปัญหากับสิ่งแวดล้อมที่กล่าวมาข้างต้นมีอะไรกันบ้างตามไปดูกันครับ พลังแสงอาทิตย์ พลังงานจากดวงอาทิตย์จัดเป็นพลังงานหมุนเวียนที่สำคัญที่สุด เป็นพลังงานสะอาดไม่ทำปฏิกิริยาใดๆอันจะทำให้สิ่งแวดล้อมเป็นพิษ เซลล์แสงอาทิตย์จึงเป็นสิ่งประดิษฐ์ทางอิเล็คทรอนิคส์ชนิดหนึ่ง ที่ถูกนำมาใช้ผลิตไฟฟ้า เนื่องจากสามารถเปลี่ยนเซลล์แสงอาทิตย์ให้เป็นพลังงานไฟฟ้าได้โดยตรงการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์นับวันจะยิ่งมีความสำคัญมากขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องจากการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ เป็นแหล่งพลังงานทดแทนที่สะอาดและไม่มีวันสิ้นสุด ดังนั้นในหลายประเทศจึงได้มีการออกแบบและก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทนแสงอาทิตย์ที่สามารถติดตั้งไว้บนผิวน้ำในทะเลสาบขนาดใหญ่ได้ด้วย พลังงานลม เป็นพลังงานธรรมชาติที่เกิดจากความแตกต่างของอุณหภูมิ 2 ที่ ซึ่งสะอาดและบริสุทธิ์ใช้แล้วไม่มีวันหมดสิ้นไปจากโลก ได้รับความสนใจนำมาพัฒนาให้เกิดประโยชน์อย่างกว้างขวาง ในขณะเดียวกัน กังหันลมก็เป็นอุปกรณ์ชนิดหนึ่งที่สามารถนำพลังงานลมมาใช้ให้เป็นประโยชน์ได้ โดยเฉพาะในการผลิตกระแสไฟฟ้า และในการสูบน้ำบางพื้นที่ของประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งแนวฝั่งทะเลอันดามันและด้านทะเลจีน(อ่าวไทย) มีพลังงานลมที่อาจนำมาใช้ประโยชน์ในลักษณะพลังงานกล (กังหันสูบน้ำกังหันผลิตไฟฟ้า) ศักยภาพของพลังงานลมที่สามารถ นำมาใช้ประโยชน์ได้สำหรับประเทศไทย […]

เทคนิคการประหยัดพลังงานในสำนักงาน

โดยดำเนินการใน 3 ส่วนที่สำคัญ 1) การปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ไฟฟ้าที่สามารถช่วยประหยัดพลังงานมากขึ้น 2) การรณรงค์ปลูกจิตสำนึกการประหยัดพลังงานภายในสำนักงาน 3) การประยุกต์ใช้พลังงานทดแทน โดยการติดตั้งแผงวงจรโซล่าเซลล์ ปัจจุบันต้นทุนค่าใช้จ่ายในเรื่องของการใช้พลังงานไฟฟ้านับเป็นสิ่งที่ทุกหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนต้องดำเนินการควบคุมเพื่อลดค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ เพราะนับวันความต้องการใช้พลังงานยิ่งเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากอุปกรณ์สำนักงานส่วนใหญ่ต้องใช้กระแสไฟฟ้าเกือบทั้งหมด ยิ่งหากเป็นหน่วยงานที่ให้บริการด้วยแล้วค่าใช้จ่ายส่วนนี้นับว่าเป็นค่าใช้จ่ายที่สูงเป็นอันดับต้น ๆ ของงบประมาณทั้งหมดภายในหน่วยงาน ซึ่งค่าพลังงานไฟฟ้าที่ใช้สูงและสิ้นเปลืองเป็นอันดับต้น ๆ ของอุปกรณ์ไฟฟ้าส่วนใหญ่จะเป็นเครื่องปรับอากาศ ประมาณ 50-70 % ของอุปกรณ์ไฟฟ้าทั้งหมดภายในสำนักงาน ซึ่งในบทความนี้จะนำเสนอเทคนิคการลดค่าใช้จ่ายในส่วนของพลังงานไฟฟ้าภายในสำนักงานเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากประสบการณ์การดำเนินงาน ตั้งแต่เริ่มค่าใช้จัดทำเสนอโครงการส่งเสริมการประหยัดพลังงานภายในอาคาร จนถึงกระบวนการประเมินและสรุปผล ซึ่งจะเรียงเป็นข้อตามลำดับขั้นตอนตามหลัก PDCA ดังภาพ ซึ่งในแต่ขั้นตอนของการปฏบัติงานจะมีความสำคัญและยุ่งยากแตกต่างกันออกไป เทคนิคที่สำคัญของการดำเนินงานคือ 1. การปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ที่ประหยัดพลังงานงานได้มากขึ้น เช่น ปรับเปลี่ยนระบบปรับอากาศที่มีประสิทธิภาพสูง และประหยัดพลังงานค่าไฟฟ้าได้มากขึ้น การปรับเปลี่ยนหลอดไฟฟ้ามาเป็นหลอด LED ทั้งหมดซึ่งสามารถประหยัดพลังงานได้ประมาณ 50% 2. การรณรงค์การปลูกจิตสำนึกในการประหยัดพลังงานและสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของบุคลากรภายในหน่วยงาน เพื่อก่อให้เกิดความร่วมมือร่วมแรงร่วมใจในการขับเคลื่อนเป้าหมาย และจัดทำสติกเกอร์รณรงค์ หรือคลิปรณรงค์ต่าง ๆ เพื่อกระตุ้นและปลูกจิตสำนักในการประหยัดพลังงาน และประเด็นที่สำคัญที่สุดคือ การติดตาม ประเมินผลรายไตรมาสเพื่อประเมินเป้าหมาย 3. การใช้พลังงานทดแทนเพื่อใช้แทนพลังงานไฟฟ้าส่วนนี้หน่วยงานสามารถลดค่าไฟฟ้าได้ 100% แต่จะมีต้นทุนของการลงทุนในการซื้ออุปกรณ์ในการติดตั้งครั้งแรก ซึ่งสามารถคำนวณต้นทุนและประเมินค่าไฟฟ้าที่ประหยัดได้กับต้นทุนที่ลงไปภายในกี่ปีถึงจะคืนทุน […]

Back To Top