อาชีวอนามัยและความปลอดภัย (Occupational Health and Safety)

“อาชีวอนามัยและความปลอดภัย” หมายถึง ศาสตร์และศิลป์เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพอนามัยและความปลอดภัยของผู้ประกอบอาชีพ ซึ่งรวมถึงการป้องกันอันตรายและส่งเสริมสุขภาพอนามัย เพื่อคงไว้ซึ่งสภาพร่างกายและจิตใจที่สมบูรณ์ ตลอดจนสถานะความเป็นอยู่ที่ดีของผู้ประกอบอาชีพทั้งมวล

  • อาชีวะ (Occupational) หมายถึง อาชีพ การเลี้ยงชีพ การทำมาหากิน
  • อนามัย (Health) หมายถึง ความไม่มีโรค สภาวะสมบูรณ์ดีทั้งร่างกาย ทางจิตใจ ทางสังคม และจิตวิญญาณ
  • ความปลอดภัย (Safety) หมายถึง สภาวะที่ปราศจากภัยคุกคาม ไม่มีอันตราย หรือความเสี่ยงใดๆ

การจำแนกสิ่งคุกคามและผลกระทบทางด้านสุขภาพและความปลอดภัยในสถานที่ทำงาน
“สิ่งคุกคาม (hazard)” หมายถึง สิ่งใดๆ หรือสภาวการณ์ใดๆ ก็ตาม ที่มีความสามารถก่อปัญหาทาง
สุขภาพต่อคนได้ สิ่งคุกคามสุขภาพจากการทํางาน หรือ สิ่งคุกคามทางสุขภาพในสิ่งแวดล้อมการทำงาน (Occupational Health Hazards) คือ สิ่งใดๆ ที่อยู่ในบริเวณทำงานหรือปฏิบัติงานที่มีความสามารถก่อปัญหาทางสุขภาพต่อคนได้แบ่งออกเป็น 5 ประเภท ได้แก่
1. สิ่งคุกคามด้านกายภาพ (Physical Hazard) ได้แก่
(1.1) แสงสว่าง ในทุกๆอาชีพ จำเป็นต้องใช้แสงสว่างในการส่องสว่างในการทำงาน ความเข้มแสง สว่างจะเพียงพอกับงานที่ทำอยู่หรือไม่นั้น ขึ้นกับลักษณะงาน/ประเภทของงานนั้นๆ จึงได้มีมาตรฐาน แนะนำความเข้มของแสงสว่างของแต่ละประเภทงานไว้สำหรับใช้ในการพิจารณาปรับปรุงแก้ไขให้มีสภาพการทำงานที่เหมาะสมตามลักษณะงานที่ต้องใช้แสงสว่างในการปฏิบัติงาน
มาตรฐานค่าความแสงสว่างตามที่กฎหมายกำหนดสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่
https://industry-media.com/index.php/articles/industry-story/item/6236-thanaroj-lighting-equipment
ผลกระทบจากการสัมผัสแสงสว่างที่ไม่เหมาะสม
ผลเสียต่อตา ทำให้กล้ามเนื้อตาทำงานมากเกินไป โดยบังคับให้ ม่านตาเปิดกว้าง เพราะการมองเห็นนั้นไม่ชัดเจน ต้องใช้เวลาในการมองเห็นรายละเอียดนั้น ทำ ให้เกิดการเมื่อยล้าของตาที่ต้องเพ่งออกมา ปวดตา มึนศีรษะ ประสิทธิภาพและขวัญกำลังใจในการทำงานลดลง เพิ่มโอกาสในการเกิดอุบัติเหตุระหว่างการทำงาน
(1.2)  เสียง เป็นคลื่นเชิงกลที่เกิดจากการสั่นสะเทือนของวัตถุ เมื่อวัตถุสั่นสะเทือน ก็จะทำให้เกิดการอัดตัวและขยายตัวของคลื่นเสียง และถูกส่งผ่านตัวกลาง เช่น อากาศไปยังหู แต่เสียงสามารถเดินทางผ่านสสารในสถานะก๊าซ ของเหลว และของแข็งก็ได้ แต่ไม่สามารถเดินทางผ่านสุญญากาศได้เมื่อการสั่นสะเทือนนั้นมาถึง หู มันจะถูกแปลงเป็นพัลส์ประสาท ซึ่งจะถูกส่งไปยังสมอง ทำให้เรารับรู้และจำแนกเสียงต่างๆ ได้
มาตรฐานระดับความเข้มเสียงมีหน่วยคือ เดซิเบล (dB) โดยเริ่มจาก 0 dB เป็นเสียงที่ค่อยเกิน กว่าที่หูมนุษย์จะได้ยิน เสียงกระซิบมีความดังประมาณ 20 dB เสียงสนทนาอยู่ระหว่าง 40–60 dB เกินกว่า 85 dB จะเป็นอันตรายต่อหู หรือผู้ที่ต้องอยู่ในบริเวณที่ดังเกิน 80 dB แต่ไม่ถึง 90 dB เป็นเวลานาน ๆ ก็จะเป็นอันตราย
2. สิ่งคุกคามด้านเคมี (Chemical Hazard) สิ่งคุกคามที่เป็นสารเคมีทุกชนิดซึ่งมีสมบัติเป็นพิษต่อคนได้ ไม่ว่าจะอยู่ในสถานะแก๊ส ของเหลว หรือ ของแข็ง ก็ตาม ทั้งที่เป็นธาตุและที่เป็นสารประกอบ ทั้งที่เป็นสารอินทรีย์และสารอนินทรีย์ไม่ว่าจะเกิดขึ้นเอง ตามธรรมชาติหรือสังเคราะห์ขึ้นโดยจะอยู่ในรูปต่างๆ เช่น ฝุ่น ก๊าซ ไอ ควัน ตัวทำลาย ละออง ฟูม เส้นใย
ผลกระทบจากการสัมผัสสิ่งคุกคามด้านเคมี
(2.1) Silicosis โรคปอดที่เกิดจากการหายใจเอาอนุภาคซิลิกาเข้าไปในปอดซึ่งเกิดจากการทำงานในอาชีพที่มีการสัมผัสฝุ่นที่มีซิลิกาผสมอยู่ มีอาการไอ มีเสมหะ ไอเป็นเลือด หอบเหนื่อย มะเร็งปอด
2.2 Coal worker’s pneumoconiosis หรือ Black Lung Disease เกิดจากการหายใจฝุ่นถ่านหิน โดยมีความเสี่ยงจะเพิ่มขึ้นตามปริมาณฝุ่นที่ได้รับ ปริมาณคาร์บอนในผงถ่าน การสูบบุหรี่และมีอาการของหลอดลมอักเสบเรื้อรัง ได้แก่ ไอ หายใจเหนื่อยหอบ ลงทายดวยโรคถุงลมโปงพองและระบบหายใจล้มเหลว
3. สิ่งคุกคามด้านชีวภาพ (Biological Hazard) สิ่งคุกคามด้านชีวภาพ คือ สิ่งคุกคามสุขภาพอนามัยที่เป็นสิ่งมีชีวิต ได้แก่ จุลินทรีย์ต่างๆ เช่น เชื้อรา เชื้อแบคทีเรีย ไวรัส เป็นต้น สัตว์ที่เป็นพาหะนำโรค และฝุ่นจากพืชหรือสัตว์ ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดโรคติดเชื้อ หรือโรคภูมิแพ้ต่างๆ ได้ รวมทั้งสัตว์มีพิษชนิดต่างๆ ด้วยซึ่งก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้ประกอบอาชีพ
4. สิ่งคุกคามด้านการยศาสตร์ (Ergonomic Hazard) เป็นศาสตร์และการปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบงานและพื้นที่ปฏิบัติงานให้เกิดความเหมาะสมกับความสามารถและข้อจำกัดของร่างกายมนุษย์ผลกระทบจากการสัมผัสสิ่งคุกคามด้านการยศาสตร์ เช่น ความเมื่อยล้า ความปวดเมื่อย เป็นต้น
5. สิ่งคุกคามด้านจิตวิทยาสังคม (Psychosocial Hazard)
สิ่งแวดล้อมในการทำงานที่สามารถก่อให้เกิดสภาวะเครียด เนื่องมาจากจิตใจหรืออารมณ์ที่ได้รับความ บีบคั้น ยังมีผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย ผลกระทบจากการสัมผัสสิ่งคุกคามด้านจิตสังคม เช่น เกิดความวิตกกังวล ความเครียด ความเบื่อหน่าย ความซึมเศร้า ความรู้สึกหมดหวัง อารมณ์หงุดหงิดโมโหง่าย ทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่าย
มีความไม่พอใจในงาน และอาจต่อต้านการทำงาน ผลผลิตลดลง การแตกแยกในองค์การ การก่อวินาศกรรม ฯลฯ

นอกจากสาเหตุความปลอดภัยที่เกิดจากสิ่งคุกคามแล้ว ยังมีการค้นพบทฤษฎีโดมิโนในการเกิดอุบัติเหตุ
H.W. Heinrich ผู้คิดค้นทฤษฎีโดมิโนที่เกี่ยวข้องกับสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุมีอยู่ด้วยกัน 3 สาเหตุ
1. การกระทำที่ไม่ปลอดภัย (Unsafe Act) ซึ่งเกิดจากการกระทำของพนักงานมีสูงถึง 88 เปอร์เซ็นต์กันเลยทีเดียว
ซึ่งถือว่าเป็นสาเหตุของการกระทำที่ส่งผลให้เกิดอุบัติเหตุจำนวนสูงมาก
2. สภาพการณ์ที่ไม่ปลอดภัย (Unsafe Condition) เป็นสาเหตุที่เกิดอุบัติเหตุถึง 10 เปอร์เซ็นต์
3. สาเหตุที่เกิดจากธรรมชาติ (Acts of God) ซึ่งสาเหตุที่เกิดจากธรรมชาติ ยกตัวอย่างเช่น ฟ้าผ่า น้ำท่วม

ทฤษฎีโดมิโน (Domino Theory) ของการเกิดอุบัติเหตุ สามารถเชื่อมโยงได้กับปรัชญาความปลอดภัย
ของ Heinrich เกี่ยวกับสาเหตุของอุบัติเหตุได้กล่าวว่าการบาดเจ็บและความเสียหายต่างๆ เป็นผลที่สืบเนื่องโดยตรงมาจากอุบัติเหตุ และอุบัติเหตุเป็นผลมาจากการกระทำที่ไม่ปลอดภัย(หรือสภาพการณ์ที่ไม่ปลอดภัย) ซึ่งเปรียบได้เหมือนตัวโดมิโนที่เรียงกันอยู่ 5 ตัวใกล้กัน เมื่อตัวที่หนึ่งล้ม ย่อมมีผลทำให้ตัวโดมิโนตัวถัดไปล้มลงตามกันไปด้วย ตัวโดมิโนทั้ง 5 ตัว ได้แก่
1. สภาพภูมิหลังของบุคคล (Social environment of background) หมายถึง สภาพการเลี้ยงดูจากครอบครัว รวมถึงการให้การศึกษาการสร้างเจตคติ ลักษณะนิสัย บุคลิกภาพ ที่ได้รับประสบการณ์เป็นเวลานาน การศึกษาอบรมที่ได้รับมาแต่วัยเยาว์ที่ไม่สมบูรณ์ ได้หล่อหลอมให้เกิดพฤติกรรมอันไม่พึงประสงค์เช่น การคึกคะนอง และความดื้อรั้น นำมาซึ่งความผิดพลาดส่วนบุคคลของคนงาน
2. ความบกพร่องทางร่างกาย (Defect of person) หมายถึง ความบกพร่องทางร่างกาย เช่นประสิทธิภาพในการตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อม สายตา การเจ็บป่วย ความเมื่อยล้า ลักษณะที่ไม่พึงประสงค์ของคนงานทั้งในด้านทัศนคติในการทำงานที่ไม่ถูกต้อง ส่งผลให้เกิดพฤติกรรมการทำงานที่เสี่ยง ต่อต้าน และฝ่าฝืนกฎความปลอดภัย ต่างๆ จนส่งผลให้เกิดการกระทำที่ไม่ปลอดภัย (Unsafe Acts) และสภาพการณ์ที่ไม่ปลอดภัย (Unsafe Condition) ในสถานที่ทำงาน เป็นต้น
3. การกระทำที่ไม่ปลอดภัย (Unsafe Acts) และสภาพการณ์ที่ไม่ปลอดภัย(Unsafe Condition) คือในด้านการกระทำที่ไม่ปลอดภัย คือ ความผิดพลาดในการปฏิบัติงานของบุคคล ที่ส่งผลให้เกิดอุบัติเหตุ เช่น การเดินเครื่องจักรโดยไม่แจ้งเตือน การหยอกล้อกันระหว่างทำงาน และการถอดอุปกรณ์ป้องกัน (Safeguards) ซึ่งนำไปสู่การเกิดอุบัติเหตุจากการทำงาน
4. อุบัติเหตุ (Accident) คือ เหตุการณ์อันไม่พึงประสงค์ที่เกิดขึ้น ทำให้คนงานได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิต และทรัพย์สินเสียหาย
5. การบาดเจ็บและความเสียหาย คือ ผลกระทบตัวท้ายสุดที่เกิดขึ้นแก่คนงาน อันเนื่องมาจากการเกิดอุบัติเหตุ
ทฤษฎีโดมิโน พยายามจะอธิบายถึงการเกิดอุบัติภัยทั่วไปที่เกิดจากบุคคล การกระทำของบุคคลมีผลมาจากภูมิหลังด้านครอบครัว และการศึกษา สิ่งแวดล้อมที่ไม่ปลอดภัย ก็เกิดจากความบกพร่องของบุคคลเช่นเดียวกัน
เกี่ยวกับสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุจากทฤษฎีโดมิโนคือโดมิโนแต่ละแท่งจะถูกวางเรียงกันไว้ในแนวระนาบในรูปแบบต่าง ๆ ซึ่งเมื่อวางเรียงโดมิโนไว้ โดมิโนตัวที่หนึ่งที่ล้มก็จะล้มไปทับโดมิโนตัวที่สอง และล้มทับต่อกันไปเป็นทอด ๆ จนถึงโดมิโนตัวสุดท้าย หรือที่เรียกชื่อใหม่ว่า “ลูกโซ่ของอุบัติเหตุ” (Accident Chain) การป้องกันอุบัติเหตุตามทฤษฎีโดมิโนตามทฤษฎีโดมิโนหรือลูกโซ่ของอุบัติเหตุ เมื่อโดมิโนตัวที่ 1 ล้ม ตัวถัดไปก็ล้มตาม ดังนั้น หากไม่ให้โดมิโนตัวที่ 4 ล้ม (ไม่ให้เกิดอุบัติเหตุ) ก็ต้องเอาโดมิโนตัวที่ 3 ออก (กำจัดการกระทำหรือสภาพการณ์ที่ไม่ปลอดภัย) การบาดเจ็บหรือความเสียหายก็จะไม่เกิดขึ้น

หลักการป้องกัน และควบคุมสิ่งคุกคามและอุบัติเหตุในการทำงาน
1. การแยก (Elimination) หมายถึงสิ่ง/สาเหตุ/อันตรายทางด้านกายภาพที่สามารถก่อให้เกิดการเสียชีวิต หรือการบาดเจ็บขั้นรุนแรงในการทำงานให้ดำเนินการแยก สิ่ง/สาเหตุ/อันตราย ออกมาก่อน เช่น การเกิด เพลิงไหม้ น้ำท่วม แผ่นดินไหว เป็นต้น
2. การทดแทน (Substitution) หมายถึงการทดแทนวัสดุ สารเคมี อุปกรณ์ เครื่องจักร ตลอดจน กระบวนการผลิตที่มีอันตรายน้อยกว่า
3. การควบคุมทางด้านวิศวกรรม (Engineering Control) หมายถึง การค้นหากระบวนการที่แยกคน ออกจาก สิ่ง/สาเหตุ/ปัจจัยหรืออันตรายต่างๆ
4. การควบคุมทางบริหารจัดการ (Administrative Control)
5. อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล (Personal Protective Equipment, PPE)
ที่มา https://lms.thaimooc.org/courses/course-v1:WU+WU023+2022/course/


Visits: 5699

Comments

comments

Back To Top