Learning how to learn วิธีการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ

Learning how to learn ชวนมาติดตามเทคนิคการเรียนรู้แบบต่าง ๆ เช่น การเรียนรู้แบบสมอง 2 โหมด

การเรียนรู้แบบ “Pomodoro” หรือ“มะเขือเทศ” ลองมาติดตามกันดูครับ

การเรียนรู้ด้วยสมอง 2 โหมด

Learning how to learn เป็นการปรับเปลี่ยนความคิด (mindset) ให้ตระหนักถึงความสำคัญของการเรียนรู้เพิ่มพูนความรู้อย่างสม่ำเสมออย่างมีประสิทธิภาพจากแหล่งความรู้ที่เชื่อถือได้ ในการสร้างการเรียนรู้ สมองของเราสามารถจะเรียนรู้และจดจำสิ่งต่าง ได้จาก สมอง 2 โหมด คือ

Focused Mode  หรือ โหมดจดจ่อ  เป็นการเรียนรู้ โดยใช้ทักษะจากที่เราเราเคยทำมาก่อนแล้ว  มีรูปแบบ มีที่  เราทำอยู่เป็นประจำอยู่แล้ว  เช่น การขับรถบนเส้นทางเดิม ๆ ที่เราทำประจำอยู่แล้ว ก็จะทำให้เราทำได้อย่างคล่องแคล่วว่องไว ไม่หลงไปไหน แต่ ก็จะทำให้เราขาดโอกาสในการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ

Diffuse Mode  หรือ โหมดฟุ้งกระจาย เป็นการเรียนรู้แบบฟุ้ง เป็นการปล่อยใจให้ล่องลอย ลอยละล่อง ไปเยี่ยมจุดต่าง ๆ ของสมอง ซึ่งอาจจะทำให้เราค้นพบความคิดที่เราเคยลืมไปแล้ว  ก็เปรียบเสมือนเราขับรถไปเรื่อย ๆ รอบ ๆ เมือง อาจจะทำให้เราค้นพบเส้นทางลัด ๆ ค้นพบเส้นทางใหม่ ค้นพบร้านใหม่ ๆ ลูกค้าคนใหม่ ได้

แต่อย่างไรก็ตาม ในการเรียนรู้ เราไม่สามารถที่จะใช้ สมองทั้ง 2 โหมดในเวลาเดียวกันได้ หากเราใช้สมาธิจดจ่อเป็นเวลานาน ๆ เราอาจะคิดไม่ออกก็ได้ เราอาจะปล่อยให้สมองล่องลอย ปล่อยให้ความคิดเป็นอิสระ จาก Diffuse Mode  เพื่อให้เกิดไอเดียใหม่ ๆ แล้วเชื่อมโยงกลับมาสู่ Focused Mode   เมื่อเราเริ่มเรียนรู้อะไรใหม่ ไ ที่เราไม่เคยทำมาก่อน หรือ ทำอะไรที่ยาก เราต้องเรียนรู้ด้วยการใช้สมอง 2 โหมด สลับกันไปมา เพื่อให้การเรียนรู้ของเรามีประสิทธิภาพมากที่สุด คือไม่เคร่งเครียดจนคิดอะไรไม่ออกและไม่ล่องลอยฟุ้งกระจามากจนเกินไป เราต้องสลับสมองไปมาระหว่างทั้งสองโหมด จะช่วยให้เรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

การสร้างกลุ่มของข้อมูล (Chunking) เพื่อเพิ่มทักษะในการเรียนรู้

การสร้างกลุ่มของข้อมูล (Chunking) ซึ่งการที่คนเราจะมีทักษะและความเชี่ยวชาญในการเรียนรู้อะไรสักอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการอ่านหนังสือ การเล่นกีฬา การเล่นดนตรี  สิ่งที่จำเป็นรคือการค่อย ๆ สะสม กลุ่มก้อนของข้อมูล (chunking ) เล็ก ๆ ก่อน เมื่อสะสมมากขึ้นเรื่อย ๆ สมองของเราก็สามารถจะมีแนวคิดเชื่อมโยงในการเรียนรู้ของเราให้มีรูปแบบต่าง ๆ มากยิ่งขึ้นพร้อมที่จะนำมาใช้ได้ ซึ่งในการสร้างกลุ่มก้อนความคิดขั้นแรกเราต้องมีสมาธิจดจ่อกับสิ่งที่เราต้องการเรียนรู้ แล้วทำการเชื่อมโยงความรู้เก่าและความรู้ใหม่เข้าด้วยกัน  เช่น ในการอ่านหนังสืออ่านครั้งแรกเราอาจจะอ่านผ่าน ๆ ไปก่อน แล้วค่อยลงรายละเอียดเพื่อเชื่อมโยงในสิ่งที่เราอ่านครั้งแรก กับครั้งต่อ ๆ มา

ปัจจัยที่ทำให้เกิดการเรียนรู้ได้ดีขึ้น แบ่งเป็น 3 ระยะ

  1. การใช้กรอบแนวคิดเกี่ยวกับจิตวิทยาการเรียนรู้ร่วมกับศึกษาศาสตร์

2. การพัฒนาความรู้ด้านประสาทวิทยาศาสตร์และด้านจิตวิทยา

3. ประสาทวิทยาศาสตร์ รวมกับจิตวิทยา ทำให้เกิดประสาทวิทยศึกษาศาสตร์

หลักการเรียนรู้

  1. Get Alert  ต้องมีการตื่นตัว  ตื่นเต้น กระตือรื้อร้น  ที่จะเรียนรู้

2. Get focus  คือต้องมีความมุ่งมั่นและจดจ่อกับการเรียนรู้

3. Do Repetitions  การทำซ้ำ ๆ เพื่อให้เกิดการฝึกฝน

4. Super Protocols คาดหวังและพร้อมรับความผิดพลาด เพื่อให้ฝึกทักษะให้เชี่ยวชาญชำนาญการมากยิ่งขึ้น

รูปแบบการเรียนรู้

การเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ตรง (Concrete Experience)
ขั้นแรกของการเรียนรู้เกิดขึ้นจากการ ‘ลงมือทำ’ อะไรสักอย่าง ไม่ว่าจะทำคนเดียวหรือร่วมกันในกลุ่มเพื่อน การเรียนรู้ไม่สามารถเกิดขึ้นได้จากการดูหรืออ่านเพียงอย่างเดียว

การสะท้อนคิด (Reflective Observation)

การให้เวลาอย่างเพียงพอสำหรับการทบทวน ไตร่ตรอง หรือแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็น ในสิ่งที่ได้ทำไปแล้ว เป็นขั้นตอนแห่งการตั้งคำถาม เพื่อให้ได้ย้อนนึกถึงสิ่งที่ทำว่า ทำอะไร และเกิดอะไรขึ้นบ้าง?

การสรุปผลด้วยตัวเอง (Abstract Conceptualization)
นอกจากสรุปผลสิ่งที่ได้ลงมือทำในขั้นตอนที่ 2 ขั้นตอนนี้เกี่ยวข้องกับการใช้ทักษะการคิดวิเคราะห์และการแก้ปัญหาเพื่อประมวลผล แล้วสังเคราะห์องค์ความรู้ใหม่ด้วยผู้เรียนเอง ซึ่งองค์ความรู้ใหม่นี้เกิดขึ้นจากความเข้าใจไม่ใช่การท่องจำ เพราะผู้เรียนได้ลงมือทำและคิดทบทวนด้วยตัวเองในสองขั้นตอนแรกมาแล้ว

การนำสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปปฏิบัติใหม่ (Active Experimentation) 

ขั้นตอนนี้ คือ การทดลองทำซ้ำ ๆ  แล้วพัฒนาต่อยอด มาเป็นองค์ความรู้ใหม่ ๆ ที่เกิดจากการเรียนรู้

เทคนิคการเรียนรู้

ในการเรียนเรียนรู้สิ่ง ๆ ต่าง ๆ หรือ การลงมือทำสิ่งต่าง ๆ จะต้องมีเวลาในการพักผ่อนบ้างเพื่อไม่ให้สมองเหนื่อยล้าจนเกินไป ซึ่งมีเทคนิคที่จะช่วยให้เราเรียนรู้โดยสมองไม่ล้าจนเกินไป คือ เทคนิคการเรียนรู้แบบ “Pomodoro” หรือ“มะเขือเทศ”

  ผู้คิดค้นเทคนิค “Pomodoro” คือฟรานเชสโก ซิริลโล (Francesco Cirillo) ได้เกิดไอเดียการบริหารเวลาในการเรียนรู้มาจากนาฬิกาจับเวลาในห้องครัวซึ่งเป็นรูปมะเขือเทศ และ อีกประการหนึ่ง คำว่า  “Pomodoro” ในภาษาอิตาเลียน แปลว่า มะเขือเทศ

การเรียนรู้แบบ  Pomodoro 

จัดการแบ่งเวลาออกเป็น เรียนรู้ 25 นาที พัก 5 นาที จนครบ 4 รอบ แล้วพัก 15-30 นาที ซึ่งในการจัดแบ่งเวลาแบบนี้จะทำให้เรามีสมาธิในการเรียนรู้ในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง และไม่ทำให้สมองอ่อนล้าจนเกิดไป การได้พัก 5 นาทีมีความหมายต่อสมองของคนเรามาก จะทำให้รู้สึกสดชื่น กระปรี่กระเปร่า พร้อมที่จะเรียนรู้ในเรื่องอื่น ๆ ต่อไป

เรียบเรียงจากการเรียน CMU MOOC – https://mooc.cmu.ac.th

วิทยาลัยการศึกษาตลอดชีวิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

วิธีการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ (Learning how to learn)

ผู้สอน

รองศาสตราจารย์ ดร.นัทธี สุรีย์
วิทยาลัยการศึกษาตลอดชีวิต  มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

อาจารย์ผนวกเดช สุวรรณทัต
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธบุรี

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สุทธิดา จำรัส
คณะศึกษาศาสตร์  มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

Visits: 433

Comments

comments

Back To Top