การแก้ไขปัญหาเรื่องการใช้ความคิดสร้างสรรค์ – Creative Problem Solving

การแก้ไขปัญหาด้วยความคิดสร้างสรรค์เป็นการพัฒนาความรู้และทักษะการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ซึ่งเป็นทักษะที่ได้รับการประเมิน ว่าเป็นหนึ่งในทักษะที่สำคัญที่สุดของทรัพยากรมนุษย์ในศตวรรษนี้ ไม่ว่าจะเป็นการดำรงชีวิตในสังคม การประกอบอาชีพหรือการทำงานในหน่วยงาน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชนหรือภาคสังคม

ความหมายของคำว่า “ความคิดสร้างสรรค์” Creative Thinking Concept

  • ความคิดสร้างสรรค์ หมายถึง ความสามารถในการคิดอะไรที่ริเริ่มแปลกใหม่ คิดนอกกรอบ คิดแหวกแนว คิดสวนกระแส ย้อนยุค

            ความคิดสร้างสรรค์มักนำไปสู่การสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ ออกมาอยู่เสมอ โดยความคิดสร้างสรรค์เกิดจากกระบวนการคิดสิ่งใหม่ที่ดีกว่าหรือแก้ปัญหาได้ดีกว่าเดิมนำไปสู่กระบวนการผลิตเป็นผลิตภัณฑ์หรือการบริการเป็นบริการใหม่

ความแตกต่างระหว่างความคิดสร้างสรรค์และการคิดวิเคราะห์

ความคิดสร้างสรรค์ เกิดจากกระบวนการคิดแบบแยกส่วนหรือแตกความคิดให้ได้ความคิดใหม่มากในที่สุด ส่วนการคิดวิเคราะห์แบบรวมส่วนเพื่อวิเคราะห์และตัดสินใจเลือกตัวเลือกที่ดีที่สุดมักใช้ในกระบวนการแก้ปัญหา

แหล่งที่มาของความคิดสร้างสรรค์ Sources of Creativity

            ความคิดสร้างสรรค์มักมีบ่อเกิดหรือแหล่งที่มาอยู่ 5 ประการด้วยกัน ได้แก่ 1. ปัญหา 2. ความท้าทาย 3. ความฝัน 4. ฉันทะ และ 5. สถานการณ์

เทคนิคในการกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์

ทฤษฎีหรือเทคนิคที่สำคัญเทคนิคหนึ่งที่นำมาศึกษา ประยุกต์ใช้ให้คนเราได้มีความคิดสร้างสรรค์ได้แก่เทคนิคที่เรียกว่า “SCAMPER Technique” ซึ่งคิดค้นโดยอเล็กซ์ ออสบอร์น โดยเทคนิค SCAMPER เป็นชื่อย่อมาจากความหมายแต่ละตัวอักษรตามลำดับ ดังนี้

S  –  Substitution เทคนิคการทดแทน คือ การนำสิ่งหนึ่งมาใช้แทนอีกสิ่งหนึ่ง หรือ การนำแนวความคิดหนึ่งมาใช้แทนแนวความคิดหนึ่ง

C  – Combination เทคนิคการนำมาประกอบกัน คือ การนำของสองอย่างต่างชนิดกันมาประกอบกันเป็นผลิตภัณฑ์หรือบริการใหม่ หรือการคิดสร้างสรรค์ของอย่างหนึ่งให้สามารถใช้งานได้สองอย่าง

A  – Adaptation เทคนิคการดัดแปลง คือ การดัดแปลงสิ่งหนึ่งเพื่อใช้ประโยชน์ในอีกวัตถุประสงค์หนึ่ง

M  – Modification การปรับให้เหมาะสมตามความต้องการ คือ การปรับรูปลักษณ์ การทำงาน การใช้งาน กลิ่น สี รสชาติ ขนาด บรรจุภัณฑ์และอุณหภูมิ เพื่อให้ถูกใจผู้ใช้บริการที่มีความต้องการและบริการที่หลากหลาย

P  – Putting in another use เทคนิคการนำไปใช้ในอีกวัตถุประสงค์ คือ การนำสิ่งหนึ่งไปใช้ในอีกวัตถุประสงค์หรือสถานการณ์หนึ่ง โดยไม่ได้ดัดแปลงหรือเสริมแต่ง

E  – Elimination เทคนิคการลด เลิก กำจัด ตัดออก คือ การลด เลิก กำจัด หรือตัดขั้นตอนบางส่วนออกไป เพื่อให้ก่อการสร้างสรรค์สินค้าและบริการที่สะดวก รวดเร็ว และประหยัดมากขึ้น

R  – Rearrangement/Reversal เทคนิคการจัดแบบใหม่ การทำกลับกัน การทำตรงกันข้าม คือ การคิดสร้างสรรค์ในการแก้ปัญหาหรือพัฒนาให้ดีขึ้นโดยการจัดรูปแบบใหม่ การปรับแผนใหม่ จัดผังใหม่ จัดกลุ่มใหม่ จัดเรียงหรือลำดับใหม่ ทำกลับกันหรือทำตรงกันข้าม

การแก้ไขปัญหาด้วยความคิดสร้างสรรค์ จึงเป็นทักษะที่สำคัญและน่าเรียนรู้อย่างยิ่งสำหรับมนุษย์ในยุคปัจจุบันนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งโลกธุรกิจที่ต้องมีการแข่งขันอย่างเข้มข้น ซึ่งไม่สามารถคิดแบบเดิม ทำแบบเดิมและแก้ปัญหาแบบเดิม ต้องคิดใหม่ ทำใหม่และแก้ปัญหาใหม่ เพื่อความเหนือกว่าหรืออย่างน้อยก็เพื่อความอยู่รอดทรัพยากรมนุษย์ในศตวรรษ 21จำเป็นต้องมีทักษะการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาตน พัฒนางานพัฒนาหน่วยงาน พัฒนาผลงานและสร้างนวัตกรรม ซึ่งนำไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมรวมถึงการพัฒนาประเทศให้ก้าวหน้าและทันสมัย.

ข้อมูลอ้างอิง:- ‘Creative Problem Solving’ /ผศ.ดร.เมธาวุฒิ พีรพรวิทูร และ อ.นันทรัตน์ พรหมเมฆประทาน. –[ThaiMOOC]

Visits: 195

Comments

comments

Back To Top