Author: Suwat Kertmanee

การแก้ไขปัญหาเรื่องการใช้ความคิดสร้างสรรค์ – Creative Problem Solving

การแก้ไขปัญหาด้วยความคิดสร้างสรรค์เป็นการพัฒนาความรู้และทักษะการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ซึ่งเป็นทักษะที่ได้รับการประเมิน ว่าเป็นหนึ่งในทักษะที่สำคัญที่สุดของทรัพยากรมนุษย์ในศตวรรษนี้ ไม่ว่าจะเป็นการดำรงชีวิตในสังคม การประกอบอาชีพหรือการทำงานในหน่วยงาน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชนหรือภาคสังคม ความหมายของคำว่า “ความคิดสร้างสรรค์” Creative Thinking Concept             ความคิดสร้างสรรค์มักนำไปสู่การสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ ออกมาอยู่เสมอ โดยความคิดสร้างสรรค์เกิดจากกระบวนการคิดสิ่งใหม่ที่ดีกว่าหรือแก้ปัญหาได้ดีกว่าเดิมนำไปสู่กระบวนการผลิตเป็นผลิตภัณฑ์หรือการบริการเป็นบริการใหม่ ความแตกต่างระหว่างความคิดสร้างสรรค์และการคิดวิเคราะห์ ความคิดสร้างสรรค์ เกิดจากกระบวนการคิดแบบแยกส่วนหรือแตกความคิดให้ได้ความคิดใหม่มากในที่สุด ส่วนการคิดวิเคราะห์แบบรวมส่วนเพื่อวิเคราะห์และตัดสินใจเลือกตัวเลือกที่ดีที่สุดมักใช้ในกระบวนการแก้ปัญหา แหล่งที่มาของความคิดสร้างสรรค์ Sources of Creativity             ความคิดสร้างสรรค์มักมีบ่อเกิดหรือแหล่งที่มาอยู่ 5 ประการด้วยกัน ได้แก่ 1. ปัญหา 2. ความท้าทาย 3. ความฝัน 4. ฉันทะ และ 5. สถานการณ์ เทคนิคในการกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์ ทฤษฎีหรือเทคนิคที่สำคัญเทคนิคหนึ่งที่นำมาศึกษา ประยุกต์ใช้ให้คนเราได้มีความคิดสร้างสรรค์ได้แก่เทคนิคที่เรียกว่า “SCAMPER Technique” ซึ่งคิดค้นโดยอเล็กซ์ ออสบอร์น โดยเทคนิค SCAMPER เป็นชื่อย่อมาจากความหมายแต่ละตัวอักษรตามลำดับ ดังนี้ S  –  Substitution เทคนิคการทดแทน […]

สาระน่ารู้กำปั้นโลก : 4 สถาบันหลักของวงการมวยโลก

หลังจากเคร่งเครียดกับเรื่องราวเชิงวิชาการซะส่วนใหญ่ในระเบียงบรรณปันสาระ ลองมาผ่อนคลายกับเรื่องราวเบา ๆ กันบ้างดีกว่าครับ ซึ่งขอนำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับวงการกีฬาระดับโลก นั่นก็คือ วงการมวยสากลอาชีพ หลาย ๆ คน โดยเฉพาะส่วนใหญ่ก็มักจะเป็นผู้ชายที่ชื่นชอบกีฬาชนิดนี้ (แต่ก็มีผู้หญิงจำนวนไม่น้อยที่แอบชื่นชอบกีฬาชนิดนี้อยู่เหมือนกัน) ดังนั้น วันนี้ผมจะพาทุกท่านมาทำความรู้จักกับสถาบันมวยโลกหลัก ๆ ที่เป็นที่ยอมรับกันว่าหากนักมวยสากลอาชีพคนใดสามารถก้าวขึ้นสู่ทำเนียบการเป็นแชมป์คว้าเข็มขัดของ 4 สถาบันนี้ในแต่ละรุ่นมาครองได้สำเร็จ นักชกคนนั้นก็จะถูกแฟนมวยทั่วโลกเรียกขานเค้าว่า “แชมป์โลก” งั้นเรามาทำความรู้จักสถาบันมวยโลกทั้ง 4 ย่อ ๆ กันพอหอมปากหอมคอกันสักนิดหน่อยดีกว่าว่ามีชื่อเสียงเรียงนามและความเป็นมาอย่างไรกันบ้าง โดยผมขอเรียงข้อมูลประวัติจากลำดับความเก่าแก่ของระยะเวลาที่ก่อตั้งสถาบัน ได้ดังนี้ 1) สมาคมมวยโลก World Boxing Association เรียกย่อๆว่า ‘ WBA ‘ 2) สภามวยโลก World Boxing Council เรียกย่อๆว่า ‘ WBC ‘ 3) สหพันธ์มวยนานาชาติ International Boxing Federation เรียกย่อๆว่า ‘ IBF ‘ 4) […]

การผลิตสื่อกราฟิกอย่างมืออาชีพ Graphic Design Crash Course

การผลิตสื่อกราฟิกอย่างมืออาชีพ จะทำให้ผู้ศึกษาได้เห็นภาพรวมของการออกแบบกราฟิกเพื่อการนำเสนอ ความหมาย องค์ประกอบและประโยชน์ของอินโฟกราฟิก ประเภทของอินโฟกราฟิก กระบวนการออกแบบอินโฟกราฟิก การสร้างอินโฟกราฟิกอย่างมีประสิทธิภาพ ข้อควรระวังในการออกแบบอินโฟกราฟิก โปรแกรมสำหรับการสร้างสื่อนำเสนออินโฟกราฟิก หลายคนคงได้ยินคำว่าอินโฟกราฟิก Infographic กันบ่อยมากในช่วงนี้ทั้งในเว็บไซต์เครือข่ายสังคมออนไลน์และสื่อสาธารณะทั่วไป Infographic มาจากคำ 2 คำ ผสมเข้าด้วยกัน คือ คำว่า Information และ Graphic ซึ่งหมายถึง การนำเสนอสารสนเทศที่มีการใช้ภาพกราฟิกมาแทนที่ข้อมูลตัวอักษรหรือตัวเลขเป็นการย่นย่อข้อมูล ตัวอักษรหรือตัวเลขจำนวนมากมาใช้ภาพกราฟิกในการสรุปเนื้อหาให้สั้นกระซับและเข้าใจง่ายเพียงกวาดตามองซึ่งเหมาะสำหรับคนในยุค IT ที่ต้องการเข้าถึงข้อมูลที่ซับซ้อนและมีจำนวนมากในเวลาอันรวดเร็วก่อนที่พวกเขาจะเบื่อหน่ายเสียก่อน ดังนั้นอินโฟกราฟิกจึงเปรียบเหมือนเป็นผู้ช่วยเข้ามาจัดการกับข้อมูล-ตัวเลข-ตัวอักษรที่เรียงรายเป็นจำนวนมากเหมือนยาขมให้กลายร่างมาเป็นภาพที่สวยงามการสร้างผลงานด้านอินโฟกราฟิกจึงถือเป็นการเปิดโอกาสให้กราฟิกดีไซเนอร์ได้แสดงทักษะการสื่อสารอย่างเต็มที่เพราะอันที่จริงแล้วการแปลงข้อมูลให้ออกมาเป็นภาพกราฟิกก็เป็นสิ่งที่คนทำกันมาตลอดไม่ว่าจะเป็นภาพถ่าย ภาพวาด กราฟิก กราฟรูปทรงต่าง ๆ ตาราง แผนที่ แผนผัง หรือไดอะแกรม แต่ทักษะทางด้านอินโฟกราฟิกนั้น จำเป็นต้องจัดระเบียบข้อมูล ที่ทั้งมากและหลากหลาย ให้จบได้ในภาพเดียว ประโยชน์ของภาพอินโฟกราฟิก                 ภาพอินโฟกราฟิกที่ดีย่อมสามารถถ่ายทอดเนื้อหาความรู้หรือข่าวสารต่างๆให้ผู้ดูภาพรับรู้ข้อมูลที่ผู้ถ่ายทอดต้องการจะสื่อสารไปยังผู้ดูภาพจากการมองภาพเพียงภาพเดียวซึ่งหลักการนี้สามารถที่จะนำไปประยุกต์ให้เกิดประโยชน์ได้อย่างมากมาย เช่น การนำเสนอเนื้อหาที่ยากต่อความเข้าใจให้เป็นข้อมูลที่เข้าใจได้ง่าย การถ่ายทอดเนื้อหาที่เป็นนามธรรมให้เป็นรูปธรรม การโฆษณาสินค้า บริการต่างๆ รวมไปถึงการอธิบายผลการสำรวจโพล์และผลงานวิจัย เป็นต้นโดยเฉพาะในด้านการศึกษาที่มีเนื้อหาประเภทที่ต้องการการอธิบายที่มีลักษณะเป็นนามธรรมผู้เรียนเข้าใจได้ยากและต้องการการอธิบายขั้นตอนอย่างกระชับรวดเร็ว นอกจากนี้ ยังสามารถใช้ในการนำเสนอเนื้อหาที่เน้นการเปลี่ยนแปลงทางเจตคติเพื่อรณรงค์ให้ผู้เรียนเกิดการเปลี่ยนแปลงทางความคิดและพฤติกรรม ตัวอย่างของอินโฟกราฟิกที่น่าสนใจอย่างเช่นภาพอินโฟกราฟิก การให้บริการเครือข่ายไร้สาย Jumbo Plus ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ตัวอย่างอินโฟกราฟิกเรื่อง รู้สู้ Flood ที่ให้ความรู้ในเรื่องของการเตรียมพร้อมรับมือกับสภาวะน้ำท่วมอย่างมีสติและเข้าใจมีเนื้อหาและวิธีการอธิบายที่เข้าถึงชาวบ้านประชาชนอย่างรวดเร็วโดนใจกลุ่มวัยรุ่นหรือเยาวชนในยุคดิจิตอลและให้ความสำคัญเรื่องน้ำท่วมว่าเป็นอย่างไรและตัวอย่างอินโฟกราฟิกที่ได้รับความนิยม Did you Know? ที่ให้ความรู้ในเรื่องต่างๆ ที่อยู่ในความสนใจของผู้คนโดยเฉพาะในเรื่องการสถิติต่างๆ ประเภทของอินโฟกราฟิก                 เราจึงแบ่งประเภทของอินโฟกราฟิกออกได้เป็น 3 ประเภท คือ 1. อินโฟกราฟิกที่แบ่งตามความสลับซับซ้อน 2. การแบ่งตามการออกแบบเลย์เอาท์ Layout 3. การแบ่งตามวัตถุประสงค์ในการใช้งาน                 โดยแต่ละประเภทมีรายละเอียดอย่างไรกันบ้าง ตามมาอ่านกันได้เลยครับ ประเภทที่ 1 อินโฟกราฟิกที่แบ่งตามความสลับซับซ้อน                 โดย Randy Krum กล่าวไว้ในหนังสือ Cool Infographics Effective Communication with Data Visualization and Design ซึ่งแบ่งได้เป็น 6 ลักษณะดังนี้ครับ 1. ภาพนิ่ง เป็นแบบที่เรียบง่ายและพบเห็นได้ทั่วไปมากที่สุดนิยมเผยแพร่ออนไลน์โซเชียลมีเดียต่างๆ หรือ พิมพ์ลงกระดาษมักอยู่ในรูปของไฟล์ JPG PNG GIF และ PDF เป็นต้น 2. ซูมมิ่ง เป็นแบบที่เพิ่มส่วนต่อประสานเข้าไปอีกชั้นเพื่อให้เกิดการโต้ตอบกับอินโฟกราฟิก คุณสมบัติหลักของงานประเภทนี้ คือ การอนุญาตให้ผู้ใช้สามารถเข้าไปดูเพื่ออ่านรายละเอียดของข้อมูลเนื้อหาได้มักพบในการออกแบบดิจิตัลแบนเนอร์ หรือโปสเตอร์ใหญ่ๆ ข้อได้เปรียบของอินโฟกราฟิกประเภทนี้ […]

จิตวิทยาข้ามวัฒนธรรมในที่ทำงาน Cross-Cultural Psychology at work

โลกทุกวันนี้ไม่ว่าอยู่กันไกลแค่ไหนก็เหมือนจะมาบรรจบใกล้กัน โดยเฉพาะมนุษย์ในทุกวันนี้เราจะเห็นว่าทุกชาติทุกเผ่าพันธุ์ทุกภาษาก็มีโอกาสที่จะได้มาพบกันโดยเฉพาะในสถานที่ทำงานไม่ว่าจะเป็นองค์กรภาครัฐหรือองค์กรภาคเอกชน ดังนั้น การศึกษาเรื่องการข้ามวัฒนธรรมโดยในเฉพาะในแง่จิตวิทยาจึงเป็นเรื่องที่ทวีความสำคัญขึ้นมาเรื่อย ๆ แบบที่ว่าควรจะหันมาศึกษาอย่างจริงจังก็ว่าได้ ความหมาย ความสำคัญ และอิทธิพลของวัฒนธรรมของชาติต่อการทำงานร่วมกันของบุคคลในที่ทำงาน ความเชื่อในชาติพันธุ์นิยม ความฉลาดทางวัฒนธรรมและสมรรถนะทางวัฒนธรรมของบุคคล การสื่อสารและความสัมพันธ์ข้ามวัฒนธรรมในที่ทำงานและการบริหารจัดการความขัดแย้ง วัฒนธรรมองค์กร ผู้นำและการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ล้วนเป็นประเด็นที่น่าสนใจและควรศึกษาเอาไว้ทั้งนี้ก็เพื่อที่ว่า 1. เข้าใจถึงเรื่องแนวคิดของวัฒนธรรมของชาติและความสำคัญของการศึกษาวัฒนธรรมของชาติในที่ทำงาน 2. เข้าใจเรื่องปัจจัยทางวัฒนธรรมในระดับบุคคลที่สำคัญต่อการทำงานร่วมกับบุคคลจากวัฒนธรรมที่แตกต่าง 3. เข้าใจเกี่ยวกับการสื่อสารและความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลที่สำคัญในวัฒนธรรมที่แตกต่าง 4. เข้าใจถึงองค์ประกอบขององค์กรที่สำคัญต่อการทำงานร่วมกับบุคคลจากวัฒนธรรมที่แตกต่าง ทีนี้เราก็ควรที่จะมาทำความรู้จักเกี่ยวกับลักษณะหลักของวัฒนธรรมกันก่อน วัฒนธรรม คือ ชุดของวัตถุที่มนุษย์จัดทำขึ้น ทัศนคติ ค่านิยม ความเชื่อ และพฤติกรรมของกลุ่มคน แต่อาจจะมีความแตกต่างกันออกไปในรายบุคคล ซึ่งถูกสื่อสารและถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่น (Matsumoto, 1996)  ลักษณะหลักของวัฒนธรรม โดยมีอยู่ 4 ประการด้วยกัน ดังนี้ 1. วัฒนธรรมเกิดจากการเรียนรู้ 2. วัฒนธรรมเป็นสิ่งที่มีร่วมกัน 3. วัฒนธรรมมีการเปลี่ยนแปลง 4. วัฒนธรรมมีความเชื่อมโยง             วัฒนธรรมเป็นแบบแผนที่ซับซ้อนของความคิด อารมณ์ และการประจักษ์ที่สังเกตเห็นได้แล้วที่เป็นสัญลักษณ์ โดยวัฒนธรรมนี้สามารถแบ่งออกเป็น 6 ระดับตามระดับของกลุ่มการมีปฏิสัมพันธ์ของมนุษย์ ดังนี้ 1.วัฒนธรรมระดับชาติ (National Culture) […]

เทคนิคการนำเสนออย่างมีประสิทธิภาพ

คุณเคยเจอกับสิ่งเหล่านี้กับตัวเองกันบ้างไหม? เมื่อต้องสวมบทบาทหรือรับหน้าที่ในการนำเสนอเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่ได้รับมอบหมายจากภาระหน้าที่การงานต่อผู้บริหาร ที่ประชุม หรือต่อห้องจัดสัมมนาที่มีกลุ่มผู้ฟังนั่งฟังอยู่กันเป็นจำนวนมาก ๆ             “รู้สึกตื่นเต้น, กลัวประหม่าไม่กล้านำเสนอ, ขาดความมั่นใจในตัวเอง, นำเสนอแล้วไม่มีใครฟังเพราะขาดพลังในการนำเสนอ, สื่อที่เตรียมมาไม่น่าสนใจ, จูงใจผู้ฟังไม่ได้เพราะขาดเทคนิคในการนำเสนอ และอื่น ๆ ฯลฯ “             หากสิ่งที่กล่าวมาข้างต้น เราเจอหรือประสบแล้วจะทำยังไงดีละที่จะทำให้สิ่งต่าง ๆ เหล่านั้นหมดไป ทำให้ตัวเราเป็นคนที่นำเสนอได้อย่างมีพลัง มีเสน่ห์ และดึงดูดใจผู้ฟังได้เหมือนกับต้องมนต์สะกด งั้นเรามาเรียนรู้เทคนิคดี ๆ ในการนำเสนอได้อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นมืออาชีพกันเถอะ ลองมาดูกันครับว่ามีเทคนติอะไรบ้าง             แต่ก่อนอื่น เรามาดูความหมายของคำว่า “การนำเสนอ” กันก่อน             การนำเสนอ หมายถึง กระบวนการถ่ายทอดข้อมูล ข้อเท็จจริง ความรู้ ความคิดเห็น และความต้องการของผู้นำเสนอต่อผู้ฟัง ไปจนถึงกลุ่มผู้ฟังจำนวนมาก โดยมีการกำหนดวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนในการนำเสนอเรื่องราวต่าง ๆ เพื่อความเข้าใจ และจูงใจให้ผู้ฟังเชื่อและเกิดความเข้าใจในระยะเวลาจำกัด โดยอาศัยเทคนิค สื่อหรืออุปกรณ์ต่าง ๆ ประกอบการนำเสนอ อันจะทำให้การนำเสนอนั้นประสบผลสำเร็จ การนำเสนอที่มีประสิทธิภาพ             การนำเสนอที่มีประสิทธิภาพย่อมเกิดจากองค์ประกอบหลายอย่างด้วยกัน ที่สำคัญก็ได้แก่ ผู้นำเสนอ ผู้ฟัง สาร สื่อ และอุปกรณ์การนำเสนอ โดยมีรายละเอียดคร่าว ๆ […]

ภาษาไทยเพื่อการพัฒนาปัญญา

            กล่าวได้ว่าภาษามีความสำคัญยิ่งต่อสังคมมนุษย์เพราะภาษาเป็นลักษณะพิเศษที่แยกคนออกจากสัตว์ การสื่อสารด้วยเสียงพูดเท่านั้นย่อมไม่ทั่วถึง มนุษย์จึงต้องประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้นเพื่อแทนเสียงพูด ตัวอักษรจึงจัดเป็นสัญลักษณ์ประเภทหนึ่งเพราะสามารถสื่อสารเพื่อถ่ายทอดประสบการณ์ ความรู้สึกนึกคิดของตนเองให้แก่ผู้อื่นได้ในวงกว้าง             ลักษณะทั่วไปของภาษามีหลายประการ ที่สำคัญภาษาเป็นกลุ่มเสียงที่มีระบบและกฎเกณฑ์ กลุ่มของเสียงที่มนุษย์เปล่งออกมานี้จะต้องมีความหมายตามที่คนในสังคมได้ตกลงรับรู้กัน ดังนั้นภาษาจึงไม่ใช่เรื่องของสัญชาตญาณ เช่น การเดิน วิ่ง นั่ง ร้องไห้ ตกใจ กลัว หัวเราะ ดีใจ แต่ภาษาเป็นสิ่งที่ต้องเรียนรู้และใช้ให้ถูกต้องเพื่อช่วยให้การดำเนินชีวิตประจำวันเป็นไปด้วยความราบรื่น             สำหรับภาษาไทยของประเทศเรานั้น เริ่มเป็นหลักเป็นฐานอย่างชัดเจนก็สมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราชแห่งกรุงสุโขทัยที่ได้ทรงประดิษฐ์ตัวอักษรบันทึกไว้ในหลักศิลาจารึกอย่างที่เรา ๆ ได้เรียนและทราบกันมา ภาษาไทย เป็นภาษาในตระกูลไท หรือไต มีทั้งเสียงพูดและตัวอักษรเพื่อสื่อสารให้คนในชาติได้เข้าใจกันได้อย่างรวดเร็ว ลักษณะทั่วไปของภาษาไทย คือ ภาษาไทยจะเป็นคำโดด นั่นก็คือว่าคำเดิมของไทยส่วนใหญ่เป็นคำพยางค์เดียว มีการเรียงประโยคแบบประธาน+กริยา+กรรม ภาษาไทยเป็นภาษาที่มีเสียงวรรณยุกต์ เสียงวรรณยุกต์เป็นเสียงสำคัญเช่นเดียวกับเสียงสระและเสียงพยัญชนะ เพราะเสียงวรรณยุกต์ทำให้ความหมายของคำแตกต่างกัน (เสียงวรรณยุกต์ของภาษาไทยเปรียบได้เหมือนกับเสียงดนตรี) นอกจากนั้นภาษาไทยยังมีการแบ่งพยัญชนะออกเป็น 3 ประเภท คือ อักษรสูง อักษรกลาง และอักษรต่ำ ด้วยเหตุที่ภาษาไทยมีเสียงวรรณยุกต์นี้ จึงทำให้คนไทยสามารถออกเสียงภาษาต่างประเทศได้ใกล้เคียงกับเจ้าของภาษา อีกทั้งยังสามารถใช้เลียนเสียงธรรมชาติในคำต่าง ๆ เพื่อให้เกิดมโนภาพได้ชัดเจนประการหนึ่งด้วยนั่นเอง             วิชาภาษาไทยเพื่อการพัฒนาปัญญาเป็นรายวิชาใน ThaiMOOC ที่เราจะได้เรียนรู้การใช้ภาษาไทยเพื่อการสื่อสารและนำมาพัฒนาศักยภาพของตนเอง โดยใช้ทักษะในการฝึกฝนที่สำคัญ […]

Back To Top