Learning how to learn ชวนมาติดตามเทคนิคการเรียนรู้แบบต่าง ๆ เช่น การเรียนรู้แบบสมอง 2 โหมด การเรียนรู้แบบ “Pomodoro” หรือ“มะเขือเทศ” ลองมาติดตามกันดูครับ การเรียนรู้ด้วยสมอง 2 โหมด Learning how to learn เป็นการปรับเปลี่ยนความคิด (mindset) ให้ตระหนักถึงความสำคัญของการเรียนรู้เพิ่มพูนความรู้อย่างสม่ำเสมออย่างมีประสิทธิภาพจากแหล่งความรู้ที่เชื่อถือได้ ในการสร้างการเรียนรู้ สมองของเราสามารถจะเรียนรู้และจดจำสิ่งต่าง ได้จาก สมอง 2 โหมด คือ Focused Mode  หรือ โหมดจดจ่อ  เป็นการเรียนรู้ โดยใช้ทักษะจากที่เราเราเคยทำมาก่อนแล้ว  มีรูปแบบ มีที่  เราทำอยู่เป็นประจำอยู่แล้ว  เช่น การขับรถบนเส้นทางเดิม ๆ ที่เราทำประจำอยู่แล้ว ก็จะทำให้เราทำได้อย่างคล่องแคล่วว่องไว ไม่หลงไปไหน แต่ ก็จะทำให้เราขาดโอกาสในการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ DiffuseRead More →

Thai Journals Online (ThaiJO) เป็นระบบฐานข้อมูลวารสารอิเล็กทรอนิกส์กลางของประเทศไทย เป็นแหล่งรวมวารสารวิชาการที่ผลิตในประเทศไทยทุกสาขาวิชา ได้แก่ ThaiJO ได้รับการสนับสนุนจาก  วารสารวิชาการไทยที่ปรากฎใน ThaiJO จะพัฒนาอยู่บนระบบ OJS (Online Journal System) เดียวกันซึ่งพัฒนาโดย Public Knowledge Project (PKP) ขั้นตอนการสืบค้นข้อมูลจากฐานข้อมูล ThaiJo เข้าใช้งานได้ที่เว็บไซต์  https://www.tci-thaijo.org/ ผู้ใช้บริการสามารถสืบค้นข้อมูลได้จาก ชื่อ บทความ และ ชื่อวารสาร 2. การค้นจากชื่อวารสาร Hits: 525Kritsana SatapongRead More →

“ทุ่นกักเก็บขยะลอยน้ำ ช่วยกักเก็บขยะลอยน้ำในทะเล โดยขยะจะไม่หลุดลอยออกนอกทุ่นตามการเปลี่ยนแปลงของกระแสน้ำ รองรับขยะได้สูงสุดถึง 700 กิโลกรัม” การลดปริมาณขยะก่อนออกสู่ท้องทะเล ในปัจจุบัน ทั่วโลกกำลังประสบปัญหากับปริมาณขยะที่มีมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง และ ขยะเหล่านั้นก็ยังไหลลงทะเลอย่างต่อเนื่อง  หลาย ๆ หน่วยงาน ทั้งภาครัฐและเอกชน ได้หันมาให้ความสนใจในการสร้างทุ่นกักขยะ  ได้แก่ “ต้นแบบทุ่นกักขยะลอยน้ำ” (SCG – DMCR Litter Trap) ซึ่งเป็นนวัตกรรม เพื่อลดปัญหาขยะในทะเล ซึ่ง เอสซีจีร่วมกับกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช) ได้พัฒนา “ต้นแบบทุ่นกักขยะลอยน้ำ” (SCG – DMCR Litter Trap) โดยธุรกิจเคมิคอลส์ เอสซีจี ได้นำท่อ PE100 คุณภาพสูงของเอสซีจี ที่เหลือใช้จากการทดสอบขึ้นรูป ซึ่งคุณสมบัติแข็งแรงคงทนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มาพัฒนาเป็นอุปกรณ์ติดทุ่นกักขยะลอยน้ำของ ทช. จุดเด่นของทุ่นดักเก็บขยะลอยน้ำ มีตะแกรงฝาเปิด-ปิด ป้องกันขยะไหลย้อนออกจากทุ่น มีตาข่ายรอง ป้องกันการหลุดลอยของขยะจากอิทธิพลน้ำขึ้นน้ำลง ทุ่นลอยน้ำRead More →

การจัดการขยะที่ถูกวิธีดีต่อเราและดีต่อโลก คิดก่อนซื้อ ซื้อให้น้อย ใช้อย่างพอดี ปฏิเสธสิ่งไม่จำเป็น 8R เป็นวิธีการที่จะช่วย ให้โลกของเราน่าอยู่ น่าอาศัย และ ช่วยลดการเกิดก๊าซเรือนกระจก  หากเราสามารถนำหลัก 8R มาใช้ในการจัดการขยะในชีวิตโดยการลดการบริโภคตั้งแต่ต้นทาง การใช้ข้าวของเครื่องใช้ให้คุ้มค่ามากที่สุด ไม่บริโภคเกินจำเป็น ลองมาทำความรู้จักกับหลักการจัดการขยะซึ่งประกอบด้วย  Rethink, Refuse, Reuse, Reduce, Repair, Regift, Recycle, Recover  WULibrary Challenge การจัดการขยะด้วยหลัก 8R Rethink   “คิดแล้วคิดอีก คิดให้ดีก่อนซื้อ” ลองถามตัวเราเองก่อนว่า สิ่งของที่เราจะซื้อ จำเป็นขนาดไหน เราต้องการจริง ๆ หรือไม่   เราซื้อแล้วคุ้มค่าหรือเปล่า เราจะได้ใช้จริง ๆ ไม่ใช่นำมากองไว้  รวมทั้งของอาหารต่าง ๆ  ถ้าเราซื้อมากินแล้วกินไม่หมด มันก็จะกลายเป็นขยะอาหารเหลือทิ้ง ที่สร้างปัญหาให้กับโลกเราได้เช่นกัน  ซึ่งหากรู้จักคิดก่อนซื้อ ก็จะช่วยลดการการใช้พลังงานในการกำจัดขยะ ลดการผลิตใหม่Read More →

ความคิดสร้างสรรค์ ( Creative Thinking )  เป็นกุญแจสำคัญสู่การพัฒนาอันยั่งยืน เคล็ดลับในการมีความคิดสร้างสรรค์  คือ  อย่าหยุดคิด แต่อาจพักได้บ้าง ความคิดสร้างสรรค์ มาจากไหน? จากพรสรรค์  อัจฉริยะ มาตั้งแต่เกิด จากพรแสวง   การฝึกคิดอย่างสร้างสรรค์บ่อย ๆ  ฝึกอ่าน ฝึกเขียน ฝึกพูด  ฝึกลงมือทำ     จนเกิดเป็นความคิดสร้างสวรรค์ สิ่งจำเป็นที่ต้องมี เพื่อเตรียมรับกับความคิดสร้างสรรค์ คือ เชื่อมั่นในตนเองว่าเราทำได้  อย่าปิดกั้นความคิด อย่าหยุดคิด อ่านให้มากจะได้มีไอเดีย มองประโยชน์ที่เกิดขึ้นในอนาคต มีทิศทางที่ชัดเจน เราได้อะไรจากความคิดสร้างสรรค์ การทำงานที่รวดเร็วขึ้น  ในงานประจําหากปรับเล็กน้อย ฝึกสังเกตุ ฝึกคิดจะสามารถทํางานได้ดีขึ้น รวดเร็วเร็วขึ้น  ลดขึ้นตอนในการทำงาน ทำให้เกิดชิ้นงานใหม่ ๆ จินตนาการ ทําให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ คนเราจะมีความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมได้  ต้องรู้จักว่าเราต้องการทำอะไร  นำเสนอชิ้นงานลักษณะไหน  ดังนั้นแล้ว ก่อนจะเป็นนักคิด นักสร้างสรรค์ความคิด เพื่อออกแบบนวัตกรรมในการทำงานขึ้นมา Read More →

การสื่อสารเพื่อความเข้าใจร่วมกัน” เป็นกุญแจดอกสำคัญ ในการดำรงอยู่ด้วยกันอย่างมีความสุข บนหลักของ ความเคารพ ความแตกต่าง ความหลากหลาย ด้วยจุดยืนที่สร้างสรรค์ “๊WU014 ภาษาไทยเพื่อการสื่อสารร่วมสมัย” องค์ประกอบของการสื่อสารร่วมสมัย ผู้ส่งสาร (Transmitter, Source, Sender, Originator) คือ แหล่งกำเนิดของสารที่เกี่ยวกับความคิด เหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นแล้วส่งต่อไปยังผู้รับสาร ซึ่งการสื่อสารจะบรรลุผลได้นั้นทั้งผู้ส่งสารและผู้รับสารต้องมีทักษะในการสื่อสาร (Communication Skills) ทัศนคติ (Attitude) และระดับความรู้(Level of Knowledge) ในระดับเดียวกัน หรือใกล้เคียงกัน และอยู่ในระบบสังคม (Social System) และวัฒนธรรม (Culture) เดียวกัน สาร (Message)  คือ เรื่องราวที่ผู้ส่งสารส่งไปยังผู้รับสาร อาจจะเป็น ความคิดหรือเรื่องราว ทั้งวัจนภาษา และอวัจนภาษา องค์ประกอบของสารมี 3 ประการ คือ สัญลักษณ์ของRead More →

ขั้นแรกในการเปิดมุมมองและทัศนะใหม่ ๆ คือต้องละวางการตัดสินใจที่อยู่ในใจของเราก่อนและต้องมีความเข้าอกเข้าใจผู้อื่น “Empathy” การสร้างมุมมองและทัศนะใหม่ ๆ เริ่มต้นด้วยการสำรวจมุมมองในมุมของตนเองในแต่ละพฤติกรรมก่อน แล้วจึงนำความเข้าใจตัวเองนั้น ไปประยุกต์ใช้กับการสื่อสารในการการทำงานและชีวิตประจำวัน ซึ่งสิ่งที่จำเป็นมากที่สุดคือการสร้างความเข้าอกเข้าใจ “Empathy” ด้วยการละวางคำตัดสินในใจ ถ้าเราเอามุมมอง ความรู้สึกของเราไปวัดคนอื่น ว่ามันใช่ หรือ ไม่ใช่ ไปเปรียบเทียบกับคนอื่น เมื่อเกิดสิ่งเหล่านี้ในใจเรา ก็จะทำให้เกิดความคิดตัดสินใจคนอื่นทันที  มัก จะมีคำว่า ทำไมไม่ทำแบบนี้  ทำไมเป็นแบบนี้  น่าจะทำอย่างนี้นะ  ไม่ไหวเลยนะทำแบบนี้  ถ้าเป็นเราจะทำแบบนี้ ดังนั้นจะต้องลดคำตัดสินใจในใจลงก่อน  ซี่งเป็นประตูบานใหญ่ในการโอบรับความรู้สึกของคนอื่น หากเรามีคำตัดสินในใจ เท่ากับเราปิดประตูในการเปิดรับ การสร้าง Empathy  Empathy  เป็นส่วนซ้อนทับความรู้สึกระหว่างคนสองคนเราและอีกคน เป็นเรื่องมุมมองความคิดต่าง  ๆ ที่มีส่วนร่วมด้วยกัน การสร้าง Empathy  สามารถสร้างได้ด้วยการสังเกต การถามด้วยคำถามปลายเปิดและคำถามปลายปิด เพื่อให้รับรู้ว่าเราเข้าใจเขาถูกต้อง ดังนั้นการสร้างมุมมองและทัศนะใหม่ ๆ (Adopting different perspectives)    คือ Read More →

การเป็นอินฟลูเอนเซอร์ (Influencer) ต้องมีความอดทนและความพยายามอย่างมาก เพราะคนยังไม่รู้จักเราและเรายังเป็นมือใหม่คอนเทนต์ที่ทำออกมาอาจยังมีข้อบกพร่องอยู่หรือไม่โดนใจผู้ติดตาม เราต้องทุ่มเทและปรับปรุงพัฒนาตนเองอยู่ตลอดเวลา สักวันเราก็จะประสบความสำเร็จเป็น “อินฟลูเอนเซอร์” ที่มากด้วยประสบการณ์และมีผู้ติดตามจำนวนมากในที่สุด การเป็นอินฟลูเอนเซอร์ (Influencer) ที่ดีต้องคุณสมบัติอย่างไรบ้าง 1. มีสไตล์ของตัวเอง           การเป็นอินฟลูเอนเซอร์ สิ่งที่จำเป็นประการแรกคือ ต้องเป็นคนที่มีสไตล์ของตัวเอง เพราะคนส่วนใหญ่ที่ติดตามเรามักจะติดตามจากตัวตนของเราเป็นสำคัญ เช่น เป็นคนเฮฮา สนุกสนาน จริงจัง หรือรักสวย รักงาม  เป็นต้น 2. มีความน่าเชื่อถือ            การเป็นอินฟลูเอนเซอร์ ถึงจะเป็นอินฟลูเอนเซอร์สายตลกเฮฮา สนุกสนาน แค่ไหนเราก็ต้องมีขอบเขตของความตลก รู้จักกาลเทศะ หากไม่มีขอบเขตเลย อาจจะมีคนชอบแค่ช่วงแรกๆ แต่นาน ๆ ไปผู้ติดตามอาจจะลดลงเพราะทำตัวไม่เหมาะ ถ้ามากเข้าก็อาจถึงขั้นอาจโดนชาวเน็ตแบน ก่อให้เกิดความเสียหายต่อชื่อเสียง และการทำงานได้ ดังนั้นถ้าจะให้ข้อมูลต่าง ๆ กับผู้ติดตาม ก็ต้องเป็นข้อมูลที่ถูกต้อง และน่าเชื่อถือ 3. มีความใส่ใจในการทำคอนเทนต์            การเป็นอินฟลูเอนเซอร์นอกจากมีความเป็นตัวตนของอินฟลูเอนเซอร์แล้ว สิ่งที่จะทำให้คนติดตามคือคอนเทนต์ ไม่ว่าจะในรูปแบบภาพ คลิปวิดีโอRead More →

“การฟังอย่างใส่ใจ (Active Listening) เป็นทักษะที่สำคัญมาก ในการสื่อสาร การทำงาน การใช้ชีวิต ให้มีประสิทธิภาพ หากเราเรียนรู้ ที่จะฟัง  เราก็จะได้ความรู้” การฟังอย่างใส่ใจ รายวิชานี้มุ่งเน้นให้เกิดความตระหนักถึงความสำคัญของการฟังอย่างใสใจ ที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตและการทำงาน รวมไปถึงทำให้ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการฟังอย่างใส่ใจ รวมไปถึงการเรียนรู้ผ่านการดูตัวอย่างของการฟังอย่างใส่ใจ เพื่อให้เกิดทัศนคติที่ดีต่อการฟังอย่างใส่ใจ เพื่อที่จะนำความรู้เหล่านี้ไปใช้ในการทำงานและการดำเนินชีวิต                การฟังอย่างใส่ใจ โดยเอาใจเขามาใส่ใจเราแต่ไม่ได้เป็นทุกข์ตามการฟังเรื่องราวต่าง ๆ ของเพื่อน ๆ หรือ การฟังสื่อสังคมออนไลน์  ข้อแตกต่างระหว่างการฟังและการได้ยิน    ทักษะการฟังอย่างใส่ใจแสดงออกโดยการใช้คำพูด ได้แก่ การทวนความเข้าใจ การสรุปความ การแสดงความเข้าใจความรู้สึก / ความคิด  และ ทักษะการฟังอย่างใส่ใจแสดงออกโดยการใช้คำพูด ได้แก่ การถาม การใช้เทคนิคการสื่อสารทางจิตวิทยาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการฟัง                   ประโยชน์ที่ได้จากการเรียนรู้  เมื่อได้ศึกษา เรื่องการฟังอย่างใส่ใจอย่างละเอียดแล้ว  ทำให้รู้สึกว่า จากที่เราเคยคิดว่าเราเป็นผู้ฟังที่ดี  หรือ การฟังเป็นเรื่องง่าย  ๆ ใคร ๆRead More →

การพึฒนาตนเอง

My Journey : LifeLong  learning สำหรับตัวเองเลือกเรียนรู้ในสิ่งที่ต้องใช้ในการทำงานและเพิ่มทักษะในการดำเนินชีวิต อย่างที่เลือกเรียนทั้ง 5  รายวิชา เพราะเริ่มจากความสนใจว่า การเป็น “การเป็นอินฟลูเอนเซอร์”  จะต้องเพิ่มทักษะอะไรบ้าง ต้องเรียนรู้เพิ่มเติมด้านไหนบ้าง เพราะการทำงานในปัจจุบันได้ปรับเปลี่ยนจาการเป็นบรรณารักษ์ มาเป็นนักจัดการเนื้อหาสาระความรู้ต่าง  ๆ     Intro to Influencer : เส้นทางสู่การเป็นอินฟลูเอนเซอร์อินฟลูเอ็นเซอร์ (Influencer) เป็นผู้ผลิตสื่อออนไลน์, ผู้ประกอบอาชีพอิสระ, พนักงานสื่อกลางระหว่างลูกค้าและบริษัท (AE), พนักงานสื่อสารองค์กร (PR) ความคิดเห็นส่วนตัวมองว่ามีความคล้าย ๆ หรือใกล้เคียงกับภาระงานในปัจจุบัน ในการสร้างสรรค์เรื่องราวเนื้อหาสาระความรู้ต่าง ๆ เพื่อนำเสนอให้กับผู้ใช้บริการของเราอย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ และตรงกับความต้องการของผู้ใช้บริการ หรือ ผู้ที่ติดตาม Facebook / Page ซึ่งทักษะที่จำเป็น คือ การรู้และเข้าใจในศักยภาพ ความชอบของตัวเอง การมีมุมมองใหม่ ๆ รู้จักและเข้าใจหลักการสื่อสารRead More →

มาสร้างโลกของเราให้น่าอยู่ น่าอาศัย  ช่วยกันลดขยะให้เป็นศูนย์ หรือ สร้างขยะให้น้อยที่สุดเท่าที่จำเป็นด้วยหลัก 7R Reduce  Reuse  Recycle  Refuse Refill Repair และ Return  เมื่อเราเข้าใจอย่างถ่องแท้และยึดหลักการจัดการขยะแบบ 7R  ได้แล้ว อย่าลืมส่งต่อความรู้และหลักปฏิบัติให้กับสมาชิกในครอบครัว เพื่อนร่วมงาน และ เพื่อนร่วมโลก เพื่อสร้างสังคม ที่ปลอดขยะและสร้างโลกที่น่าอยู่ น่าอาศัย  ช่วยกันรักษาสิ่งแวดล้อมในโลกของเราให้คงอยู่แบบยั่งยืนตลอดไป 7R ลดขยะได้ง่าย ๆ เริ่มได้ที่ตัวเรา “7R ปลูกฝังแนวคิดลดขยะ เพื่อชีวิตแบบ Zer0 Waste”                 ขยะ  ขยะ  ขยะ  เชื่อว่าในทุก ๆ วัน  เราต้องสร้างขยะให้แก่โลกนี้นอน จากการดำเนินชีวิตประจำวันของ ไม่ว่าจะ แกงถุง  ซื้อสินค้าออนไลน์ ย่อมทำให้เกิดขยะมากขึ้นแน่นอน  เราอาจจะคุ้นชินกับหลัก 3R   ซึ่งได้แก่ Read More →

รวบเว็บไซต์ดาวน์โหลดภาพฟรี ไอคอน ภาพถ่าย เวกเตอร์ ภาพพื้นหลัง เป็นต้น สำหรับนักทำคอนเทนต์ ฟรี ไม่มีลิขสิทธิ์Read More →