Category: ห้องสมุด

แหล่งสารสนเทศประเภท Open Access เข้าใช้งานได้ฟรี

Open Access หรือเรียกกันสั้น ๆ ว่า OA คือสารสนเทศอันเป็นผลงานวิชาการในรูปแบบต่าง ๆ ทั้ง บทความวารสาร รายงานการวิจัย วิทยานิพนธ์ รายงานการประชุม ผู้ใช้สามารถสืบค้นและใช้งานได้ฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต  ระเบียงบรรณปันสาระมีแหล่งสารสนเทศประเภท Open Access ทั้งที่เป็น E-Book และ E-Journal  สามารถเข้าใช้งานได้ฟรี ดังนี้ DOAB : Directory of Open Access Books DOAB เป็นแหล่งสารสนเทศใช้ฟรี ประเภท E-Book (หนังสืออิเล็กทรอนิกส์)  ครอบคลุมสหสาขาวิชา  ทั้งทางด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ  วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ DOAJ  : Directory of Open Access Books Journals DOAJ เป็นแหล่งสารสนเทศใช้ฟรี ประเภท E-Journal (วารสารวิชาการอิเล็กทรอนิกส์) ครอบคลุมสหสาขาวิชา  ทั้งทางด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ  วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  […]

AI Writing Detection : ตรวจจับการเขียนด้วย AI

รายงานการตรวจระบุว่าข้อความส่วนใดบ้างที่สร้างขึ้นโดย AI และประโยคเหล่านั้นจะถูกเน้นด้วยสีน้ำเงินให้ทราบว่าส่วนใดบ้างที่อาจจะเขียนโดย AI มีเฉพาะ Instructor เท่านั้นที่จะเห็นรายงานผลการตรวจ AI Writing

ลบต้นฉบับออกจากคลัง Turnitin

ปัญหา self plagiarism เกิดจากการตั้งค่าเก็บเป็นต้นฉบับ การลบชิ้นงานออกจากคลังต้นฉบับของโปรแกรม Turnitin สามารถลบได้โดยผ่านชิ้นงานที่ส่งตรวจในห้องของ Instructor

PDCA การจองห้องฉายหนัง Mini theater

(P=Plan วางแผน) ด้วยศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษาไม่ได้รวมห้องจัดฉายภาพยนตร์ Mini theater 72 ที่นั่ง ในพื้นที่บริการศูนย์บรรรณสารและสื่อการศึกษา ชั้น 1 ให้จองห้องประชุมและการใช้งานผ่านระบบ Online Ebooking ของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ดังเช่น ห้องประชุมทางไกลระเบียงบรรณ 1 ห้องประชุมระเบียงบรรณ 2-3 ในพื้นที่เดียวกัน เนื่องจากจำเป็นต้องกลั่นกรองการใช้งานตามนโยบายของศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา บริหารจัดการใช้งานเฉพาะหน่วยงาน ดังเช่น ห้องประชุมระเบียงบรรณ 4 สงวนสิทธิ์รองรับภารกิจของหน่วยงาน จัดกิจกรรม ประชุม สัมนา ต้อนรับคณะเยี่ยมชม ใช้ห้องเพื่อสนับสนุนการเรียนการสอน ก่อนเป็นอันดับแรก การให้บริการห้องจึงยังเป็นระบบบริหารจัดการเฉพาะภายในหน่วยงาน และต้องมีเจ้าหน้าที่ควบคุมดูแลเมื่อมีการใช้ห้องทุกครั้ง เจ้าหน้าที่จะเป็นผู้รับคำขอใช้ห้อง โดยใช้เครื่องมือปฏิทิน Google calendar ที่สร้างขึ้นมาเพื่อใช้กันในเฉพาะฝ่ายส่งเสริมการเรียนรู้และให้บริการการศึกษา ตรวจสอบห้องว่างตามวันเวลาที่กำหนดเงื่อนไขในการให้บริการ และได้สร้าง Google form เพื่อบันทึกรับจอง รายงานสถิติการใช้งาน ให้เกิดการใช้ประโยชน์สูงสุด ต่อมาเมื่อมีการเปิดให้บริการกลุ่มนักศึกษาตั้งแต่ 10 คนขึ้นไปจองใช้บริการ เพื่อเพิ่มทักษะภาษาต่างประเทศ และเรียนรู้วัฒนธรรมนานาชาติจากการชมภาพยนตร์ จึงมีการขอใช้บริการห้องจัดฉายภาพยนตร์ Mini theater เพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก […]

มุมลึกลับในศูนย์บรรณฯ

อาคารบรรณสารและสื่อการศึกษา ที่ใครๆ เรียกติดปากว่า “ศูนย์บรรณฯ”เริ่มเปิดใช้เป็นทางการเมื่อปี พ.ศ. 2541 โดยย้ายมาจากอาคารวิจัย มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ (คนรุ่นเก่าเรียกว่า D4) เป็นหนึ่งในอาคารที่มีพื้นที่การใช้สอยมากอาคารหนึ่งในมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ศูนย์บรรณสารฯ เป็นตึก 3 ชั้น ซึ่งแน่นอนว่าจะมีการจัดสรรพื้นที่ แบ่งซอยห้องเล็กห้องน้อยออกไปทุกชั้น ผู้ใช้บริการบางท่านก็ไม่เคยใช้งาน ไม่เคยใช้พื้นที่ จนนักศึกษาบางคนเรียกว่ามุมลึกลับ เรามาดูกันว่าคำว่ามุมลึกลับในที่นี้ จริงๆ แล้วลึกลับเพราะมีเรื่องสยองขวัญซ่อนอยู่? หรือลึกลับเพราะผู้ใช้บริการเข้าไม่ถึง ไม่รู้จักกันแน่… งั้นเรามาทำความรู้จักมุมลึกลับ เริ่มไปจากชั้น 1 ห้องถัดไปจากเคาน์เตอร์บริการ ชั้น 1 จัดเป็นห้องมินิสตูดิโอบันทึกการเรียนการสอน Online ฝั่งตรงข้ามเป็นศูนย์จัดเก็บเอกสารกลางมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ งานหอจดหมายเหตุมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์รับผิดชอบดูแลพื้นที่ส่วนนี้ ส่วนลึกเข้าไปในชั้น 1 โซนห้องประชุมประเภทต่างๆ มี โรงหนัง 72 ที่นั่ง ซึ่งจะเปิดให้บริการเป็นหมู่คณะตามระเบียบการใช้งาน ข้างห้องน้ำหลังห้องประชุมระเบียงบรรณ 1 มีทางออกสู่เทอเรซ Terrace ที่นั่งอ่านชิคๆ ชมวิวหลักล้าน รองรับการใช้พื้นที่ส่งเสริมการเรียนรู้ 24 ชม. และสามารถขอใช้เป็นมุมจัดเลี้ยงอาหารและเครื่องดื่มได้ เมื่อมีการจัดประชุมที่ห้องประชุมระเบียงบรรณ 1-3 […]

ตามหาพิกัดจุดวางแผ่นศิลาฤกษ์

ตามหาพิกัดแผ่นศิลาฤกษ์มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ พิธีวางศิลาฤกษ์ คือ พิธีวางแผ่นศิลาจารึกเวลา วัน เดือน ปี อันเป็นมงคลที่เรียกว่า ดวงฤกษ์ แห่งการก่อสร้างไว้ ณ บริเวณสถานที่ก่อสร้างอาคารถาวรต่าง ๆ วัตถุประสงค์เพื่อเป็นสิริมงคลต่อการอยู่อาศัย มีความเจริญรุ่งเรือง มั่งคั่ง มั่นคง และอยู่เย็นเป็นสุขตลอดไปตามประเพณีโบราณ เพื่อให้เจ้าภาพและผู้รับจ้างก่อสร้างได้ร่วมประกอบพิธีศาสนาที่ตนเคารพนับถืออันจะเป็นการส่งเสริมความสามัคคีและเพิ่มพูนบุญกุศลต่อไป มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จัดพิธีวางศิลาฤกษ์การก่อสร้างมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เมื่อวันศุกร์ที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2539 เวลา 15.29-15.49 น. โดยสมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี เสด็จพระดำเนินเป็นองค์ประธานในพิธีวางศิลาฤกษ์ อาคารมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ณ พื้นที่ก่อสร้างอาคารบรรณสารและสื่อการศึกษา เป็นมณฑลพิธี (เนื่องจากห้องสมุดเป็นหัวใจ ของการศึกษา อาคารบรรณสารฯ อยู่ใจกลางมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์) และมีการฝังแผ่นศิลาฤกษ์ในบริเวณดังกล่าว ซึ่งปัจจุบันคือเสามุขระเบียงข้างร้านกาแฟเทอเรซ บริษัท สำนักงาน องค์กรใหญ่บางแห่งจะมีการฝังผนึกแผ่นศิลาฤกษ์ไว้ในผนังอาคาร หรือ ติดตั้งแท่นประดิษฐานไว้ในจุดที่ผู้คนเดินผ่านสัญจร เพื่อเป็น Landmark สำหรับมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ได้มีจัดเก็บแผ่นศิลาฤกษ์จำลอง ไว้ในหอจดหมายเหตุมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ […]

โครงการขนมล่อมด

ในช่วงก่อนสอบและระหว่างสอบปลายภาค ศูนย์บรรณสารฯ จะจัดกิจกรรมพิเศษกิจกรรมหนึ่งเรียกว่า “โครงการขนมล่อมด” ซึ่งเริ่มต้นจัดเมื่อปี พ.ศ. 2561 มีแนวคิดจากนักศึกษาต้องอ่านหนังสือเตรียมสอบต่อเนื่องเป็นเวลานาน และบรรยากาศการอ่านหนังสือที่หอพักไม่เอื้อต่อการใช้สมาธิ เช่น มีเสียงรบกวน และกลางคืนหาอาหารทานยาก ต้องใช้เวลาในการเดินทางออกจากห้องสมุดไปศูนย์อาหาร (ขณะนั้นยังไม่มีบริการส่งอาหาร และยังไม่มีร้านอาหารว่างเปิดบริการที่อาคารบรรณสารและสื่อการศึกษา) ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา ได้จัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านหนังสือช่วงสอบปลายภาค โดยได้รับงบประมาณสนับสนุนจากผู้บริหาร คณาจารย์ และหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัยร่วมสมทบทุนให้ศูนย์บรรณสารฯ จัดหาอาหารว่างและเครื่องดื่มร้อน-เย็น ให้นักศึกษาที่มาใช้บริการศูนย์บรรณสารฯ ช่วงขยายเวลา 17.00-24.00 น. มาเป็นเวลาหลายปี และนักศึกษาพึงพอใจในกิจกรรมนี้มาก และสถิติการเข้าใช้ห้องสมุดในช่วงเวลาดังกล่าวได้เพิ่มมากขึ้นด้วย ซึ่งต่อมาได้งดกิจกรรมพิเศษนี้ไปเนื่องจากมาตรการโควิด-19 ในภาคการศึกษาที่ 1/2565 เมื่อเปิดการเรียนการสอน Onsite 100 เปอร์เซ็นต์ ศูนย์บรรณสารฯ ได้กลับมาขยายเวลาเปิดบริการถึงเที่ยงคืนอีกครั้ง เพื่อให้นักศึกษาได้มีสถานที่เหมาะสมแก่การศึกษาค้นคว้า บรรยากาศเหมาะสมต่อการอ่านหนังสือเตรียมสอบ ซึ่งการให้บริการอาหารว่างและเครื่องดื่มก็จะปรับเปลี่ยนไปตามงบประมาณที่เปลี่ยนไป แต่ได้เพิ่มจุดบริการตู้น้ำดื่มร้อน-เย็น ขึ้นมาแทนทั้ง 2 ชั้น เพื่อให้นักศึกษาสะดวกต่อการชงเครื่องดื่มร้อน หรือต้มบะหมี่สำเร็จรูปด้วยตัวเองแทน และได้กลับมาจัดโครงการขนมล่อมดอีกครั้ง ล่อให้นักรบเตรียมพร้อมสู้ศึกสนามสอบกันตั้งแต่วันจันทร์ที่ 5 – 11 กันยายน 2565 Visits: 16Santat […]

30 ปี…เคาน์เตอร์บริการกับการเปลี่ยนแปลง รวมไปถึงพื้นที่ต่างๆ ภายในศูนย์บรรณสารฯ

👉 👉 กว่าทศวรรษเคาน์เตอร์บริการศูนย์บรรณสารฯ ที่ได้ปรับเปลี่ยนตลอด 🎯 เพื่อร่วมโอกาสครบรอบ 30 ปีสถาปนามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์มาดูกันสิว่า ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา ซึ่งเป็นหัวใจของมหาวิทยาลัยมีพัฒนาการเคียงคู่กับการเติบโตของมหาวิทยาลัยแห่งนี้อย่างไรบ้าง?อันดับแรกแอดมินนำเรื่องการเปลี่ยนแปลงของเคาน์เตอร์บริการหลักของศูนย์บรรณสารฯ เสนอเป็นเรื่องแรก เพราะเป็นสถานีแรกที่ทุกคนได้สัมผัสตั้งแต่ปีแรกที่เข้าเรียน ลูกเพจทันใช้บริการเคาน์เตอร์ยุคไหนกันบ้าง?🎯 Visits: 15Santat Sarakบรรณารักษ์

กว่าจะมาเป็นระบบ Virtual ID

กว่าจะมาเป็นระบบ Virtual ID การยืมคืนทรัพยากรสารสนเทศศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา สมาชิกทุกประเภทจะต้องยื่นบัตรแสดงตัวตนแก่เจ้าหน้าที่เพื่อยืนยันการเป็นสมาชิกสถานภาพปัจจุบัน จึงจะสามารถยืมหนังสือ ตำราเรียนต่างๆ ได้นักศึกษาทราบไหมว่า ก่อนจะมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์จะพัฒนามาใช้ระบบ Smart Library ระบบห้องสมุดอัตโนมัติของรุ่นพี่เป็นอย่างไร?เมื่อพ้นยุคการแสดงตัวตนด้วยบัตรนักศึกษาเมื่อยืมคืนหนังสือกับเจ้าหน้าที่ประจำเคาน์เตอร์ยืมคืนแล้ว ได้ปรับเปลี่ยนเป็นการแสดงตัวตนด้วยการสแกนลายนิ้วมือ เมื่อเปิดเทอมปีการศึกษาใหม่ นักศึกษาใหม่ต้องมาลงทะเบียนบันทึกลายนิ้วมือและถ่ายภาพลงในฐานข้อมูลเพื่อเชื่อมโยงกับระบบห้องสมุดอัตโนมัติ บันทึกการเข้า ออกศูนย์บรรณสารฯ ด้วยการ Scan ลายนิ้วมือ ดังในภาพเก่าที่นำมาแสดงให้เห็น ซึ่งใช้เวลาในการบันทึกข้อมูลสมาชิกใหม่ เป็นอันมาก ดังนั้นมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์จึงได้พัฒนาระบบ Smart card จากระบบอ่านข้อมูลจากแถบ Barcode มาเป็นระบบฝังชิพข้อมูล และเป็นระบบ RFID (Radio Frequency Identify) ในปัจจุบัน ทำให้สมาชิกห้องสมุดไม่ต้องต่อคิวรอใช้บริการยาวเหมือนในอดีต และมีภาพโปรไฟล์สวยหล่อปรากฎระบบคุณภาพดีกว่าระบบเก่า Visits: 6Santat Sarakบรรณารักษ์

WU Library ไม่ใช่ WU Book Center

ทุกปีจะพบว่านักศึกษาใหม่จะหลงไป WU Book Center เมื่อต้องการจะไปห้องสมุดมหาวิทยาลัย เพราะชื่อหน่วยงานมีคำว่า “Book” อยู่ ซึ่ง WU Book Center เป็นชื่อร้านหนังสือ จำหน่ายเครื่องแบบนักศึกษา หนังสือตำราเรียน เครื่องเขียน และหนังสือทั่วไป รวมทั้งของใช้จำเป็นในการเรียนมหาวิทยาลัย นับเป็นเรื่องไม่น่าแปลกใจ เพราะชื่อห้องสมุดมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ไม่ได้มีชื่อขึ้นต้นว่าห้องสมุดเหมือนห้องสมุดโรงเรียน ห้องสมุดมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์มีชื่อเป็นทางการว่า “ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา” หรือ The Center for Library resources and Education Media มีชื่อย่อหน่วยงานภาษาไทยว่า ศบส. ชื่อย่อภาษาอังกฤษว่า CLM มีอาคารแยกออกมาจากอาคารอื่นๆ เนื่องจากเป็นแหล่งบริการทรัพยากรสารสนเทศ ยังให้บริการผลิตสื่อการเรียนการสอนทุกรูปแบบ และให้บริการโสตทัศนูปกรณ์สนับสนุนการเรียนการสอน ตามที่อาจารย์นักศึกษาได้รับบริการตามห้องเรียนทุกอาคาร อีกไม่นานจะมีการปรับปรุงอาคาร นักศึกษาใหม่รหัสใหม่ปีหน้าอาจจะต้องไปใช้บริการ ณ อาคารอื่น คอยติดตามข่าวการย้ายหน่วยงานเร็วๆ นี้ Visits: 7Santat Sarakบรรณารักษ์

แนะนำการสืบค้นบทความและวารสารอิเล็กทรอนิกส์ฟรีจาก ThaiJO

Thai Journals Online (ThaiJO) เป็นระบบฐานข้อมูลวารสารอิเล็กทรอนิกส์กลางของประเทศไทย เป็นแหล่งรวมวารสารวิชาการที่ผลิตในประเทศไทยทุกสาขาวิชา ได้แก่ ThaiJO ได้รับการสนับสนุนจาก  วารสารวิชาการไทยที่ปรากฎใน ThaiJO จะพัฒนาอยู่บนระบบ OJS (Online Journal System) เดียวกันซึ่งพัฒนาโดย Public Knowledge Project (PKP) ขั้นตอนการสืบค้นข้อมูลจากฐานข้อมูล ThaiJo เข้าใช้งานได้ที่เว็บไซต์  https://www.tci-thaijo.org/ ผู้ใช้บริการสามารถสืบค้นข้อมูลได้จาก ชื่อ บทความ และ ชื่อวารสาร 2. การค้นจากชื่อวารสาร Visits: 1340Kritsana Satapong

รายงานผลการตรวจการคัดลอก (Similarity Report)

รายงานผลการตรวจการคัดลอกของต้นฉบับที่ส่งตรวจกับฐานข้อมูลโปรแกรม Turnitin พร้อมชี้แหล่งข้อมูลที่ซ้ำ แสดงรายการซ้ำแยกไฮไลท์เป็นแถบสีที่แตกต่างกัน เรียงลำดับตามเปอร์เซ็นต์ความซ้ำจากมากไปหาน้อย

Add Class & Add Assignment

• การตั้งค่าทั้งหมดเสร็จเรียบร้อยก่อนส่งงาน
• การตั้งค่า กำหนดค่าทั้งหมด ตรงตามความต้องการของ Instructor
• นักศึกษาส่งงานได้
• สามารถตรวจงานนักศึกษา ให้คะแนน แก้ไขแสดงความคิดเห็นผ่านรายงานผลการตรวจได้
• สามารถรู้ตัวเลขความซ้ำผลงานของนักศึกษาได้ รู้ว่ามีการคัดลอกมาหรือไม่ มากน้อยเพียงใด

Quick Submit & Submit Paper

• ส่งงานเข้าตรวจได้โดยไม่ต้องสร้าง Class & Assignment
• เหมาะกับการตรวจชิ้นงานของตัวเอง
• สามารถส่งตรวจชิ้นงานทั้งตัวเองและของคนอื่น ๆ ได้
• จัดเก็บรายงานผลการตรวจ จนกว่าจะมีการลบ

No Repository ไม่เก็บต้นฉบับกับโปรแกรม Turnitin

No Repository คือการตั้งค่าให้ทุกชิ้นงานที่ส่งเข้าตรวจกับโปรแกรม Turnitin หลังจากตรวจเสร็จเรียบร้อยแล้ว ชิ้นงานนั้นจะไม่ถูกเก็บเป็นต้นฉบับในฐานข้อมูลของ Turnitin เพื่อตรวจเทียบความซ้ำ

PDPA ภาพกิจกรรมศูนย์บรรณสารฯ

คำประกาศนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลPersonal Data Protection Policy (PDPA) ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ตระหนักถึงความสำคัญของการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และมีการกำกับดูแล และการบริหารจัดการข้อมูลส่วนบุคคล ให้มีความสอดคล้องกับกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลและกฏหมายที่เกี่ยวข้อง ตามประกาศมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เรื่อง นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2565 จึงไดแจ้งข้อมูลดังต่อไปนี้ให้ผู้ใช้บริการทราบเพื่อเป็นการปฏิบัติตาม พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 โดยมีสาระสำคัญดังต่อไปนี้ https://library.wu.ac.th/?page_id=16194 ในการให้บริการศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา โดยเฉพาะการเยี่ยมชม ศึกษาดูงานของคณะบุคคลต่างๆ หรือว่าช่วงเวลาที่ผู้ใช้บริการใช้ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา อาจจะมีการบันทึกภาพนิ่งหรือวิดีโอ และมีการนำข้อมูลไปเผยแพร่ในการประชาสัมพันธ์กิจกรรม หรือประกอบข้อมูลแนะนำการใช้บริการ ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษาได้ปฏิบัติตามประกาศนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล จึงได้สร้างแบบฟอร์มให้ความยินยอมการบันทึกภาพกิจกรรมและนำไปใช้ต่อไป โดยให้ตัวแทนสแกนคิวอาร์โค้ดตามรูปภาพตัวอย่าง ทั้งนี้ฝ่ายส่งเสริมการเรียนรู้และให้บริการการศึกษา ได้แนบภาพ QR Code ให้ความยินยอมการบันทึกภาพกิจกรรมไว้ท้ายแบบประเมินความพึงพอใจในการเยี่ยมชม ศึกษาดูงาน ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ https://forms.gle/po8L2edt4GDZhQHk7 Visits: 5Santat Sarakบรรณารักษ์

Back To Top