ภาษาไทยเพื่อการสื่อสารร่วมสมัย  (Thai for Contemporary Communication)  

การสื่อสารเพื่อความเข้าใจร่วมกัน” เป็นกุญแจดอกสำคัญ ในการดำรงอยู่ด้วยกันอย่างมีความสุข บนหลักของ ความเคารพ ความแตกต่าง ความหลากหลาย ด้วยจุดยืนที่สร้างสรรค์

“๊WU014 ภาษาไทยเพื่อการสื่อสารร่วมสมัย”

องค์ประกอบของการสื่อสารร่วมสมัย

  1. ผู้ส่งสาร (Transmitter, Source, Sender, Originator) คือ แหล่งกำเนิดของสารที่เกี่ยวกับความคิด เหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นแล้วส่งต่อไปยังผู้รับสาร ซึ่งการสื่อสารจะบรรลุผลได้นั้นทั้งผู้ส่งสารและผู้รับสารต้องมีทักษะในการสื่อสาร (Communication Skills) ทัศนคติ (Attitude) และระดับความรู้(Level of Knowledge) ในระดับเดียวกัน หรือใกล้เคียงกัน และอยู่ในระบบสังคม (Social System) และวัฒนธรรม (Culture) เดียวกัน
  2. สาร (Message)  คือ เรื่องราวที่ผู้ส่งสารส่งไปยังผู้รับสาร อาจจะเป็น ความคิดหรือเรื่องราว ทั้งวัจนภาษา และอวัจนภาษา องค์ประกอบของสารมี 3 ประการ คือ สัญลักษณ์ของ สาร (Message Code) เนื้อหาของสาร (Message Content) การเลือกหรือจัดลำดับข่าวสาร (Message Treatment)   “สาร” โดยทั่วไปมักหมายถึงข้อความที่ผู้ส่งสารเลือกใช้เพื่อสื่อความหมายตามที่ต้องการ ทั้งนี้อาจจะรวมถึงข้อเสนอ บทสรุป และ ความคิดเห็นต่าง ๆ ที่ผู้ส่งสารแสดงออกมาในข่าวสารนั้น ๆ
  3. ช่องทางการสื่อสาร (Channel, Media) หมายถึง ช่องทางที่สารจากผู้ส่งสาร ผ่านออกไปยังผู้รับสาร สื่อที่ใช้สื่อสารเป็นสัญลักษณ์แบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท คือ 1) ท่าทาง (Gestures) การใช้ท่าทางในการแสดงออกนั้นจะต้องเป็นสากลและเป็นที่ยอมรับสามารถทำให้ผู้อื่นเข้าใจได้ 2) ภาษาพูด (Language Spoken)  3) ภาษาเขียน (Language Written) ภาษาเขียนอันได้แก่ตัวอักษร รูปภาพ สีเส้น สัญลักษณ์ต่าง ๆ ที่แสดงออกด้วยการเขียนเป็นการสื่อสารทางภาษาเขียนทั้งสิ้น ดังนั้นในการสื่อสารผู้ส่งสารจะต้องเลือกสื่อให้เหมาะสมกับลักษณะของผู้รับสารและวัตถุประสงค์ ในการสื่อสารด้วย
  4. ผู้รับสารหรือผู้ฟัง (Receiver or Audience, Destination)  คือ ผู้ที่ได้รับข่าวสารจาก ผู้ส่งสาร แล้วถอดรหัสข่าวสารนั้นออกเป็นความหมาย ซึ่งเป็นจุดหมายปลายทาง และเป้าหมายของการสื่อสาร ซึ่งผู้รับสารแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ ผู้รับสารตามเจตนาของผู้ส่งสาร (Intended Receiver) และผู้รับสารที่มิใช่เป้าหมายในการสื่อสารของผู้ส่งสาร (Unintended Receiver)
  5. ปฏิกิริยาตอบกลับ (Feedback) คือ วิธีการที่ผู้รับสารแสดงออกมาให้ผู้ส่งสารได้ ทราบผลของการสื่อสารว่าสำเร็จแค่ไหน บรรลุเป้าหมายและสร้างความพอใจให้ผู้รับสารมากน้อยเพียงใด เพื่อผู้ส่งสารจะได้นำมาปรับปรุง แก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือคงสภาพ วิธีการ เนื้อหาสาระของสารและการเลือกสื่อเพื่อทำให้การสื่อสารมีประสิทธิผลดียิ่งขึ้น ซี่งอาจแสดงปฏิกิริยาตอบกลับด้วยการแสดงออกทางสีหน้า การตั้งคำถาม การพูดโต้ตอบ หรือแสดงความคิดเห็นก็ได้  โดยแบ่งปฏิกิริยาตอบกลับเป็น 2 ประเภท คือ   ประเภทแรก ปฏิกิริยาตอบกลับแบบทันทีทันใด (Immediate Feedback) จะเกิดขึ้นในการสื่อสาร แบบที่ผู้ส่งสารหรือผู้รับสารสามารถเห็นหน้ากันได้(Face to Face Communication) หรือการติดต่อสื่อสาร ระหว่างบุคคล (Interpersonal Communication)  และประเภทที่สอง ปฏิกิริยาตอบกลับแบบช้า ๆ (Delayed Feedback) ซึ่งเป็นลักษณะของการสื่อสาร มวลชน 
  6. บริบทของการสื่อสาร การสื่อสารจะเกิดในบริบทต่าง ๆ ลำดับจากกว้างมาหาแคบ คือ บริบทวัฒนธรรม บริบทสถานการณ์ และบริบทที่เป็นประสบการณ์ของผู้ส่งสารกับผู้รับสาร บริบทของ การสื่อสารแต่ละบริบทมีบทบาทสำคัญต่อการใช้ภาษาเพราะภาษาของบุคคลแต่ละคน นอกจากจะมีลักษณะ อันเป็นธรรมชาติแล้ว ยังเกิดจากการเรียนรู้โดยการปฏิสัมพันธ์ทางสังคมกับบุคคลอื่น                                                                                      

ภาษาไทยเพื่อการสื่อสารร่วมสมัย  (Thai for Contemporary Communication) ช่วยส่งเพิ่มทักษะในการทำงานได้อย่างไรบ้าง  สำหรับตนเองมองว่าเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับ การสร้างเนื้อหา ซึ่งในรายวิชานี้จะทำให้เราเข้าใจทักษะเกี่ยวกับภาษาไทยทั้งการรับสารและส่งสาร ด้านการจับใจความสำคัญจากเรื่องที่อ่านและฟัง การวิเคราะห์เชื่อมโยงประเด็นย่อย ๆ จากเรื่องที่ฟังและอ่านจนเข้าใจและสามารถยกระดับเป็นความรู้ใหม่ การเสนอข้อคิดเห็นหรือให้คุณค่าต่อเรื่องที่อ่านและฟังได้อย่างมีเหตุผลและสอดคล้องกับคุณค่าทางสังคม ในด้านการส่งสารสามารถพัฒนาทักษะการนำเสนอความคิดผ่านการพูดและการเขียนในประเด็นสำคัญและส่วนขยายที่ช่วยให้ประเด็นความคิดชัดเจนและเป็นระบบ การนำข้อมูลทางสังคมมาประกอบสร้างเป็นความรู้หรือความคิดที่ใหญ่ขึ้น การพูดและการเขียนเพื่อนำเสนอความรู้ทางวิชาการที่เป็นระบบและน่าเชื่อถือ 

สรุปความจากรายวิชา ThaiMOOC ภาษาไทยเพื่อการสื่อสารร่วมสมัย  (Thai for Contemporary Communication) WU014   : https://lms.thaimooc.org/courses/course-v1:WU+WU014+2020/about

Visits: 74

Comments

comments

Back To Top