เรียกได้ว่า service excellent มีบทบาทในช่วงเวลานี้มาก ต้องมีความแตกต่างจากการบริการแบบ service standard อย่างเห็นได้ชัด คือ สร้างความประทับใจที่ไม่ธรรมดา ต้องเหนือความคาดหมายของลูกค้าหรือผู้ใช้บริการกันเลย ซึ่งการบริการที่จะสร้างความประทับใจให้มากที่สุด พอจะแยกออกเป็นข้อ ๆ ได้คือ   สร้างความสะดวก   ให้ความรวดเร็ว กระวีกระวาดอย่างเต็มใจ   สร้างความประทับใจ โดยไม่ทำลายความหวัง มีความใส่ใจ   เปลี่ยนจากการปฏิเสธ เป็นให้ทางเลือกใหม่ จากประสบการณ์หน้าเคาน์เตอร์บริการของผู้เขียน ตอบโจทย์บริการแบบไหนที่ให้ความรู้สึกที่ดี นั้น คือสร้างความรู้สึกดีเมื่อแรกพบ แล้วนำพาสู่สิ่งที่ผู้รับบริการต้องการความช่วยเหลือ เพียงใส่ใจต่อปฏิกิริยาที่ผู้รับบริการแสดงออก เพื่อสอบถามความต้องการด้วยความยินดี เพราะการทำงานบริการต้องทำด้วยหัวใจ ไม่ใช่หน้าที่ มาดู 4 ขั้นตอนในการบริการให้เหนือความคาดหมายกันค่ะ trick    คำที่ไม่ควรพูดในการให้บริการ trick     สิ่งที่ทำให้ลูกค้าไม่พอใจในการบริการ credit : การอบรมเรื่อง การบริการที่เป็นเลิศ และการพัฒนาบุคลิกภาพในงานบริการ              ณRead More →

แบบบ้าน ๆ แบบพื้น ๆ แค่เพียงรู้เท่าทันความคิด คำพูดและการกระทำ ของตนได้ดีขึ้น มีสติให้มากจนสามารถดึงปัญญาตนมาใช้ ทำให้เราสามารถควบคุมตนเองได้ดีขึ้น รู้ว่าอะไรควรพูด ควรทำ อะไรไม่ควรพูด ไม่ควรทำ ไปจนถึงการพัฒนาหรือเปลี่ยนแปลงตนเอง  โดยเฉพาะการรู้ถึงจุดอ่อนหรือข้อบกพร่องของตนเอง  สามารถตั้งเป้าหมายในการเรียน การทำงานหรือการดำเนินชีวิตได้อย่างถูกทิศถูกทาง ได้เป็นอย่างดี อย่างนี้ก็จะมีความเป็นไปได้ หรือประสบความสำเร็จได้สูง และยังช่วยให้รู้จักและเข้าใจหรือเห็นอกเห็นใจผู้อื่นได้ดีขึ้น เพราะคนอื่นก็ไม่ต่างจากเรา เราเป็นคน คนอื่นก็เป็นคน ไม่ว่ายากดีมีจน ฐานะทางสังคมอย่างไร ก็มีความต้องการพื้นฐานไม่ต่างกัน ยังต้องการให้คนรัก คนชม ไม่ชอบการตำหนิ ต้องการความปลอดภัย ต้องการเพื่อน ต้องการให้คนอื่นเข้าใจ และรักสุข เกลียดทุกข์เฉกเช่นเดียวกัน จนทำให้มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่น มองทุกคนอย่างกัลยาณมิตร และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุข การที่เรารู้จักตนเองดี ตระหนักรู้ในตนเองและเข้าใจผู้อื่นเป็นเรื่องที่มีความสำคัญ และมีความจำเป็นสำหรับบุคคลมาก หากเรารู้จักตนเองดี มีการตระหนักรู้ในตัวเอง หรือมีสติรู้เท่าทันในความคิด อารมณ์ หรือพฤติกรรมของเราเป็นอย่างดี จะช่วยให้เราเข้าใจผู้อื่น เข้าใจโลกและชีวิตได้อย่างดี มีความเข้าใจในสรรพสิ่งที่ต้องอิงอาศัยซึ่งกันและกัน และดำเนินชีวิตร่วมกันได้อย่างมีความสุขไม่ยากเลย Read More →

แอดป้าเล็ก กับ นายปาล์ม หน้าปากซอย พามาพบกับเล่มนี้ค่ะ Disneyland ทำอะไร ทำไมใครๆ ก็หลงรัก  ทุกคนเป็นสาวก Disney กันหรือเปล่า น๊า เขียนโดย ซากุราอิ เอริโกะ    ผู้แปล ภัทรวรรณ ศรประพันธ์     สำนักพิมพ์ WE LEARN       จำนวนหน้า 248 หน้า                                          แค่เห็นชื่อเรื่อง สาวกดิสนีย์ไม่น่าจะพลาดแน่นอน เนื้อหาในเล่มพูดถึง “เวทมนตร์แห่งการใส่ใจ” เวทมนตร์ที่ว่านี้เป็นที่รู้กันในหมู่พนักงาน ซึ่งช่วยสะกดให้ผู้มาเยือนหลงรักและอยากกลับมาอีกครั้ง จึงทำให้ ดิสนีย์แลนด์ เป็นสวนสนุกที่ประสบความสำเร็จและเป็นที่รักมากของชาวญี่ปุ่น สามารถมัดใจและสร้างความสุขความประทับใจให้เกสต์ (ลูกค้าที่มาเยี่ยมชม) หนังสือเล่มนี้เขียนโดยผู้ที่ร่วมงานกับดิสนีย์โดยตรง ซึ่งเธอก็ได้แบ่งปันเรื่องราวจากคู่มือฝึกอบรมของดิสนีย์แลนด์ที่ใช้ฝึกฝนพนักงานแล้วกว่าหนึ่งแสนคนเชียวนะคะ เนื้อหาแบ่งเป็น 3 พาร์ท พาร์ทจิตใจ พาร์ทการสื่อสารและพาร์ทพฤติกรรม จิตใจ เป็นการฝึกจิตใจให้ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างราบรื่น บทที่ชอบมากที่สุดเลยคือการ “มองว่าทุกคนที่อยู่รอบตัวเราเป็นแขก VIP” ของดิสนีย์Read More →

ความคิดสร้างสรรค์มีอยู่ในตัวของมนุษย์ทุกคน ทุกเพศ ทุกวัย จะมีอยู่ในแต่ละบุคคลมากหรือน้อยแตกต่างกัน ออกไปตามศักยภาพของแต่ละบุคคล พฤติกรรมหรือบุคลิกภาพของบุคคลที่มีความคิดสร้างสรรค์ คือ © เป็นตัวของตัวเอง มีอิสระ ไม่ชอบตามแบบใคร ไม่คล้อยตามความคิดเห็นของผู้อื่นง่ายๆ กล้าคิด กล้า แสดงออก ชอบแสดงความเห็น ชอบคลุกคลีในสังคม ถือตัวเองเป็นศูนย์กลาง © วางแผนอนาคตไปข้างหน้า เต็มใจทำงานหนักหรืออุทิศเวลาให้กับงานหรือสิ่งที่ตนเองสนใจ มีความมานะที่จะ ทำงานยากๆ ให้สำเร็จ เปิดรับประสบการณ์ใหม่ๆ ไม่หลีกเลี่ยงงานมีประสบการณ์การทำงานอย่างกว้างขวาง © มีความตื่นตัวอยากรู้ อยากเห็น เต็มใจเสี่ยงในทุกสถานการณ์ ขยันหมั่นเพียร มีแรงจูงใจในการทำสิ่งต่างๆ มี จินตนาการ © แก้ปัญหาต่างๆ ได้อย่างดีและรวดเร็ว มองการณ์ไกล คิดได้หลายแง่หลายมุม สามารถแก้ปัญหาต่างๆ ได้เป็น อย่างดี คิดได้อย่างคล่องแคล่วและมีความยืดหยุ่นทางความคิด พร้อมเปลี่ยนแปลงวิธีการใหม่ๆ เพื่อให้ได้ผลที่ดีกว่า ช่าง สงสัยและชอบคิดหาคำตอบ © มีสมาธิ มีความสามารถในการคิดพินิจพิเคราะห์ได้อย่างถี่ถ้วนRead More →

ทักษะการสื่อสารระหว่างบุคคลในการทำงาน คือ ความสามารถในการมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน โดยใช้คำพูดและไม่ใช้คำพูด © การรับฟังผู้อื่น และ การจูงใจผู้อื่น     ฟัง คือ การรับรู้ความหมายจากสิ่งที่ได้ยินเป็นการรับรู้ทางหู การฟังที่มีประสิทธิภาพ โดยต้องใช้ความตั้งใจมีสติรู้ตัว ขณะที่ฟังฉันรู้สึกอย่างไร คิดอะไร คาดหวังอะไร ต้องการอะไร และฟังโดยไม่ตัดสินจากประสบการณ์ตนเอง หากองค์การใดมีบุคลากรที่มีความสามารถในการสื่อสาร คือ สื่อสารได้ตรงกับสิ่งที่ตนเองต้องการสื่อ ควบคุม อารมณ์ได้ดี มีความสามารถในการสื่อสาร ก็จะทำให้การประชุม การอภิปรายนั้น โดยสามารถหาข้อสรุปได้ และทำให้เกิดสัมพันธภาพที่ดีระหว่างเพื่อนร่วมงาน ตรงข้ามกันหากองค์การใด มีการสื่อสารที่ไม่เหมาะสม หรือการ สื่อสารที่ไม่มีประสิทธิภาพ ก็อาจนำมาซึ่งความไม่เข้าใจ ความขัดแย้ง จนกระทบถึงความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทำงาน การจูงใจ ประกอบด้วย ความต้องการ แรงขับ และสิ่งล่อใจ ความต้องการ แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ ความต้องการภายนอก และความต้องการภายใน ความต้องการRead More →

หลักการสื่อสาร อย่างชัดเจนและเข้าใจง่ายที่สุด คือ กระบวนการสื่อสารของมนุษย์ ซึ่งจะประกอบด้วยสารที่ผู้ส่งสารใส่รหัสสารและส่งสารผ่านสื่อหรือช่องทางมายังผู้รับสาร ซึ่งผู้รับสารจะถอดรหัสที่แหล่งสารส่งมาอีกที การจะเข้าใจรับรู้ร่วมกันมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับทักษะในการสื่อสาร ทัศนคติ ความรู้ ระบบทางสังคมและวัฒนธรรมของผู้ส่งสารและผู้รับสาร กระบวนการสื่อสารมิใช่กระบวนการที่หยุดนิ่ง แต่เป็นกระบวนการพลวัตโดยที่ผู้ส่งสารและผู้รับสารจะต้องผลัดเปลี่ยนบทบาทกันไป วิธีการแก้ไขปัญหาอุปสรรคของการสื่อสาร โดยเราต้องใช้ไหวพริบ มีความพยายามตั้งใจจริงและอาจอาศัยบุคคลอื่นให้ช่วยวิเคราะห์แนะนํา การแก้ไขอุปสรรคจึงจะ สําเร็จลุล่วงไปด้วยดี 1) ผู้ส่งสาร คือ ผู้เริ่มต้นสร้างสรรค์ และส่งสารไปยังผู้อื่น โดยใช้ภาษาเป็นเครื่องมือ 2) ตัวสาร มี 2 ประเภท คือ ข้อเท็จจริง และ ความคิดเห็น ภาษาที่ใช้ในการสื่อสารแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ           – วัจนภาษา : ภาษาถ้อยคำ ที่ดีจะต้องถูกต้อง ชัดเจน เหมาะสม ทันสมัย           – อวัจนภาษา : ภาษาที่ไม่ใช้ถ้อยคำRead More →

เมื่อคิดจะเป็นนักเล่า เอาให้มันดีมั้ย มาทดลองจัดกันซักเรื่องก่อนนะ ระลอกคลื่นยามค่ำคืน เขียนโดย คิซาระ อิซึมิ     ผู้แปล ฤทัยวรรณ เกษสกุล สำนักพิมพ์ Bibli จำนวนหน้า 256 หน้า หลังการตายของนาสึมิ หญิงวัย 40 ต้นๆ ผู้ที่มีบริบททางสังคมเป็นทั้งภรรยา พี่สาว น้องสาว หลานสาวของคนในครอบครัว เป็นเพื่อนร่วมงานของพนักงานในออฟฟิศ อีกทั้งเป็นเพื่อนสนิทของใครบางคน ไปจนถึงการมีสถานะเป็นคนรักเก่าของความสัมพันธ์ที่ถูกทิ้งไว้เบื้องหลัง หรือแม้แต่เป็นเพียงคนที่บังเอิญเดินสวนกันเท่านั้นเอง… “เมื่อพบเจอกันแล้วก็ต้องเอ่ยคำลา มันเป็นมารยาททางสังคมของโลกใบนี้” ทุกคนในชีวิตนาสึมิรู้สึกอย่างไรหลังเธอจากไปตลอดกาล? หนังสือบอกเล่าให้เรารู้หลังจากนั้น… “ระลอกคลื่นยามค่ำคืน” ผลงานเรื่องที่ 2 ของคิซาระ อิซึมิ ที่ได้อ่านต่อจาก ‘ขนมปังของพรุ่งนี้แกงกะหรี่เมื่อวันวาน’ เล่มนี้ยังคงเป็นเรื่องราวของความสูญเสีย   แน่นอนว่าทุกการจากลานำมาสู่ความแตกสลายของผู้ที่ยังมีลมหายใจ และยังคงต้องก้าวต่อไปตามเส้นจังหวะของชีวิต จนกว่าวันสุดท้ายของตัวเองจะมาถึง ‘ระลอกคลื่นยามค่ำคืน’ เล่าถึงความสูญเสียที่ “กำลังเกิดขึ้น” ซึ่งเราไม่ทันได้เตรียมใจรับมือ ด้วยเนื้อหา 2-3 บทแรกบอกถึงเหตุการณ์ แต่ละฉากชัดจนสามารถสัมผัสความรู้สึกRead More →