ความคิดสร้างสรรค์

ความคิดสร้างสรรค์มีอยู่ในตัวของมนุษย์ทุกคน ทุกเพศ ทุกวัย จะมีอยู่ในแต่ละบุคคลมากหรือน้อยแตกต่างกัน ออกไปตามศักยภาพของแต่ละบุคคล

พฤติกรรมหรือบุคลิกภาพของบุคคลที่มีความคิดสร้างสรรค์ คือ

© เป็นตัวของตัวเอง มีอิสระ ไม่ชอบตามแบบใคร ไม่คล้อยตามความคิดเห็นของผู้อื่นง่ายๆ กล้าคิด กล้า แสดงออก ชอบแสดงความเห็น ชอบคลุกคลีในสังคม ถือตัวเองเป็นศูนย์กลาง

© วางแผนอนาคตไปข้างหน้า เต็มใจทำงานหนักหรืออุทิศเวลาให้กับงานหรือสิ่งที่ตนเองสนใจ มีความมานะที่จะ ทำงานยากๆ ให้สำเร็จ เปิดรับประสบการณ์ใหม่ๆ ไม่หลีกเลี่ยงงานมีประสบการณ์การทำงานอย่างกว้างขวาง

© มีความตื่นตัวอยากรู้ อยากเห็น เต็มใจเสี่ยงในทุกสถานการณ์ ขยันหมั่นเพียร มีแรงจูงใจในการทำสิ่งต่างๆ มี จินตนาการ

© แก้ปัญหาต่างๆ ได้อย่างดีและรวดเร็ว มองการณ์ไกล คิดได้หลายแง่หลายมุม สามารถแก้ปัญหาต่างๆ ได้เป็น อย่างดี คิดได้อย่างคล่องแคล่วและมีความยืดหยุ่นทางความคิด พร้อมเปลี่ยนแปลงวิธีการใหม่ๆ เพื่อให้ได้ผลที่ดีกว่า ช่าง สงสัยและชอบคิดหาคำตอบ

© มีสมาธิ มีความสามารถในการคิดพินิจพิเคราะห์ได้อย่างถี่ถ้วน

© ชอบคิดและทำสิ่งที่แปลกใหม่ สามารถคิดสิ่งที่ซับซ้อนได้ ชอบความยุ่งยากเพราะมีความสุขกับการแก้ไข ปัญหา มีความสามารถในการคิดข้อซักถามในสิ่งที่ต้องการรู้

© ยอมรับสิ่งที่ไม่แน่นอน หรือสิ่งที่เป็นข้อขัดแย้ง มีความอดทนในสิ่งที่ไม่แน่ชัด ไม่เกรงกลัวต่อสิ่งที่ไม่เคยพบ หรือสิ่งที่ลึกลับและน่าสงสัย มีความรู้สึกพอใจและตื่นเต้น (ความรู้สึกด้านบวก) ที่จะได้เผชิญกับสิ่งเหล่านั้น

© อดทนต่อความไม่เป็นระเบียบ ไม่ทำตามระเบียบหรือกฎเกณฑ์ต่างๆ เพราะไม่ชอบถูกตีกรอบหรือถูก กำหนดให้อยู่ในกฎระเบียบต่างๆ เพราะมีความรู้สึกไม่ชอบถูกบังคับ ชอบทำสิ่งแปลกใหม่ไม่ชอบของเดิมๆ

© เป็นคนมีความคิดเชิงบวก อารมณ์ดี มีจินตนาการในการสร้างสรรค์สิ่งต่างๆ

องค์ประกอบและกระบวนการของความคิดสร้างสรรค์

มิติที่ 1 เนื้อหา (Contents) เป็นข้อมูลหรือสิ่งเร้าที่เป็นสื่อในการคิด อยู่ในรูปแบบของ ภาษา, ภาพ, สัญญลักษณ์, และพฤติกรรม

มิติที่ 2 วิธีคิด (Operations) เป็นกระบวนการปฏิบัติงานหรือกระบวนการคิดของสมอง คือ การรู้จักและเข้าใจ (Cognition) ,การจำ(Memory),  การคิดแบบอเนกนัย (Divergent thinking) , การคิดแบบเอกนัย (Convergent thinking) , การประเมินค่า (Evaluation)

มิติที่ 3 ผลของการคิด (Products) เป็นการแสดงผลที่เกิดขึ้นจากสมองปฏิบัติงานหรือเรียกว่าเป็น กระบวนการคิดของสมอง แจงออกเป็น  หน่วย (Unit) เป็นส่วนย่อยๆ ที่ถูกแยกออกมาจากส่วน, จำนวน (Class) เป็นกลุ่มของสิ่งมีชีวิตที่มีคุณสมบัติบางประการร่วมกัน , ความสัมพันธ์ (Relation) เป็นผลของความเชื่อมโยงของความคิดแบบต่างๆ ตั้งแต่ 2 หน่วย เข้าด้วยกัน , ระบบ (System) เป็นการเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของผลที่ได้หลายๆ คู่ เข้าด้วยกันอย่างมีระบบ, การแปลงรูป (Transformation) เป็นการปรับเปลี่ยน ตีความหมาย การ ขยายความหรือการจัดองค์ประกอบของข้อมูลที่กำหนดขึ้นมา ให้อยู่ในรูปแบบใหม่ เพื่อนำไปใช้ในวัตถุประสงค์อื่น , การประยุกต์ (Implications) เป็นการคาดหวังหรือทำนายเรื่องบางเรื่องจากข้อมูลที่กำหนดให้โดยมีข้อมูล เพิ่มขึ้นจากแนวคิดเดิมทำให้เกิดความแตกต่างไปจากเดิม

สรุปแล้วกระบวนการคิดสร้างสรรค์ ได้มาจากการรวบรวมข้อมูลที่มีความน่าเชื่อถือ  เพื่อมาวิเคราะห์ปัญหา พิจารณาสิ่งที่เกิดขึ้นว่าขณะนั้นมีปัญหาใดเกิดขึ้น เกิดขึ้นเพราะสาเหตุใดหรือปัจจัย ใดที่ส่งผลทำให้เกิดขึ้น และจะแก้ไขปัญหานั้นไม่ให้เกิดขึ้นหรือจะพัฒนาสิ่งนั้นให้ดีขึ้นกว่าเดิมจะต้องทำอย่างไร และนำมาทดลองปฏิบัติ อย่างเป็นรูปธรรม โดยค้นหาคำตอบด้วยความคิด เป็นขั้นตอนที่จะต้องสรุปว่าวิธีการใดที่ได้ทดลองปฏิบัติไปเป็นวิธีการที่ดีที่สุด คุ้มค่าที่สุด ใช้ระยะเวลาน้อยที่สุด เหมาะสมกับสถานการณ์มากที่สุด เป็นการหาข้อสรุป นำไปใช้ในสถานการณ์จริง หลังจากที่ได้ทดลองทดสอบและได้ข้อสรุปแล้วว่าสิ่งใดหรือข้อมูลใดเป็นสิ่งที่ดีที่สุด ขั้นสุดท้าย ประเมินผล เป็นขั้นตอนสำหรับสรุปว่าสิ่งที่ได้คิดขึ้นมาจากข้อมูลต่างๆ ที่รวบรวมมานั้น เป็นสิ่งที่ท าให้เกิด ความคิดสร้างสรรค์จริงหรือไม่ อยู่ในระดับใด หากประเมินผลแล้วได้ผลดีก็แสดงให้เห็นได้ว่าควรนำไปใช้ในกระบวนการ คิดครั้งถัดไป หากประเมินผลแล้วเกิดปัญหาอาจต้องหาสาเหตุของปัญหาแล้วดำเนินการตามขั้นตอนดังกล่าวใหม่อีกครั้งหนึ่ง

ที่มาของข้อมูล : การคิดสร้างสรรค์ | Creative Thinking CU – CU009

Visits: 47

Comments

comments

Back To Top