หลักการสื่อสาร อย่างชัดเจนและเข้าใจง่ายที่สุด คือ กระบวนการสื่อสารของมนุษย์ ซึ่งจะประกอบด้วยสารที่ผู้ส่งสารใส่รหัสสารและส่งสารผ่านสื่อหรือช่องทางมายังผู้รับสาร ซึ่งผู้รับสารจะถอดรหัสที่แหล่งสารส่งมาอีกที การจะเข้าใจรับรู้ร่วมกันมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับทักษะในการสื่อสาร ทัศนคติ ความรู้ ระบบทางสังคมและวัฒนธรรมของผู้ส่งสารและผู้รับสาร กระบวนการสื่อสารมิใช่กระบวนการที่หยุดนิ่ง แต่เป็นกระบวนการพลวัตโดยที่ผู้ส่งสารและผู้รับสารจะต้องผลัดเปลี่ยนบทบาทกันไป

วิธีการแก้ไขปัญหาอุปสรรคของการสื่อสาร โดยเราต้องใช้ไหวพริบ มีความพยายามตั้งใจจริงและอาจอาศัยบุคคลอื่นให้ช่วยวิเคราะห์แนะนํา การแก้ไขอุปสรรคจึงจะ สําเร็จลุล่วงไปด้วยดี

1) ผู้ส่งสาร คือ ผู้เริ่มต้นสร้างสรรค์ และส่งสารไปยังผู้อื่น โดยใช้ภาษาเป็นเครื่องมือ

2) ตัวสาร มี 2 ประเภท คือ ข้อเท็จจริง และ ความคิดเห็น ภาษาที่ใช้ในการสื่อสารแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ

          – วัจนภาษา : ภาษาถ้อยคำ ที่ดีจะต้องถูกต้อง ชัดเจน เหมาะสม ทันสมัย

          – อวัจนภาษา : ภาษาที่ไม่ใช้ถ้อยคำ เป็นท่าทาง, สีหน้า, สายตา, สัญญาณ, สัมผัส, น้ำเสียง, ช่องว่าง-ระยะห่าง, เวลา, กลิ่น-รส, ภาพ, สี, ลักษณะตัวอักษร

3) ช่องทางการสื่อสาร คือ ตัวกลางการติดต่อระหว่างมนุษย์ เป็นตัวนำสารเคลื่อนที่ไปยังผู้รับสาร

4) ผู้รับสาร บุคคลที่ผู้ส่งสารประสงค์จะบอกเล่าเรื่องราวให้ทราบ และเมื่อรับรู้เรื่องราวอย่างถูกต้อง ก็จะแสดงปฏิกิริยาโต้ตอบไปยังผู้ส่งสาร

5) ปฏิกิริยาตอบสนอง คือ ผลที่เกิดขึ้นจากการรับสาร อาจเป็นไปตามเจตนาหรือไม่เป็นไปตามเจตนาของผู้ส่งสารต้องการก็ได้

6) สภาพแวดล้อม มี 2 ทาง คือ สังคมและวัฒนธรรม การสื่อสารกับบุคคลที่อยู่ในสภาพแวดล้อมอย่างเดียวกันจะเข้าใจกันง่าย อุปสรรคความมีปัญหาน้อยกว่าต่างสภาพและสังคม เช่น การสื่อสารกับคนต่างชาติ ต่างวัฒนธรรม

สุนทรียภาพทางภาษาไทย เป็นเรื่องของการใช้ภาษาไทยทั้งความสำคัญและระดับของภาษา การใช้โวหารและภาพพจน์โดยจุดมุ่งหมายเพื่อสื่อสาร หรือสั่งสอน หรือสร้างสรรค์

การฟังที่ดี สามารถฟังและจับใจความสำคัญจากเรื่องที่ฟังได้ โดยจับประเด็นสำคัญ และสรุปข้อคิดที่ได้จากการฟัง สามารถวิเคราะห์ ตีความ ประเมินคุณค่าของเรื่องที่ฟังได้ จนสามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสืบค้นข้อมูลในการเรียนรู้ได้

การอ่านที่ดี ต้องสามารถอ่านและจับใจความประเด็นสำคัญนำมาสรุปวิเคราะห์ข้อเท็จจริง และทัศนะคติของผู้เขียนจากเรื่องที่อ่านได้

การพูดที่ดี ต้องศึกษาผู้ฟังก่อนว่าอยู่ในวัย, เพศ, การศึกษา, อาชีพอะไร มีเจตคติ อารมณ์และรสนิยมอย่างไร รู้ว่าเราต้องใช้สถานที่ และช่วงเวลาไหน รวมทั้งการเลือกเรื่องว่าอยู่ในความสนใจของผู้ฟังหรือไม่ จัดเนื้อเรื่องการพูดให้ดึงดูดความสนใจ หาประเด็นสำคัญด้วยถ้อยคำสำนวนเพื่อสร้างความประทับใจ โดยตัวผู้พูดต้องฝึกฝนการพูดบ่อย ๆ เพื่อสร้างความมั่นใจ

การใช้ภาษาไทยในการแสวงหาความรู้และสร้างสรรค์ ปัจจุบันสื่ออนไลน์เข้ามามีบทบาทมาก ทำให้การสืบค้นข้อมูล ความรู้ต่าง ๆ  ทำได้สะดวกรวดเร็วและง่ายดาย

การเขียน เป็นการสื่อสารเพื่อแสดงความคิดและความรู้ออกมาให้ผู้อื่นรับรู้ โดยวิธีการใช้สัญลักษณ์เป็นตัวหนังสือหรือตัวอักษร ซึ่งการเขียนที่ดีจะช่วยให้การสื่อสารสัมฤทธิ์ผลตามที่ต้องการ เป็นการถ่ายทอดความรู้ ความคิดและประสบการณ์ให้แก่บุคคลรุ่นหลัง ๆ ได้อย่างถูกต้องสมบูรณ์ โดยผู้เขียนอาจต้องการให้ข้อมูลข่าวสาร หรือเพื่อเป็นการจูงใจ หรือให้ความบันเทิง

สรุป

ภาษาไทยเพื่อการพัฒนาปัญญา คือการรวมทักษะการสื่อสาร เช่น การรับสาร จากการฟังจับใจความสำคัญ การฟังเชิงลึก การอ่าน การอ่านจับใจความ การอ่านตีความ การอ่านอย่างมีวิจารณญาณ การวิเคราะห์ และประเมินค่า การฟังเชิงลึก สุนทรียสนทนา การส่งสาร การพูดต่อสาธารณะ การนำเสนอความคิดและผลงาน การย่อความ การเขียนรายงาน ไว้ด้วยกันอย่างต้องมีการเตรียมตัวเพื่อใช้ทักษะอย่างมีประสิทธิภาพ และเราจะต้องใช้ภาษาไทยในการแสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเอง โดยใช้ทักษะการส่งสาร การพูด การเขียนอย่างสร้างสรรค์

ที่มา : เนื้อหาจาก รายวิชาภาษาไทยเพื่อการพัฒนาปัญญา | Thai for Intellectual Development

Visits: 990

Comments

comments